ชาวสวนยางอุบลราชธานี ใช้วิธีเพิ่มคุณภาพยางพารา สร้างมูลค่าให้สินค้าแทนการประท้วง ระบุปัจจุบันพ่อค้ารับซื้อยางจากชาวสวนอีสานสูงกว่าภูมิภาคอื่น 2-3 บาท ขณะที่ต้นทุนไม่สูง จึงไม่เดือดร้อนกับราคายางที่ตกต่ำ
นายประสิทธิ์ กาญจนา ที่ปรึกษาชุมชนสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี จำกัด กล่าวถึงสาเหตุที่ชาวสวนยางพาราในจังหวัดไม่ออกมาร่วมเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงราคารับซื้อในราคาสูงขึ้น เพราะปัจจุบันราคารับซื้อน้ำยางและยางแผ่นของจังหวัด มีราคาสูงกว่าที่อื่นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2-3 บาท เนื่องจากเกษตรกรมีการบริหารจัดการยางให้มีคุณภาพ ทำให้พ่อค้ารับซื้อในราคาสูงกว่าตลาด
และก่อนที่ อสย.เข้ามาแทรกแซงราคา ชาวสวนยางพาราในจังหวัดก็ขายได้กิโลกรัมละ 46 บาท ซึ่งมีราคาสูง แต่หลัง อสย.เข้ามาแทรกแซง ทำให้วันนี้ราคารับซื้อยางแผ่นชั้นดีของจังหวัดมีราคาเท่ากับที่อื่น
ส่วนยางก้นถ้วย ปัจจุบันเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16-17 บาท สหกรณ์รับซื้อ แล้วส่งให้ อสย.แปรรูปเป็นยางอัดแท่ง FTR เบอร์ 20 ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกร รวมถึงยางแผ่นรมควัน ซึ่งปัจจุบันรับซื้อน้ำยางจากชาวสวน กิโลกรัมละ 40 บาท เมื่อทำเป็นยางแผ่นรมควันนำไปขายให้ อสย.กิโลกรัมละ 52 บาทยังมีกำไรจากส่วนต่าง และเกษตรกรจะได้รับเงินคืนไปในรูปของเงินปันผลจากสหกรณ์ ทำให้ชาวสวนยางที่จังหวัดอยู่ได้ไม่เดือดร้อน
ประกอบกับผู้ปลูกยางพาราของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นผู้ปลูกรายย่อย จึงมีต้นทุนไม่สูงเท่ากับชาวสวนยางในภาคใต้ ซึ่งต้องลงทุนจ้างแรงงานมากรีดยาง โดยราคาที่ชาวสวนยางอยู่ได้อย่างสบายคือกิโลกรัมละ 60-80 บาท
ที่มา
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000141937
ปล 1 เพราะคนอีสานไม่กินหลากหลาย แต่หาเงินได้หลากหลายเช่น ปลูกข้าวอ้อย ปลูกมัน
2 ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงไม่กินหลากหาย
3 คนอีสานขยันกรีดยางเองจึงไม่ต้องแบ่ง50-50กับคนรับจ้างกรีดยาง ซึ้งคนใต้ส่วนใหญ่จ้างคนมากรีด
ชาวสวนยางอุบลฯ ไม่เคลื่อนเพราะมีระบบจัดการดี ไม่ขาดทุน
นายประสิทธิ์ กาญจนา ที่ปรึกษาชุมชนสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลราชธานี จำกัด กล่าวถึงสาเหตุที่ชาวสวนยางพาราในจังหวัดไม่ออกมาร่วมเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงราคารับซื้อในราคาสูงขึ้น เพราะปัจจุบันราคารับซื้อน้ำยางและยางแผ่นของจังหวัด มีราคาสูงกว่าที่อื่นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2-3 บาท เนื่องจากเกษตรกรมีการบริหารจัดการยางให้มีคุณภาพ ทำให้พ่อค้ารับซื้อในราคาสูงกว่าตลาด
และก่อนที่ อสย.เข้ามาแทรกแซงราคา ชาวสวนยางพาราในจังหวัดก็ขายได้กิโลกรัมละ 46 บาท ซึ่งมีราคาสูง แต่หลัง อสย.เข้ามาแทรกแซง ทำให้วันนี้ราคารับซื้อยางแผ่นชั้นดีของจังหวัดมีราคาเท่ากับที่อื่น
ส่วนยางก้นถ้วย ปัจจุบันเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16-17 บาท สหกรณ์รับซื้อ แล้วส่งให้ อสย.แปรรูปเป็นยางอัดแท่ง FTR เบอร์ 20 ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกร รวมถึงยางแผ่นรมควัน ซึ่งปัจจุบันรับซื้อน้ำยางจากชาวสวน กิโลกรัมละ 40 บาท เมื่อทำเป็นยางแผ่นรมควันนำไปขายให้ อสย.กิโลกรัมละ 52 บาทยังมีกำไรจากส่วนต่าง และเกษตรกรจะได้รับเงินคืนไปในรูปของเงินปันผลจากสหกรณ์ ทำให้ชาวสวนยางที่จังหวัดอยู่ได้ไม่เดือดร้อน
ประกอบกับผู้ปลูกยางพาราของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นผู้ปลูกรายย่อย จึงมีต้นทุนไม่สูงเท่ากับชาวสวนยางในภาคใต้ ซึ่งต้องลงทุนจ้างแรงงานมากรีดยาง โดยราคาที่ชาวสวนยางอยู่ได้อย่างสบายคือกิโลกรัมละ 60-80 บาท
ที่มา http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000141937
ปล 1 เพราะคนอีสานไม่กินหลากหลาย แต่หาเงินได้หลากหลายเช่น ปลูกข้าวอ้อย ปลูกมัน
2 ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงไม่กินหลากหาย
3 คนอีสานขยันกรีดยางเองจึงไม่ต้องแบ่ง50-50กับคนรับจ้างกรีดยาง ซึ้งคนใต้ส่วนใหญ่จ้างคนมากรีด