JJNY : วิกฤตยางพ่นพิษ กระทบร้านเกษตรซบเซาหนัก เกิดหนี้ค้างชำระ - คนปิดสวนยางหนีแบงก์

กระทู้คำถาม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2559  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางเท่านั้น เนื่องจากต้องแบกภาระต้นทุนหลังราคายางตกต่ำสุด ในรอบ 10 ปี ยางก้นถ้วยเหลือราคากิโลกรัม ละประมาณ 12 บาท จากต้นทุนประมาณ 30 บาท  ส่วนยางแผ่น ราคากิโลกรัมละ ประมาณ 30  บาท จากต้นทุนประมาณ 60 บาท  ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ จ.นครพนม จำนวนเกือบ 2 แสนราย ที่ทำการเกษตรปลูกยางพารา เนื้อที่ทั้งหมด รวมกว่า 3 ไร่  เปิดกรีดแล้วกว่า 2 แสนไร่

จากข้อมูลพบว่าทุกเดือนจะมีเงินหมุนเวียนสะพัดจากการขายยางพารา เกือบ 100 ล้านบาท แต่หลังราคายางตกต่ำ ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ลดลงกว่า 2 เท่า  ไม่เพียงเกษตรกรเท่านั้นที่เดือดร้อน ยังมีปัญหาต่อภาคเศรษฐกิจการค้า  โดยเฉพาะร้านจำหน่วยวัสดุอุปกรณ์การเกษตร  ต้องเจอปัญหาวิกฤติ รายได้ลดลงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์  เพราะอุปกรณ์การเกษตร ในการทสวนยางพารา รวมถึงปุ๋ย ไม่สามารถขายได้  รวมไปถึงยังมีปัญหาหนี้ค้างชำระที่ปล่อยเครดิตให้เกษตรกร ไม่มีเงินชำระ ต้องเกิดปัญหาหนี้สูญ

เช่นเดียวกันกับ นางสาวธิญญาภทร์  คำมุงคุณ อายุ 36 ปี  ผู้ประกอบการร้านจำหน่วยวัสดุการเกษตร พชรดาการเกษตร  ร้านจำหน่ายวัสดุการเกษตรขนาดใหญ่ ของ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกยางพารา จำนวนมากสุดของ จ.นครพนม พื้นที่กว่า 70,000  ไร่  ระบุถึงผลกระทบจากราคายางตกต่ำว่า  ทำให้ยอดขายวัสดุอุปกรณ์การเกษตร เกี่ยวกับทำสวนยางพาราลดลง จำนวนมากกว่า  60 – 70เปอร์เซ็นต์  เนื่องจากเกษตรกรพยายามลดต้นทุน และขาดรายได้  บางคนต้องมีภาระหนี้สิน  

โดยยอดจำหน่ายปุ๋ย ที่เคยขายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 10,000 กระสอบ  ทุกวันนี้ขายได้แค่ประมาณเดือนละ 1,000  กระสอบเท่านั้น  ที่สำคัญสิ่งที่ตามมาคือ ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการจำหน่ายปุ๋ย และวัสดุอุปกรณ์ทำสวนยาง ที่เคยมีการปล่อยเครดิตให้กับเกษตรกร   เริ่มเกิดปัญหา  ไม่มีการชำระตามกำหนด ทำให้ตอนนี้มียอดหนี้ค้างชำระที่เกิดปัญหา ยอดเป็นล้านบาท  บางรายต้องปิดสวนยางหนีหนี้ ไปอยู่ที่อื่น   ยอมรับว่ากระทบไปหมด ทั้งภาคเศรษฐกิจการค้า  หากไม่มีเกษตรกรสวนยางร้านค้าการเกษตรคงอยู่ยากเช่นกัน

จึงอยากวอนถึงรัฐบาลหาทางแก้ไขเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องของปัญหาปากท้อง  และไม่อยากให้รัฐบาลแก้ไขด้วยการนำเงินมาจ่ายชดเชย ถือเป็นการแก้ไขปลายเหตุ อยากให้หาทางแก้ไขระยะยาวที่จะเป็นการแก้ไขปัญหาถาวร เกี่ยวกับเรื่องราคารับซื้อยางพารามากกว่า ให้เกษตรกรอยู่ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่