ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการปลูกยางพารา
Cost of Production and Smallholders’ Benefits Gained from Planting Rubber
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกษตรกรรายย่อยทั้งประเทศได้รับจากการปลูกยางพารา โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเกษตรกร
กลุ่มตัวอย่างในภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 150 ราย
กำหนดช่วงอายุการทำสวนยาง 22 ปี ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกยางระยะ 3x7 เมตร กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้ยางชำถุงเป็นวัสดุปลูกและปลูกด้วยยางพันธุ์ RRIM600 การวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการปลูกยางพาราจากขนาดสวนยาง 14 ไร่ ซึ่งเป็นขนาดสวนยางเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยใช้ตัวชี้วัดทางการเงินได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) อัตราผลอบแทนต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio : BCR) อัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุน(Internal Rate of Return : IRR) เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์
ที่อัตราคิดลดร้อยละ 8 ณ ระดับราคายางแผ่นดิบเฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 70.23 บาท พบว่า ค่า NPV มีค่าเท่ากับ 138,298 บาท BCR มีค่าเท่ากับ 1.08 และ IRR มีค่าเท่ากับ 9.20 ระยะเวลาคืนทุน (Payback period : PB) ของการปลูกยางอยู่ที่ 13.37 ปี ผลการวิเคราะห์ทางการเงินดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการทำสวนยางเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุน ส่วนการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบทั้งประเทศ พบว่าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.57 บาท
โดยค่าจ้างแรงงานกรีด เก็บและทำยางแผ่นดิบมีค่าใช้จ่ายสูงสุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.45 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด
ที่มา
http://it.doa.go.th/rrit/web/index.php?p=p3&id=749 ดาว โหลด PDF เพิ่มเติมได้ที่
http://it.doa.go.th/rrit/web/download.php?idload=753&PHPSESSID=d4042b9cc73d330d1e7f56bfd5f20aac
จากงานวิจัย ปี 2550 (เทียบราคาปุ๋ย ราคาต้นทุนอย่างอื่น น้ำมัน กับปัจจุบันด้วย 2556 ) ราครายางคอนทำวิจัย 70.23 บาท ราคายาง ณ ปัจจุบัน ประมาณ 80 บาท เปรียบเทียบต้นทุน
จุดคุ้มทุน ท้ำ 14 ไร่ คือ 13.37 ปี ย้ำ (อ่านให้ชัดๆ) แล้วทุกนที่เป้ฯเจ้าของสวนยางในประเทศมีคนละ 14 ไร่เหรอ ไม่ถึง 5-6 ไร่โดยเฉลี่ย ให้มากสุดตามจินตนาการ
คำถาม ใน 13 ปี กว่าๆ นั้น นั้นคือช่วงเวลาที่เขาต้องทุนแบบรับต้นทุนที่ยังไม่ได้กำไร เขาต้องแบกรับภาระตรงนี้ ถ้าเกิดลูกๆ โตกว่าจะเข้า ม สอง กว่าจะได้คืนทุน ทุกวันนี้ค่าครองชีพเท่าไหร่ ปัจจัยการเกษตรเท่าไหร่
ไอ้พวกที่ด่าชาวสวนยาง มาตอบหน่อยสิ ว่าถ้าเทียบกับปัจจุบัน ถ้าเขาเรียกร้อง เขาเห็นแก่ตัวใช่ไหม เอาหลักฐาน มาหักลบ คิดราคาน้ำมันปัจุบัน เทียบ 5 ปีที่แล้ว ราคา สินค้าอุปโภคบริโภค เทียบกับ ห้าปีที่แล้ว และ ราคายางปัจจุบัน
ข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัย เกี่ยวกับ ยาง กรมวิชาการเกษตร
Cost of Production and Smallholders’ Benefits Gained from Planting Rubber
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกษตรกรรายย่อยทั้งประเทศได้รับจากการปลูกยางพารา โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างในภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 150 ราย กำหนดช่วงอายุการทำสวนยาง 22 ปี ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกยางระยะ 3x7 เมตร กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้ยางชำถุงเป็นวัสดุปลูกและปลูกด้วยยางพันธุ์ RRIM600 การวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการปลูกยางพาราจากขนาดสวนยาง 14 ไร่ ซึ่งเป็นขนาดสวนยางเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยใช้ตัวชี้วัดทางการเงินได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) อัตราผลอบแทนต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio : BCR) อัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุน(Internal Rate of Return : IRR) เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ ที่อัตราคิดลดร้อยละ 8 ณ ระดับราคายางแผ่นดิบเฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 70.23 บาท พบว่า ค่า NPV มีค่าเท่ากับ 138,298 บาท BCR มีค่าเท่ากับ 1.08 และ IRR มีค่าเท่ากับ 9.20 ระยะเวลาคืนทุน (Payback period : PB) ของการปลูกยางอยู่ที่ 13.37 ปี ผลการวิเคราะห์ทางการเงินดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการทำสวนยางเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุน ส่วนการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบทั้งประเทศ พบว่าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.57 บาท โดยค่าจ้างแรงงานกรีด เก็บและทำยางแผ่นดิบมีค่าใช้จ่ายสูงสุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.45 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด
ที่มา http://it.doa.go.th/rrit/web/index.php?p=p3&id=749 ดาว โหลด PDF เพิ่มเติมได้ที่
http://it.doa.go.th/rrit/web/download.php?idload=753&PHPSESSID=d4042b9cc73d330d1e7f56bfd5f20aac
จากงานวิจัย ปี 2550 (เทียบราคาปุ๋ย ราคาต้นทุนอย่างอื่น น้ำมัน กับปัจจุบันด้วย 2556 ) ราครายางคอนทำวิจัย 70.23 บาท ราคายาง ณ ปัจจุบัน ประมาณ 80 บาท เปรียบเทียบต้นทุน
จุดคุ้มทุน ท้ำ 14 ไร่ คือ 13.37 ปี ย้ำ (อ่านให้ชัดๆ) แล้วทุกนที่เป้ฯเจ้าของสวนยางในประเทศมีคนละ 14 ไร่เหรอ ไม่ถึง 5-6 ไร่โดยเฉลี่ย ให้มากสุดตามจินตนาการ
คำถาม ใน 13 ปี กว่าๆ นั้น นั้นคือช่วงเวลาที่เขาต้องทุนแบบรับต้นทุนที่ยังไม่ได้กำไร เขาต้องแบกรับภาระตรงนี้ ถ้าเกิดลูกๆ โตกว่าจะเข้า ม สอง กว่าจะได้คืนทุน ทุกวันนี้ค่าครองชีพเท่าไหร่ ปัจจัยการเกษตรเท่าไหร่
ไอ้พวกที่ด่าชาวสวนยาง มาตอบหน่อยสิ ว่าถ้าเทียบกับปัจจุบัน ถ้าเขาเรียกร้อง เขาเห็นแก่ตัวใช่ไหม เอาหลักฐาน มาหักลบ คิดราคาน้ำมันปัจุบัน เทียบ 5 ปีที่แล้ว ราคา สินค้าอุปโภคบริโภค เทียบกับ ห้าปีที่แล้ว และ ราคายางปัจจุบัน