คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
เคยได้อ่านมายางสมัยใหม่จะไม่กรีดแต่ใช่เจาะเอา
แล้วใช้แก็สอเซทิลีนดันน้ำยางออกมา ใช้ถ้วยขนาด
ใหญ่รองรับจึงไม่กลัวฝนตก ยางแก่ก็ใช่วิธีนี้ได้ไม่ต้อง
ล้มต้นปลูกใหม่
-ไม่ต้องกรีด เด็กที่พอจะเข้าใจคำว่าเจาะต้นก็ทำได้
-ผิวเปลือกไม่ถูกทำลายต้นก็แข็งแรงไม่ติดโรค
-ฝนตกก็ได้ผลผลิตไม่ต้องหยุด
-ยางต้นแก่ไม่ต้องล้มต้นปลูกใหม่
-อายุต้นเริ่มเจาะเอาน้ำยางไม่ต้องถึง๑๐ปี
ข้อเสียคือถ้าใครๆก็ทำวิธีนี้ผลผลิตจะล้นตลาด เดือดร้อน
รัฐบาลต้องหาภาษีมาอุดหนุนกันไม่หวาดไม่ไหว ปีหนึ่ง
ได้น้ำยางเกือบตลอดปี
สวัสดี
แล้วใช้แก็สอเซทิลีนดันน้ำยางออกมา ใช้ถ้วยขนาด
ใหญ่รองรับจึงไม่กลัวฝนตก ยางแก่ก็ใช่วิธีนี้ได้ไม่ต้อง
ล้มต้นปลูกใหม่
-ไม่ต้องกรีด เด็กที่พอจะเข้าใจคำว่าเจาะต้นก็ทำได้
-ผิวเปลือกไม่ถูกทำลายต้นก็แข็งแรงไม่ติดโรค
-ฝนตกก็ได้ผลผลิตไม่ต้องหยุด
-ยางต้นแก่ไม่ต้องล้มต้นปลูกใหม่
-อายุต้นเริ่มเจาะเอาน้ำยางไม่ต้องถึง๑๐ปี
ข้อเสียคือถ้าใครๆก็ทำวิธีนี้ผลผลิตจะล้นตลาด เดือดร้อน
รัฐบาลต้องหาภาษีมาอุดหนุนกันไม่หวาดไม่ไหว ปีหนึ่ง
ได้น้ำยางเกือบตลอดปี
สวัสดี
หุ่นกะป๋อง ถูกใจ, liberally ถูกใจ, ji-ju ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 849990 ถูกใจ, aoy1 ถูกใจ, นพนครพิงค์ ถูกใจ, CAN LIVE ถูกใจ, เพชรน้ำนิล ถูกใจ
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
+ + + เปรียบเทียบต้นทุนและยอดขายผลผลิต ข้าว VS ยางพารา ใครอยากปลูกอะไร พิณาเอาเองนะคะ + + +
กระทู้นี้ มาจากนี่จ้า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การลงทุนทำนาข้าว กับ สวนยางพารา ซึ่งจริงๆแล้วจะเอามาเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย เพราะมีปัจจัยหรือตัวแปรหลายอย่างที่แตกต่าง
ออกไป นับตั้งแต่ชนิดของพืชเลยทีเดียว ข้าวเป็นพืชตระกูลหญ้ามีอายุสั้น ยางพาราเป็นไม้ยืนต้นอายุยาวนาน ความต้องการแร่ธาตุ
อาหารก็ไม่เหมือนกัน ความต้องการลัษณะดินฟ้าอากาศก็ไม่เหมือนกัน รอบหรือระยะเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่เหมือนกัน
แต่เมื่อมีคนพยายามจะเปรียบเทียบพืชทั้งสองชนิด เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลหันมาดูแลเรื่องราคาและต้นทุนการผลิต ดิฉันในฐานะที่เป็น
เกษตรกรผู้ปลูกทั้งข้าว และ ยางพารา จึงได้ลองทบทวนคิดคำนวนต้นทุนการผลิตและราคาขายขึ้นมาอย่างคร่าวๆ พอเป็นแนวทางให้
เปรียบเทียบกันดู โดยตั้งสมมุติฐานจากการลงทุนบนพื้นที่ 10 ไร่ ค่าเฉลี่ยของต้นทุนสินค้าคงที่
ลักษณะของการลงทุนที่แตกต่างกันชัดเจนระหว่างการปลูกข้าว กับ การทำสวนยางพาราคือ ระยะเวลาในการลงทุน การลงทุนทำนาข้าว
เป็นการลงทุนระยะสั้น และเก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะสั้น ทั้งนี้เพื่อลดภาระความเสียงจากการลงทุน และต้องการเงินหมุนเวียนเร็ว เหมาะ
สำหรับเกษตรกรผู้มีเงินทุนน้อย
ส่วนยางพาราเป็นการลงทุนระยะยาว แต่เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต ก็จะได้ผลผลิตที่ยาวนาน เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีเงินลงทุนมาก
เพียงพอที่จะมีเวลารอเก็บเกี่ยวผลผลิต อย่างน้อยก็เป็นระยะเวลาถึง 10 ปีกว่าจะคืนทุน
จากตาราง ตัวหนังสือสีฟ้า = ยางพารา , ตัวหนังสือสีแดง = ข้าว
สมมุติฐาน
บนพื้นที่ 10 ไร่ ได้ผลผลิตข้าว 5 ตัน ราคาขายตันละ 10,000 บาท หัก ต้นทุนแต่ละปีตามตาราง จะได้กำไรเฉลี่ยปีละ 11,050 บาท
จะเห็นว่า การลงทุนปลูกข้าวแต่ละรอบนั้นได้กำไรน้อยมาก เมื่อเทียบกับต้นทุนและราคาขายที่คงที่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ราคาสินค้า
ต้นทุนไม่ได้คงที่แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะที่แปรผกผันกับราคาขายที่มีแนวโน้มลดลงทุกปี เนื่องจาก ซัพพลายที่เพิ่มขึ้น
จากประเทศคู่แข่ง และคุณภาพที่ลดลงเนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนไปจากภาวะโลกร้อน
จากตาราง
สมมุติฐาน บนพื้นที่ 10 ไร่ ในรอบ 1 ปี สามารถกรีดยางได้ 7 เดือน จะได้ผลผลิตยางพารา
ปีที่ 8 ได้ผลผลิต 200 ก.ก./ เดือน , ปีที่ 9 ได้ผลผลิต 250 ก.ก./ เดือน , ปีที่ 10 – 15 ได้ผลผลิต 300 ก.ก. /เดือน
จะเห็นได้ว่า เงินทุนของเกษตรกรจะไปจมอยู่ในช่วงระยะเวลาเจริญเติบโตก่อนที่จะให้ผลิต และจะสามารถคืนทุนในปีที่ 11 หลังจากนั้น
ก็จะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลกำไร โดยเฉลี่ยปีละ 135,130 บาท
หมายเหตุ ** ยางพาราเมื่อต้นยังอ่อนแรกกรีด อายุ 8 – 12 ปีจะให้ผลผลิตน้อย และจะค่อยๆเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีอายุประมาณ
20 ปี หลังจากนั้นก็จะค่อยๆลดลงจนถึงอายุ 25 -27 ปี ก็จะไม่มีน้ำยาง เกษตรกรจะตัดต้นยางและนำไม้ยางพาราไปขาย ไม้ยางพารา
รับซื้อกันในราคาที่สูง
ปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาคิดค้นให้มีการ สเต็มเซลต้นยางให้กลับมาให้น้ำยางได้ใหม่ แต่ยังไม่ได้ผลและมีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งได้มีการ
พยายามที่จะเอาชนะฝนเพื่อลดปัญหาการกรีดยางไม่ได้ โดยการทำร่มกางให้ต้นยางบริเวณที่กรีดแต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควรและยกเลิกไป