คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 19
ในความคิดผมถ้าจะให้เปรียบเทียบก็ประมาณ กฎต่างๆในจักรวาลนี้ก็คล้ายกับหลักศิลาจารึกอักขระภาษาโบราณที่สาบสูญและเลือนลางอ่านไม่ออก
แล้วนักฟิสิกส์ก็เป็นผู้ที่ค่อยๆค้นคว้า เปรียบเทียบ ตีความ จนค่อยๆแกะความหมายของประโยคเลือนลางต่างๆในศิลาจารึกนั้นได้ว่าประโยคบางประโยคหรือชุดของกลุ่มอักขระบางกลุ่มนั้นหมายถึงอะไร กล่าวถึงอะไร
ในขณะที่นักคณิตศาสตร์เป็นดั่งผู้ศึกษาอักขระโบราณ ที่พยายามจะค้นคว้าว่า บรรดาอักขระที่เลือนลางเหล่านี้มีรูปร่างจริงๆเป็นยังไง ตัวไหนเป็นตัวแทนเสียงพยัญชนะ ตัวไหนเป็นตัวแทนเสียงสระหรือวรรณยุกต์ มีทั้งหมดกี่ตัวอักษร มีรูปแบบหรือกฏเกณฑ์การผสมให้เป็นคำได้ยังไง มีคำอะไรบ้าง
ดังนั้นการจะตีความหลักศิลาจารึกความลับของจักรวาลนี้จึงจำเป็นที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกันจึงจะสามารถทำให้งานคืบหน้าได้อย่างรวดเร็ว มิเช่นนั้นนักฟิสิกส์จะรู้แค่ว่าบางชุดประโยคโบราณนั้นหมายถึงอะไร แต่ก็จะไม่รู้ว่ามันประกอบด้วยคำศัพท์หรืออักขระอะไรในนั้นบ้างที่ประกอบกันเป็นรูปประโยคขึ้นมา ในขณะที่นักคณิตศาสตร์ก็จะรู้จักแค่ว่ามันมีอักระนี้อยู่ มีคำศัพท์นี้อยู่ เป็นรูปแบบคำศัพท์หรืออักขระที่ถูกต้อง แต่ไม่รู้ความหมายลึกๆหรือไม่รู้ว่าจะรวมเป็นรูปประโยคที่มีความหมายแตกต่างและถูกต้องได้ยังไง
ตัวอย่างเช่น นักฟิสิกส์เจออักขระเลือนลางว่า -าก-า แล้วสุ่มทดลอง brute force จนรู้ว่ามันมีความหมายถึงเครื่องเขียนชนิดหนึ่ง ในขณะที่นักคณิตศาสตร์จะรู้ว่ามันประกอบด้วยคำว่า ปาก + กา เป็นคำศัพท์ 2 คำที่ถูกต้องตามหลักภาษาโบราณ แต่ไม่รู้ว่าคำว่า ปาก คืออะไร คำว่า กา หมายถึงอะไร แล้วรวมกันเป็นคำว่า ปากกา หมายถึงอะไร
แล้วนักฟิสิกส์ก็เป็นผู้ที่ค่อยๆค้นคว้า เปรียบเทียบ ตีความ จนค่อยๆแกะความหมายของประโยคเลือนลางต่างๆในศิลาจารึกนั้นได้ว่าประโยคบางประโยคหรือชุดของกลุ่มอักขระบางกลุ่มนั้นหมายถึงอะไร กล่าวถึงอะไร
ในขณะที่นักคณิตศาสตร์เป็นดั่งผู้ศึกษาอักขระโบราณ ที่พยายามจะค้นคว้าว่า บรรดาอักขระที่เลือนลางเหล่านี้มีรูปร่างจริงๆเป็นยังไง ตัวไหนเป็นตัวแทนเสียงพยัญชนะ ตัวไหนเป็นตัวแทนเสียงสระหรือวรรณยุกต์ มีทั้งหมดกี่ตัวอักษร มีรูปแบบหรือกฏเกณฑ์การผสมให้เป็นคำได้ยังไง มีคำอะไรบ้าง
ดังนั้นการจะตีความหลักศิลาจารึกความลับของจักรวาลนี้จึงจำเป็นที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกันจึงจะสามารถทำให้งานคืบหน้าได้อย่างรวดเร็ว มิเช่นนั้นนักฟิสิกส์จะรู้แค่ว่าบางชุดประโยคโบราณนั้นหมายถึงอะไร แต่ก็จะไม่รู้ว่ามันประกอบด้วยคำศัพท์หรืออักขระอะไรในนั้นบ้างที่ประกอบกันเป็นรูปประโยคขึ้นมา ในขณะที่นักคณิตศาสตร์ก็จะรู้จักแค่ว่ามันมีอักระนี้อยู่ มีคำศัพท์นี้อยู่ เป็นรูปแบบคำศัพท์หรืออักขระที่ถูกต้อง แต่ไม่รู้ความหมายลึกๆหรือไม่รู้ว่าจะรวมเป็นรูปประโยคที่มีความหมายแตกต่างและถูกต้องได้ยังไง
ตัวอย่างเช่น นักฟิสิกส์เจออักขระเลือนลางว่า -าก-า แล้วสุ่มทดลอง brute force จนรู้ว่ามันมีความหมายถึงเครื่องเขียนชนิดหนึ่ง ในขณะที่นักคณิตศาสตร์จะรู้ว่ามันประกอบด้วยคำว่า ปาก + กา เป็นคำศัพท์ 2 คำที่ถูกต้องตามหลักภาษาโบราณ แต่ไม่รู้ว่าคำว่า ปาก คืออะไร คำว่า กา หมายถึงอะไร แล้วรวมกันเป็นคำว่า ปากกา หมายถึงอะไร
แสดงความคิดเห็น
เห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวของฮาร์ดี้ว่าไม่ใช่ฟิสิกส์แต่เป็นคณิตศาสตร์ คือโครงสร้างของจักรวาลที่แท้จริง
แต่เขาคือ G. H. Hardy นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ
ฮาร์ดี้เชื่อว่าตัวเลขคือโครงสร้างของจักรวาลที่แท้จริง ในการปาฐกถาปี 1922 แก่นักฟิสิกส์ลุ่มหนึ่ง
เขาได้เอ่ยประโยคที่จุดฉนวนความขัดแย้งว่า
นักคณิตศาสตร์คือผู้ที่อยู่ในโลกแห่งความจริงแท้มากที่สุด
คำพูดนี้อาจฟังดูตรงข้ามกับความเป็นจริงสักหน่อยเพราะความจริงแล้วนักฟิสิกส์ต่างหากที่น่าจะเป็นผู้ศึกษาค้นคว้า
หรืออะไรก็ตามที่เราเรียกว่า ความจริง
แต่ฮาร์ดี้บอกว่า
ไม่ว่าเก้าอี้หรือดวงดาว ล้วนไม่ใช่อะไรสักอย่างนึงที่เราเห็นหรือรู้สึกว่ามันน่าจะเป็น ยิ่งเรานึกถึงมันมากเท่าไหร่
ความคิดความรู้สึกของเราที่มีต่อมันก็จะยิ่งบิดเบือน ทำให้เราเห็นเส้นกรอบนอกของเก้าอี้หรือดวงดาวเปลี่ยนแปลงไป
เก้าอี้ของแวน โก๊ะ (1888)
แต่ความรุ้สึกของเรา ทำอะไร 2 หรือ 317 ไม่ได้
ยิ่งเราพินิจพิจารณามันมากเท่าไหร่
เราก็จะยิ่งเห็นคุณสมบัติประจำตัวของมันชัดเจนขึ้น 317 เป็นจำนวนเฉพาะ ไม่ใช่เพราะเราคิดว่ามันเป็น
หรือเพราะสมองของเราถูกสร้างขึ้นให้คิดว่ามันเป็นอย่างนั้นมากกว่าอย่างอื่น แต่
มันเป็นจำนวนเฉพาะเพราะว่ามันเป็น เพราะว่าความจริงทางคณิตศาสตร์มันคืออย่างนั้นเอง
คัดมาตอนหนึ่งจากหนังสือ
The Man Who Loved Only Numbers: The Story of Paul Erdos and the Search for Mathematical Truth
Paul Hoffman