ในบทความบทนี้จะกล่าวถึงเรื่องของ Superman หรือยอดมนุษย์ แต่ไม่ใช่ยอดมนุษย์ที่อยู่ภายใต้ผลงานการวาดและประพันธ์ของ Jerry Siegel และ Joe Shuster ยอดมนุษย์ที่มาจากบทประพันธ์นี้ มีความสามารถที่เหนือมนุษย์ในเรื่องของร่างกายและ อิทฤทธิ์เหนือมนุษย์เท่านั้น เช่น ตามองทะลุ ยิงเลเซอร์, หูทิพย์ได้ยินระยะไกล, ปากเป่าไฟดับ, ร่างกายเหล็กไหลยิงยังไงก็แค่คัน ฯลฯ แต่ในเรื่องของจิตใจ รวมถึงอารมณ์แล้วยังนับว่าเข้าใกล้กับมนุษย์ธรรมดาทั่วไป หากลองดูในตอนที่ Superman จาก Lois Lane ไปเมื่อ 5 ปีก่อนโดยไม่มีแม้คำร่ำลา และเขากลับมาเพื่อพบกับความสูญเสีย เมื่อเขาพบว่า Lois Lane มีลูกแล้วและกำลังใช้ชีวิตอยู่กับผู้ชายอีกคน เธอกำลังจะ ได้รับพูลิตเซอร์จากงานข่าวที่เธอเขียนขึ้นว่า “ทำไมโลกนี้จึงไม่ต้องการ Superman” มันทำให้เราได้เห็น ความอ่อนแอในตัวผู้ชายที่เข้มแข็งและสมบูรณ์แบบอย่าง Superman จิตใจของผู้ชายที่แตกสลายเมื่อหญิงที่ตัวเองรักกำลังจะจากไป เขายืนอยู่ภายนอกบ้านของเธอเพื่อที่จะได้ยินเธอพูดขึ้นมาว่า เธอไม่ได้รัก Superman
แต่ยอดมนุษย์ที่บทความนี้ต้องการจะกล่าวถึงนั้น จะพูดถึงในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากจิตใจ ไม่ว่าจะเป็น ความรัก ความคาดหวัง ความต้องการปารถนา ความกลัว ความวิตก ความกังวล ฯลฯ หากเป็นมนุษย์ธรรมดาทั่วไปย่อมมีอารมณ์เหล่านี้เจือปนมากน้อยย่อมเป็นเรื่องปกติ แต่ยอดมนุษย์นั้นย่อมต้องปราศจากอารมณ์เหล่านี้ทั้งปวง หากพูดในฐานะชาวพุทธ อารมณ์เหล่านี้ก็คือกิเลศนั่นเอง ซึ่งประกอบไปด้วย รัก โลภ โกรธ หลง และยอดมนุษย์นั้นก็คือผู้ที่ละแล้วซึ่งกิเลศทั้งปวงนั่นเอง
จากความหมายของยอดมนุษย์ที่กล่าวไป อาจทำให้คิดได้ว่ายอดมนุษย์มันสามารถจะเป็นกันได้ง่ายๆ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ หากลองตรองดูถึงวิถีสู่การเป็นยอดมนุษย์ ที่จะต้องลดละเลิกอะไรบ้าง กิเลศทั้งปวงที่กล่าวไปแล้วนั้นเราจะกำจัดมันไปได้อย่างไรกัน ก็ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นมันเป็นธรรมชาติเดิมแท้ของมนุษย์ เป็นสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิต เป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด หากลองสังเกตจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ที่นอกเหนือจากมนุษย์ สัตว์ที่อยู่ในป่าเขาใช้ชีวิตตามวงจรที่ถูกกำหนดมาโดยธรรมชาติแท้ไร้การปรุงแต่งใดๆ สัตว์เหล่านั้นจึงใช้สัญชาตญาณดิบในการดำรงชีวิต แต่ในสัตว์ประเภทที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคม ก็ย่อมต้องมีพฤติกรรมทางสังคม เช่นการสื่อสาร การควบคุมกลุ่ม การคุ้มครองสมาชิกในกลุ่ม ฯลฯ แล้วในสังคมมนุษย์ที่มีการรวมตัวกันทางสังคมที่ขนาดใหญ่ว่าฝูงสัตว์หลายเท่าตัวนัก ย่อมต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้สังคมดำรงอยู่ได้ต่อไปให้ยาวนานที่สุด
ที่สุดของธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตนั้น มนุษย์จัดเป็นสัตว์ประเสริฐ นั้นหมายถึงมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถพัฒนาได้ สามารถพัฒนาจิตให้ละเอียดถึงระดับจิตวิญญาณ มนุษย์เป็นภพภูมิเดียวที่สามารถไปสู่นิพพานได้ ในทางตรงข้ามก็มนุษย์เท่านั้นที่สามารถลงนรกต่ำสุดถึงอเวจีได้ สิ่งที่จะมากำกับจิตมนุษย์ให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้องไม่ตกต่ำลงไปก็คือปัญญา ในขณะที่จิตเป็นผู้ทำให้เกิดปัญญา ปัญญาก็จะกลับมากำกับจิต สัญชาตญาณนั้นเป็นภาวะจิตพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เช่นสัญชาติญาณเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิต ในกลไกของสิ่งมีชีวิตสัญชาติญาณนั้นจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติจากระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบประสาทที่ไม่ซับซ้อน และระบบฮอร์โมน เป็นต้น ในแง่ของสัจธรรมสัญชาตญาณนั้นขึ้นอยู่กับ พันธุกรรม พฤติกรรม และวิบากกรรม ซึ่งสัญชาตญาณมักเกิดร่วมกับอารมณ์มนุษย์ทั้งทางด้าน กิน กาม เกียรติ ตามความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ แต่หากมนุษย์พัฒนาจิตให้สูงขึ้นก็จะสามารถพัฒนาสัญชาตญาณหรืออารมณ์ดิบ ไปสู่การปฏิบัติ หรือการตอบสนองได้อย่างเป็นระบบโดยต้องพัฒนาทั้งพฤติกรรม และวิบากกรรม ให้สามารถพิจารณาด้วยปัญญาในการตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ ให้ผ่านระบบความคิดหรือจิตใจก่อน ทั้งนี้จิตนั้นจัดเป็นธรรมชาติภาครู้ เมื่อรับรู้จากอารมณ์แล้วก็จะเกิดเป็นมโนสัญญา เกิดเป็นตัวรู้ ธาตุรู้หรือเกิดเป็นปัญญา หากเรามีปัญญาระดับจิต ปัญญานั้นก็จะเป็นปัญญาธรรมดา แต่หากเราสามารถพัฒนาจิตให้ละเอียดถึงระดับจิตวิญญาณ หรือวิญญาณแท้ในจิต ปัญญาก็จะเป็นปัญญาในระดับปัญญาญาณ แต่กระนั้นสัญชาตญาณดิบที่เรามีก็ยังแอบซ่อนอยู่อยู่ในจิตเราอยู่นั่นเอง ในจิตระดับสูงนั้นมักแอบแฝงอยู่ในลักษณะอนุสัยกิเลส โดยจะอาจจะเข้ามากวนจิต บางครั้งอาจจะกวนจนถึงระดับจิตวิญญาณ เราจึงต้องพัฒนาสัญชาตญาณให้สุกก่อน เพื่อเราสามารถควบคุมจิตให้ได้ โดยต้องไม่ตามใจ กิน กาม เกียรติ จนมากเกินพอดี อันจะทำให้ไปส่งเสริมสัญชาติญาณคือเกิดความเคยกิน อันจะทำให้ หากจิตขาดปัญญาไม่ทันสัญชาติญาณที่แอบแฝง จิตก็อาจมุ่งสู่ทางเสื่อมได้ ในภาวะจิตที่พัฒนาจนเป็นฤทธิ์นั้นจะยิ่ง อันตรายมาก หากไปตามใจสัญชาตญาณไปติดในกิน กาม เกียรติ จนเกินพอดี ก็เหมือนมีอาวุธแต่ใช้ในทางที่ผิดอันจะก่อให้เกิดบาปมหันต์สามารถทำให้ตกภพภูมิสู่เบื้องต่ำซึ่งสามารถตกต่ำที่สุดได้ถึงอเวจีเลยทีเดียว
ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกที่มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาจะไม่สามารถไปสู่นิพพานได้ การพัฒนาระดับของสติปัญญามนุษย์เพื่อนำมากำกับจิต ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะปัญญานั้นก็จะเป็นปัญญาธรรมดา หรือเป็นปัญญาในระดับปัญญาญาณ สำหรับคำว่ายอดมนุษย์ที่ไม่ใช่หมายถึงคนที่ปราศจากอารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง แต่เป็นคนที่รู้เท่าทันในอารมรมณ์ที่ทำธรรมชาติเป็นผู้กำหนดให้นั้น ย่อมเป็นผู้ที่อยู่เหนือมนุษยชาติธรรมดาทั่วไป
Superman
แต่ยอดมนุษย์ที่บทความนี้ต้องการจะกล่าวถึงนั้น จะพูดถึงในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากจิตใจ ไม่ว่าจะเป็น ความรัก ความคาดหวัง ความต้องการปารถนา ความกลัว ความวิตก ความกังวล ฯลฯ หากเป็นมนุษย์ธรรมดาทั่วไปย่อมมีอารมณ์เหล่านี้เจือปนมากน้อยย่อมเป็นเรื่องปกติ แต่ยอดมนุษย์นั้นย่อมต้องปราศจากอารมณ์เหล่านี้ทั้งปวง หากพูดในฐานะชาวพุทธ อารมณ์เหล่านี้ก็คือกิเลศนั่นเอง ซึ่งประกอบไปด้วย รัก โลภ โกรธ หลง และยอดมนุษย์นั้นก็คือผู้ที่ละแล้วซึ่งกิเลศทั้งปวงนั่นเอง
จากความหมายของยอดมนุษย์ที่กล่าวไป อาจทำให้คิดได้ว่ายอดมนุษย์มันสามารถจะเป็นกันได้ง่ายๆ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ หากลองตรองดูถึงวิถีสู่การเป็นยอดมนุษย์ ที่จะต้องลดละเลิกอะไรบ้าง กิเลศทั้งปวงที่กล่าวไปแล้วนั้นเราจะกำจัดมันไปได้อย่างไรกัน ก็ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นมันเป็นธรรมชาติเดิมแท้ของมนุษย์ เป็นสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิต เป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด หากลองสังเกตจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ที่นอกเหนือจากมนุษย์ สัตว์ที่อยู่ในป่าเขาใช้ชีวิตตามวงจรที่ถูกกำหนดมาโดยธรรมชาติแท้ไร้การปรุงแต่งใดๆ สัตว์เหล่านั้นจึงใช้สัญชาตญาณดิบในการดำรงชีวิต แต่ในสัตว์ประเภทที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคม ก็ย่อมต้องมีพฤติกรรมทางสังคม เช่นการสื่อสาร การควบคุมกลุ่ม การคุ้มครองสมาชิกในกลุ่ม ฯลฯ แล้วในสังคมมนุษย์ที่มีการรวมตัวกันทางสังคมที่ขนาดใหญ่ว่าฝูงสัตว์หลายเท่าตัวนัก ย่อมต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้สังคมดำรงอยู่ได้ต่อไปให้ยาวนานที่สุด
ที่สุดของธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตนั้น มนุษย์จัดเป็นสัตว์ประเสริฐ นั้นหมายถึงมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถพัฒนาได้ สามารถพัฒนาจิตให้ละเอียดถึงระดับจิตวิญญาณ มนุษย์เป็นภพภูมิเดียวที่สามารถไปสู่นิพพานได้ ในทางตรงข้ามก็มนุษย์เท่านั้นที่สามารถลงนรกต่ำสุดถึงอเวจีได้ สิ่งที่จะมากำกับจิตมนุษย์ให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้องไม่ตกต่ำลงไปก็คือปัญญา ในขณะที่จิตเป็นผู้ทำให้เกิดปัญญา ปัญญาก็จะกลับมากำกับจิต สัญชาตญาณนั้นเป็นภาวะจิตพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เช่นสัญชาติญาณเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิต ในกลไกของสิ่งมีชีวิตสัญชาติญาณนั้นจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติจากระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบประสาทที่ไม่ซับซ้อน และระบบฮอร์โมน เป็นต้น ในแง่ของสัจธรรมสัญชาตญาณนั้นขึ้นอยู่กับ พันธุกรรม พฤติกรรม และวิบากกรรม ซึ่งสัญชาตญาณมักเกิดร่วมกับอารมณ์มนุษย์ทั้งทางด้าน กิน กาม เกียรติ ตามความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ แต่หากมนุษย์พัฒนาจิตให้สูงขึ้นก็จะสามารถพัฒนาสัญชาตญาณหรืออารมณ์ดิบ ไปสู่การปฏิบัติ หรือการตอบสนองได้อย่างเป็นระบบโดยต้องพัฒนาทั้งพฤติกรรม และวิบากกรรม ให้สามารถพิจารณาด้วยปัญญาในการตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ ให้ผ่านระบบความคิดหรือจิตใจก่อน ทั้งนี้จิตนั้นจัดเป็นธรรมชาติภาครู้ เมื่อรับรู้จากอารมณ์แล้วก็จะเกิดเป็นมโนสัญญา เกิดเป็นตัวรู้ ธาตุรู้หรือเกิดเป็นปัญญา หากเรามีปัญญาระดับจิต ปัญญานั้นก็จะเป็นปัญญาธรรมดา แต่หากเราสามารถพัฒนาจิตให้ละเอียดถึงระดับจิตวิญญาณ หรือวิญญาณแท้ในจิต ปัญญาก็จะเป็นปัญญาในระดับปัญญาญาณ แต่กระนั้นสัญชาตญาณดิบที่เรามีก็ยังแอบซ่อนอยู่อยู่ในจิตเราอยู่นั่นเอง ในจิตระดับสูงนั้นมักแอบแฝงอยู่ในลักษณะอนุสัยกิเลส โดยจะอาจจะเข้ามากวนจิต บางครั้งอาจจะกวนจนถึงระดับจิตวิญญาณ เราจึงต้องพัฒนาสัญชาตญาณให้สุกก่อน เพื่อเราสามารถควบคุมจิตให้ได้ โดยต้องไม่ตามใจ กิน กาม เกียรติ จนมากเกินพอดี อันจะทำให้ไปส่งเสริมสัญชาติญาณคือเกิดความเคยกิน อันจะทำให้ หากจิตขาดปัญญาไม่ทันสัญชาติญาณที่แอบแฝง จิตก็อาจมุ่งสู่ทางเสื่อมได้ ในภาวะจิตที่พัฒนาจนเป็นฤทธิ์นั้นจะยิ่ง อันตรายมาก หากไปตามใจสัญชาตญาณไปติดในกิน กาม เกียรติ จนเกินพอดี ก็เหมือนมีอาวุธแต่ใช้ในทางที่ผิดอันจะก่อให้เกิดบาปมหันต์สามารถทำให้ตกภพภูมิสู่เบื้องต่ำซึ่งสามารถตกต่ำที่สุดได้ถึงอเวจีเลยทีเดียว
ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกที่มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาจะไม่สามารถไปสู่นิพพานได้ การพัฒนาระดับของสติปัญญามนุษย์เพื่อนำมากำกับจิต ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะปัญญานั้นก็จะเป็นปัญญาธรรมดา หรือเป็นปัญญาในระดับปัญญาญาณ สำหรับคำว่ายอดมนุษย์ที่ไม่ใช่หมายถึงคนที่ปราศจากอารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง แต่เป็นคนที่รู้เท่าทันในอารมรมณ์ที่ทำธรรมชาติเป็นผู้กำหนดให้นั้น ย่อมเป็นผู้ที่อยู่เหนือมนุษยชาติธรรมดาทั่วไป