https://www.facebook.com/photo.php?fbid=572931909434286&set=a.570485129678964.1073742138.100001524474522&type=1&permPage=1
"จากไข้เลือดออก ..ถึงชีวิตเด็กน้อย..ใครควรร่วมรับผิดชอบ ยุง หมอ ครู อบต. หรือ ผู้ปกครอง"
คนไข้ ไอซียู เตียง 9 ชื่อ เด็กหญิงมัจจาพร อายุ 13 ปี
ป้ายหน้าเตียงเขียนว่า Dengue hemorrhagic fever ( โรคไข้เลือดออก)
เด็กหญิงนอนนิ่งบนเตียง ซึม ไม่พูดไม่จา หน้าแดงก่ำ ตามีจุดเลือดออก แขน ขา มีจุดเลือดออกเห็นเป็นจุดเล็กๆ สีแดง กระจายอยู่ทั่ว สายเสียบจากจมูก เข้าไปที่กระเพาะอาหาร เห็นเลือดสีแดงสดๆ ภายในสาย
พยาบาลกำลังใช้น้ำเย็น ฉีดเข้าไปในกระเพาะอาหาร ผ่านท่อที่เสียบจมูก และดูดเอาน้ำที่กระเพาะอาหารออกมา การทำเช่นนี้เรียก Gastric lavage หมายถึงการล้างกระเพาะอาหาร เพื่อห้ามเลือด
หมอสมัย เจาะเลือดที่ข้อพับแขนของเธอ ส่งตรวจดูการแข็งตัวของเลือด ความเข้มข้นของเลือด และเกร็ดเลือด หมอถอนหายใจ เมื่อคลำชีพจรเด็กหญิง พบว่าเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ เด็กหญิงมัจจาพรกำลังอยู่ใน “ระยะช๊อก”ของโรคไข้เลือดออก
"ให้เลือด และเกร็ดเลือดเลยนะครับ" หมอสั่ง
หน้าห้องไอซียู...
นางลัดดาผู้เป็นแม่ของเด็กหญิงมัจจาพร เดินไปมาอย่างกระสับกระส่าย นางบ่นกับญาติว่า
"ทำไม ไปหาหมอไม่รู้กี่ครั้ง หมอไม่รู้ว่าเป็นไข้เลือดออก มารู้ ก็จวนแย่แล้ว"
เป็นเช่นนั้นจริง โรคไข้เลือดออกนั้น บางทีตรวจไม่รู้ หมอให้การวินิจฉัย เมื่อคนไข้จะแย่แล้ว
"ถ้าลูกชั้นเป็นอะไร ฉันจะฟ้องหมอ ฟ้องโรงพยาบาล...." นางเอ่ยถึงชื่อคลีนิก และโรงพยาบาล ที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเด็กหญิงมัจจาพรเป็นโรคไข้เลือดออก
เห็นลูกนอนซึมไม่พูดไม่จา มีเลือดออกจากกระเพาะอาหารตลอด หัวใจนางเต้นรัว ด้วยความกลัวผสมความโกรธ...ดวงตาเอ่อน้ำ
ภาพลูกพร่าเลือน...เมื่อห้าวันก่อน
ครูประจำชั้นพาเด็กหญิงมัจจาพรกลับบ้านตอนกลางวันบอกว่า
"หลังเข้าแถว มัจจาพรตัวร้อนมากค่ะคุณแม่ ครูเช็ดตัวให้ก็ยังไม่ดีขื้น ให้กินยาพาราเซ็ทตามอลลดไข้แล้ว ก็ยังตัวร้อน เลยเอามาส่งบ้านนะคะ เผื่อคุณแม่จะพาไปหาหมอ"
นางลัดดารีบพาลูกไปหาหมอกิตติที่คลีนิก ตอนเที่ยงครึ่ง หมอถามเด็กหญิงมัจจาพรว่า
"เป็นไงลูก หนูไอ มีน้ำมูก เจ็บคอมั้ย"
เด็กหญิงบอกว่า "ไม่ค่ะ"
"ปวดเมื่อยเนื้อตัวไหม"
"ไม่ค่ะ ปวดหัวอย่างเดียว"
หมอวัดไข้ บอกว่า "ไข้สูงนะคุณแม่ สี่สิบองศาเซลเซียส" หมอใช้หูฟังตรวจปอด ตรวจหัวใจ
"เอ้า! อ้าปากหน่อยลูก" หมอเอาไม้กดลิ้น กดลิ้น ดูคอ แล้วบอกว่า
"คอแดงนิดหน่อยนะครับคุณแม่ น่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่"
นางลัดดาฟังก็สบายใจ หมอถามต่อว่า
"ไข้สูงมาก คุณแม่จะให้ลูกฉีดยามั้ย "
"ฉีดก็ดี หมอ ใกล้สอบแล้วด้วย"
"อย่าลืมเวลาลูกตัวร้อน ให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดา จะช่วยลดไข้ได้นะครับ อย่าให้ลูกกินน้ำแข็งน้ำเย็นนะครับคุณแม่ ให้กินแต่ข้าวต้ม ถ้าสองสามวันยังตัวร้อนอยู่ อาจต้องพามาหาหมอใหม่" หมอกิตติบอก
นางลัดดาพยักหน้า ในใจคิดว่า "หมอคงอยากให้ป่วย จะได้พาลูกมาหาหมออีก"
หมอฉีดยาเสร็จ จ่ายยาให้มากินที่บ้าน นางลัดดาพาลูกกลับบ้าน
ถึงบ้านเด็กหญิงมัจจาพรไข้ลง กินข้าวต้มได้มาก ทำให้นางลัดดาสบายใจ พอตกดึก เด็กหญิงไข้สูง ปวดหัวมาก อาเจียนหลายครั้ง นางรีบเอายาที่หมอให้ ให้ลูกกิน ลูกจึงหลับได้
เช้ามา ตัวลูกยังร้อนจัด กินอะไรไม่ลงเลย นางลัดดายังคงใจเย็น ให้ลูกกินยา แต่ตกบ่าย เด็กหญิงอาเจียนหลายครั้ง ตกเย็น นางจึงพาไปหาหมอกิตติอีก
หมอตรวจแบบเดิม เขาบอกว่า "เป็นโรคไวรัสลงกระเพาะนะครับคุณแม่ จึงอาเจียนมาก ถ้าเพลีย อาจต้องให้น้ำเกลือ "
"เพลียไหมลูก" เธอถามเด็กหญิง เด็กหญิงสั่นหัว เธอคงกลัวเข็มให้น้ำเกลือ
"เดี๋ยวหมอจะฉีดยาแก้อาเจียนให้นะครับ ถ้ายังไม่อยากให้น้ำเกลือ ผมจะจัดน้ำเกลือแห้งไป ให้หสมน้ำให้ลูกดื่มแทนน้ำนะครับ"
"ตัวยังร้อนตลอดเลยนะหมอ" นางบ่นให้หมอฟัง
"ครับ ต้องกินยาแก้ไข้ทุกสี่ชั่วโมง" หมอกิตติบอก
ฉีดยาแก้อาเจียนแล้ว กลับมาบ้าน ลูกหยุดอาเจียน ให้กินยาแก้ไข้ทุกสี่ชั่วโมง ตัวร้อนบ้างเย็นบ้างสลับกัน ตกดึกเด็กหญิงมัจจาพรตัวร้อนมาก อาเจียน
นางพาลูกมาโรงพยาบาลอำเภอใกล้บ้าน ตอนตีสอง
หมอหน้าตาเด็กๆ มาตรวจถามว่า "เป็นไข้มากี่วัน"
"สามวันนี้แล้ว" นางลัดดาบอก
"อาการเป็นไข้หวัดนะแม่" หมอคนนั้น “หาว”หลังจากเอาหูฟังที่หน้าอก เด็กหญิงมัจจาพรพอเป็นพิธี
"ฉีดยาแก้ไข้หน่อยนะ" เขาบอกนางลัดดา
ลูกดูซึมลง ไม่อยากพูดอะไร หรือเพราะว่ามันดึกมาก นางคิด
"ต้องนอนโรงพยาบาลไหมหมอ" นางถาม
"โอ๊ย! ไม่ต้องหรอก กลับไปเดี๋ยวก็ไข้ลง" หมอว่า อย่างเห็นเป็นเรื่องเล็ก
ฉีดยาเสร็จ พยาบาลหน้าตาอาวุโส สั่งว่า "คุณแม่ ถ้าไม่ดีขื้น พรุ่งนี้เช้ามาลูกมาตรวจใหม่นะ"
พาลูกกลับบ้าน ลูกนอนไม่ได้ ดิ้นไปมาเอามือกดท้อง บอกว่าปวดท้อง ได้แต่บอกลูกว่า
"อดทนหนู อดทน รอตอนเช้านะ"
รุ่งเช้า นางลัดดาพาลูกไปโรงพยาบาลใกล้บ้านที่เดิม เด็กหญิงอาเจียนเป็นเลือดจางๆ มีเลือดกำเดาออกจมูก นางลัดดารีบ เอาน้ำแข็งประคบตรงดั้งจมูกให้ลูก
เด็กหญิงบ่นปวดท้องมาก เมื่อไปถึงโรงพยาบาล คราวนี้หมอผู้อำนวยการโรงพยาบาลตรวจเอง เขาถามว่า
"เป็นไข้มากี่วัน"
"3-4วัน ตัวร้อนตลอด อาเจียน กินอะไรไม่ได้เลยหมอ"
"รีบให้น้ำเกลือ" หมอสั่งเสียงร้อนรน หมอเอามือกดที่ชายโครงขวา และเด็กหญิงมัจจาพรสะดุ้งเกร็งสุดตัว
"โอ๊ย! เจ็บ"
หมอจับแขนขาพินิจพิจารณา บอกนางลัดดาว่า
"มีจุดเลือดออกตามแขนขา ตับก็โต หมอสงสัยเป็นไข้เลือดออก ต้องเจาะเลือดตรวจด่วน"
"ไข้เลือดออก" นางลัดดาร้อง รู้สึกโกรธ รู้ว่าไข้เลือดออกเป็นโรคร้ายแรงมาก
"เมื่อคืนก็พามา บอกเป็นไข้หวัด แขนก็ไม่รัดดู" นางพูดเสียงดัง รู้สึกโกรธหมอหน้าอ่อนๆ เมื่อคืนจนเลือดขึ้นหน้า นางรู้เหมือนคนอื่นๆที่ว่า ... ไข้เลือดออกวินิจฉัยโดยการรัดแขนดูจุดเลือดออก
"ไข้เลือดออกมันวินิจฉัยยากนะครับคุณแม่ กว่าจะวินิจฉัยได้อาการชัด ก็มักจะเป็นมากแล้ว" หมอผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำเภอ ตอบเสียงสุภาพ
"แล้วทำไมไม่รับลูกชั้นไว้รักษาตั้งแต่เมื่อคืน" นางยังโกรธจัด หมอผู้อำนวยการไม่ตอบ ...
เขารู้ หมอใหม่ๆบางทีขาดประสบการณ์ และความระแวดระวัง แต่จะไปพูดได้อย่างไร เพราะตอนเขาเป็นหมอใหม่ ก็เป็นเช่นนี้ กว่าจะเป็นหมออาวุโสที่มีความชำนาญ ก็ผ่านบทเรียนต่างๆ จากคนไข้มามากต่อมาก
รีบรับเด็กหญิงไว้ในโรงพยาบาล ให้น้ำเกลือ เจาะเลือดสองกระบอก พอตกตอนบ่าย เด็กหญิงอาเจียนตลอด มีเลือดกำเดาออกมาก หมอผู้อำนวยการมาดูอาการ
"ผลเลือดบอกว่า เป็นไข้เลือดออกอย่างแรง ต้องรีบไปโรงพยาบาลจังหวัดตอนนี้เลย ให้หมอผู้เชี่ยวชาญที่โน้นดูแล"
มองลูกที่นอนกระสับกระส่าย ริมฝีปากแดงจัดแตกแห้ง หน้าแดงก่ำ เลือดกำเดากรังสองจมูกแล้วรู้สึกโมโหจนมือไม้สั่น
"แล้วทำไม ไม่ให้ไปโรงพยาบาลจังหวัดแต่เช้า" นางต่อว่า
หมอโรงพยาบาลอำเภอ เอารถโรงพยาบาลมาส่ง มาถึงโรงพยาบาลจังหวัด หมอที่นั่นวิ่งวุ่น บอกว่า ลูกสาวของนางเป็น ไข้เลือดออกในระยะช๊อก และรับตัวเข้าไอซียูทันที
หมอสมัย กุมารแพทย์ หรือหมอเด็กประจำโรงพยาบาลจังหวัด เอาท่อออกซิเจนซึ่งเป็นท่อเล็กๆ สวมรูจมูกเด็กหญิงมัจจาพร เจาะเลือดจากปลายนิ้วของเด็กหญิงทุกหนึ่งชั่วโมง เพื่อตรวจดูความเข้มข้นของเลือด ให้เลือดหมดถุงแล้ว เขาสั่งให้พลาสมา (น้ำเหลือง) ต่อ เพื่อรักษาความดันโลหิต ไม่ให้ตกลงไปอีก
หน้าตาหมอค่อนข้างกังวล ในระยะช๊อกนี้ ธรรมชาติให้ โอกาสหมอรักษาเด็กหญิงมัจจาพรเพียงสองวัน ถ้ารักษาช๊อกไม่ได้ เด็กหญิงมัจจาพรอาจจะ“เสียชีวิต” ได้
หมอหน้าตาเป็นปกติ แต่ใจกังวล...
ช่วงนี้ ไข้เลือดออกเริ่มระบาดอีก เชื่อกันว่า เพราะอุณหภูมิของโลกร้อนขื้น ทำให้ยุงลายเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวน
อาทิตย์ที่แล้ว เด็กหญิงปุ๋ย อายุ 9 ขวบ หน้าตาน่ารัก ก็เสียชีวิตไป หลังจากเป็นไข้เลือดออกในระยะช๊อก เกร็ดเลือดต่ำมาก มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร และออกในสมอง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรคนี้
เด็กหญิงปุ๋ยเป็นหนัก เพราะมารดาไปซื้อยา "แอสไพริน" แก้ไข้มาให้กินหลายครั้ง โดยไม่รู้ว่า ยานี้ทำให้อาการไข้เลือดออกเป็นมากขื้น เกิดตกเลือดในอวัยวะต่างๆ
อาการที่บ่งว่าคนไข้โรคไข้เลือดออกจะแย่ คือ เลือดออกจำนวนมากตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และมีอาการชัก
สองวันต่อมา...
พยาบาลบอกหมอสมัย ที่มานอนห้องไอซียูเพื่อเฝ้าดูอาการของเด็กหญิงมัจจาพรอย่างเป็นห่วง
"หมอ ลาวาจ (lavage) แล้วไม่มีเลือด" น้ำเสียงพยาบาลแสดงความยินดี
รายงานเช่นนี้...แสดงว่า เลือดที่ออกในกระเพาะอาหารหยุดแล้ว
หมอสมัยเจาะดูความเข้มข้นของเลือดอีก จาก 60 เปอร์เซ็นต์ ลดลงมาเหลือ 55
(คนปกติ ความเข้มข้นของเลือด 35-45 เปอร์เซ็นต์)
"ให้น้ำเกลือช้าลง" หมอบอก เมื่อความเข้มข้นของเลือดลดลง...แปลว่าเด็กหญิงกำลังอยู่ในระยะฟื้น...จะพ้นภาวะช๊อก ถ้าให้น้ำเกลือมากไปในระยะนี้ จะทำให้ปอดบวม และหัวใจวายได้
ความเข้มข้นของเลือดเด็กหญิงลดลง จาก 55 เป็น 50 เป็น 45 และ 40 หมอสั่งให้ยาขับน้ำปัสสาวะ เพื่อป้องกันหัวใจวาย
เด็กหญิงมัจจาพรพ้นขีดอันตรายแล้ว
นางลัดดาเข้ามาดูลูกอย่าง..ยินดี เมื่อพยาบาลห้องไอซียูบอกว่า
"อาการเด็กหญิงมัจจาพรพ้นขีดอันตรายแล้วนะคะ" ฟังพยาบาลบอก ถึงนางดีใจ นางก็ไม่ยิ้ม ไม่ขอบคุณ ความแค้นเคืองว่า เพราะหมอทำให้ลูกนางเป็นหนักขนาดนี้...ยังมีอยู่เต็มอก
ขึ้นชื่อว่าหมอ ก็เป็นพวกเดียวกัน คนหนึ่งทำผิด คนอื่นๆก็ต้องรับผิดด้วย...นางคิด
นางไม่รู้หรอกว่าหมอสมัยและพยาบาล ต้องอดตาหลับขับตานอน เพื่อเฝ้าเด็กหญิงมัจจาพร “อย่างใกล้ชิดและทุ่มเท”เพียงใด
ออกจากห้องไอซียู ไปอยู่ตึกกุมารเวช หนึ่งวัน หมอบอกหายดีแล้ว ให้กลับบ้านได้
นางลัดดารู้สึกสบายใจขื้นมามาก ขณะฟังพยาบาลสอนสุขศึกษาว่า
"คุณแม่คะ ไข้เลือดออกนี้เป็นโรคที่รุนแรง และยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ได้ สิ่งสำคัญ ก็คือ อย่าให้ยุงลายกัด ยุงลายนี้มันกัดตอนกลางวัน เด็กหญิงมัจจาพรอาจได้รับเชื้อไข้เลือดออกมาจากยุงลายที่โรงเรียนหรือที่บ้าน ตอนนี้ ทางโรงพยาบาลได้ส่งนักวิชาการสุขศึกษาไปช่วยปราบยุงที่โรงเรียน ส่วนที่บ้าน คุณแม่ควรจะปราบยุงลายที่ร้ายกว่าเสือดังนี้นะคะ
ป้องกันอย่าให้ยุงลายกัด โดยการติดตั้งมุ้งลวด หรือใช้ยากันยุง
กำจัดและทำลายยุงลาย ตัวนำเชื้อโรคไข้เลือดออก เนื่องจากยุงพวกนี้ ชอบวางไขในน้ำนิ่งที่สะอาด ดังนั้น ภาชนะที่ขังน้ำสะอาด ควรมีฝาปิด อย่าให้น้ำขังในกระป๋อง กะลา ขาโต๊ะกับข้าว แจกัน
มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไปช่วยกำจัดยุง และนำทรายอะเบส ทรายพิเศษไปโรยใส่น้ำขัง เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายนะคะ คุณแม่"
จูงมือลูกกลับบ้าน มองลูกที่ร่างกายผ่ายผอมด้วยความสงสาร นางลัดดาคิดว่า
"ดีนะ ที่ลูกหายป่วย ถ้าไม่หาย หรือเป็นอะไรไป แม่จะเอาเรื่องหมอและพยาบาลที่รักษาลูกมัจจาพรทุกคน"
"นินฺทาย นปฺปเวเธยฺย น อุณฺณเมยฺย ปสํสิโต ภิกฺขิ โลภํ สห มจฺฉริเยน โกธํ เปสุณิยญฺจ ปนุเทยฺย ....นินทาและสรรเสริญเป็นโลกธรรม คือของมีอยู่ประจำโลก ซึ่งจะเกิดขื้นทุกระดับ ไม่ว่าเป็นปุถุชน หรือ อริยบุคคล ภิกษุ ไม่ควรหวั่นไหวกับการสรรเสริญนินทา ปุถุชนธรรมดาก็เช่นกัน"
หมอพยาบาลก็เช่นกัน
=============================
จากหนังสือ 108 คนไข้ I.C.U.
โดย พญ.ชัญวลี ศรีสุโข
ตีพิมพ์ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2545
สำนักพิมพ์สนุกอ่าน
============================
(ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง)
จากไข้เลือดออก ..ถึงชีวิตเด็กน้อย..ใครควรร่วมรับผิดชอบ ยุง หมอ ครู อบต. หรือ ผู้ปกครอง
"จากไข้เลือดออก ..ถึงชีวิตเด็กน้อย..ใครควรร่วมรับผิดชอบ ยุง หมอ ครู อบต. หรือ ผู้ปกครอง"
คนไข้ ไอซียู เตียง 9 ชื่อ เด็กหญิงมัจจาพร อายุ 13 ปี
ป้ายหน้าเตียงเขียนว่า Dengue hemorrhagic fever ( โรคไข้เลือดออก)
เด็กหญิงนอนนิ่งบนเตียง ซึม ไม่พูดไม่จา หน้าแดงก่ำ ตามีจุดเลือดออก แขน ขา มีจุดเลือดออกเห็นเป็นจุดเล็กๆ สีแดง กระจายอยู่ทั่ว สายเสียบจากจมูก เข้าไปที่กระเพาะอาหาร เห็นเลือดสีแดงสดๆ ภายในสาย
พยาบาลกำลังใช้น้ำเย็น ฉีดเข้าไปในกระเพาะอาหาร ผ่านท่อที่เสียบจมูก และดูดเอาน้ำที่กระเพาะอาหารออกมา การทำเช่นนี้เรียก Gastric lavage หมายถึงการล้างกระเพาะอาหาร เพื่อห้ามเลือด
หมอสมัย เจาะเลือดที่ข้อพับแขนของเธอ ส่งตรวจดูการแข็งตัวของเลือด ความเข้มข้นของเลือด และเกร็ดเลือด หมอถอนหายใจ เมื่อคลำชีพจรเด็กหญิง พบว่าเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ เด็กหญิงมัจจาพรกำลังอยู่ใน “ระยะช๊อก”ของโรคไข้เลือดออก
"ให้เลือด และเกร็ดเลือดเลยนะครับ" หมอสั่ง
หน้าห้องไอซียู...
นางลัดดาผู้เป็นแม่ของเด็กหญิงมัจจาพร เดินไปมาอย่างกระสับกระส่าย นางบ่นกับญาติว่า
"ทำไม ไปหาหมอไม่รู้กี่ครั้ง หมอไม่รู้ว่าเป็นไข้เลือดออก มารู้ ก็จวนแย่แล้ว"
เป็นเช่นนั้นจริง โรคไข้เลือดออกนั้น บางทีตรวจไม่รู้ หมอให้การวินิจฉัย เมื่อคนไข้จะแย่แล้ว
"ถ้าลูกชั้นเป็นอะไร ฉันจะฟ้องหมอ ฟ้องโรงพยาบาล...." นางเอ่ยถึงชื่อคลีนิก และโรงพยาบาล ที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเด็กหญิงมัจจาพรเป็นโรคไข้เลือดออก
เห็นลูกนอนซึมไม่พูดไม่จา มีเลือดออกจากกระเพาะอาหารตลอด หัวใจนางเต้นรัว ด้วยความกลัวผสมความโกรธ...ดวงตาเอ่อน้ำ
ภาพลูกพร่าเลือน...เมื่อห้าวันก่อน
ครูประจำชั้นพาเด็กหญิงมัจจาพรกลับบ้านตอนกลางวันบอกว่า
"หลังเข้าแถว มัจจาพรตัวร้อนมากค่ะคุณแม่ ครูเช็ดตัวให้ก็ยังไม่ดีขื้น ให้กินยาพาราเซ็ทตามอลลดไข้แล้ว ก็ยังตัวร้อน เลยเอามาส่งบ้านนะคะ เผื่อคุณแม่จะพาไปหาหมอ"
นางลัดดารีบพาลูกไปหาหมอกิตติที่คลีนิก ตอนเที่ยงครึ่ง หมอถามเด็กหญิงมัจจาพรว่า
"เป็นไงลูก หนูไอ มีน้ำมูก เจ็บคอมั้ย"
เด็กหญิงบอกว่า "ไม่ค่ะ"
"ปวดเมื่อยเนื้อตัวไหม"
"ไม่ค่ะ ปวดหัวอย่างเดียว"
หมอวัดไข้ บอกว่า "ไข้สูงนะคุณแม่ สี่สิบองศาเซลเซียส" หมอใช้หูฟังตรวจปอด ตรวจหัวใจ
"เอ้า! อ้าปากหน่อยลูก" หมอเอาไม้กดลิ้น กดลิ้น ดูคอ แล้วบอกว่า
"คอแดงนิดหน่อยนะครับคุณแม่ น่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่"
นางลัดดาฟังก็สบายใจ หมอถามต่อว่า
"ไข้สูงมาก คุณแม่จะให้ลูกฉีดยามั้ย "
"ฉีดก็ดี หมอ ใกล้สอบแล้วด้วย"
"อย่าลืมเวลาลูกตัวร้อน ให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดา จะช่วยลดไข้ได้นะครับ อย่าให้ลูกกินน้ำแข็งน้ำเย็นนะครับคุณแม่ ให้กินแต่ข้าวต้ม ถ้าสองสามวันยังตัวร้อนอยู่ อาจต้องพามาหาหมอใหม่" หมอกิตติบอก
นางลัดดาพยักหน้า ในใจคิดว่า "หมอคงอยากให้ป่วย จะได้พาลูกมาหาหมออีก"
หมอฉีดยาเสร็จ จ่ายยาให้มากินที่บ้าน นางลัดดาพาลูกกลับบ้าน
ถึงบ้านเด็กหญิงมัจจาพรไข้ลง กินข้าวต้มได้มาก ทำให้นางลัดดาสบายใจ พอตกดึก เด็กหญิงไข้สูง ปวดหัวมาก อาเจียนหลายครั้ง นางรีบเอายาที่หมอให้ ให้ลูกกิน ลูกจึงหลับได้
เช้ามา ตัวลูกยังร้อนจัด กินอะไรไม่ลงเลย นางลัดดายังคงใจเย็น ให้ลูกกินยา แต่ตกบ่าย เด็กหญิงอาเจียนหลายครั้ง ตกเย็น นางจึงพาไปหาหมอกิตติอีก
หมอตรวจแบบเดิม เขาบอกว่า "เป็นโรคไวรัสลงกระเพาะนะครับคุณแม่ จึงอาเจียนมาก ถ้าเพลีย อาจต้องให้น้ำเกลือ "
"เพลียไหมลูก" เธอถามเด็กหญิง เด็กหญิงสั่นหัว เธอคงกลัวเข็มให้น้ำเกลือ
"เดี๋ยวหมอจะฉีดยาแก้อาเจียนให้นะครับ ถ้ายังไม่อยากให้น้ำเกลือ ผมจะจัดน้ำเกลือแห้งไป ให้หสมน้ำให้ลูกดื่มแทนน้ำนะครับ"
"ตัวยังร้อนตลอดเลยนะหมอ" นางบ่นให้หมอฟัง
"ครับ ต้องกินยาแก้ไข้ทุกสี่ชั่วโมง" หมอกิตติบอก
ฉีดยาแก้อาเจียนแล้ว กลับมาบ้าน ลูกหยุดอาเจียน ให้กินยาแก้ไข้ทุกสี่ชั่วโมง ตัวร้อนบ้างเย็นบ้างสลับกัน ตกดึกเด็กหญิงมัจจาพรตัวร้อนมาก อาเจียน
นางพาลูกมาโรงพยาบาลอำเภอใกล้บ้าน ตอนตีสอง
หมอหน้าตาเด็กๆ มาตรวจถามว่า "เป็นไข้มากี่วัน"
"สามวันนี้แล้ว" นางลัดดาบอก
"อาการเป็นไข้หวัดนะแม่" หมอคนนั้น “หาว”หลังจากเอาหูฟังที่หน้าอก เด็กหญิงมัจจาพรพอเป็นพิธี
"ฉีดยาแก้ไข้หน่อยนะ" เขาบอกนางลัดดา
ลูกดูซึมลง ไม่อยากพูดอะไร หรือเพราะว่ามันดึกมาก นางคิด
"ต้องนอนโรงพยาบาลไหมหมอ" นางถาม
"โอ๊ย! ไม่ต้องหรอก กลับไปเดี๋ยวก็ไข้ลง" หมอว่า อย่างเห็นเป็นเรื่องเล็ก
ฉีดยาเสร็จ พยาบาลหน้าตาอาวุโส สั่งว่า "คุณแม่ ถ้าไม่ดีขื้น พรุ่งนี้เช้ามาลูกมาตรวจใหม่นะ"
พาลูกกลับบ้าน ลูกนอนไม่ได้ ดิ้นไปมาเอามือกดท้อง บอกว่าปวดท้อง ได้แต่บอกลูกว่า
"อดทนหนู อดทน รอตอนเช้านะ"
รุ่งเช้า นางลัดดาพาลูกไปโรงพยาบาลใกล้บ้านที่เดิม เด็กหญิงอาเจียนเป็นเลือดจางๆ มีเลือดกำเดาออกจมูก นางลัดดารีบ เอาน้ำแข็งประคบตรงดั้งจมูกให้ลูก
เด็กหญิงบ่นปวดท้องมาก เมื่อไปถึงโรงพยาบาล คราวนี้หมอผู้อำนวยการโรงพยาบาลตรวจเอง เขาถามว่า
"เป็นไข้มากี่วัน"
"3-4วัน ตัวร้อนตลอด อาเจียน กินอะไรไม่ได้เลยหมอ"
"รีบให้น้ำเกลือ" หมอสั่งเสียงร้อนรน หมอเอามือกดที่ชายโครงขวา และเด็กหญิงมัจจาพรสะดุ้งเกร็งสุดตัว
"โอ๊ย! เจ็บ"
หมอจับแขนขาพินิจพิจารณา บอกนางลัดดาว่า
"มีจุดเลือดออกตามแขนขา ตับก็โต หมอสงสัยเป็นไข้เลือดออก ต้องเจาะเลือดตรวจด่วน"
"ไข้เลือดออก" นางลัดดาร้อง รู้สึกโกรธ รู้ว่าไข้เลือดออกเป็นโรคร้ายแรงมาก
"เมื่อคืนก็พามา บอกเป็นไข้หวัด แขนก็ไม่รัดดู" นางพูดเสียงดัง รู้สึกโกรธหมอหน้าอ่อนๆ เมื่อคืนจนเลือดขึ้นหน้า นางรู้เหมือนคนอื่นๆที่ว่า ... ไข้เลือดออกวินิจฉัยโดยการรัดแขนดูจุดเลือดออก
"ไข้เลือดออกมันวินิจฉัยยากนะครับคุณแม่ กว่าจะวินิจฉัยได้อาการชัด ก็มักจะเป็นมากแล้ว" หมอผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำเภอ ตอบเสียงสุภาพ
"แล้วทำไมไม่รับลูกชั้นไว้รักษาตั้งแต่เมื่อคืน" นางยังโกรธจัด หมอผู้อำนวยการไม่ตอบ ...
เขารู้ หมอใหม่ๆบางทีขาดประสบการณ์ และความระแวดระวัง แต่จะไปพูดได้อย่างไร เพราะตอนเขาเป็นหมอใหม่ ก็เป็นเช่นนี้ กว่าจะเป็นหมออาวุโสที่มีความชำนาญ ก็ผ่านบทเรียนต่างๆ จากคนไข้มามากต่อมาก
รีบรับเด็กหญิงไว้ในโรงพยาบาล ให้น้ำเกลือ เจาะเลือดสองกระบอก พอตกตอนบ่าย เด็กหญิงอาเจียนตลอด มีเลือดกำเดาออกมาก หมอผู้อำนวยการมาดูอาการ
"ผลเลือดบอกว่า เป็นไข้เลือดออกอย่างแรง ต้องรีบไปโรงพยาบาลจังหวัดตอนนี้เลย ให้หมอผู้เชี่ยวชาญที่โน้นดูแล"
มองลูกที่นอนกระสับกระส่าย ริมฝีปากแดงจัดแตกแห้ง หน้าแดงก่ำ เลือดกำเดากรังสองจมูกแล้วรู้สึกโมโหจนมือไม้สั่น
"แล้วทำไม ไม่ให้ไปโรงพยาบาลจังหวัดแต่เช้า" นางต่อว่า
หมอโรงพยาบาลอำเภอ เอารถโรงพยาบาลมาส่ง มาถึงโรงพยาบาลจังหวัด หมอที่นั่นวิ่งวุ่น บอกว่า ลูกสาวของนางเป็น ไข้เลือดออกในระยะช๊อก และรับตัวเข้าไอซียูทันที
หมอสมัย กุมารแพทย์ หรือหมอเด็กประจำโรงพยาบาลจังหวัด เอาท่อออกซิเจนซึ่งเป็นท่อเล็กๆ สวมรูจมูกเด็กหญิงมัจจาพร เจาะเลือดจากปลายนิ้วของเด็กหญิงทุกหนึ่งชั่วโมง เพื่อตรวจดูความเข้มข้นของเลือด ให้เลือดหมดถุงแล้ว เขาสั่งให้พลาสมา (น้ำเหลือง) ต่อ เพื่อรักษาความดันโลหิต ไม่ให้ตกลงไปอีก
หน้าตาหมอค่อนข้างกังวล ในระยะช๊อกนี้ ธรรมชาติให้ โอกาสหมอรักษาเด็กหญิงมัจจาพรเพียงสองวัน ถ้ารักษาช๊อกไม่ได้ เด็กหญิงมัจจาพรอาจจะ“เสียชีวิต” ได้
หมอหน้าตาเป็นปกติ แต่ใจกังวล...
ช่วงนี้ ไข้เลือดออกเริ่มระบาดอีก เชื่อกันว่า เพราะอุณหภูมิของโลกร้อนขื้น ทำให้ยุงลายเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวน
อาทิตย์ที่แล้ว เด็กหญิงปุ๋ย อายุ 9 ขวบ หน้าตาน่ารัก ก็เสียชีวิตไป หลังจากเป็นไข้เลือดออกในระยะช๊อก เกร็ดเลือดต่ำมาก มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร และออกในสมอง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรคนี้
เด็กหญิงปุ๋ยเป็นหนัก เพราะมารดาไปซื้อยา "แอสไพริน" แก้ไข้มาให้กินหลายครั้ง โดยไม่รู้ว่า ยานี้ทำให้อาการไข้เลือดออกเป็นมากขื้น เกิดตกเลือดในอวัยวะต่างๆ
อาการที่บ่งว่าคนไข้โรคไข้เลือดออกจะแย่ คือ เลือดออกจำนวนมากตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และมีอาการชัก
สองวันต่อมา...
พยาบาลบอกหมอสมัย ที่มานอนห้องไอซียูเพื่อเฝ้าดูอาการของเด็กหญิงมัจจาพรอย่างเป็นห่วง
"หมอ ลาวาจ (lavage) แล้วไม่มีเลือด" น้ำเสียงพยาบาลแสดงความยินดี
รายงานเช่นนี้...แสดงว่า เลือดที่ออกในกระเพาะอาหารหยุดแล้ว
หมอสมัยเจาะดูความเข้มข้นของเลือดอีก จาก 60 เปอร์เซ็นต์ ลดลงมาเหลือ 55
(คนปกติ ความเข้มข้นของเลือด 35-45 เปอร์เซ็นต์)
"ให้น้ำเกลือช้าลง" หมอบอก เมื่อความเข้มข้นของเลือดลดลง...แปลว่าเด็กหญิงกำลังอยู่ในระยะฟื้น...จะพ้นภาวะช๊อก ถ้าให้น้ำเกลือมากไปในระยะนี้ จะทำให้ปอดบวม และหัวใจวายได้
ความเข้มข้นของเลือดเด็กหญิงลดลง จาก 55 เป็น 50 เป็น 45 และ 40 หมอสั่งให้ยาขับน้ำปัสสาวะ เพื่อป้องกันหัวใจวาย
เด็กหญิงมัจจาพรพ้นขีดอันตรายแล้ว
นางลัดดาเข้ามาดูลูกอย่าง..ยินดี เมื่อพยาบาลห้องไอซียูบอกว่า
"อาการเด็กหญิงมัจจาพรพ้นขีดอันตรายแล้วนะคะ" ฟังพยาบาลบอก ถึงนางดีใจ นางก็ไม่ยิ้ม ไม่ขอบคุณ ความแค้นเคืองว่า เพราะหมอทำให้ลูกนางเป็นหนักขนาดนี้...ยังมีอยู่เต็มอก
ขึ้นชื่อว่าหมอ ก็เป็นพวกเดียวกัน คนหนึ่งทำผิด คนอื่นๆก็ต้องรับผิดด้วย...นางคิด
นางไม่รู้หรอกว่าหมอสมัยและพยาบาล ต้องอดตาหลับขับตานอน เพื่อเฝ้าเด็กหญิงมัจจาพร “อย่างใกล้ชิดและทุ่มเท”เพียงใด
ออกจากห้องไอซียู ไปอยู่ตึกกุมารเวช หนึ่งวัน หมอบอกหายดีแล้ว ให้กลับบ้านได้
นางลัดดารู้สึกสบายใจขื้นมามาก ขณะฟังพยาบาลสอนสุขศึกษาว่า
"คุณแม่คะ ไข้เลือดออกนี้เป็นโรคที่รุนแรง และยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ได้ สิ่งสำคัญ ก็คือ อย่าให้ยุงลายกัด ยุงลายนี้มันกัดตอนกลางวัน เด็กหญิงมัจจาพรอาจได้รับเชื้อไข้เลือดออกมาจากยุงลายที่โรงเรียนหรือที่บ้าน ตอนนี้ ทางโรงพยาบาลได้ส่งนักวิชาการสุขศึกษาไปช่วยปราบยุงที่โรงเรียน ส่วนที่บ้าน คุณแม่ควรจะปราบยุงลายที่ร้ายกว่าเสือดังนี้นะคะ
ป้องกันอย่าให้ยุงลายกัด โดยการติดตั้งมุ้งลวด หรือใช้ยากันยุง
กำจัดและทำลายยุงลาย ตัวนำเชื้อโรคไข้เลือดออก เนื่องจากยุงพวกนี้ ชอบวางไขในน้ำนิ่งที่สะอาด ดังนั้น ภาชนะที่ขังน้ำสะอาด ควรมีฝาปิด อย่าให้น้ำขังในกระป๋อง กะลา ขาโต๊ะกับข้าว แจกัน
มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไปช่วยกำจัดยุง และนำทรายอะเบส ทรายพิเศษไปโรยใส่น้ำขัง เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายนะคะ คุณแม่"
จูงมือลูกกลับบ้าน มองลูกที่ร่างกายผ่ายผอมด้วยความสงสาร นางลัดดาคิดว่า
"ดีนะ ที่ลูกหายป่วย ถ้าไม่หาย หรือเป็นอะไรไป แม่จะเอาเรื่องหมอและพยาบาลที่รักษาลูกมัจจาพรทุกคน"
"นินฺทาย นปฺปเวเธยฺย น อุณฺณเมยฺย ปสํสิโต ภิกฺขิ โลภํ สห มจฺฉริเยน โกธํ เปสุณิยญฺจ ปนุเทยฺย ....นินทาและสรรเสริญเป็นโลกธรรม คือของมีอยู่ประจำโลก ซึ่งจะเกิดขื้นทุกระดับ ไม่ว่าเป็นปุถุชน หรือ อริยบุคคล ภิกษุ ไม่ควรหวั่นไหวกับการสรรเสริญนินทา ปุถุชนธรรมดาก็เช่นกัน"
หมอพยาบาลก็เช่นกัน
=============================
จากหนังสือ 108 คนไข้ I.C.U.
โดย พญ.ชัญวลี ศรีสุโข
ตีพิมพ์ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2545
สำนักพิมพ์สนุกอ่าน
============================
(ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง)