โดยเฉพาะร้านอาหารตามสั่ง ทำอาหารเสร็จร้อนๆก็ตักใส่กล่องเลย โฟมก็ละลายปนเปื้อนมาในอาหาร แล้วก็กินเข้าไป สุดท้ายก็เป็นต้นตอของโรคภัยมากมาย โดยไม่รู้ตัว สุดท้ายรัฐก็ต้องเสียงบประมาณบางส่วนไปกับการรักษา ทั้งๆที่น่าจะป้องกันได้
อยากทราบว่าในโลกนี้ไม่มีบรรจุภัณฑ์ใดๆที่เหมาะสมแก่การบรรจุอาหารที่ดีกว่านี้อีกแล้วหรอครับ ? ทั้งด้านความปลอดภัย และราคา
ผมเคยเห็นกล่องที่ทำจากชานอ้อย อันนั้นก็น่าจะเหมาะนะ แต่ยอมรับว่าราคามันก็แพงกว่าโฟม ซึ่งการจะให้พ่อค้าแม่ค้าเปลี่ยนมาใช้เลยคงไม่ง่าย หรือถ้าเปลี่ยนมาใช้ ต้นทุนก็คงสูงขึ้น เมื่อต้นทุนสูงขึ้น ก็ต้องขึ้นราคาสินค้า มันก็มีผลไปถึงประชาชน
แล้วถ้ารัฐจะช่วยสนับสนุนบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยเหล่านี้(คิดว่าคงมีอย่างอื่นที่ไม่ใช่แค่ชานอ้อยแน่ๆ) อาจโดยวิธีการส่งเสริมให้มีการผลิตมากๆ โดยลดภาษีด้านต่างๆให้โรงงานผลิต หรือจูงใจผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์โฟมด้วยวิธีต่างๆให้หันมาผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยด้วยนโยบายต่างๆเหมือนตอนที่รัฐต้องการเปลี่ยนมอเตอร์ไซ 2 จังหวะ ให้เป็น 4 จังหวะ แบบในอดีต เพื่อลดมลภาวะและรักษาสิ่งแวดล้อม ตอนนั้นทำไมเราทำได้ ?
หรือรัฐอาจลงทุนผลิต(หรือจ้างผลิต)บรรจุภัณฑ์ปลอดภัยพวกนี้เองเลยแบบไม่แสวงหาผลกำไร เอาแค่พอคุ้มทุน แล้วก็ขายให้พ่อค้าแม่ค้าในราคาที่พอๆกับโฟม แบบตอนมีนโยบายเปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดตะเกียบ วิธีเหล่านี้มันพอเป็นไปได้หรือไม่ครับ ?
แล้วพวกคุณมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือมีวิธีอื่นใดที่คิดว่าน่าสนใจกว่านี้ เชิญเลยครับ
ภาชนะโฟมมีอันตราย ทำไมรัฐถึงยังอนุญาตให้นำมาใช้กับอาหารได้โดยไม่มีการควบคุมใดๆเลยครับ ?
อยากทราบว่าในโลกนี้ไม่มีบรรจุภัณฑ์ใดๆที่เหมาะสมแก่การบรรจุอาหารที่ดีกว่านี้อีกแล้วหรอครับ ? ทั้งด้านความปลอดภัย และราคา
ผมเคยเห็นกล่องที่ทำจากชานอ้อย อันนั้นก็น่าจะเหมาะนะ แต่ยอมรับว่าราคามันก็แพงกว่าโฟม ซึ่งการจะให้พ่อค้าแม่ค้าเปลี่ยนมาใช้เลยคงไม่ง่าย หรือถ้าเปลี่ยนมาใช้ ต้นทุนก็คงสูงขึ้น เมื่อต้นทุนสูงขึ้น ก็ต้องขึ้นราคาสินค้า มันก็มีผลไปถึงประชาชน
แล้วถ้ารัฐจะช่วยสนับสนุนบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยเหล่านี้(คิดว่าคงมีอย่างอื่นที่ไม่ใช่แค่ชานอ้อยแน่ๆ) อาจโดยวิธีการส่งเสริมให้มีการผลิตมากๆ โดยลดภาษีด้านต่างๆให้โรงงานผลิต หรือจูงใจผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์โฟมด้วยวิธีต่างๆให้หันมาผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยด้วยนโยบายต่างๆเหมือนตอนที่รัฐต้องการเปลี่ยนมอเตอร์ไซ 2 จังหวะ ให้เป็น 4 จังหวะ แบบในอดีต เพื่อลดมลภาวะและรักษาสิ่งแวดล้อม ตอนนั้นทำไมเราทำได้ ?
หรือรัฐอาจลงทุนผลิต(หรือจ้างผลิต)บรรจุภัณฑ์ปลอดภัยพวกนี้เองเลยแบบไม่แสวงหาผลกำไร เอาแค่พอคุ้มทุน แล้วก็ขายให้พ่อค้าแม่ค้าในราคาที่พอๆกับโฟม แบบตอนมีนโยบายเปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดตะเกียบ วิธีเหล่านี้มันพอเป็นไปได้หรือไม่ครับ ?
แล้วพวกคุณมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือมีวิธีอื่นใดที่คิดว่าน่าสนใจกว่านี้ เชิญเลยครับ