วงการค้าปลีกไอทีตัดสินใจครั้งใหญ่!! (ลดการขายโน้ตบุ๊กแม้ว่าต่อเครื่องกำไรงามปัญหาบริหารสต๊อก) หันไปขายเท็บเลต-สมาร์ทโฟน

12 สิงหาคม 2556 วงการค้าปลีกไอทีตัดสินใจครั้งใหญ่!! (ลดการขายโน้ตบุ๊กแม้ว่าต่อเครื่องกำไรงามชี้ปัญหาเรื่องการบริหารสต๊อกสินค้า) หันไปขายเท็บเลต-สมาร์ทโฟน

ประเด็นหลัก


++ค้าปลีกไอทีถอดใจ
    แหล่งข่าวจากวงการค้าปลีกไอที เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าการชะลอตัวของตลาดไอทีในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา  โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์พกพาหรือโน้ตบุ๊ก ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดหลักที่หล่อเลี้ยงธุรกิจค้าปลีกไอที   โดยมีสัดส่วนรายได้ 60-70% ของธุรกิจทำให้ผู้ค้าปลีกสินค้าไอทีมีการปรับตัวไปขายสมาร์ทโฟน และแท็บเลตมากขึ้น
    ขณะที่บางรายเริ่มถอดใจทิ้งธุรกิจไอที เพื่อไปลงทุนธุรกิจอื่น   เช่น เม้าส์ โอเอ ร้านค้าปลีกไอทีชื่อดังบนห้างพันธุ์ทิพย์ ได้ตัดสินใจโอนสิทธิ์พื้นที่หน้าร้านที่อยู่ 8 สาขา ให้กับบริษัท คอมเซเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ค้าปลีกสินค้าไอทีรายใหญ่ภายใต้ชื่อ "บานาน่าไอที" ทั้งหมด  ขณะที่ค้าปลีกไอทียักษ์ใหญ่อย่างไอทีซิตี้  เริ่มปรับโมเดลการขยายสาขาจากเดิมมีพื้นที่ใช้พื้นที่ 1,000-3,000  ตารางเมตร  มาเป็น "มินิ ไอทีซิตี้"  ที่ใช้พื้นที่น้อยกว่ามากขึ้น  และบางรายการขยายสาขาก็เริ่มช้าลง
    "ตลาดโน้ตบุ๊กเริ่มชะลอตัวตั้งแต่ปีที่ผ่านมา  เนื่องจากผู้บริโภคมีการชะลอการซื้อไป โดยโครงการรถคันแรก ดึงกำลังซื้อในตลาดไป อีกส่วนหนึ่งก็มองว่ายังไม่มีเทคโนโลยีแปลกใหม่เข้าในตลาด  ขณะที่อีกส่วนหันไปซื้อแท็บเลต-สมาร์ทโฟน ที่เข้ามาเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคแทน  โดยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เลือกซื้อแท็บเลต และสมาร์ทโฟน นั้นบางส่วนตัดสินใจซื้อตามอารมณ์ มากกว่าซื้อเพราะฟังก์ชัน หรือความต้องการใช้งาน ผลกระทบดังกล่าวต่อเนื่องมาถึงครึ่งปีแรกปีนี้ โดยยอดขายโน้ตบุ๊กในตลาดหายไปราว 20-30%"


++เชื่อแอปเปิลปลุกตลาดครึ่งหลัง
    ด้านนายสุระ คณิตทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัทคอมเซเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ค้าปลีกสินค้าไอทีรายใหญ่  ภายใต้ชื่อ "บานาน่าไอที"  ยอมรับว่าขณะนี้ได้รับการโอนสิทธิ์พื้นที่หน้าร้านจาก เม้าส์ โอเอ  ที่มีอยู่ 8 แห่งจริง แต่ปฏิเสธจะให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว    พร้อมทั้งยืนยันว่าบริษัทยังคงเดินหน้าขยายสาขาต่อไป  แม้ว่าตลาดครึ่งปีแรกชะลอตัว    โดยยังมองว่าตลาดไอทียังมีอนาคตที่สดใส   ซึ่งพฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร  และการบริโภคข้อมูลข่าวสาร ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป  จะเป็นตัวผลักดันให้ตลาดไอทีไทยมีการเติบโตขึ้น
    สำหรับครึ่งปีแรกที่ผ่านมาบริษัทมียอดการเติบโตขึ้น 20%   ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 8%   โดยเติบโตในทุกกลุ่มสินค้า   กลุ่มที่เติบโตมากสุด คือสมาร์ทโฟน และแท็บเลต   ส่วนที่เติบโตต่ำสุด คือ โน้ตบุ๊ก  อย่างไรก็ตามก็ยังเป็นตัวเลขที่เติบโตอยู่ท่ามกลางการชะลอตัวของตลาดครึ่งปีแรก
    โดยปัจจัยที่ทำให้เติบโตขึ้นนั้นเป็นผลมาจากบริษัทมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ กลุ่มสมาร์ทโฟน และแท็บเลต ที่มีการเติบโตสูงมากขึ้น   ขณะที่ในกลุ่มโน้ตบุ๊ก นั้นก็เริ่มเลือกรุ่นเข้ามาให้ความสำคัญกับการทำตลาดมากขึ้น ทำให้ครึ่งปีแรกที่ผ่านมามีรุ่นที่ทำตลาดลดลง 50% แต่ทำยอดขายได้ดีขึ้น ส่วนกลุ่มสินค้าคอมพิวเตอร์ประกอบนั้นก็เติบโตขึ้น  แม้ว่าตลาดรวมจะไม่เติบโต  แต่ผู้เล่นในตลาดลดลง  ราคาเครื่อง  และกำไรสูงขึ้น     สุดท้ายคือการขยายสาขาต่อเนื่อง   ซึ่งในครึ่งปีแรกมีการขยายสาขาเพิ่ม 22 แห่ง  และปิดสาขาต่างจังหวัดที่ไม่ทำกำไรไป 5 แห่ง   โดยรวมแล้วขณะนี้มีสาขารวม 270 แห่ง เป็นผู้ค้าปลีกสินค้าไอทีที่มีสาขามากสุดในตลาด

    "ผู้ค้าไอทีจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด   โดยปรับไปขายสมาร์ทโฟน และแท็บเลตมากขึ้น ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าตลาดไอทียอดขายจะลดลง โดยหากมีการดูแลลูกค้าดี ก็ยังสามารถรักษาการเติบโตไว้ได้ ขณะเดียวกันมองว่าร้านค้าปลีกไอทีรายย่อยที่มีหน้าร้าน 1-2 แห่งนั้นยังอยู่ได้ แต่โอกาสการขยายสาขาไปสู่เชนสโตร์คงลำบากมากขึ้น"
    ส่วนแนวโน้มตลาดครึ่งปีหลังมองว่าจะกลับมาคึกคักมากขึ้น แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอ  และเกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดกลับมาคึกคักขึ้น  คือ การเปิดตัวสินค้าใหม่ของแอปเปิล  ทั้งไอโฟนใหม่ และไอแพดใหม่ ซึ่งมองว่าจะเป็นโปรดักต์ที่เข้ามาสร้างสีสันในครึ่งปีหลัง และดึงยอดที่ต่ำกว่าเป้าหมาย 8 % ในช่วงครึ่งปีแรก กลับคืนมา    ซึ่งเป้าหมายยอดขายรวมที่บริษัทวางไว้ปีนี้อยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท  โดยยังไม่มีการปรับเป้าตัวเลขแต่อย่างใด
++ไอทีซิตี้ลดไซซ์รับตลาดซบ
    ด้านนายเอกชัย ศิริจิระพัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ  บริษัทไอทีซิตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมตลาดไอที ที่หากนับรวม คอมพิวเตอร์  โน้ตบุ๊ก แท็บเลต และอุปกรณ์ต่อพ่วง ครึ่งปีแรกที่ผ่านมาอยู่ในภาวะทรงตัว แต่หากไม่นับรวมแท็บเลต ตลาดติดลบ ซึ่งปีนี้มีความเป็นไปได้ว่าโน้ตบุ๊ก จะติดลบราว 10-20% ซึ่งจากแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดทำให้บริษัทมีการปรับแผนการขยายสาขาใหม่ ในรูปแบบของ "มินิ ไอทีซิตี้"  เพื่อให้สอดคล้องกับการชะลอตัวของตลาด  และปริมาณสาขาที่ต้องการขยายเข้าไปให้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้น
    "ไอทีซิตี้ เต็มรูปแบบนั้นใช้พื้นที่ประมาณ 1 พันตารางเมตร   ซึ่งเดิมเราวางแผนขยายไว้ 6 สาขา  แต่เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาด  เราได้ปรับแผนมาขยายสาขาในรูปแบบของ "มินิ ไอทีซิตี้" ที่ใช้พื้นที่ประมาณ 100 ตารางเมตร   ซึ่งก็ช่วยให้เราสามารถขยายสาขาได้ง่ายและเร็วขึ้นในเชิงปริมาณ    โดยปีนี้คาดว่าจะขยายสาขาในรูปแบบมินิไอทีซิตี้เพิ่ม 15-20 สาขา    ส่วนไอทีซิตี้เต็มรูปแบบนั้นจะอยู่ราว 3-5 สาขา"
++ปรับทิศแห่ขายสมาร์ทโฟน
    ส่วนนายพิชัย นีรนาทโกมล  ประธานกรรมการบริหาร บริษัทคอมพิวเตอร์  ซิสเท็ม คอนเนคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ซีเอสซี)   กล่าวว่าตลาดค้าปลีกไอทีครึ่งปีแรกที่ผ่านมาชะลอตัวไปประมาณ 30% อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปีที่ผ่านมาบริษัทมุ่งมาทำตลาดโมบายมากขึ้นจนก้าวขึ้นมาเป็นร้านค้าปลีกมือถืออันดับ 3 ในตลาด   ซึ่งครึ่งปีแรกที่ผ่านมาตลาดโมบายยังมีการเติบโตต่อเนื่อง  ส่วนตลาดไอทีนั้นบริษัทคาดว่าตลาดจะกลับมาเติบโตอีกครั้งราวปีหน้า ซึ่งมองว่าเป็นช่วงเวลาที่ผู้บริโภคเปลี่ยนเครื่องใหม่  และจะมีผลิตภัณฑ์ลูกผสมใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
    "ครึ่งปีแรกที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ 2.2 พันล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้ 5 พันล้านบาท เติบโตขึ้น 50%  โดยแบ่งเป็นรายได้จากกลุ่มอุปกรณ์โมบาย 1.4 พันล้านบาท กลุ่มสินค้าไอที 720 ล้านบาท และกลุ่มธุรกิจต่อธุรกิจ หรือ บีทูบี 80 ล้านบาท"
    นายณัฏฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยร่วมค้าเดอะซิสเต็มส์ จำกัด ผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่งสินค้าภายใต้ชื่อ " แอดไวซ์ "   กล่าวว่า ตลาดรวมปีนี้จะเติบโตราว 5%   โดยตลาดโน้ตบุ๊กครึ่งปีแรกที่ผ่านมาน่าจะชะลอตัวลง 30%    ซึ่งในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาบริษัทเริ่มนำสมาร์ทโฟนเข้ามาทำตลาด และได้รับแต่งตั้งเป็น ศูนย์เอไอเอส 3G เซ็นเตอร์ รับจดทะเบียนเบอร์ใหม่ การอัพเกรดเครือข่าย, เปลี่ยนโปรโมชัน , เปลี่ยนซิม  และบริการอื่นๆ ให้กับเอไอเอส  และอยู่ระหว่างการเจรจากับโอเปอเรเตอร์รายอื่น


++ยุคไอที “ฆ่า"ไอที
    นายจักรกฤษณ์ ธนวิรุฬห์ กรรมการบริหารและรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานบริหารและการงาน บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  อุตสาหกรรมไอทีกำลังถึงจุดเปลี่ยน ภายใน 2 ปี นับจากนี้ขนาดอุตสาหกรรมค้าปลีกคอมพิวเตอร์ธุรกิจมีขนาดเล็กลง เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายต้องเลิกธุรกิจไป เนื่องจากเทคโนโลยีฆ่าเทคโนโลยีกันเอง  ดังนั้นผู้ประกอบการต้องปรับธุรกิจโดยเฉพาะร้านค้าที่มีช็อปทั่วประเทศจำนวน 30-40 สาขา ต้องปรับตัวเนื่องจากมีต้นทุนบริหารจัดการ อาทิ ค่าเช่าพื้นที่ และ พนักงาน ที่สำคัญธุรกิจไอทีมีกำไรประมาณ 8-10%  ในการจำหน่ายคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊กในแต่ละเครื่อง
    "ธุรกิจค้าคอมพ์ค่อนข้างอยู่ยากโดยเฉพาะปัญหาเรื่องการบริหารสต๊อกสินค้าเนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ขนาดโน้ตบุ๊กแบรนด์ดัง ๆ ออกรุ่นใหม่มาสักระยะ อีกสักพักก็ออกรุ่นใหม่มาอาจจะขายถูกกว่า ทำให้ผู้ค้าระบายสต๊อกไม่ทัน กรณีของ"ดาต้าไอที" เป็นตัวอย่าง เพราะผู้ผลิตเองต้องผลิตสินค้าใหม่ ๆ เข้ามา ขนาดโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนออกมาขายตอนนี้กล้องดิจิตอลยังเหนื่อยเลย มันคือยุคไอทีฆ่าไอที"
++ลือหึ่ง"สามารถ"เทกเอ็มลิ้งค์
    อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยอมรับว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับ บริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการเจรจาซื้อช็อปทั้งหมด
    นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน)  ผู้จัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้ชื่อช็อป "เจมาร์ท" ดำเนินธุรกิจมา 25 ปี กล่าวว่า เหตุผลที่ บมจ. เจ มาร์ท สามารถอยู่ในอุตสาหกรรมนี้มาอย่างยาวนาน กลยุทธ์ที่สำคัญ คือ  ต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ และ ต้องโฟกัสธุรกิจที่ทำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เหตุผลที่ผู้ประกอบการบางรายต้องถอยฉากออกไปนั้นเนื่องจากไม่ใส่ใจธุรกิจอย่างเต็มที่
    "เรามีความใส่ใจในทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารสต๊อกสินค้าที่มีความสามารถในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการใส่ใจลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ  อีกทั้งพนักงานต้องมีความสุขในการทำงานโดยเฉพาะจะต้องไม่ยอมแพ้และมีเป้าหมายไปพร้อม ๆ กัน"




















______________________________________




จุดเปลี่ยนค้าปลีกไอที ปลาใหญ่ไล่ฮุบ'เม้าส์โอเอ'เซ้งทิ้งร้าน/ไอทีซิตี้พลิกเล่นเกมมินิช็อป

ค้าปลีกไอทีระส่ำ กระแสนิยม"แท็บเลต-สมาร์ทโฟน" ทำตลาด "โน้ตบุ๊ก" เส้นเลือดหล่อเลี้ยงธุรกิจหลักครึ่งปีแรกหายวูบ 20-30%  "เม้าส์ โอเอ" ถอดใจทิ้งหน้าร้าน บนพื้นที่ยุทธศาสตร์พันธุ์ทิพย์ โอนสิทธิ์ให้ บานาน่าไอที รวม 8 แห่ง ขณะที่ไอทีซิตี้ปรับขนาดขยายสาขาใหม่เป็น  "มินิ  ไอทีซิตี้"รับภาวะตลาดหด   ขณะที่เชนสโตร์รายใหญ่   ทั้ง  "แอดไวซ์-ซีเอสซี"  ปรับทิศทาง เร่งสร้างยอดสมาร์ทโฟน

    ธุรกิจไอทีที่เคยรุ่งโรจน์โดยเฉพาะโน้ตบุ๊กที่มีตัวเลขเติบโต 20-30%ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ขณะนี้ได้เข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง สาเหตุมาจากผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้ากลุ่มสมาร์ทดีไวซ์ทั้งแท็บเลตและสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นที่นิยมในตลาดมากขึ้น ส่งผลต่อผู้ค้าปลีกไอทีจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
++ค้าปลีกไอทีถอดใจ
    แหล่งข่าวจากวงการค้าปลีกไอที เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าการชะลอตัวของตลาดไอทีในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา  โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์พกพาหรือโน้ตบุ๊ก ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดหลักที่หล่อเลี้ยงธุรกิจค้าปลีกไอที   โดยมีสัดส่วนรายได้ 60-70% ของธุรกิจทำให้ผู้ค้าปลีกสินค้าไอทีมีการปรับตัวไปขายสมาร์ทโฟน และแท็บเลตมากขึ้น
    ขณะที่บางรายเริ่มถอดใจทิ้งธุรกิจไอที เพื่อไปลงทุนธุรกิจอื่น   เช่น เม้าส์ โอเอ ร้านค้าปลีกไอทีชื่อดังบนห้างพันธุ์ทิพย์ ได้ตัดสินใจโอนสิทธิ์พื้นที่หน้าร้านที่อยู่ 8 สาขา ให้กับบริษัท คอมเซเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ค้าปลีกสินค้าไอทีรายใหญ่ภายใต้ชื่อ "บานาน่าไอที" ทั้งหมด  ขณะที่ค้าปลีกไอทียักษ์ใหญ่อย่างไอทีซิตี้  เริ่มปรับโมเดลการขยายสาขาจากเดิมมีพื้นที่ใช้พื้นที่ 1,000-3,000  ตารางเมตร  มาเป็น "มินิ ไอทีซิตี้"  ที่ใช้พื้นที่น้อยกว่ามากขึ้น  และบางรายการขยายสาขาก็เริ่มช้าลง
    "ตลาดโน้ตบุ๊กเริ่มชะลอตัวตั้งแต่ปีที่ผ่านมา  เนื่องจากผู้บริโภคมีการชะลอการซื้อไป โดยโครงการรถคันแรก ดึงกำลังซื้อในตลาดไป อีกส่วนหนึ่งก็มองว่ายังไม่มีเทคโนโลยีแปลกใหม่เข้าในตลาด  ขณะที่อีกส่วนหันไปซื้อแท็บเลต-สมาร์ทโฟน ที่เข้ามาเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคแทน  

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=194541:2013-08-10-08-19-15&catid=89:2009-02-08-11-24-05&Itemid=417
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่