.....กรุงเทพเรียกเรีก"เก๋าแดง"...เมืองแกลงเรียก"ไอ้ย่ำ"....บ้านฉัน "กุดสลาด"......




สวัสดีครับ สมาชิกที่รักทุกๆท่าน วันนี้หลังจากสรุปรายงานให้เจ้านายเสร็จ ตะโกเลยปลีกเวลาที่มี มาปรุงอาหารส่งให้สมาชิกรับชมกัน
ซึ่งตะโกเองก็มีเวลาไม่มากนัก จึงขอรวบรัดส่งเมนูที่ชื่นชอบ มาฝากให้สมาชิก และเพื่อไม่ให้เสีเวลาไปมากกว่านี้ ไปกันครับ

หากเราเอ่ยชื่อถึง"ปลาเก๋า" แล้ว เชื่อว่า หลายๆคนคงคุ้นเคยกันดี
บ้างก้ชื่นชอบในรสชาติของเนื้อปลา
บ้างก็ไม่กล้ากิน เพราะตัวลายเหมือนตุ๊กแก
แต่ที่แน่ๆ ปลาชนิดนี้ เป็นปลาเศรษฐกิจ ทำเงินให้ชาวประมงมากมาย
ปลาเก๋า มีหลายระดับ เริ่มตั้งแต่ เก๋าในตลาด ราคากิโลไม่ถึง100 ไปจนถึง เก๋าในภัตตาคารกิโลละ2000-6000(เก๋าแดง-เก๋าหนู)
เห็นราคาแล้วอย่าเพิ่งตกอกตกใจเลยนะครับ เพราะปลาที่แพงๆนั้น มันเป็นปลาที่ไม่ค่อยมีปริมาณ หายาก จึงทำให้ราคาสูง
ในบ้านเราส่วนใหญ่ ปลาเก๋า ที่ได้มาจากเรืออวนลาก เช่นเก๋าลิง เก๋าตุ๊กแก เก๋าเสือ และเก๋าอีกหลากหลาย ราคาเก่าพวกนี้ไม่แพง
หากเป็นปลาเก๋า ที่มาจากการเพาะเลี้ยงตามจังหวัดที่มีชายฝั่งติดทะเล ส่วนให่เป็นเก๋าจุดน้ำตาล นิยมเลี้ยงในกระชัง แล้วส่งขาย
ราคาเก๋าชนิดนี้จะแพงกว่า เก๋าอวนลาก และนิยมส่งร้านอาหารแบบมีชีวิต ราคาอยู่ประมาณ400-600บาทแล้วแต่ขนาด
ส่วนเก๋า ที่มีราคาแพงขึ้นไป ก็คือ เก๋าที่ตะโกจะนำเสนอในวันนี้แหละครับ  นั่นก็คือ เก๋าจุดฟ้า

ชื่อของเก๋าชนิดนี้ เรียกตามแหล่งต่างๆหลายชื่อ หลายแซ่จริงๆ แต่ชื่อในทะเบียนบ้านจริงๆแล้วของปลาชนิดนี้คือ
"กะรังแดงจุดฟ้า" ครับ   ในแถบตะวันออกเรียก "ไอ้ย่ำ"  คนภาคกลางก็เรียกตามคนจีนคือ "เก๋าแดง"  ส่วนบ้านตะโกเรียก "กุดสลาด"
จะเห็นได้ว่า ชื่อแต่ละชื่อที่เรียกนั้น ก็เรีกยตามกันมาจากอดีต ที่ชาวประมงใช้เรียกกัน  
แต่ก็มีคนบางคน พยายามเรียกชื่อให้ดูดี ไม่เฉพาะปลาเท่านั้นนะครับ อาจมีสัตว์น้ำบางชนิด ที่พยายามตั้งชื่อให้ใหม่ โดยที่ไม่ได้แจ้ง
กับนายทะเบียน หรือ นายอำเภอ  ตะโกเห็นมาแยะแล้ว เช่น จักพรรดิ์บ้างหล่ะ ฮ่องเต้บ้างหล่ะ ฮองเฮาบ้างหล่ะ และอีกหลายต่อหลาย
ชื่อที่ใช้เรียก ซึ่งสร้างความสับสน งง งวย กับผู้คนเป็นอย่างยิ่ง
เดี๋ยวจะเสียเวลาไปมากกว่านี้ ยิ่งมีน้อยๆอยู่ด้วย ไปครับ เราไปแกง กุดสลาดกัน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่