จากกระแสข่าว " เก๋าเหรอ ? " ........ สู่เรื่องราวของ "ปลาเก๋า"

กระทู้สนทนา
จากหัวกระทู้ที่นำเอาข่าวดังที่เพิ่งผ่านมาไม่กี่วันมานี้  กรณี  "เก๋านักเหรอ ?" .... สำหรับกระทู้นี้จะไม่ไปเก๋าอะไรกับเค้านะครับ
แต่จะขอเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ "ปลาเก๋า" ที่ท่านรู้จักกันดี  ว่าปลาเก๋ามีกี่ชนิด  หน้าตาเป็นอย่างไร
หากท่านไปเดิน Supermarket  ท่านก็มักจะเคยเห็นปลาเก๋าในรูปแบบ Fillet  คือแล่มาแต่เนื้อตัดแต่งเป็นชิ้นสวยงาม
ในกระทู้นี้จะได้เห็นหน้าตาของปลาเก๋าแต่ละประเภทครับ

เนื้อหาในกระทู้นี้  ขอเรียนตามตรงว่าส่วนใหญ่ copy เนื้อหามาจากหลายเว็บ  ทั้ง Wikipedia , Foodnetworksolution.com
และเนื้อหาที่โพสโดยคุณ "ตะโก" ที่มักลงเนื้อหาเกี่ยวกับปลาต่าง ๆ ให้ชาวพันทิปครับ  ผมขอขอบคุณต้นกำเนิดของเนื้อหาเหล่านั้นด้วย

เริ่มเก๋ากันเลย ....... อมยิ้ม01


ปลาเก๋าแดง (Red banded grouper)  
   หรือชื่ออื่น ๆ คือ  กะรังแดงจุดฟ้า  กุดสลาด (เรียกกันในชลบุรี , สัตหีบ)  เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae)
มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว แบนข้าง หัวโต ตาโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฟันซึ่งมีอยู่ตรงขากรรไกรบนและล่างมีลักษณะเป็น
เขี้ยวยาวและคม ครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนที่เป็นก้านครีบฝอย ส่วนหน้าของครีบก้นมีก้านแข็งเป็นหนามแหลม
ครีบหางมนกลม มีจุดเด่น คือ มีทั้งสีแดงสด, สีชมพูอ่อน และน้ำตาลปนแดง ขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมและขนาดของปลา ข้างตัวมีแถบสีแดง
ปนน้ำตาล 5 แถบ ขอบครีบหลังที่เป็นก้านครีบแข็งมีสีแดงปนน้ำตาล เกล็ดเล็กละเอียดมีขนาดตั้งแต่ 15 - 40 เซนติเมตร
พบกระจายพันธุ์ตามแนวปะการังและกองหินใต้น้ำ ตั้งแต่แอฟริกาใต้, ทะเลแดง จนถึงทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, คาบสมุทรเกาหลี และออสเตรเลีย

ภาพปลาเก๋าแดง

อ่านเพิ่มเติมกับเนื้อหาแบบสนุก ๆ บ้าน ๆ ของเก๋าแดง  ได้ที่กระทู้เก่าของคุณ "ตะโก" ครับ
http://topicstock.ppantip.com/isolate/topicstock/2012/10/M12748202/M12748202.html


ปลาเก๋าดอกแดง (Orange-spotted grouper)  
   ชื่ออื่น ๆ  ลูกหมู  เป็นปลาในวงศ์นี้อีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ รูปร่างค่อนข้างป้อม หัวใหญ่ จะงอยปากแหลม ตาโต
ปากกว้างเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีฟันเป็นเขี้ยวแหลมอยู่บนขากรรไกรทั้งบนและล่าง ครีบหลังยาว ครีบหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง
ปลายมนกลม พื้นตัวเป็นสีเทาและมีลายน้ำตาลอยู่บนหัวและข้างลำตัว มีจุดประอยู่ตามหัวและลำตัว แต่บางตัวก็ไม่มีจุด
ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและขนาดของปลามีขนาดลำตัวโดยเฉลี่ย 30 เซนติเมตร แต่สามารถใหญ่ได้ถึง 1.5 เมตร
พบกระจายพันธุ์ตามแถบปากแม่น้ำ ป่าชายเลน หรือกองหินใต้ทะเล  ในประเทศไทยพบชุกชุมที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ในต่างประเทศพบได้ที่ทะเลแดง มหาสมุทรแปซิฟิก  และมหาสมุทรอินเดีย  เก๋าดอกแดงนี้เป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่เพาะเลี้ยงกัน
เพื่อการพาณิชย์ มีการส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย  เป็นปลาที่ชาวจีนมีความเชื่อว่าเมื่อรับประทานแล้วจะทำให้บำรุงกำลัง
ซึ่งในปัจจุบัน ทางกรมประมงยังได้เพาะขยายพันธุ์ลูกผสมระหว่างปลากะรังดอกแดงกับปลาหมอทะเลได้เป็นผลสำเร็จ โดยลูกปลาขนาดเล็ก
จะมีลวดลายคล้ายกับปลาเสือตอ ซึ่งเป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่มีชื่อเสียงที่อยู่ต่างวงศ์กัน จนได้รับการเรียกชื่อว่า "ปลาเสือตอทะเล"
เก๋าดอกแดง นี้  คุณตะโกเคยบอกว่านักตกปลาเรียกกันว่า "ลูกหมู" ครับ

ภาพเก๋าดอกแดง

นี่ะครับ .... กระทู้สนุก ๆ เรื่องเก๋าดอกแดงจากคุณตะโก  https://ppantip.com/topic/31773838


ปลาเก๋ามุกมังกร  
ปลาเก๋ามุกมังกร เป็นผลการผสมพันธุ์ปลาหมอทะเล กับ ปลาเก๋าเสือ  texture เนื้อของมุกมังกรนี้คล้ายปลาเก๋าเสือตัวใหญ่
เนื้อละเอียดหวานไม่เหนียวหนับอย่างเนื้อปลาหมอทะเล ไม่มีกลิ่นคาวไขมันมากแบบปลาเก๋าทั่วไป  ลวกน้ำซุปร้อน ๆ เนื้อไม่แตกเละ
เหมือนเนื้อปลากะพง  ปลาเก๋ามุกมังกรจึงกินได้ตั้งแต่หัวจรดหาง ใช้ประโยชน์ทำอาหารได้ทั้งตัว ไม่ต้องแล่ทิ้งให้เสียของ  ชาวภูเก็ต
กระบี่ ตรัง ระนอง ทดลองเลี้ยงปลาเก๋ามุกมังกรมาสามปีแล้ว  โตเต็มที่หนักตัวละ 2 - 3 กก. มีเท่าไหร่จีนสั่งซื้อหมด ใส่รถกระบะเป่าออกซิเจน
ส่งตัวเป็น ๆ ไปมาเลเซีย สิงคโปร์  แล่เนื้อเป็นชิ้นลวกกินแบบชาบู ทอดหรือผัดกับผักสดก็อร่อย เป็นอาหารฮาลาลที่นิยมกินกันมากกว่าเนื้อไก่
ที่พี่น้องมุสลิมกินจนเบื่อ   ปลาเก๋ามุกมังกร ราคากิโลกรัมละ 450 บาท  ซึ่งถูกกว่าปลาเก๋าลายจุด ปลาย่ำสวาท  เป็นปลาที่มีโอเมก้า 3
มากกว่าปลาแซลมอน เนื้อไม่มันมาก หนังหนาเอาไปลวกยำ แล่เนื้อไปทำข้าวต้มปลาก็อร่อยครับ
(บทความต้นฉบับจาก คมชัดลึก  http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/213679)

ภาพของเก๋ามุกมังกร


ปลาเก๋าเสือ (Brown-marbled grouper , Tiger grouper)  
ชื่ออื่น ๆ ปลากะรังลายน้ำตาล  เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลากะรังทั่วไป
สีพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวและแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ไปจนถึงครีบต่าง ๆ และครีบหาง
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 120 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร  พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดง
ในแอฟริกาตะวันออก อ่าวเปอร์เซี, ซามัว ทะเลญี่ปุ่น  เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่มีการเพาะเลี้ยงอย่างปลากะรังชนิดอื่น ๆ โดยมี
ราคาขายตัวละ 400 - 600 บาท (ตัว 8 ขีด - 1 กก.)  เก๋าเสือนี้ได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาหมอทะเล (หรือปลาเก๋ายักษ์)
ได้เป็น "ปลาเก๋ามุกมังกร"  ตามที่กล่าวไปข้างบนแล้วครับ

ภาพเก๋าเสือ


ปลาเก๋าจุดน้ำตาล (Brown Spotted Grouper)  
ชื่ออื่น ๆ ปลาตุ๊กแก  ปลาร่าปู (ทางกระบี่เรียกกัน)  ปลาชนิดนี้บางทีก็เรียกว่า ปลากะรังปากแม่น้ำ หรือ ปลาตุ๊กแก  ชาวมุสลิมและชาวเลแถบ
จังหวัดกระบี่ เรียกว่าปลาร่าปู  เป็นปลาทะเลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่รูปร่างค่อนข้างป้อม หัวใหญ่ จะงอยปากแหลม ตาโต ปากกว้าง
เฉียงขึ้นเล็กน้อย มีฟันเป็นเขี้ยวแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งล่างและบนครีบหลังยาว ครีบหางมีขนาดแข็งแรง ปลายกลมมนพื้นตัวเป็นสีเทา
และมีลายน้ำตาลอยู่บนหัวและข้างลำตัว  มีจุดประอยุ่ตามหัวและลำตัว  แต่บางตัวก็ไม่มีจุดขึ้นแล้วแต่สภาพแวดล้อมและขนาดของปลา  
มีความยาวตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ถึง 1.5 เมตร  หากินอยู่ตาม ซอกหิน กองหินก้อน ตามชายฝั่งทะเล  ปลาเก๋าจุดน้ำตาลนี้เนื้อมีรสอร่อย
ชาวจีนเชื่อว่าเนื้อปลาเก๋ามีคุณค่าทางโภชนาการที่ช่วยสร้างกำลังได้ดี

ภาพเก๋าจุดน้ำตาล


ปลาเก๋ามังกร  หรือ  ปลาหมอทะเลขนาดใหญ่ (Dragon grouper , Giant grouper)
ปลาเก๋ามังกร เป็นปลาเก๋าขนาดใหญ่ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1.80 เมตร  ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณปากน้ำ ริมชายฝั่งทะเล
และเกาะแก่งต่าง ๆ ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปไปมีขนาดใหญ่สุดอาจยาวถึง 3 เมตร  ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาเก๋าชนิดอื่น
ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วย
ครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังโตไม่เต็มที่มีลายสีเหลืองสลับทั่วไป
โดยเฉพาะบริเวณครีบต่างๆปลาหมอทะเล   เก๋ามังกรนี้ราคาแพงมากประมาณ 1,000 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม หาทานได้ยาก  
คนไทยเชื้อสายจีนเชื่อกันว่ากินปลาตัวใหญ่แล้วจะแข็งแรง มีพลัง และมีโชคลาภ  ปลาเก๋ามังกรสามารถนำมาปรุงเป็นอาหาร
ได้หลากหลายชนิด เช่น ปลาเก๋ามังกรลวก  ซึ่งจะมี texture นุ่มเหนียวสัมผัสได้ถึงความหวานสดแบบธรรมชาติ  

เก๋ามังกรเป็นสัตว์กินเนื้อ ชอบกินปลาขนาดเล็กเป็นอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว แม้จะมีขนาดใหญ่แต่ไม่ดุร้ายอย่างที่
หลายคนเข้าใจกัน ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ กองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ  
ชาวประมงที่ดำน้ำลงไปพบปลาหมอทะเล มันอาจแสดงอาการพองเหงือกและกางครีบออกคล้ายปลากัด จึงทำให้ดูน่าสะพรึงกลัว  
แต่ฟันในปากมีขนาดเล็กไม่เหมือนกับฟันปลาฉลามและไม่ดุร้าย จึงไม่เป็นอันตราย   เก๋ามังกร นี้ ตามสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ
มักนำเอามาเลี้ยงไว้ในตู้ปลาขนาดใหญ่เสมอ  ใน aquarium ใหญ่ ๆ จะมีจัดแสดงเสมอเพราะเนื่องจากเป็นปลาที่เชื่อง เลี้ยงง่าย  
ใหญ่โตเด่นสง่าน่ามอง  ปลาเก๋ามังกรจึงเป็นจุดเด่นของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำทุกแห่งครับ
ต้นฉบับบทความมาจาก  http://www.foodietaste.com/FoodPedia_detail.asp?id=445

ภาพเก๋ามังกร

หากท่านใดเจอเนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง  ช่วยบอกหรือเพิ่มด้วยครับ
จบแล้ว  สวัสดีครับ อมยิ้ม17
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่