http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C/item/22914-discuss.html][url]http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C/item/22914-discuss.html
ที่มา : สำนักข่าวอิศรา
เปิดเวทีถกความจริง ‘โบรไมด์อิออน’ ตกค้างในข้าว พบข้อมูลรัฐ-เอ็นจีโอ สอดคล้องกัน ‘ข้าวถุงโคโค่’ เกินค่า 50 ppm นักวิชาการชี้คนขาดไอโอดีนเสี่ยงกระทบสุด กรมวิชาการเกษตรยัน ‘เมทิลโบรไมด์’ ยังจำเป็นต่อธุรกิจข้าวไทย
กลายเป็นมหากาพย์ที่ดูท่าจะยังไม่จบ สำหรับกรณีการตรวจพบสารรมควันข้าว ‘เมทิลโบรไมด์’ (Methyl bromide:MB) ตกค้างในข้าวสารที่วางจำหน่วยอยู่ตามท้องตลาดทั่วประเทศในรูปของ ‘โบรไมด์อิออน’ (Br-ion:Br-) จนสร้างความแตกตื่นแก่ผู้บริโภค ยิ่งได้รับข้อมูลที่ขัดแย้งกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนด้วยแล้ว เรียกว่า หลายคนรู้สึกสับสนเกิดความกังวลไม่น้อยอะไรคือข้อเท็จจริง
ล่าสุด ในเวทีเสวนาทางวิชาการแสวงหาความจริงและความรู้เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน หัวข้อ ‘ความจริงเรื่องเมทิลโบรไมด์และโบรไมด์อิออน’ ที่ได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้สารรมควันดังกล่าวที่จะมีต่อสุขภาพผู้บริโภค รวมถึงเป็นการเผยแพร่ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน และเสนอแนะแนวทางการควบคุมและกำหนดค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (MRLs) ต่อไป
รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งคำถามแทนผู้บริโภคข้าวทั้งประเทศว่า
1.เมทิลโบรไมด์รมข้าวตกค้างนานเท่าไหร่ และซึมผ่านเข้าในข้าวหรือไม่
2.การซาวข้าว หุง หรือการทำเป็นก๊วยเตี๋ยว ทำให้เมทิลโบรไมด์หมดไปหรือไม่
พร้อมหยิบยกงานวิจัยของ Nakamura (1993) ตีพิมพ์ใน Journal of Agricultural and Food Chemistry ขึ้นมาตอบโจทย์ข้างต้น ก่อนอธิบายถึงการทดลองวิจัยเพื่อตอบคำถามข้อ 1 ได้นำข้าวเปลือก/ข้าวกล้อง 2 กก. รมด้วย เมทิลโบรไมด์ 17 g/m3 นาน 48 ชม. จากนั้นเก็บไว้ที่ 15 Oซ ณ วันที่ 12, 24, ....84 วัน ก่อนจะแบ่งตัวอย่างข้าวเปลือก 80 ก. เพื่อมาทำการศึกษากรณีข้าวเปลือกได้แยกส่วน 1,แกลบ 2.รำ 3.ข้าวสาร กรณีข้าวกล้องได้ 1,รำ 2.ข้าวสาร และจะวิเคราะห์หาเมทิลโบรไมด์ แสดงผลเป็น โบรไมด์อิออน
ผลปรากฏว่าสามารถกระจายตัวเข้าไปในเนื้อข้าวสารได้
ส่วนการทดลองวิจัยเพื่อตอบคำถามข้อ 2 ได้นำข้าวสาร 150 ก. (Step1 Bromide 100%) ล้างด้วยน้ำ 300 มล. ซาวนาน 5 นาที จำนวน 3 ครั้ง และทำให้แห้ง 1 ชม. (Step2) ก่อนแบ่งนำไปหุง (Step3) และทำก๊วยเตี๋ยว ( Step3 โม่เป็นแป้ง Step4 ไอน้ำ 15 นาที นวดเป็นเส้น Step 5 ไอน้ำ 20 นาที ต้มนาน 5 นาที และStep 6 ล้าง อบให้แห้งในตู้อบ 60 Oซ)
ผลปรากฏว่าเมื่อซาวข้าวสาร 3 ครั้ง และทิ้งให้แห้งแล้วคงเหลือ ‘โบรไมด์อิออน’ 51% และเมื่อหุงเป็นข้าวสวย เหลือตกค้างอยู่ถึง 41.2%
ขณะที่ทำก๊วยเตี๋ยว หลังจากซาวข้าวสาร 3 ครั้ง และทิ้งให้แห้งแล้วคงเหลือ ‘โบรไมด์อิออน’ 51% โม่เป็นแป้ง เหลือตกค้าง 51% แต่เมื่อนำแป้งอบไอน้ำและนวดเป็นเส้นกลับลดลงเหลือเพียง 40% เส้นอบไอน้ำ 20 นาที ลดลงเหลือ 7.2% สุดท้ายตากเส้นให้แห้งเหลือสุทธิ 5.1%
โดยข้อมูลข้างต้นทั้งหมด รศ.ดร.จิราพร ยืนยัน เป็นงานวิชาการที่เชื่อถือได้ !!
ด้านนางบุษรา จันทร์แก้วมณี ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร กรมวิชาการเกษตร อธิบายถึงสารรมควันข้าวที่ใช้กันแพร่หลายมี 3 ชนิด ได้แก่ เมทิลโบรไมด์ ฟอสฟีน (Phosphine)และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งสารรมชนิดหลังนี้เริ่มใช้มากขึ้นในไทย โดยเฉพาะสินค้าออร์แกนิคหรืออินทรีย์
แต่หากเจาะจงเฉพาะ ‘เมทิลโบรไมด์’ กลับอยู่ในโครงการลด ละ เลิก ภายใต้ความตกลงตาม Montreal Protocol และกฎหมาย Clean Air Act เพื่อป้องกันการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนตั้งแต่ปี 2000 แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการคิดค้นสารตัวใหม่ขึ้นมาแทนที่จึงต้องใช้ต่อไป ด้วยความจำเป็นที่ผู้ส่งออกธัญพืชจำพวกข้าวหรือข้าวโพดจะต้องไม่มีแมลงศัตรูพืชปะปนไปในสินค้านั่นเอง
“ปรากฏว่าไทยมีการใช้ ‘เมทิลโบรไมด์’ ในข้าวสารที่จำหน่ายในประเทศแทน ทั้งที่กฎ Montreal Protocol จำกัดเฉพาะข้าวส่งออกเท่านั้น” ผู้เชี่ยวชาญกล่าว
ก่อนจะระบุถึงเหตุผลว่าที่กลุ่มธุรกิจหันมาใช้สารชนิดนี้กับข้าวตลาดในประเทศ ด้วยใช้ระยะเวลารมควันน้อยเพียง 24 ชั่วโมง ขณะที่ฟอสฟีน 7 วัน และคาร์บอนไดออกไซด์ 15 วัน
นางบุษรา บอกอีกว่า แม้โลกยังต้องการใช้ ‘เมทิลโบรไมด์’ อยู่ แต่ก็มีความพยายามคิดค้นสารรมตัวใหม่แทนที่ นั่นคือ
1.อีโคฟูม (Eco2 Fume) ผสมระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์ 98% ส่งผลให้แมลงอ่อนแอ และฟอสฟีน 2% ส่งผลให้ตาย แต่ต้องใช้ระยะเวลารมควันถึง 3 วัน
2.ซัลฟูริลฟลูออไรด์ (Sulfuryl Fluoride) เดิมใช้สารชนิดนี้รมไม้ ทั้งนี้หากนำมาใช้กับข้าวก็ต้องใช้ระยะเวลาถึง 48 ชั่วโมง จึงอาจกระทบกับธุรกิจได้
"วันนี้จะเห็นได้ว่ายังไม่มีสารรมชนิดใดที่ใช้เวลาน้อยหรือเท่ากับ ‘เมทิลโบรไมด์’ เลย นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นก๊าซไม่มีสีและกลิ่น ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่กัดโลหะ เครื่องมือ หรือเครื่องใช้ และยังมีความสามารถแทรกซึมสูง รวดเร็วทั่วถึงกระจายตัวได้เร็ว มีพิษต่อพืชและความงอกของเมล็ดพันธุ์บางชนิด อีกทั้งเป็นพิษต่อแมลงและสัตว์เลือดอุ่นสูงมาก ที่สำคัญไม่มีพิษตกค้าง"
นักวิชาการจากกรมวิชาการเกษตร ให้คำจำกัดความเพิ่มเติม ไม่มีพิษตกค้าง ในที่นี้หมายถึงเมื่อมีการรมควัน 24 ชั่วโมง และเปิดระบายอากาศถ่ายเทนั้น จะไม่มีพิษตกค้างที่จะฆ่าไข่แมลงที่เข้ามาวางภายหลังได้ ฉะนั้นจึงไม่มีพิษตกค้างในผลิตผลด้วย
มีแต่...อัตราและระยะเวลารมต้องเหมาะสม คือ ใช้อัตรา 2 ปอนด์ ต่อเนื้อที่ 1,000 ลูกบาศก์ฟุต ระยะเวลา 24 ชั่วโมง พร้อมยืนยันด้วยเสียงหนักแน่นว่า การใช้ ‘เมทิลโบรไมด์’ ไทยมิใช่ผู้กำหนด หากแต่เป็นประเทศคู่ค้ากำหนด
ผู้เชี่ยวชาญมาตรฐานสินค้าเกษตร ยังเห็นต่างกับข้อมูลในงานวิจัย Nakamura ด้วยว่า การศึกษามีผลสารตกค้างอยู่ที่ 41.2% เจตนาของนักวิจัยน่าต้องการพิสูจน์ว่าค่าที่โคเด็กซ์ (Codex) กำหนดนั้นถูกต้องมากกว่า มิใช่อาจมีผลต่อสุขภาพแต่อย่างใด ประกอบกับการทดลองวิจัยนั้นต้องสมมติสุดโต่งอยู่แล้ว เพื่อต้องการทราบอัตราที่ใช้ในการฆ่าแมลงเติบโตในเมล็ดข้าวเท่าไหร่ ทั้งนี้ สาเหตุที่งานวิจัยเรื่องดังกล่าวลดน้อยลง เนื่องจากแต่เดิมมีความตั้งใจจะลด ละ เลิก แล้ว จึงไม่มีผู้วิจัยเพิ่มเติมนั่นเอง
นางประภัสสรา พิมพ์พันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุอันตราย กรมวิชาการเกษตร กล่าวถึงลักษณะของ ‘โบรไมด์อิออน’ มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ในน้ำ ดิน พืช แร่ สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีที่แตกต่างจากการวิเคราะห์ ‘เมทิลโบรไมด์’
ซึ่งภายหลังการรมด้วย ‘เมทิลโบรไมด์’ เป็นผลรวมจาก ‘โบรไมด์อิออน’ ที่อยู่ในธรรมชาติ และที่เกิดปฏิกิริยาของ ‘เมทิลโบรไมด์’ กับสารอื่น ๆ ในพืช ซึ่งสามารถวิเคราะห์ ‘โบรไมด์อิออน’ ได้ และมีความเป็นพิษน้อยกว่ามาก โดยพิจารณาจากค่าปริมาณสูงสุดที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยใน 1 วัน (Acceptary Daily Intake:ADI) ของ ‘โบรไมด์อิออน = 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ppm) ของน้ำหนักตัวผู้บริโภคในที่นี้ข้าวกำหนดไว้ 50 ppm
ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุอันตราย อธิบายเกี่ยวกับสารพิษตกค้างของเมทิลโบรไมด์ในอาหารด้วยว่า จากการรมอาหารด้วยเมทิลโบรไมด์ ปริมาณสารส่วนใหญ่ของสารนี้จะแพร่กระจายไปสู่อากาศได้อย่างรวดเร็ว ภายใต้สภาวะปกติแก๊สเมทิลโบรไมด์จะไม่มีการตกค้างในอาหาร
และแม้อาจมีสารตกค้างหลงเหลืออยู่เล็กน้อยและตกค้างในอาหารได้ อันเนื่องมาจากปฏิกิริยาระหว่างสารรมควันนี้กับองค์ประกอบบางอย่างในอาหาร แต่ตามปกติแล้วปริมาณสารตกค้างของโบรไมด์ ไม่ได้มีผลต่อสุขภาพของคนจากการบริโภคอาหารนั้น ๆ ในปริมาณปกติ เพื่อเป็นการยืนยันให้สังคมได้เข้าใจข้อมูลได้ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ภายหลังสังคมเกิดข้อกังขาขึ้น กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการวิเคราะห์สารพิษตกค้างทุกกลุ่มตัวอย่างข้าวทันที พบ ‘โบร์ไมด์อิออน’ ในข้าวขาวพิมพา ยี่ห้อโคโค่ 77.2 ppm สูงกว่าที่โคเด็กซ์กำหนดไว้ที่ 50 ppm ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตรงกันกับข่าวก่อนหน้านี้ แต่หากลองทิ้งตัวอย่างไว้ 4 วัน แล้ววิเคราะห์อีกครั้งหนึ่งจะเหลือเพียง 20.9 ถืออยู่ในค่าปลอดภัย
นอกจากนี้ผลการทดลอง ‘เมทิลโบรไมด์’ และ ‘โบรไมด์อิออน’ ในข้าว จากตัวอย่างข้าวสาร ที่รม ‘เมทิลโบรไมด์’ 80 ก./ลบ.ม. นาน 24 ชั่วโมง พบลดลงจนไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยไม่ว่าจะซาวน้ำ 1 หรือ 2 ครั้ง หรือไม่ซาวน้ำ (ใส่น้ำแล้วหุงทันที) ก็ตรวจพบสารตกค้างในปริมาณ 26.8, 26.6 และ 23.6 ppm (ไม่แตกต่างกัน) และต่ำกว่าค่ามาตรฐาน 50 ppm ขณะที่ปริมาณที่ตรวจพบ ‘โบรไมด์อิออน’ มีค่าลดลงจากก่อนการหุงข้าว มากกว่าร้อยละ 80
“โอกาสพบสารตกค้าง ‘โบรไมด์อิออน’ เกินค่ามาตรฐาน มีเพียง 3 กรณี คือ จะต้องใช้ปริมาณ ‘เมทิลโบรไมด์’ ในการรมข้าวสารมากกว่าปกติ (มากกว่า 32 กรัม/ลบ.ม.) รมนานเกินปกติ และระยะเวลาที่ทิ้งไว้ภายหลังการรมน้อยกว่า 24 ชั่วโมง” นางประภัสสรา ยกผลทดลองมายืนยัน และว่าขณะนี้กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับกรมการค้าภายใน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สุ่มเก็บ
ตัวอย่างข้าวสารถุงในตลาดทุกอาทิตย์นำไปวิเคราะห์ เพื่อแถลงต่อสื่อมวลชนและประชาชนทุก ๆ 2 สัปดาห์ต่อไป
ขณะที่รศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล กล่าวถึงผลที่จะมีต่อสุขภาพผู้บริโภคทำให้เกิดการแย่งจับไอโอดีนในร่างกาย เพราะค่า ‘โบรไมด์อิออน’ ที่ตกค้างได้สูงสุด 50 ppm นั้นเป็นการกำหนดโดยวัดจากคนที่แข็งแรงที่สุด แต่ร่างกายของคนเราไม่เท่ากันจึงมีความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะคนที่ขาดสารไอโอดีน แต่ถ้ามีสารไอโอดีนในร่างกายเพียงพอก็จะสามารถต่อต้านได้อัตโนมัติ
ท้ายที่สุด ในเวทีได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในเมื่อผลการวิเคราะห์หาค่าสารตกค้าง ‘โบรไมด์อิออน’ ของกรมวิชาการเกษตรกับมูลนิธิผู้บริโภคและมูลนิธิชีววิถีสอดคล้องกัน
แต่เหตุใดนายดำรง จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จึงให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนหลายแขนงว่า 2 มูลนิธิให้ข้อมูลผิดพลาด
เป็นคำถามที่เกิดขึ้น และยังค้างคาอยู่ในใจ....
เถียงกันให้รู้เรื่อง! จริง-เท็จ ‘โบรไมด์อิออน’ ตกค้างในข้าว-รายงานเวทีเสวนาวิชาการ
ที่มา : สำนักข่าวอิศรา
เปิดเวทีถกความจริง ‘โบรไมด์อิออน’ ตกค้างในข้าว พบข้อมูลรัฐ-เอ็นจีโอ สอดคล้องกัน ‘ข้าวถุงโคโค่’ เกินค่า 50 ppm นักวิชาการชี้คนขาดไอโอดีนเสี่ยงกระทบสุด กรมวิชาการเกษตรยัน ‘เมทิลโบรไมด์’ ยังจำเป็นต่อธุรกิจข้าวไทย
กลายเป็นมหากาพย์ที่ดูท่าจะยังไม่จบ สำหรับกรณีการตรวจพบสารรมควันข้าว ‘เมทิลโบรไมด์’ (Methyl bromide:MB) ตกค้างในข้าวสารที่วางจำหน่วยอยู่ตามท้องตลาดทั่วประเทศในรูปของ ‘โบรไมด์อิออน’ (Br-ion:Br-) จนสร้างความแตกตื่นแก่ผู้บริโภค ยิ่งได้รับข้อมูลที่ขัดแย้งกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนด้วยแล้ว เรียกว่า หลายคนรู้สึกสับสนเกิดความกังวลไม่น้อยอะไรคือข้อเท็จจริง
ล่าสุด ในเวทีเสวนาทางวิชาการแสวงหาความจริงและความรู้เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน หัวข้อ ‘ความจริงเรื่องเมทิลโบรไมด์และโบรไมด์อิออน’ ที่ได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้สารรมควันดังกล่าวที่จะมีต่อสุขภาพผู้บริโภค รวมถึงเป็นการเผยแพร่ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน และเสนอแนะแนวทางการควบคุมและกำหนดค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (MRLs) ต่อไป
รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งคำถามแทนผู้บริโภคข้าวทั้งประเทศว่า
1.เมทิลโบรไมด์รมข้าวตกค้างนานเท่าไหร่ และซึมผ่านเข้าในข้าวหรือไม่
2.การซาวข้าว หุง หรือการทำเป็นก๊วยเตี๋ยว ทำให้เมทิลโบรไมด์หมดไปหรือไม่
พร้อมหยิบยกงานวิจัยของ Nakamura (1993) ตีพิมพ์ใน Journal of Agricultural and Food Chemistry ขึ้นมาตอบโจทย์ข้างต้น ก่อนอธิบายถึงการทดลองวิจัยเพื่อตอบคำถามข้อ 1 ได้นำข้าวเปลือก/ข้าวกล้อง 2 กก. รมด้วย เมทิลโบรไมด์ 17 g/m3 นาน 48 ชม. จากนั้นเก็บไว้ที่ 15 Oซ ณ วันที่ 12, 24, ....84 วัน ก่อนจะแบ่งตัวอย่างข้าวเปลือก 80 ก. เพื่อมาทำการศึกษากรณีข้าวเปลือกได้แยกส่วน 1,แกลบ 2.รำ 3.ข้าวสาร กรณีข้าวกล้องได้ 1,รำ 2.ข้าวสาร และจะวิเคราะห์หาเมทิลโบรไมด์ แสดงผลเป็น โบรไมด์อิออน
ผลปรากฏว่าสามารถกระจายตัวเข้าไปในเนื้อข้าวสารได้
ส่วนการทดลองวิจัยเพื่อตอบคำถามข้อ 2 ได้นำข้าวสาร 150 ก. (Step1 Bromide 100%) ล้างด้วยน้ำ 300 มล. ซาวนาน 5 นาที จำนวน 3 ครั้ง และทำให้แห้ง 1 ชม. (Step2) ก่อนแบ่งนำไปหุง (Step3) และทำก๊วยเตี๋ยว ( Step3 โม่เป็นแป้ง Step4 ไอน้ำ 15 นาที นวดเป็นเส้น Step 5 ไอน้ำ 20 นาที ต้มนาน 5 นาที และStep 6 ล้าง อบให้แห้งในตู้อบ 60 Oซ)
ผลปรากฏว่าเมื่อซาวข้าวสาร 3 ครั้ง และทิ้งให้แห้งแล้วคงเหลือ ‘โบรไมด์อิออน’ 51% และเมื่อหุงเป็นข้าวสวย เหลือตกค้างอยู่ถึง 41.2%
ขณะที่ทำก๊วยเตี๋ยว หลังจากซาวข้าวสาร 3 ครั้ง และทิ้งให้แห้งแล้วคงเหลือ ‘โบรไมด์อิออน’ 51% โม่เป็นแป้ง เหลือตกค้าง 51% แต่เมื่อนำแป้งอบไอน้ำและนวดเป็นเส้นกลับลดลงเหลือเพียง 40% เส้นอบไอน้ำ 20 นาที ลดลงเหลือ 7.2% สุดท้ายตากเส้นให้แห้งเหลือสุทธิ 5.1%
โดยข้อมูลข้างต้นทั้งหมด รศ.ดร.จิราพร ยืนยัน เป็นงานวิชาการที่เชื่อถือได้ !!
ด้านนางบุษรา จันทร์แก้วมณี ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร กรมวิชาการเกษตร อธิบายถึงสารรมควันข้าวที่ใช้กันแพร่หลายมี 3 ชนิด ได้แก่ เมทิลโบรไมด์ ฟอสฟีน (Phosphine)และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งสารรมชนิดหลังนี้เริ่มใช้มากขึ้นในไทย โดยเฉพาะสินค้าออร์แกนิคหรืออินทรีย์
แต่หากเจาะจงเฉพาะ ‘เมทิลโบรไมด์’ กลับอยู่ในโครงการลด ละ เลิก ภายใต้ความตกลงตาม Montreal Protocol และกฎหมาย Clean Air Act เพื่อป้องกันการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนตั้งแต่ปี 2000 แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการคิดค้นสารตัวใหม่ขึ้นมาแทนที่จึงต้องใช้ต่อไป ด้วยความจำเป็นที่ผู้ส่งออกธัญพืชจำพวกข้าวหรือข้าวโพดจะต้องไม่มีแมลงศัตรูพืชปะปนไปในสินค้านั่นเอง
“ปรากฏว่าไทยมีการใช้ ‘เมทิลโบรไมด์’ ในข้าวสารที่จำหน่ายในประเทศแทน ทั้งที่กฎ Montreal Protocol จำกัดเฉพาะข้าวส่งออกเท่านั้น” ผู้เชี่ยวชาญกล่าว
ก่อนจะระบุถึงเหตุผลว่าที่กลุ่มธุรกิจหันมาใช้สารชนิดนี้กับข้าวตลาดในประเทศ ด้วยใช้ระยะเวลารมควันน้อยเพียง 24 ชั่วโมง ขณะที่ฟอสฟีน 7 วัน และคาร์บอนไดออกไซด์ 15 วัน
นางบุษรา บอกอีกว่า แม้โลกยังต้องการใช้ ‘เมทิลโบรไมด์’ อยู่ แต่ก็มีความพยายามคิดค้นสารรมตัวใหม่แทนที่ นั่นคือ
1.อีโคฟูม (Eco2 Fume) ผสมระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์ 98% ส่งผลให้แมลงอ่อนแอ และฟอสฟีน 2% ส่งผลให้ตาย แต่ต้องใช้ระยะเวลารมควันถึง 3 วัน
2.ซัลฟูริลฟลูออไรด์ (Sulfuryl Fluoride) เดิมใช้สารชนิดนี้รมไม้ ทั้งนี้หากนำมาใช้กับข้าวก็ต้องใช้ระยะเวลาถึง 48 ชั่วโมง จึงอาจกระทบกับธุรกิจได้
"วันนี้จะเห็นได้ว่ายังไม่มีสารรมชนิดใดที่ใช้เวลาน้อยหรือเท่ากับ ‘เมทิลโบรไมด์’ เลย นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นก๊าซไม่มีสีและกลิ่น ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่กัดโลหะ เครื่องมือ หรือเครื่องใช้ และยังมีความสามารถแทรกซึมสูง รวดเร็วทั่วถึงกระจายตัวได้เร็ว มีพิษต่อพืชและความงอกของเมล็ดพันธุ์บางชนิด อีกทั้งเป็นพิษต่อแมลงและสัตว์เลือดอุ่นสูงมาก ที่สำคัญไม่มีพิษตกค้าง"
นักวิชาการจากกรมวิชาการเกษตร ให้คำจำกัดความเพิ่มเติม ไม่มีพิษตกค้าง ในที่นี้หมายถึงเมื่อมีการรมควัน 24 ชั่วโมง และเปิดระบายอากาศถ่ายเทนั้น จะไม่มีพิษตกค้างที่จะฆ่าไข่แมลงที่เข้ามาวางภายหลังได้ ฉะนั้นจึงไม่มีพิษตกค้างในผลิตผลด้วย
มีแต่...อัตราและระยะเวลารมต้องเหมาะสม คือ ใช้อัตรา 2 ปอนด์ ต่อเนื้อที่ 1,000 ลูกบาศก์ฟุต ระยะเวลา 24 ชั่วโมง พร้อมยืนยันด้วยเสียงหนักแน่นว่า การใช้ ‘เมทิลโบรไมด์’ ไทยมิใช่ผู้กำหนด หากแต่เป็นประเทศคู่ค้ากำหนด
ผู้เชี่ยวชาญมาตรฐานสินค้าเกษตร ยังเห็นต่างกับข้อมูลในงานวิจัย Nakamura ด้วยว่า การศึกษามีผลสารตกค้างอยู่ที่ 41.2% เจตนาของนักวิจัยน่าต้องการพิสูจน์ว่าค่าที่โคเด็กซ์ (Codex) กำหนดนั้นถูกต้องมากกว่า มิใช่อาจมีผลต่อสุขภาพแต่อย่างใด ประกอบกับการทดลองวิจัยนั้นต้องสมมติสุดโต่งอยู่แล้ว เพื่อต้องการทราบอัตราที่ใช้ในการฆ่าแมลงเติบโตในเมล็ดข้าวเท่าไหร่ ทั้งนี้ สาเหตุที่งานวิจัยเรื่องดังกล่าวลดน้อยลง เนื่องจากแต่เดิมมีความตั้งใจจะลด ละ เลิก แล้ว จึงไม่มีผู้วิจัยเพิ่มเติมนั่นเอง
นางประภัสสรา พิมพ์พันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุอันตราย กรมวิชาการเกษตร กล่าวถึงลักษณะของ ‘โบรไมด์อิออน’ มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ในน้ำ ดิน พืช แร่ สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีที่แตกต่างจากการวิเคราะห์ ‘เมทิลโบรไมด์’
ซึ่งภายหลังการรมด้วย ‘เมทิลโบรไมด์’ เป็นผลรวมจาก ‘โบรไมด์อิออน’ ที่อยู่ในธรรมชาติ และที่เกิดปฏิกิริยาของ ‘เมทิลโบรไมด์’ กับสารอื่น ๆ ในพืช ซึ่งสามารถวิเคราะห์ ‘โบรไมด์อิออน’ ได้ และมีความเป็นพิษน้อยกว่ามาก โดยพิจารณาจากค่าปริมาณสูงสุดที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยใน 1 วัน (Acceptary Daily Intake:ADI) ของ ‘โบรไมด์อิออน = 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ppm) ของน้ำหนักตัวผู้บริโภคในที่นี้ข้าวกำหนดไว้ 50 ppm
ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุอันตราย อธิบายเกี่ยวกับสารพิษตกค้างของเมทิลโบรไมด์ในอาหารด้วยว่า จากการรมอาหารด้วยเมทิลโบรไมด์ ปริมาณสารส่วนใหญ่ของสารนี้จะแพร่กระจายไปสู่อากาศได้อย่างรวดเร็ว ภายใต้สภาวะปกติแก๊สเมทิลโบรไมด์จะไม่มีการตกค้างในอาหาร
และแม้อาจมีสารตกค้างหลงเหลืออยู่เล็กน้อยและตกค้างในอาหารได้ อันเนื่องมาจากปฏิกิริยาระหว่างสารรมควันนี้กับองค์ประกอบบางอย่างในอาหาร แต่ตามปกติแล้วปริมาณสารตกค้างของโบรไมด์ ไม่ได้มีผลต่อสุขภาพของคนจากการบริโภคอาหารนั้น ๆ ในปริมาณปกติ เพื่อเป็นการยืนยันให้สังคมได้เข้าใจข้อมูลได้ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ภายหลังสังคมเกิดข้อกังขาขึ้น กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการวิเคราะห์สารพิษตกค้างทุกกลุ่มตัวอย่างข้าวทันที พบ ‘โบร์ไมด์อิออน’ ในข้าวขาวพิมพา ยี่ห้อโคโค่ 77.2 ppm สูงกว่าที่โคเด็กซ์กำหนดไว้ที่ 50 ppm ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตรงกันกับข่าวก่อนหน้านี้ แต่หากลองทิ้งตัวอย่างไว้ 4 วัน แล้ววิเคราะห์อีกครั้งหนึ่งจะเหลือเพียง 20.9 ถืออยู่ในค่าปลอดภัย
นอกจากนี้ผลการทดลอง ‘เมทิลโบรไมด์’ และ ‘โบรไมด์อิออน’ ในข้าว จากตัวอย่างข้าวสาร ที่รม ‘เมทิลโบรไมด์’ 80 ก./ลบ.ม. นาน 24 ชั่วโมง พบลดลงจนไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยไม่ว่าจะซาวน้ำ 1 หรือ 2 ครั้ง หรือไม่ซาวน้ำ (ใส่น้ำแล้วหุงทันที) ก็ตรวจพบสารตกค้างในปริมาณ 26.8, 26.6 และ 23.6 ppm (ไม่แตกต่างกัน) และต่ำกว่าค่ามาตรฐาน 50 ppm ขณะที่ปริมาณที่ตรวจพบ ‘โบรไมด์อิออน’ มีค่าลดลงจากก่อนการหุงข้าว มากกว่าร้อยละ 80
“โอกาสพบสารตกค้าง ‘โบรไมด์อิออน’ เกินค่ามาตรฐาน มีเพียง 3 กรณี คือ จะต้องใช้ปริมาณ ‘เมทิลโบรไมด์’ ในการรมข้าวสารมากกว่าปกติ (มากกว่า 32 กรัม/ลบ.ม.) รมนานเกินปกติ และระยะเวลาที่ทิ้งไว้ภายหลังการรมน้อยกว่า 24 ชั่วโมง” นางประภัสสรา ยกผลทดลองมายืนยัน และว่าขณะนี้กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับกรมการค้าภายใน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สุ่มเก็บ
ตัวอย่างข้าวสารถุงในตลาดทุกอาทิตย์นำไปวิเคราะห์ เพื่อแถลงต่อสื่อมวลชนและประชาชนทุก ๆ 2 สัปดาห์ต่อไป
ขณะที่รศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล กล่าวถึงผลที่จะมีต่อสุขภาพผู้บริโภคทำให้เกิดการแย่งจับไอโอดีนในร่างกาย เพราะค่า ‘โบรไมด์อิออน’ ที่ตกค้างได้สูงสุด 50 ppm นั้นเป็นการกำหนดโดยวัดจากคนที่แข็งแรงที่สุด แต่ร่างกายของคนเราไม่เท่ากันจึงมีความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะคนที่ขาดสารไอโอดีน แต่ถ้ามีสารไอโอดีนในร่างกายเพียงพอก็จะสามารถต่อต้านได้อัตโนมัติ
ท้ายที่สุด ในเวทีได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในเมื่อผลการวิเคราะห์หาค่าสารตกค้าง ‘โบรไมด์อิออน’ ของกรมวิชาการเกษตรกับมูลนิธิผู้บริโภคและมูลนิธิชีววิถีสอดคล้องกัน
แต่เหตุใดนายดำรง จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จึงให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนหลายแขนงว่า 2 มูลนิธิให้ข้อมูลผิดพลาด
เป็นคำถามที่เกิดขึ้น และยังค้างคาอยู่ในใจ....