วานนี้ (16 ก.ค.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีการแถลงข่าว เรื่อง "ผลทดสอบ ข้าวสารถุงยี่ห้อไหนไม่มีสารเคมี?" น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มีการเก็บตัวอย่างข้าวสารถุงที่มีการจำหน่ายในเขตกทม.-ปริมณฑล ระหว่างวันที่ 19-27 มิถุนายน 2556 จำนวน 46 ตัวอย่าง จากซูเปอร์มาเก็ต และห้างโมเดิร์นเทรด ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง 6 แห่ง ได้แก่ ห้างเทสโก โลตัส ห้างบิ๊กซี ห้างแมคโคร ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และโฮมเฟรชมาร์ท กับร้านสะดวกซื้อ 1 แห่ง คือ เซเว่นอีเลฟเว่น รวม 7 แห่ง โดยทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการเชื่อถือได้ทั้งรัฐและเอกชน ใช้งบประมาณ 7 แสนบาท
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ผลการทดสอบ พบว่า ทุกตัวอย่างไม่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมต และสารกันรา ส่วนการปนเปื้อนของสารรมควันข้าว เมทิลโบรไมด์ ไม่พบ 12 ตัวอย่าง คิดเป็น 26.1 % เท่ากับว่ามี 12 ตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนหรือการตกค้างใดๆที่มีการทดสอบเลย
ได้แก่ 1.ลายกนก-ข้าวหอมมะลิ 2.ข้าวพันดี-ข้าวขาว 3.ธรรมคัลเจอร์-ข้าวหอม 4.รุ้งทิพย์-ข้าวเสาไห 5.บัวทิพย์-ข้าวหอม 6.ตราฉัตร-ข้าวขาว 7.ข้าวมหานคร-ข้าวขาว 8.สุพรรณหงส์-ข้าวหอมสุรินทร์ 9.เอโร่-ข้าวขาว 10.ข้าวแสนดี-ข้าวหอมทิพย์ 11.โฮมเฟรชมาร์ท-จัสมิน และ 12.ชามทอง-ข้าวหอมมะลิ
พบการปนเปื้อนเมทิลโบรไมด์ 34 ตัวอย่าง คิดเป็น 73.9 % โดยพบตกค้างน้อยมากต่ำกว่า 0.90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือ ppm 7 ตัวอย่าง ได้แก่ 1.ช้างเผือกข้าวเสาไห้ 2.cooking for fun-ข้าวหอมมะลิ 3.ข้าวเบญจรงค์-ข้าวหอมมะลิ 4.ข้าวหอมมะลิแปดริ้ว-ข้าวหอมมะลิ 5.แฮปปี้บาท-ข้าวขาว 6.เทสโก ตราคุ้มค่า -ข้าวหอม และ7.อคส.-ข้าวหอมมะลิ ,ตกค้างน้อย0.9-5 ppm 14 ตัวอย่าง คือ 1.ไก่แจ้เขียว-ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ 2.ตราปทุมทอง-ข้าวหอมมะลิ 3.ข้าวหอมฉัตรอรุณ-หอมผสม 30% 70% 4.ข้าวโรงเรียน-ข้าวหอมมะลิ 5.บิ๊กซี-ข้าวหอมปทุม 6.ตราฉัตร-ข้าวขาว 7.หงษ์ทอง-ข้าวหอมมะลิ 8.ติ๊กชีโร่-ข้าวขาวหอมมะลิ 9.ตราฉัตรทอง-ข้าวหอมมะลิ 10.ตราเกษตร-ข้าวขาวหอม 11.ท็อปส์-ข้าวหอมมะลิ 12.ข้าวแสนดี-ข้าวขาวคัดพิเศษ 13.ชาวนาไทย-ข้าวเสาไห้ และ14.ข้าวอิ่มทิพย์-ข้าวขาวชนิดประหยัด
ตกค้างสูง 5-25 ppm 7 ตัวอย่าง คือ 1.ปิ่นเงิน-ข้าวหอมคัดพิเศษ 2.ดอกบัว-ข้าวขาวหอมมะลิ 3.มาบุญครอง-ข้าวขาวเกรด 100%ชั้นดีคัดพิเศษ 4.เอโร่-ข้าวหอมผสม 5.คุ้มค่า-เสาไห้ 35 % 6.ท็อปส์-ข้าวหอมปทุมธานี และ7.พนมรุ้ง-ข้าวขาว 15 % ,ตกค้างสูง 25-50 ppm 5 ตัวอย่าง คือ 1.ข้าวแสนดี-ข้าวหอมยโสธร 2.ตราดอกบัว ตงฮั้ว-ข้าวขาวเสาไห้ 3.ตราดอกบัว -ข้าวขาวตาแห้ง 4.สุรินทร์ทิพย์-ข้าวขาวหอมมะลิ และ5.ถูกใจ-ข้าวขาวและสุดท้ายตกค้างเกินมาตรฐาน codex ที่เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศกำหนดไว้ 50 ppm 1 ตัวอย่าง คือ โค-โค่-ข้าวขาวพิมพา เสาไห้
ผลการทดสอบนี้จะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ดำเนินการตามความรับผิดชอบต่อไป โดยขอยืนยันว่าการทดสอบไม่ได้เป็นการดิสเครดิตรัฐบาลแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า การตรวจข้าวบรรจุถุงครั้งนี้ พบผลที่แตกต่างจากของรัฐบาล คือพบข้าวสารถุงที่มีสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 50 ppm ที่สำคัญการตรวจของรัฐบาล ไม่มีการจำแนกระดับของสารตกค้างให้ผู้บริโภคทราบ
สำหรับเกณฑ์การกำหนดระดับสารตกค้างเมทิลโบร์ไมด์ในระดับสูงใช้ค่ามาตรฐานของประเทศคู่ค้าข้าวรายสำคัญของไทย ซึ่งมีค่ามาตรฐานที่ต่ำกว่า 50 ppm เป็นเกณฑ์ คือ อินเดียที่กำหนดไว้ไม่เกิน 25 ppm และประเทศจีนที่กำหนดไว้ไม่เกิน 5 ppm ซึ่งจากการทดสอบจะเห็นได้ว่ามีจำนวนตัวอย่างที่พบค่าเกินมาตรฐานของ 2 ประเทศนี้
ซึ่งการตรวจพบการตกค้างของเมทิลโบรไมด์ จะกระทบต่อการส่งออกข้าวของประเทศไทย โดยเฉพาะจีน เมื่อก่อนนำเข้าข้าวจากไทยประมาณ 5 แสนตันต่อปี ปัจจุบันเหลือเพียง 1 แสนตันต่อปีเท่านั้น
"การตรวจไม่พบการตกค้างสารของหน่วยงานราชการ ไม่ควรหยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่ควรไปตรวจสอบถึงแหล่งการผลิตของข้าวสารบรรจุที่มีการตรวจพบการตกค้างของเมทิลโบรไมด์ในระดับสูงด้วย พบมีเกินค่ามาตรฐานของอินเดีย กำหนดไว้ไม่เกิน 25 มิลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งมีอยู่ประมาณ 5 ตัวอย่าง ตรงนี้ค่อนข้างชัดเจนว่าการตกค้างยังคงต้องเฝ้าระวัง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำการส่งต่อให้หน่วยงานรัฐ "
ด้านนายกิติพันธุ์ เหล่าประภัสสร ผู้จัดการบริษัท เสถียรรุ่งเรืองมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ประกอบการข้าวถุง โค-โค่-ข้าวขาวพิมพา กล่าวว่า เบื้องต้นทางบริษัทเพิ่งรับทราบข้อมูล จากการแถลงข่าวของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงยังไม่สามารถพูดได้ว่าข้าวสารของทางบริษัท ที่ถูกตรวจสอบพบการตกค้าง มากถึง 67.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามที่ระบุว่าเกินค่ามาตรฐาน CODEX นั้น อยู่ในล็อตใด ซึ่งหลังจากนี้ทางบริษัทจะติดต่อไปยังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอดูรายละเอียดว่าข้าวถุงที่นำไปตรวจสอบเป็นข้าวล็อตอะไร และกระบวนการตรวจสอบของทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคดำเนินการอย่างไร เนื่องจากทางบริษัทก็มีห้องปฏิบัติการตรวจสอบการตกค้าง ก่อนออกวางขาย ซึ่งก็ไม่ได้มีการตรวจพบการตกค้างแต่อย่างใด และปกติแล้วสารพวกนี้พอโดนอากาศก็จะละเหยไปหมด
"ทางเรายินดีที่จะเรียกคือสินค้าทั้งหมดที่ตรวจพบการตกค้าง แต่ว่าทางเราต้องขอติดต่อประสานงานไปยังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก่อน เพื่อขอทราบข้อมูลและรายละเอียด จากนั้นเราก็จะไปตรวจสอบซ้ำว่าข้าวของเรามีปัญหาจริงหรือไม่ แต่เรื่องของผลกระทบด้านสุขภาพ หากมีการตกค้างเกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดออกมาระบุอย่างชัดเจนว่า ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง สำหรับเรื่องฟ้องร้องเรายังไม่ได้คิดไปไกลขนาดนั้น เบื้องต้นเราขอทราบข้อมูลก่อน" นายกิติพันธุ์ กล่าว
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มีเพียงแค่ตัวอย่างเดียวที่เกินค่ามาตรฐาน และเป็นยี่ห้อที่อยู่ในระดับตลาดล่าง ไม่เคยได้ยินมาก่อน ส่วนอีก 5 ยี่ห้อที่ตรวจพบนั้นก็ไม่เกินค่ามาตรฐานที่องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือ Codex กำหนด ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนการปนเปื้อนของข้าวในท้องตลาดน้อยมาก และทางกรมวิทยาศาสตร์ไม่ได้เก็บตัวอย่างข้าวเหล่านี้ตรวจสอบ
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทราบข่าวได้ให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบว่า ข้าวยี่ห้อดังกล่าวเหล่านี้ได้มีการขึ้นทะเบียนไว้กับทาง อย.หรือไม่ ทั้งนี้ต้องเรียนว่าเมื่อดูในภาพรวมของการเก็บตัวอย่างสุ่มตรวจของทางมูลนิธิ จาก 46 ตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ามีตัวอย่างการปนเปื้อนที่น้อยมาก
“จากผลการตรวจนี้ประชาชนไม่ต้องตระหนก เพราะดูจากสัดส่วนประชาชนมีความเสี่ยงที่ต่ำมาก และเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลตรวจของกรมวิทยาศาสตร์และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ไม่อยากให้มีการประโคมข่าว เพราะจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศ แต่ควรสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน"
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า สารรมที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย คือ เมทริลโบรไมด์ และ ฟอสฟีน ซึ่งในประเทศไทยก็ใช้สารดังกล่าวมานานมากกว่า 40 ปีแล้ว เมื่อแยกตามชนิดและคุณสมบัติของสาร จะพบว่าเมทริลโบรไมด์ เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีข้อได้เปรียบกว่าสารรมชนิดอื่นๆ ตรงที่สามารถฆ่าแมลงได้ในทุกระยะของการเจริญเติบโต มีความสามารถในการฟุ้งกระจายและแทรกซึมเข้าไปในสินค้าได้ดี ไม่กัดโลหะเครื่องมือเครื่องใช้ ในขณะเดียวกันก็สามารถระบายสารออกจากกองสินค้าได้เร็วเมื่อสิ้นสุดการรม ที่สำคัญ ใช้ระยะเวลาในการรมสั้น และเป็นสารที่ไม่ติดไฟซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้น สามารถสลายตัวภายใน 3 ชั่วโมง ถึง 5 วัน และไม่มีพิษตกค้าง"
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการองค์การอาหารและยา ชี้แจงต่อกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ถึงกรณีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิชีววิถี และ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ รายงานผลการตรวจข้าวสารถุงที่พบถึง 34 ยี่ห้อมีสารรมควันข้าวเมทธิลโปรไมด์ ตั้งแต่ 0.9-67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ว่าต้องขอลงไปดูเรื่องของการแปลผล และดูว่าการตรวจวิเคราะห์ให้ที่ไหนทำ ซึ่งที่ทำได้จะมีที่ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือ OMIC อยู่ที่เดียว ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่ตรวจรับรองข้าวส่งออกต่างประเทศ อีกทั้งต้องไปดูว่าทำในระบบใด--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
พบข้าวเกินเกณฑ์โคเด็กซ์-ผู้ผลิตเล็งเก็บคืน
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ผลการทดสอบ พบว่า ทุกตัวอย่างไม่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมต และสารกันรา ส่วนการปนเปื้อนของสารรมควันข้าว เมทิลโบรไมด์ ไม่พบ 12 ตัวอย่าง คิดเป็น 26.1 % เท่ากับว่ามี 12 ตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนหรือการตกค้างใดๆที่มีการทดสอบเลย
ได้แก่ 1.ลายกนก-ข้าวหอมมะลิ 2.ข้าวพันดี-ข้าวขาว 3.ธรรมคัลเจอร์-ข้าวหอม 4.รุ้งทิพย์-ข้าวเสาไห 5.บัวทิพย์-ข้าวหอม 6.ตราฉัตร-ข้าวขาว 7.ข้าวมหานคร-ข้าวขาว 8.สุพรรณหงส์-ข้าวหอมสุรินทร์ 9.เอโร่-ข้าวขาว 10.ข้าวแสนดี-ข้าวหอมทิพย์ 11.โฮมเฟรชมาร์ท-จัสมิน และ 12.ชามทอง-ข้าวหอมมะลิ
พบการปนเปื้อนเมทิลโบรไมด์ 34 ตัวอย่าง คิดเป็น 73.9 % โดยพบตกค้างน้อยมากต่ำกว่า 0.90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือ ppm 7 ตัวอย่าง ได้แก่ 1.ช้างเผือกข้าวเสาไห้ 2.cooking for fun-ข้าวหอมมะลิ 3.ข้าวเบญจรงค์-ข้าวหอมมะลิ 4.ข้าวหอมมะลิแปดริ้ว-ข้าวหอมมะลิ 5.แฮปปี้บาท-ข้าวขาว 6.เทสโก ตราคุ้มค่า -ข้าวหอม และ7.อคส.-ข้าวหอมมะลิ ,ตกค้างน้อย0.9-5 ppm 14 ตัวอย่าง คือ 1.ไก่แจ้เขียว-ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ 2.ตราปทุมทอง-ข้าวหอมมะลิ 3.ข้าวหอมฉัตรอรุณ-หอมผสม 30% 70% 4.ข้าวโรงเรียน-ข้าวหอมมะลิ 5.บิ๊กซี-ข้าวหอมปทุม 6.ตราฉัตร-ข้าวขาว 7.หงษ์ทอง-ข้าวหอมมะลิ 8.ติ๊กชีโร่-ข้าวขาวหอมมะลิ 9.ตราฉัตรทอง-ข้าวหอมมะลิ 10.ตราเกษตร-ข้าวขาวหอม 11.ท็อปส์-ข้าวหอมมะลิ 12.ข้าวแสนดี-ข้าวขาวคัดพิเศษ 13.ชาวนาไทย-ข้าวเสาไห้ และ14.ข้าวอิ่มทิพย์-ข้าวขาวชนิดประหยัด
ตกค้างสูง 5-25 ppm 7 ตัวอย่าง คือ 1.ปิ่นเงิน-ข้าวหอมคัดพิเศษ 2.ดอกบัว-ข้าวขาวหอมมะลิ 3.มาบุญครอง-ข้าวขาวเกรด 100%ชั้นดีคัดพิเศษ 4.เอโร่-ข้าวหอมผสม 5.คุ้มค่า-เสาไห้ 35 % 6.ท็อปส์-ข้าวหอมปทุมธานี และ7.พนมรุ้ง-ข้าวขาว 15 % ,ตกค้างสูง 25-50 ppm 5 ตัวอย่าง คือ 1.ข้าวแสนดี-ข้าวหอมยโสธร 2.ตราดอกบัว ตงฮั้ว-ข้าวขาวเสาไห้ 3.ตราดอกบัว -ข้าวขาวตาแห้ง 4.สุรินทร์ทิพย์-ข้าวขาวหอมมะลิ และ5.ถูกใจ-ข้าวขาวและสุดท้ายตกค้างเกินมาตรฐาน codex ที่เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศกำหนดไว้ 50 ppm 1 ตัวอย่าง คือ โค-โค่-ข้าวขาวพิมพา เสาไห้
ผลการทดสอบนี้จะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ดำเนินการตามความรับผิดชอบต่อไป โดยขอยืนยันว่าการทดสอบไม่ได้เป็นการดิสเครดิตรัฐบาลแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า การตรวจข้าวบรรจุถุงครั้งนี้ พบผลที่แตกต่างจากของรัฐบาล คือพบข้าวสารถุงที่มีสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 50 ppm ที่สำคัญการตรวจของรัฐบาล ไม่มีการจำแนกระดับของสารตกค้างให้ผู้บริโภคทราบ
สำหรับเกณฑ์การกำหนดระดับสารตกค้างเมทิลโบร์ไมด์ในระดับสูงใช้ค่ามาตรฐานของประเทศคู่ค้าข้าวรายสำคัญของไทย ซึ่งมีค่ามาตรฐานที่ต่ำกว่า 50 ppm เป็นเกณฑ์ คือ อินเดียที่กำหนดไว้ไม่เกิน 25 ppm และประเทศจีนที่กำหนดไว้ไม่เกิน 5 ppm ซึ่งจากการทดสอบจะเห็นได้ว่ามีจำนวนตัวอย่างที่พบค่าเกินมาตรฐานของ 2 ประเทศนี้
ซึ่งการตรวจพบการตกค้างของเมทิลโบรไมด์ จะกระทบต่อการส่งออกข้าวของประเทศไทย โดยเฉพาะจีน เมื่อก่อนนำเข้าข้าวจากไทยประมาณ 5 แสนตันต่อปี ปัจจุบันเหลือเพียง 1 แสนตันต่อปีเท่านั้น
"การตรวจไม่พบการตกค้างสารของหน่วยงานราชการ ไม่ควรหยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่ควรไปตรวจสอบถึงแหล่งการผลิตของข้าวสารบรรจุที่มีการตรวจพบการตกค้างของเมทิลโบรไมด์ในระดับสูงด้วย พบมีเกินค่ามาตรฐานของอินเดีย กำหนดไว้ไม่เกิน 25 มิลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งมีอยู่ประมาณ 5 ตัวอย่าง ตรงนี้ค่อนข้างชัดเจนว่าการตกค้างยังคงต้องเฝ้าระวัง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำการส่งต่อให้หน่วยงานรัฐ "
ด้านนายกิติพันธุ์ เหล่าประภัสสร ผู้จัดการบริษัท เสถียรรุ่งเรืองมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ประกอบการข้าวถุง โค-โค่-ข้าวขาวพิมพา กล่าวว่า เบื้องต้นทางบริษัทเพิ่งรับทราบข้อมูล จากการแถลงข่าวของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงยังไม่สามารถพูดได้ว่าข้าวสารของทางบริษัท ที่ถูกตรวจสอบพบการตกค้าง มากถึง 67.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามที่ระบุว่าเกินค่ามาตรฐาน CODEX นั้น อยู่ในล็อตใด ซึ่งหลังจากนี้ทางบริษัทจะติดต่อไปยังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอดูรายละเอียดว่าข้าวถุงที่นำไปตรวจสอบเป็นข้าวล็อตอะไร และกระบวนการตรวจสอบของทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคดำเนินการอย่างไร เนื่องจากทางบริษัทก็มีห้องปฏิบัติการตรวจสอบการตกค้าง ก่อนออกวางขาย ซึ่งก็ไม่ได้มีการตรวจพบการตกค้างแต่อย่างใด และปกติแล้วสารพวกนี้พอโดนอากาศก็จะละเหยไปหมด
"ทางเรายินดีที่จะเรียกคือสินค้าทั้งหมดที่ตรวจพบการตกค้าง แต่ว่าทางเราต้องขอติดต่อประสานงานไปยังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก่อน เพื่อขอทราบข้อมูลและรายละเอียด จากนั้นเราก็จะไปตรวจสอบซ้ำว่าข้าวของเรามีปัญหาจริงหรือไม่ แต่เรื่องของผลกระทบด้านสุขภาพ หากมีการตกค้างเกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดออกมาระบุอย่างชัดเจนว่า ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง สำหรับเรื่องฟ้องร้องเรายังไม่ได้คิดไปไกลขนาดนั้น เบื้องต้นเราขอทราบข้อมูลก่อน" นายกิติพันธุ์ กล่าว
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มีเพียงแค่ตัวอย่างเดียวที่เกินค่ามาตรฐาน และเป็นยี่ห้อที่อยู่ในระดับตลาดล่าง ไม่เคยได้ยินมาก่อน ส่วนอีก 5 ยี่ห้อที่ตรวจพบนั้นก็ไม่เกินค่ามาตรฐานที่องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือ Codex กำหนด ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนการปนเปื้อนของข้าวในท้องตลาดน้อยมาก และทางกรมวิทยาศาสตร์ไม่ได้เก็บตัวอย่างข้าวเหล่านี้ตรวจสอบ
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทราบข่าวได้ให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบว่า ข้าวยี่ห้อดังกล่าวเหล่านี้ได้มีการขึ้นทะเบียนไว้กับทาง อย.หรือไม่ ทั้งนี้ต้องเรียนว่าเมื่อดูในภาพรวมของการเก็บตัวอย่างสุ่มตรวจของทางมูลนิธิ จาก 46 ตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ามีตัวอย่างการปนเปื้อนที่น้อยมาก
“จากผลการตรวจนี้ประชาชนไม่ต้องตระหนก เพราะดูจากสัดส่วนประชาชนมีความเสี่ยงที่ต่ำมาก และเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลตรวจของกรมวิทยาศาสตร์และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ไม่อยากให้มีการประโคมข่าว เพราะจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศ แต่ควรสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน"
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า สารรมที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย คือ เมทริลโบรไมด์ และ ฟอสฟีน ซึ่งในประเทศไทยก็ใช้สารดังกล่าวมานานมากกว่า 40 ปีแล้ว เมื่อแยกตามชนิดและคุณสมบัติของสาร จะพบว่าเมทริลโบรไมด์ เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีข้อได้เปรียบกว่าสารรมชนิดอื่นๆ ตรงที่สามารถฆ่าแมลงได้ในทุกระยะของการเจริญเติบโต มีความสามารถในการฟุ้งกระจายและแทรกซึมเข้าไปในสินค้าได้ดี ไม่กัดโลหะเครื่องมือเครื่องใช้ ในขณะเดียวกันก็สามารถระบายสารออกจากกองสินค้าได้เร็วเมื่อสิ้นสุดการรม ที่สำคัญ ใช้ระยะเวลาในการรมสั้น และเป็นสารที่ไม่ติดไฟซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้น สามารถสลายตัวภายใน 3 ชั่วโมง ถึง 5 วัน และไม่มีพิษตกค้าง"
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการองค์การอาหารและยา ชี้แจงต่อกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ถึงกรณีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิชีววิถี และ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ รายงานผลการตรวจข้าวสารถุงที่พบถึง 34 ยี่ห้อมีสารรมควันข้าวเมทธิลโปรไมด์ ตั้งแต่ 0.9-67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ว่าต้องขอลงไปดูเรื่องของการแปลผล และดูว่าการตรวจวิเคราะห์ให้ที่ไหนทำ ซึ่งที่ทำได้จะมีที่ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือ OMIC อยู่ที่เดียว ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่ตรวจรับรองข้าวส่งออกต่างประเทศ อีกทั้งต้องไปดูว่าทำในระบบใด--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ