คำว่า "ก๋วยจับ" ตัว "ก๋วย" เขียนถูกแล้ว ไม่ใช่ "กวยจั๊บ" นะครับ

กระทู้คำถาม
เมื่อกี้ผมดูรายการ Hardcore ข่าว เขาคุยเรื่องการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง และมาคุยเรื่องการเรียนการสอนภาษาไทย และคำที่นักเรียนไทยชอบสะกดผิดในข้อสอบ ปรากฏว่า มีอาจารย์ภาษาไทยสองท่าน (ท่านนึงอาวุโสมาก อีกท่านนึงเป็นคุณครูกวดวิชาชื่อดัง) ท่านบอกว่า

( "อาหารจีนแต้จิ๋วที่ชื่อ "ก๋วยจับ" ให้อ่านว่า "กวยจั๊บ ไม่ใช่ "ก๋วยจับ"  แต่คนอาจจะเข้าใจผิดเพราะไปนึกว่าควรเขียน "ก๋วย" เหมือน "ก๋วยเตี๋ยว" ซึ่งความจริงไม่ใช่คำเดียวกัน ) อาจารย์กล่าว

ซึ่งท่านและรายการบอกว่าอ้างอิงจากพจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน ซึ่งผมก็ไปเปิดดูก็พบว่าจริงด้วยแฮะ ในนั้นสะกดอย่างที่อาจารย์บอกจริงๆ

แต่ผมเดาว่ามันคงเกิดจากความเข้าใจผิดของคนไทยในสมัยนั้น ที่ฟังคนจีนพูดแล้วฟังเพี้ยนไป ก็เลยสะกดเป็นรูปภาษาไทยแบบนี้ แล้วจากนั้นก็บัญญัตกันเช่นนี้จวบจนถึงทุกวันนี้ เดาว่าสมัยนั้นคนที่บัญญิตเขาคงนึกว่าคำทั้งสองมันคนละ "ก๋วย" กัน

ซึ่งผมจะบอกว่า มันคำเดียวกันแหละครับ ภาษาแต้จิ๋ว(ซึ่งภาษาไทยเอามา)มันคืออักษร 粿  ซึ่งอ่านว่า"ก๋วย"
ถ้าก๋วยเตี้ยว " 粿條 "
ถ้าก๋วยจับ " 粿汁 "
สังเกตว่าอักษรหน้าก็ตัวเดียวกัน ทั้งสองคำว่าอ่านว่า "ก๋วย"เหมือนกัน และตัวจีนดังกล่าวก็ไม่ได้ผันเสียงไปกับอักษรตัวหลังด้วย

ดังนั้นอยากถามว่า ถ้าคำแรกอ่าน "ก๋วยเตี๋ยว" ได้ ทำคำที่สองจำอ่าน "ก๋วย" ไม่ได้ครับ ทั้งที่ก็คำเดียวกัน
ถ้าอยากจะ"ก๋วย" ก็ต้องก๋วยทั้งสองคำ
แต่ถ้าอยากจะสะกดแบบหลักภาษาไทย โดยสะกดภาษาอื่นโดยไม่ใส่เสียงวรรณยุกต์ ก็ต้องออกเสียงเป็น "กวย" ทั้งสองคำ

กล่าวคือ ถ้าจะ "กวย" ก็ต้อง "กวย"ทั้งสองคำ
ถ้าจำ "ก๋วย" ก็ต้อง "ก๋วย" ทั้งสองคำครับ จะได้ไม่สองมาตราฐาน

ปล.ถ้าอยากอ่านแบบวรรณยุกต์แต้จิ๋วจริงๆนะ ให้อ่าน "ก๋วยเตี้ยว" ครับ ไม่ใช่ "ก๋วยเตี๋ยว" แต่ถ้าไม่อยากคงวรรณยุกต์แบบ"ภาษาที่มา"ก็ใช้สะกดแบบ "กวยเตียว" ไปเลยครับ แบบที่เอาคำจากภาษาอังกฤษมาแล้วไม่ใส่วรรณยุกต์ครับ
และ " 粿汁 " คนจีนก็อ่านว่า "ก๋วยจับ" ไม่ใช่ "จั๊บ" แบบที่คนไทยเข้าใจ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่