ทำไมบทสวดมนต์ที่เราคนไทยสวดกันถึงไม่เขียนให้อ่านง่าย

พอดีช่วงนี้ผมสนใจธรรมะ และหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาเลยลองศึกษาส่วนตัวจึงอยากจะลองสวดมนต์
โดยฝึกตัวบทยากๆ เช่นบทสวดพาหุง ด้วยความที่เราไม่คุ้นชิน และห่างหายจากการเข้าวัดเป็นเวลานานทำให้อ่านไม่แตกฉาน
ในใจก็นึกขึ้นมาว่า ทำไมบทสวดภาษาบาลีอ่านยาก อยากทราบว่าการเปลี่ยนจากบทสวดที่เป็นภาษาเดิม มาเป็นภาษาไทยที่เขียนและสะกดแบบนี้มีที่มาที่ไปและประวัติอย่างไรบ้างครับ
ด้วยความที่ลองค้นหาข้อมูลในเน็ตแล้วแต่ไม่มีรายละเอียดอะไรเพิ่มเติมเลย
ตัวอย่างก็คือ
" พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง " ทำไมไม่มีเขียนว่า
" พาหุงสะหัด สะมะพินิมมิตะสาวุทันตัง " 
แล้วถ้าแบบนี้อ่านง่ายสวดง่ายมีผลในด้านใดหรือเปล่าครับ
ที่ผมเข้าใจคือการสวดมนต์คือการกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า หรือหลักธรรมของพระพุทธเจ้า
การที่เป็นภาษาบาลีมีประโยชน์อย่างอื่นมั้ยครับ อยากทราบว่าตัวอักษรไทยกับภาษาบาลีเกี่ยวเนื้องกันอย่างไรครับ
ปล.ส่วนตัวไม่มีความรู้ทางด้านนี้เลย รบกวนผู้รู้ชี้แนะให้แตกฉานด้วยครับ 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่