เห็นการนำเสนอข่าว การปนเปื้อนปรอท ในสัตว์ทะเล กรณี ปตท แล้ว ...

อยากจะบอกว่า หมกเม็ด ครับ

เห็นช่อง 7 นำเสนอเมือเย็นนี้ แล้วต้องบอกว่า เป็นการวิเคราะห์ไม่ถูกหลักการครับ

ใครได้ดูจะเห็นว่ามีการนำสัตว์ทะเลมาวิเคราะห์ หาปริมาณสารปรอทในสัตว์ทะเล แล้วจะเห็นนะครับ

บอกได้เลยในฐานะเคยวิเคราะห์ปรอท มาก่อน และทำงานด้านโลหะหนักมาก่อน บอกเลยว่าไม่ถุกหลัก ที่จะฟันธงเร็วขนาดนั้น

แยกที่ละประเด็น

1. ในข่าว ส่งสัตว์ทะเล ไปให้สถาบันแห่งหนึ่ง (ราชการ) เป็นผู้ตรวจ โดยอาศัยดูด้วยตาเปล่า และกลิ่น

แล้วสรุปว่า ไม่ปนเปื้อน

แบบนี้เร็วไปนะสำหรับผม แต่ยังดีที่ผู้ร่วมรายการ ยังทิ้งท้ายว่า ถ้าจะเอาละเอียดต้องคอยผลใน Lab

2. ประเด็นที่สอง การวิเคราะห์เร็วไปสำหรับ กรณีแบบนี้

เหมือนกับว่าวันนี้คุณกินเค็กไป 1 ชิ้น แล้วพรุ่งนี้ รอบเอวคุณจะเพิ่มขึ้นอีก 1 นิ้ว

ถ้าผมบอกแบบนี้คุณว่ามันสมเหตุสมผลหรือเปล่า

แน่นอนว่าไม่ เพราะการสะสม มันต้องใช้เวลา ไม่ใช่ได้รับวันนี้ พรุ่งนี้จะตรวจเจอ

อีกประเด็น ถ้าใครได้ดูในรายการ จะเห็นว่าเขาขูดเอาเฉพาะส่วนเนื้อไปวิเคราะห์ จ้างให้เทวดามาตรวจก็ไม่เจอ เพราะมันยังไม่ได้สะสมเลยพี่ เพราะมันเพิ่งได้รับ

วิธีแก้ ถ้าอยากรู้เร็วขนาดนั้น วิธีที่พอจะเช็คได้แบบคราวๆ คือการเอาเฉพาะส่วนของกระเพาะอาหาร ของสัตว์ทะเลไปวิเคราะห์ทั้งหมด โดยไม่เอาเศษอาหารที่คาอยู่ในกระเพราะออก

วิธีนี้จะเป็น วิธีที่สะท้อนสภาพปัจจุบันได้เร็วสุด เช่นถ้าวิเคราะห์แล้วพบกว่า มีปริมาณของปรอท ในปริมาณที่สูง เราก็อนุมานได้ว่า ถ้าทิ้งไว้ต่อไป การสะสมในอวัยวะส่วนอื่นๆก็จะสูงตามมา

อีกอย่าง การเลือกประเภทของสัตว์ที่นำมาวิเคราะห์ ก็ควรจะให้ครอบคลุ่มทุกประเภท อันได้แก่ หอย ปลา (แยกเป็น ปลาผิวน้ำ ปลากลางน้ำ และปลาหน้าดิน) อีกประกาศ คือ ควรจะวิเคราะห์การปนเปือน ในน้ำ ดินตระกอน และแพลงค์ตอน ด้วย

เพราะเป็นแหล่งการสะสมในอันดับแรกๆ

3. ประเด็นนี้สำคัญมาก สถาบันที่ นักข่าวไปทำข่าว และให้วิเคราะห์ตัวอย่างนั้น อุปกรณ์ ไม่พร้อมสำหรับการวิเคราะห์ปรอท

ถ้าผมจำไม่ผิด สถาบันนี้เป็นของหน่วยงานราชการ และอยู่ในจังหวัดระยอง

การวิเคราะห์ปรอท ที่ถูกต้อง มีหลายวิธี มีตั้งแต่วิธีที่หยาบ ไปจนถึงละเอียด

เอาง่ายๆ แค่การได้ตัวอย่าง มาจะต้องทำการย่อยตัวอย่างก่อน ซึ่งการย่อยตัวอย่างนี้สำคัญมาก จะต้องทำในระบบปิด เพราะปรอทเป็น โลหะหนักที่ระเหยได้ ถ้าทำในระบบเปิด ค่าที่ได้จะได้น้อยกว่าความเป็นจริง ดังนั้นจะต้องทำในระบบปิดเพื่อค่าที่ได้จะได้น่าเชื่อถือ

3.1โดยเครื่องมือที่ใช้หน้าตาจะเป็นแบบนี้ (ซึ่งสถาบันแห่งนี้ ไม่มี) เหตุที่รู้เพราะมีรุ่นน้องเคยทำงานอยู่ที่นั้นเลยรู้ครับ ถ้าปัจจุบันมีก็ต้องขภัยด้วย



3.2 ประเด็นถัดมา คือเครื่องมือสำหรับ วัดปรอท อย่างที่ผมบอกมีตั้งแต่วัดแบบหยาบๆ จนถึงวัดแบบละเอียดๆ และแน่นอน สถาบันแห่งนั้น มีเครื่องมือที่ใช้วัดโลหะหนักทั่วๆไป แล่้วมาดัดแปลงสำหรับวัดปรอทด้วย

ค่าที่ได้จึงไม่คอยน่าเชื่อถือ ผมจะเรียงลำดับ เครื่องมือที่ใช้วัดปรอท จาก หยาบไปหาดีที่สุดนะครับ

ปัจจุบันมี 3 แบบ

1.FAAS : Atomic absorption spectroscopy

2.GFAAS : Graphite furnace atomic absorption

3.CVAFS : Cold vapour atomic fluorescence spectroscopy

ซึ่งสถาบันที่ออกข่าว มี แค่ แบบที่ 2 จริงๆแล้วถามว่าวัดได้ไหม ตอบว่าได้ แต่ด้วยเครื่องมือชนิดนี้ ออกแบบมาให้วัดโลหะหนัก ชนิดอื่นๆ แต่หากมาดัดแปลงวัดปรอท ก็พอทำได้แต่ไม่ดี

จะให้ดีจริงๆ ต้องใช้แบบ ที่ 3 ซึ่งปัจจุบันนี้ เครื่องมือแบบที่ 3 ในประเทศไทย มีอยู่แค่ 2 ที่ คือ

ที่ คณะวิทยาศาสตร์ ม.บูรพา กับ อีกที คือที่ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ แค่นั้นครับ (เท่าที่ผมรู้นะครับ) เพราะเป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาใช้วิเคราะห์ปรอทโดยเฉพาะ

หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ



เพราะใช้กระบวนการทำให้ ปรอทเกิดการเปลี่ยนสภาพเป็น ก๊าซ Hg 0 แล้วคอยไปวัด ผิดกับ เครื่องอันที่สอง ที่ทำการวัดโดยการเพิ่มพลังงานให้อะตอมเกิดภาวะกระตุ้น ก่อนจะทำการวัด

อย่างที่รู้ ปรอท เป็นโลหะหนักที่ระเหิดได้ ดังนั้นการเพิ่มพลังงานเข้าไป จะยิ่งทำให้เกิดการระเหิด ส่งผลทำให้ค่าที่ได้ต่ำกว่าความเป็นจริง


ถามว่าเครื่องมือ มีความสำคัญขนาดไหนในเมือก็วัดได้เหมือนกัน สำคัญมากๆครับ

อย่างเช่นการวัดปริมาณปรอท ในน้ำทะเล ซึ่งวัดยากมากเพราะมีปริมาณที่น้อยมาก ดังนั้นถ้าเครื่องมือไม่ดี มันจะวัดไม่ได้ (ภาษาคนวิเคราะห์เขาจะพูดว่า non detectable : ND แปลว่าวัดไม่ได้ ) การวัดไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่าไม่มี นะครับ

แต่หมายถึง เครื่องมือที่มี ไม่ดีพอ หรือไม่มีความละเอียดพอที่จะวัดได้ ต่างหากครับ

เอาคราวๆแค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่