เอเอฟพี/เอเจนซี่ส์ - ความพยายามที่จะห้ามจำหน่ายน้ำอัดลมแก้วไซส์ยักษ์ของ นายกเทศมนตรีแห่งนครนิวยอร์ก เนื่องจากเหตุผลทางด้านสาธารณสุข ต้องล้มเหลวลงอีกครั้ง เมื่อวานนี้ (30 ก.ค.) เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำตัดสินว่าไม่ให้ออกกฎหมายฉบับดังกล่าวมาบังคับใช้
นายกเทศมนตรี ไมเคิล บลูมเบิร์ก ผู้ซึ่งสนับสนุนมาตรการนี้ โดยถือเป็นแผนหนึ่งในการต่อสู้กับโรคอ้วนและโรคเบาหวานที่ทำให้ชาวเมืองนิวยอร์ก กำลังป่วยกันเป็นจำนวนมาก ออกมาประกาศทันทีว่าเขาจะยังสู้ต่อไปในศาลสูง
คณะกรรมการสุขภาพของนครนิวยอร์กมีมติเมื่อเดือนกันยายน ปี 2012 ห้ามไม่ให้ใช้แก้วไซส์บิ๊ก เกินขนาด 16 ออนซ์ (470 มล.) จำหน่ายน้ำอัดลมในร้านอาหาร และ ตามมุมอื่นๆ ในเมือง ซึ่งรวมถึงสนามกีฬา และ เทศกาลงานแสดงดนตรี
ทว่าการริเริ่มดังกล่าวนี้ซึ่งดึงดูดความสนใจจากทั่วโลก และจะกลายเป็นข้อบัญญัติเช่นนี้ฉบับแรกที่ประกาศใช้ในเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ ได้ถูกศาลชั้นต้นขัดขวางโดยให้เหตุผลว่าเป็นข้อบัญญัติที่ “เผด็จการและใช้อำนาจตามอำเภอใจเกินไป”
เมื่อวานนี้ (30) แผนกอุทธรณ์ของศาลสูงแห่งรัฐนิวยอร์ก ได้มีคำพิพากษายืนตามคำตัดสินของศาลชั้นต้น
นาย บลูมเบิร์ก ได้หยิบยกประเด็นปัญหาเรื่องสุขภาพขึ้นเป็นนโยบายสำคัญของเขาในช่วง 12 ปี ที่เขาดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี ซึ่งจะสิ้นสุดวาระลงในเดือนพฤศจิกายนนี้
เขาออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในร้านอาหาร สถานเริงรมย์ และ สถานที่สาธารณะอื่นๆ อีกทั้งสนับสนุนการรณรงค์จนประสบความสำเร็จให้ผู้ผลิตอาหาร และ ร้านอาหารให้เลิกใช้ไขมันทรานส์ และ ลดปริมาณเกลือในอาหารลง
เขาได้แสดงความคิดเห็นต่อคำตัดสินของศาลเมื่อวานนี้ (30) ว่าเป็นความล้มเหลวเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่บรรดาตัวแทนของอุตสาหกรรมน้ำอัดลมมั่นใจว่า การยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ของรัฐซึ่งถือเป็นการอุทธรณ์ในขั้นสุดท้ายก็จะล้มเหลวอีกเช่นเดียวกัน
นาย คริสโตเฟอร์ กินเดิ้ลสเปอร์เกอร์ โฆษกของสมาคมเครื่องดื่มแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (ABA) ได้ระบุว่าศาลมีคำประกาศอย่างเป็นเอกฉันท์แล้วว่า การห้ามจำหน่ายน้ำอัดลมในขนาดแก้วไซส์ยักษ์ เป็นการที่ฝ่ายบริหารพยายามใช้อำนาจเกินขอบเขต
“หลังจากที่ศาลตัดสินเช่นนี้แล้ว เราก็ยังคงคาดหวังที่จะได้ร่วมมือกับบรรดาผู้นำของเมืองเพื่อหาทางออกที่ส่งผลดีและมีผลอย่างยั่งยืนต่อประชาชนในนครนิวยอร์ก”
ทางด้าน นาย ไมเคิล บลูมเบิร์ก ได้ออกแถลงการณ์ว่า ผู้พิพากษาเพิกเฉยต่อความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขวิกฤตสุขภาพอย่างเร่งด่วน
“นับตั้งแต่กฎหมายจำกัดปริมาณในการขายน้ำอัดลมในนครนิวยอร์ก ก็ถูกระงับไม่ให้ประกาศใช้ เมื่อเดือนมีนาคม 2012 มีชาวนิวยอร์กกว่า 2,000 คน ต้องเสียชีวิตเนื่องจากเป็นโรคเบาหวาน” เขาแถลง
“นอกจากนี้ ในช่วงเวลานั้น สมาคมแพทย์อเมริกัน (American Medical Association) ได้วินิจฉัยให้ความอ้วนเป็นโรคชนิดหนึ่ง และ วารสาร “นิวอิงแลนด์เจอร์นัลเมดิซีน” (New England Journal Medicine) ก็เผยแพร่งานวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงและไม่มีทางรักษาของโรคอ้วนและโรคเบาหวานประเภท 2 ซึ่งทั้งสองโรคนี้มีความเชื่อมโยงกับการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
“คำตัดสินในวันนี้ เป็นความล้มเหลวเพียงชั่วคราวเท่านั้น และเราได้วางแผนว่าจะยื่นอุทธรณ์คำตัดสินครั้งนี้เนื่องจากเราต้องการสู้กับโรคอ้วนที่กำลังระบาดต่อไป”
ที่ผ่านมาข้อเสนอของ นาย บลูมเบิร์ก ได้จุดประกายให้เกิดการถกเถียงกันอย่างดุเดือดในนิวยอร์ก
ทางด้านฝ่ายที่คัดค้านออกมาโต้แย้งว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นการละเมิดเสรีภาพของประชาชน ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงกันอย่างชัดแจ้งระหว่างการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก กับโรคอ้วนและโรคเบาหวานประเภท 2 หรือโรคเบาหวานในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ ซึ่งชาวนิวยอร์กทุกๆ 1 ใน 8 คน ป่วยเป็นขณะนี้
นายกเทศมนตรีนิวยอร์กผู้นี้ ยังย้ำเตือนแก่ผู้ลงคะแนนเสียงอยู่เสมอว่า ในช่วงคนรุ่นที่แล้วนี้เองให้ขนาดมาตรฐานของแก้วน้ำอัดลมอย่างเป็ปซี่และโค้ก โคคา โคล่า ที่ให้บริการกันคือ 6 ออนซ์เท่านั้น และเมื่อครั้งแรกที่มีการเปลี่ยนให้แก้วขนาดมาตรฐานเป็น 12 ออนซ์ ประชาชนต่างก็คิดว่าใหญ่มหึมามาก
นอกจากนั้น มีนักวิจารณ์ที่กล่าวว่า นโยบายของ นายบลูมเบิร์ก ไม่ได้คงเส้นคงวา เนื่องจาก ไม่ครอบคลุมถึงเครื่องดื่มประเภทนมหรือน้ำผลไม้ ซึ่งบางชนิดมีปริมาณน้ำตาลมากเท่าๆ กับ น้ำอัดลม หรือ เบียร์ และ บ่อยครั้ง มีแคลอรี่สูงพอๆ กัน
นายกเทศมนตรีผู้นี้ได้ยอมรับว่า เพียงแค่การจำกัดปริมาณในการจำหน่ายน้ำอัดลมยังไม่สามารถป้องกันไม่ให้ชาวนิวยอร์กบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้ในปริมาณมากเกินไป แต่เขาเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาสุขภาพกันมากขึ้น
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000094260
ศาลยัน “นิวยอร์ก” ต้องพับกม.ห้ามขายน้ำอัดลม “แก้วไซส์ยักษ์” นายกเทศมนตรี "ไมเคิล บลูมเบิร์ก" ประกาศลั่นขอ “สู้
นายกเทศมนตรี ไมเคิล บลูมเบิร์ก ผู้ซึ่งสนับสนุนมาตรการนี้ โดยถือเป็นแผนหนึ่งในการต่อสู้กับโรคอ้วนและโรคเบาหวานที่ทำให้ชาวเมืองนิวยอร์ก กำลังป่วยกันเป็นจำนวนมาก ออกมาประกาศทันทีว่าเขาจะยังสู้ต่อไปในศาลสูง
คณะกรรมการสุขภาพของนครนิวยอร์กมีมติเมื่อเดือนกันยายน ปี 2012 ห้ามไม่ให้ใช้แก้วไซส์บิ๊ก เกินขนาด 16 ออนซ์ (470 มล.) จำหน่ายน้ำอัดลมในร้านอาหาร และ ตามมุมอื่นๆ ในเมือง ซึ่งรวมถึงสนามกีฬา และ เทศกาลงานแสดงดนตรี
ทว่าการริเริ่มดังกล่าวนี้ซึ่งดึงดูดความสนใจจากทั่วโลก และจะกลายเป็นข้อบัญญัติเช่นนี้ฉบับแรกที่ประกาศใช้ในเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ ได้ถูกศาลชั้นต้นขัดขวางโดยให้เหตุผลว่าเป็นข้อบัญญัติที่ “เผด็จการและใช้อำนาจตามอำเภอใจเกินไป”
เมื่อวานนี้ (30) แผนกอุทธรณ์ของศาลสูงแห่งรัฐนิวยอร์ก ได้มีคำพิพากษายืนตามคำตัดสินของศาลชั้นต้น
นาย บลูมเบิร์ก ได้หยิบยกประเด็นปัญหาเรื่องสุขภาพขึ้นเป็นนโยบายสำคัญของเขาในช่วง 12 ปี ที่เขาดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี ซึ่งจะสิ้นสุดวาระลงในเดือนพฤศจิกายนนี้
เขาออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในร้านอาหาร สถานเริงรมย์ และ สถานที่สาธารณะอื่นๆ อีกทั้งสนับสนุนการรณรงค์จนประสบความสำเร็จให้ผู้ผลิตอาหาร และ ร้านอาหารให้เลิกใช้ไขมันทรานส์ และ ลดปริมาณเกลือในอาหารลง
เขาได้แสดงความคิดเห็นต่อคำตัดสินของศาลเมื่อวานนี้ (30) ว่าเป็นความล้มเหลวเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่บรรดาตัวแทนของอุตสาหกรรมน้ำอัดลมมั่นใจว่า การยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ของรัฐซึ่งถือเป็นการอุทธรณ์ในขั้นสุดท้ายก็จะล้มเหลวอีกเช่นเดียวกัน
นาย คริสโตเฟอร์ กินเดิ้ลสเปอร์เกอร์ โฆษกของสมาคมเครื่องดื่มแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (ABA) ได้ระบุว่าศาลมีคำประกาศอย่างเป็นเอกฉันท์แล้วว่า การห้ามจำหน่ายน้ำอัดลมในขนาดแก้วไซส์ยักษ์ เป็นการที่ฝ่ายบริหารพยายามใช้อำนาจเกินขอบเขต
“หลังจากที่ศาลตัดสินเช่นนี้แล้ว เราก็ยังคงคาดหวังที่จะได้ร่วมมือกับบรรดาผู้นำของเมืองเพื่อหาทางออกที่ส่งผลดีและมีผลอย่างยั่งยืนต่อประชาชนในนครนิวยอร์ก”
ทางด้าน นาย ไมเคิล บลูมเบิร์ก ได้ออกแถลงการณ์ว่า ผู้พิพากษาเพิกเฉยต่อความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขวิกฤตสุขภาพอย่างเร่งด่วน
“นับตั้งแต่กฎหมายจำกัดปริมาณในการขายน้ำอัดลมในนครนิวยอร์ก ก็ถูกระงับไม่ให้ประกาศใช้ เมื่อเดือนมีนาคม 2012 มีชาวนิวยอร์กกว่า 2,000 คน ต้องเสียชีวิตเนื่องจากเป็นโรคเบาหวาน” เขาแถลง
“นอกจากนี้ ในช่วงเวลานั้น สมาคมแพทย์อเมริกัน (American Medical Association) ได้วินิจฉัยให้ความอ้วนเป็นโรคชนิดหนึ่ง และ วารสาร “นิวอิงแลนด์เจอร์นัลเมดิซีน” (New England Journal Medicine) ก็เผยแพร่งานวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงและไม่มีทางรักษาของโรคอ้วนและโรคเบาหวานประเภท 2 ซึ่งทั้งสองโรคนี้มีความเชื่อมโยงกับการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
“คำตัดสินในวันนี้ เป็นความล้มเหลวเพียงชั่วคราวเท่านั้น และเราได้วางแผนว่าจะยื่นอุทธรณ์คำตัดสินครั้งนี้เนื่องจากเราต้องการสู้กับโรคอ้วนที่กำลังระบาดต่อไป”
ที่ผ่านมาข้อเสนอของ นาย บลูมเบิร์ก ได้จุดประกายให้เกิดการถกเถียงกันอย่างดุเดือดในนิวยอร์ก
ทางด้านฝ่ายที่คัดค้านออกมาโต้แย้งว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นการละเมิดเสรีภาพของประชาชน ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงกันอย่างชัดแจ้งระหว่างการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก กับโรคอ้วนและโรคเบาหวานประเภท 2 หรือโรคเบาหวานในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ ซึ่งชาวนิวยอร์กทุกๆ 1 ใน 8 คน ป่วยเป็นขณะนี้
นายกเทศมนตรีนิวยอร์กผู้นี้ ยังย้ำเตือนแก่ผู้ลงคะแนนเสียงอยู่เสมอว่า ในช่วงคนรุ่นที่แล้วนี้เองให้ขนาดมาตรฐานของแก้วน้ำอัดลมอย่างเป็ปซี่และโค้ก โคคา โคล่า ที่ให้บริการกันคือ 6 ออนซ์เท่านั้น และเมื่อครั้งแรกที่มีการเปลี่ยนให้แก้วขนาดมาตรฐานเป็น 12 ออนซ์ ประชาชนต่างก็คิดว่าใหญ่มหึมามาก
นอกจากนั้น มีนักวิจารณ์ที่กล่าวว่า นโยบายของ นายบลูมเบิร์ก ไม่ได้คงเส้นคงวา เนื่องจาก ไม่ครอบคลุมถึงเครื่องดื่มประเภทนมหรือน้ำผลไม้ ซึ่งบางชนิดมีปริมาณน้ำตาลมากเท่าๆ กับ น้ำอัดลม หรือ เบียร์ และ บ่อยครั้ง มีแคลอรี่สูงพอๆ กัน
นายกเทศมนตรีผู้นี้ได้ยอมรับว่า เพียงแค่การจำกัดปริมาณในการจำหน่ายน้ำอัดลมยังไม่สามารถป้องกันไม่ให้ชาวนิวยอร์กบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้ในปริมาณมากเกินไป แต่เขาเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาสุขภาพกันมากขึ้น
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000094260