อยากเล่นกีต้าร์เพลงนี้คะ แปลกนะเคยฟังตั้งแต่ประถม แต่พอมาฟังวันนี้ทำไมไพเราะจับใจแบบนี้ และที่สำคัญเพิ่งไปหาประวัติเพลงนี้มาคะ
อ่านแล้วก็ซึ้งมากๆเลย
ประวัติและที่มาของเพลง
กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดามรกฎ ทรงสนพระทัยในดนตรีไทยเป็นอย่างมาก ทรงมีวงปี่พาทย์วงหนึ่ง เรียกกันว่า “วงพระองค์เพ็ญ” (พระนามเดิมคือพระองค์ชายเพ็ญพัฒนพงศ์) ทรงแต่งเพลง “ลาวดวงเดือน” เมื่อครั้งที่เสด็จตรวจราชการทางภาคอีสาน ซึ่งใช้เกวียนเป็นพาหนะ ประทานชื่อว่า “ลาวดำเนินเกวียน” แต่เนื่องจากบทร้องขึ้นต้นว่า “โอ้ละหนอดวงเดือนเอย” และตอนที่จบท่อน ก็มีคำว่าดวงเดือน ผู้ที่ไม่รู้จักชื่อเพลงนี้ เมื่อต่อหรือจดจำมาร้องและบรรเลง หรือใครที่ได้ยินได้ฟัง ต่างเรียกเพลงนี้ว่า “ลาวดวงเดือน” แม้ท่านเจ้าของจะทรงตั้งชื่อไว้ว่า “ลาวดำเนินเกวียน” ก็ไม่มีผู้ใดเรียก ดังนั้นเพลงนี้จึงมีชื่อเรียกว่า
“ลาวดวงเดือน” มาจนทุกวันนี้
เกี่ยวกับประวัติเพลงลาวดวงเดือนนี้ ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจน่ารู้ ดังที่คุณสง่า อารัมภีร์ กล่าวไว้ในหนังสือ “ความเอย-ความหลัง” ซึ่งขอถ่ายทอดมาไว้ ณ ที่นี้ดังนี้
เมื่อ พ.ศ.2446 พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาใหม่ๆ เสด็จไปเที่ยวนครเชียงใหม่ สมัยนั้นพระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่มณฑลพายัพได้ทำการต้อนรับขับสู้อย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดการต้อนรับด้วยการรับประทานอาหารในคุ้มและมีการแสดงละครให้ชมในงานนี้พ่อเจ้าอินทวโรรสกับเจ้าแม่ทิพยเนตรได้เชิญชวนเจ้าพี่เจ้าน้องมารับเสด็จและทำการต้อนรับด้วย เจ้าราชสัมพันธวงศ์(ธรรมลังกา) กับเจ้าหญิงคำย่น พร้อมด้วยธิดาคนโต มีนามว่า “เจ้าหญิงชมชื่น” อายุย่างเข้า 16 ปี กล่าวกันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องนวลใย ใบหน้าอิ่มเอิบ แก้มเป็นสีชมพู ผิวขาวดุจงาช้าง
พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เจ้าชายหนุ่มอายุ 21 ปี สนพระทัยในดรุณีแน่งน้อยอายุ 16 ปี นี้มาก กล่าวกันว่าพระองค์ถึงกับทรงตะลึงแบบชายหนุ่มพบรักครั้งแรก งานคืนนั้นสิ้นสุดลงด้วยบรรยากาศละเมียดละไมไปด้วยความจงรัก
ในวันต่อมาพระยานริศราชกิจเป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศ์ถึงคุ้มหน้าวังบ้านปิง เจ้าหญิงชมชื่นได้มีโอกาสต้อนรับหลายครั้งหลายหน นานวันเข้าพระองค์ชายก็ให้พระยานริศราชกิจเป็นเถ้าแก่ไปเจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่นให้เป็นหม่อมของพระองค์ชาย แต่เจ้าสัมพันธวงศ์ขอให้เจ้าหญิงชมชื่นอายุ 18 ปีเสียก่อนและตามขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใดจะทำการเสกสมรส จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตเสียก่อนเพื่อได้รับเป็นสะใภ้หลวงหากถวายเจ้าหญิงชมชื่นให้ตอนนี้ เจ้าหญิงก็จะตกอยู่ในฐานะนางบำเรอเท่านั้น ถ้าพระองค์ชายทรงเบื่อหน่ายทอดทิ้งแล้ว จะเอาอะไรเป็นหลักประกัน
เถ้าแก่ข้าหลวงใหญ่จำนนต่อเหตุผล พระองค์ชายเสด็จกลับกรุงเทพฯ เมื่อถึงกรุงเทพฯ เรื่องการจะสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้รับการทัดทานอย่างหนักหน่วง หมดหวังโดยทุกประการ คราใดสายลมเหนือพัดมาจากเชียงใหม่ พระองค์ชายก็รันทดใจยิ่งขึ้น
พระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยลงในพระนิพนธ์บทร้อง “ลาวดวงเดือน”
เป็นอนุสรณ์เตือนให้รำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่น
เป็นที่น่าเสียดายที่กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดมสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระชันษายังน้อย คือ เพียง 28 ปี เท่านั้น ถ้าพระองค์มีพระชนม์ชีพยืนนานกว่านี้ วงการดนตรีไทยคงจะมีเพลง
ไพเราะเป็นอมตะเช่นเดียวกับเพลงลาวดวงเดือนอีกหลายเพลงทีเดียว
อย่างไรก็ตาม แม้พระองค์จะทรงพระนิพนธ์เฉพาะ
เพลงลาวดวงเดือน แต่เพลงลาวดวงเดือนนี้
ก็นับเป็นเพลงที่มีสำเนียงไพเราะอ่อนหวาน
ฟังไม่รู้เบื่อ เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่นักดนตรีและผู้ฟังโดยทั่วไป ทั้งที่เป็นคนไทยและ
ชาวต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะนอกจากจะฟังไพเราะแล้วยังเป็นเพลงที่มีทำนองเอื้อนน้อย ร้องง่าย
จำง่ายด้วย
ลาวดวงเดือนเพราะมากๆเลยคะ
อ่านแล้วก็ซึ้งมากๆเลย
ประวัติและที่มาของเพลง
กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดามรกฎ ทรงสนพระทัยในดนตรีไทยเป็นอย่างมาก ทรงมีวงปี่พาทย์วงหนึ่ง เรียกกันว่า “วงพระองค์เพ็ญ” (พระนามเดิมคือพระองค์ชายเพ็ญพัฒนพงศ์) ทรงแต่งเพลง “ลาวดวงเดือน” เมื่อครั้งที่เสด็จตรวจราชการทางภาคอีสาน ซึ่งใช้เกวียนเป็นพาหนะ ประทานชื่อว่า “ลาวดำเนินเกวียน” แต่เนื่องจากบทร้องขึ้นต้นว่า “โอ้ละหนอดวงเดือนเอย” และตอนที่จบท่อน ก็มีคำว่าดวงเดือน ผู้ที่ไม่รู้จักชื่อเพลงนี้ เมื่อต่อหรือจดจำมาร้องและบรรเลง หรือใครที่ได้ยินได้ฟัง ต่างเรียกเพลงนี้ว่า “ลาวดวงเดือน” แม้ท่านเจ้าของจะทรงตั้งชื่อไว้ว่า “ลาวดำเนินเกวียน” ก็ไม่มีผู้ใดเรียก ดังนั้นเพลงนี้จึงมีชื่อเรียกว่า
“ลาวดวงเดือน” มาจนทุกวันนี้
เกี่ยวกับประวัติเพลงลาวดวงเดือนนี้ ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจน่ารู้ ดังที่คุณสง่า อารัมภีร์ กล่าวไว้ในหนังสือ “ความเอย-ความหลัง” ซึ่งขอถ่ายทอดมาไว้ ณ ที่นี้ดังนี้
เมื่อ พ.ศ.2446 พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาใหม่ๆ เสด็จไปเที่ยวนครเชียงใหม่ สมัยนั้นพระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่มณฑลพายัพได้ทำการต้อนรับขับสู้อย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดการต้อนรับด้วยการรับประทานอาหารในคุ้มและมีการแสดงละครให้ชมในงานนี้พ่อเจ้าอินทวโรรสกับเจ้าแม่ทิพยเนตรได้เชิญชวนเจ้าพี่เจ้าน้องมารับเสด็จและทำการต้อนรับด้วย เจ้าราชสัมพันธวงศ์(ธรรมลังกา) กับเจ้าหญิงคำย่น พร้อมด้วยธิดาคนโต มีนามว่า “เจ้าหญิงชมชื่น” อายุย่างเข้า 16 ปี กล่าวกันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องนวลใย ใบหน้าอิ่มเอิบ แก้มเป็นสีชมพู ผิวขาวดุจงาช้าง
พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เจ้าชายหนุ่มอายุ 21 ปี สนพระทัยในดรุณีแน่งน้อยอายุ 16 ปี นี้มาก กล่าวกันว่าพระองค์ถึงกับทรงตะลึงแบบชายหนุ่มพบรักครั้งแรก งานคืนนั้นสิ้นสุดลงด้วยบรรยากาศละเมียดละไมไปด้วยความจงรัก
ในวันต่อมาพระยานริศราชกิจเป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศ์ถึงคุ้มหน้าวังบ้านปิง เจ้าหญิงชมชื่นได้มีโอกาสต้อนรับหลายครั้งหลายหน นานวันเข้าพระองค์ชายก็ให้พระยานริศราชกิจเป็นเถ้าแก่ไปเจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่นให้เป็นหม่อมของพระองค์ชาย แต่เจ้าสัมพันธวงศ์ขอให้เจ้าหญิงชมชื่นอายุ 18 ปีเสียก่อนและตามขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใดจะทำการเสกสมรส จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตเสียก่อนเพื่อได้รับเป็นสะใภ้หลวงหากถวายเจ้าหญิงชมชื่นให้ตอนนี้ เจ้าหญิงก็จะตกอยู่ในฐานะนางบำเรอเท่านั้น ถ้าพระองค์ชายทรงเบื่อหน่ายทอดทิ้งแล้ว จะเอาอะไรเป็นหลักประกัน
เถ้าแก่ข้าหลวงใหญ่จำนนต่อเหตุผล พระองค์ชายเสด็จกลับกรุงเทพฯ เมื่อถึงกรุงเทพฯ เรื่องการจะสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้รับการทัดทานอย่างหนักหน่วง หมดหวังโดยทุกประการ คราใดสายลมเหนือพัดมาจากเชียงใหม่ พระองค์ชายก็รันทดใจยิ่งขึ้น
พระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยลงในพระนิพนธ์บทร้อง “ลาวดวงเดือน”
เป็นอนุสรณ์เตือนให้รำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่น
เป็นที่น่าเสียดายที่กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดมสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระชันษายังน้อย คือ เพียง 28 ปี เท่านั้น ถ้าพระองค์มีพระชนม์ชีพยืนนานกว่านี้ วงการดนตรีไทยคงจะมีเพลง
ไพเราะเป็นอมตะเช่นเดียวกับเพลงลาวดวงเดือนอีกหลายเพลงทีเดียว
อย่างไรก็ตาม แม้พระองค์จะทรงพระนิพนธ์เฉพาะ
เพลงลาวดวงเดือน แต่เพลงลาวดวงเดือนนี้
ก็นับเป็นเพลงที่มีสำเนียงไพเราะอ่อนหวาน
ฟังไม่รู้เบื่อ เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่นักดนตรีและผู้ฟังโดยทั่วไป ทั้งที่เป็นคนไทยและ
ชาวต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะนอกจากจะฟังไพเราะแล้วยังเป็นเพลงที่มีทำนองเอื้อนน้อย ร้องง่าย
จำง่ายด้วย