*** ชง_ยิ่งลักษณ์ เคาะเวนคืน-กส. Hi-Speed Train... " แสนล. "

ประชาชาติฯ : ผุด17เมืองใหม่ แนว Hi-Speed Train , โยธาฯ ชง_ยิ่งลักษณ์ เคาะ เวนคืน-ก่อสร้าง แสนล.
      เปิดโผ Phase_แรก จุดที่ตั้ง 17เมืองใหม่ รอบสถานี High-Speed Train , กรมโยธาธิการและผังเมือง ชงรัฐบาล_ยิ่งลักษณ์ เคาะ 4สายทาง 4ภูมิภาค "พิษณุโลก-โคราช-หัวหิน-ระยอง" Model ตัวอย่างขนาด 5,000ไร่ จัดวางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ กำหนด Zoning ชัดเจน ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม เล็งดึงเอกชนร่วมลงทุน 100,000ล้าน ค่าก่อสร้าง-เวนคืน

นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผยว่า...
      กรมได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาเมืองใหม่ รัศมีโดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง ใน Phase_แรก เพื่อเป็น Model_เบื้องต้น ที่จะนำร่องให้ก.มหาดไทย พิจารณา & ได้รับความเห็นชอบในหลักการแล้ว จากนั้นจะนำเสนอให้ที่ประชุม ครม. ต่อไป

(๑) Phase_แรก 17สถานี 4 ภูมิภาค
      สำหรับรูปแบบที่กรมโยธาธิการและผังเมือง นำเสนอ จุดที่ตั้งพื้นที่เมืองใหม่ จะมีทุกสถานีที่รถไฟความเร็วสูงจอด โดย Phase_แรก อยู่ในแนว 4สายทาง มี 17แห่ง ประกอบด้วย..
  1.1 สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก     5แห่ง ได้แก่ อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก
  1.2 สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา  3แห่ง ได้แก่ สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา
  1.3 สายกรุงเทพฯ-หัวหิน          4แห่ง ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน
  1.4 สายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง 5แห่ง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา ระยอง
     " เราพยายามจะเริ่มทำเป็นตัวอย่างก่อนที่สถานีปลายทาง ของทั้ง 4ภูมิภาค คือ พิษณุโลก หัวหิน โคราช และระยอง " , การพัฒนาจะเป็นรูปแบบเมืองขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ อยู่ที่ศักยภาพของแต่ละสถานี ล่าสุด ยังไม่ได้ข้อสรุปกับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ถึงจุดที่ตั้งสถานีแต่ละสายทาง แต่มีอยู่ 2ทางเลือก คือ อยู่ที่ตัวสถานีเดิม หรือ เลือกพื้นที่ใหม่

(๒) ยึดญี่ปุ่น ต้นแบบ_Model
       สำหรับการพัฒนาเมืองใหม่ ควรจะเป็นพื้นที่โล่งขนาด 2,000 - 5,000ไร่_ขึ้นไป อยู่ห่างจากในเมืองประมาณ 5 - 10กม. เพื่อให้มีพื้นที่ในการพัฒนามากๆ อยู่ที่การตัดสินใจของ สนข. & รัฐบาลจะเห็นด้วย... รึไม่? , แต่กรมโยธาธิการฯ เสนอในมุมมองด้านการวางผังเมืองเป็นหลัก โดยแนวคิดการพัฒนาจะนำ Model เดียวกับที่ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการมาเป็นต้นแบบ ด้วยการเพิ่มมูลค่ารอบสถานีรถไฟความเร็วสูงให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจาก เพื่อการเดินรถไฟฟ้าแล้ว จะต้องวางกรอบการพัฒนา พื้นที่รอบ ๆ สถานี เพื่อสร้างรายได้ , แนวทางการพัฒนาจะมี 2วิธีการ คือ

   2.1 จัดวางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ ภายในจะกำหนด Zoning ผังการพัฒนาครบถ้วน
        อาทิ... Zone ที่อยู่อาศัย , Zone สาธารณูปโภค เช่น ถนน สวนสาธาฯ Zone พาณิชยกรรม มีศูนย์การค้า ใช้เวลาประมาณ 1ปี
   2.2 การจัดรูปที่ดิน คาดว่า จะใช้เวลาสักระยะ
        เนื่องจาก จะต้องมีกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็น ของปชช. & จัดแบ่ง Phase_ที่ดิน เพื่อพัฒนาโครงการ แนวทางนี้กรมฯ จะร่วมกับหน่วยงานของรัฐตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมารองรับ หรือ อาจจะให้ รัฐ&เอกชน ร่วมกันลงทุนรูปแบบ PPP ก็ได้

(๓) เปิดโผทางเลือกจุดที่ตั้ง  
       ขณะนี้ กรมฯ รอความชัดเจน จุดที่ตั้งสถานีจาก สนข.ที่อยู่ระหว่างคัดเลือกทำเล เบื้องต้นกรมฯ ได้กำหนดพื้นที่เสนอเป็นทางเลือกพร้อมขนาดสถานี (ดูตารางประกอบ) โดย...    สายเหนือ "กรุงเทพฯ-พิษณุโลก" ประกอบด้วย...
     1) อยุธยา ขนาดพื้นที่ 5,000ไร่ มีพื้นที่ 4ทางเลือก คือ สถานีชุมทางบ้านภาชี สถานีรถไฟอยุธยาเดิม สถานีบ้านม้า & ห่างจากสถานีเดิมไปทางด้านใต้ 2กม.
     2) ลพบุรี ขนาดพื้นที่ 5,000ไร่  มีพื้นที่ 3ทางเลือก คือ สถานีรถไฟลพบุรี_เดิม หรือห่างจากสถานีเดิมลงมาทางใต้&เหนือ ในรัศมี 5กม.
     3) นครสวรรค์ ขนาดพื้นที่ 5,000ไร่ มีพื้นที่ 3ทางเลือก คือ สถานีรถไฟนครสวรรค์เดิม ห่างจากสถานีเดิมลงมาทางทิศใต้ 3กม. กับห่างจากสถานีรถไฟเดิมขึ้นไปด้านทิศตะวันตก 2กม.
     4) พิจิตร ขนาดพื้นที่ 5,000ไร่ เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ห่างจากสถานีเดิม ไปทางด้านขวามือประมาณ 2กม.

(๔) Robinson ลุ้นที่ตั้ง... " สระบุรี "      ;    สายอีสาน "กรุงเทพฯ-นครราชสีมา" ประกอบด้วย...
     1) สระบุรี มี 2ทางเลือก คือ สถานีรถไฟสระบุรีเดิม พื้นที่ 1,200ไร่ หรือห่างจากสถานีเดิมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 4กม. บนถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตรงข้ามกับ ศูนย์การค้า_Robison ที่กำลังก่อสร้าง พื้นที่ 3,000ไร่
     2) สถานีปากช่อง พื้นที่ประมาณ 3,000ไร่เศษ มี 2ทางเลือก คือ สถานีรถไฟปากช่องเดิม กับ ห่างจากสถานีเดิมขึ้นไปทางทิศเหนือ 5กม. ซึ่งเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์ ปัจจุบัน ใช้ประโยชน์เป็นที่ตั้งของกรมพลาธิการทหารบก
     3) นครราชสีมา มีพื้นที่ 3ทางเลือก คือ สถานีรถไฟนครราชสีมาเดิม ขนาดพื้นที่ 7,000ไร่ หรือห่างจากสถานีเดิมไปทางทิศตะวันตก 6กม. ที่สถานีภูเขาลาด พื้นที่ 3,000ไร่ & สถานีชุมทางบ้านจิระ พื้นที่ 3,000ไร่

(๕) เพชรบุรี มีทางเลือกเดียว               ;    สายใต้            "กรุงเทพฯ-หัวหิน" ประกอบด้วย...
     1) นครปฐม ขนาดพื้นที่ 3,000 - 4,000ไร่ มี 3ทางเลือก คือ สถานีรถไฟนครปฐมเดิม หรือห่างจากสถานีเดิมไปด้านตะวันตก 3กม. & จากสถานีไปทิศตะวันออก 8กม.
     2) ราชบุรี มีพื้นที่ 2ทางเลือก คือ สถานีรถไฟราชบุรีเดิม ขนาดพื้นที่ 700ไร่ กับ พื้นที่ใหม่ห่างจากสถานีเดิมลงมาด้านใต้ 3กม. ขนาดพื้นที่ 3,000 ไร่
     3) เพชรบุรี มีทางเลือกเดียว ขนาดพื้นที่ 3,000 - 4,000ไร่ อยู่ห่างจากในเมืองไปทางด้านเหนือประมาณ 2กม.
     4) สถานีหัวหิน มีพื้นที่ 3ทางเลือก คือ สถานีรถไฟหัวหินเดิม พื้นที่ 2,000ไร่ หรือห่างจากสถานีเดิมขึ้นไปด้านเหนือ มุ่งหน้า อ.ชะอำ ประมาณ 6กม. พื้นที่ 4,000ไร่ กับบริเวณสถานีห้วยทรายใต้ พื้นที่ 5,000ไร่

(๖) ตะวันออก ข้อเสนอ... เพียบบบบบบบบบบ  ;    สายตะวันออก "กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง" ประกอบด้วย...
     1) ฉะเชิงเทรา สถานีรถไฟเดิมขนาดพื้นที่        2,500ไร่
     2) ชลบุรี ที่สถานีรถไฟเดิม ขนาดพื้นที่ 3,000 - 4,000ไร่
     3) อ.ศรีราชา มีพื้นที่ 2ทางเลือก คือ สถานีรถไฟศรีราชาเดิม ขนาดพื้นที่ 400ไร่ กับห่างจากสถานีเดิมลงมาทางใต้ 3 - 4กม. ขนาดพื้นที่ 7,000ไร่
     4) เมืองพัทยา ขนาดพื้นที่ 5,000 - 6,000ไร่ มีพื้นที่ 3ทางเลือก คือ สถานีรถไฟพัทยาเดิม พื้นที่ 5,000ไร่ หรือห่างจากสถานีเดิม 5กม.ขึ้นไปทางเหนือ & ห่างจากสถานีเดิม 8กม. ลงมาด้านใต้
     5) ระยอง ขนาดพื้นที่ 4,000 - 5,000ไร่ มีพื้นที่ 2ทางเลือก คือ สถานีรถไฟมาบตาพุด กับห่างจากสถานีรถไฟมาบตาพุดขึ้นไปทางเหนือ 8กม. มาทางตัวเมืองระยอง

(๗) ประเมิน ลงทุน แตะ... " แสนล้าน "
      สำหรับรูปแบบการลงทุนเบื้องต้น รัฐฯ อาจจะลงทุนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคให้ ส่วนการลงทุนด้านอื่นๆ อาจจะดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ทั้งที่อยู่อาศัย & เชิงพาณิชยกรรม ซึ่งมูลค่าการลงทุนอยู่ที่รูปแบบขนาดของเมือง & จะใช้วิธีการไหน มาดำเนินการอย่างเช่นถ้าใช้วิธีการจัดรูปที่ดิน จะมีการแชร์ที่ดิน จากเอกชนมาพัฒนาร่วมกัน การลงทุนจะถูกกว่าประมาณ 20,000 - 30,000ล้านบ.ต่อแห่ง แต่ถ้าหากลงทุนทั้งค่าก่อสร้าง & เวนคืนที่ดิน จะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้น น่าจะไม่ต่ำกว่า... " 100,000ล้านบ. "
.        

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่