ประชาชาติธุรกิจ : นับ1 ยื่นขอ EIA ; High Speed Train กทม. - พิษณุโลก , เพื่อไทย เร่งยิกๆ 4เดือนรู้ผล
สนข.ยื่น EIA แล้ว High Speed Train สายเหนือ Phase_แรก กรุงเทพฯ-พิษณุโลกระยะทาง 382 กิโลเมตร คาด 4 เดือนรู้ผล เผยจุดจอด7สถานี บางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก ด้านกรมโยธาฯชงโมเดลเมืองใหม่ 5 สถานี นำร่องพิษณุโลกแห่งแรกขนาด 5,000 ไร่
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า
ขณะนี้ สนข.ได้นำส่งรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอโครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือเฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 382 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 178,300 ล้านบาท ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นที่เรียบร้อย
" ส่วนการพิจารณาจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ยังประเมินไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม อาจจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน หากไม่มีอะไรที่ต้องแก้ไข ตามแผนนี้ ถ้าอีไอเออนุมัติ จะเริ่มประมูลคัดเลือกระบบได้ต้นปี 2557 นี้ เพื่อเปิดใช้บริการในปี '62 "
สำหรับจุดที่ตั้งสถานีมีทั้งหมด 7สถานี โดยจะยืนตามหลักของวิศวกรรมไปก่อน ส่วนที่จะมีการพัฒนาต่อยอดตามแนวคิดของกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อพัฒนาเป็นเมืองใหม่โดยรอบสถานีนั้น การดำเนินการสามารถแก้ไขเพิ่มภายหลังได้
แหล่งข่าวจาก สนข.กล่าวเพิ่มเติมว่า...
ส่วนใหญ่โครงการก่อสร้างจะอยู่ที่สถานีรถไฟสายเหนือเดิม ได้แก่ 1.สถานีบางซื่อ , 2.สถานีดอนเมือง อยู่ที่สถานีเดิม เพื่อรองรับคนที่มาใช้บริการสนามบินดอนเมือง , 3.สถานีพระนครศรีอยุธยา อยู่ที่สถานีรถไฟเดิม , 4.สถานีลพบุรี อยู่ที่สถานีบ้านป่าหวาย ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรีลงมาทางด้านใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร , 5.สถานีนครสวรรค์ อยู่ที่สถานีเดิม
ส่วนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ให้กรมธนารักษ์ดำเนินการเอง บนที่ราชพัสดุประมาณ 3,358 ไร่ ห่างจากสถานีรถไฟเดิมมาด้านใต้ประมาณ 2 กิโลเมตรเท่านั้น ปัจจุบันที่ดินแปลงนี้เป็นที่ตั้งของแผนกสัตวบาลที่ 2 กองการสัตว์เกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก มีกองทัพบกเป็นผู้ใช้ประโยชน์ และไม่ยินยอมให้ สนข.นำมาก่อสร้างสถานี
6.สถานีพิจิตร อยู่พื้นที่ใหม่ ห่างจากสถานีเดิมไปด้านขวามือ 1 กิโลเมตร & 7.สถานีพิษณุโลก ยังไม่สรุป เนื่องจากทางกรมโยธาธิการและผังเมืองอยากจะพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีเป็นเมืองใหม่ จึงอยากจะหาพื้นใหม่เป็นที่ว่างเปล่าอยู่เยื้องกับกองบิน 46 แต่ในเบื้องต้น สนข.จะกำหนดที่ตั้งสถานีไว้บริเวณสถานีรถไฟเดิมก่อน จนกว่าจะได้ข้อสรุปชัดเจน เนื่องจากต้องเร่งส่งรายงานอีไอเอ
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า...
ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเสนอพื้นที่เหมาะสมตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่โดยรอบ ได้แก่ 1.สถานีพระนครศรีอยุธยา เป็นเมืองขนาดกลาง พื้นที่ 5,600 ไร่ มี 3 ทางเลือก คือ 1.สถานีรถไฟเดิม 2.ห่างจากสถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยาไปทางด้านใต้ 2 กิโลเมตร ต.เกาะเรียน และ 3.สถานีชุมทางบ้านภาชี
สำหรับแนวโน้ม น่าจะเป็นทางเลือกที่ 2 มีความเหมาะสมที่สุด เพราะเป็นพื้นที่โล่งว่างและเกษตรกรรม เงินลงทุนกรณีเวนคืนที่ดิน 35,319 ล้านบาท จัดรูปที่ดิน 1,115 ล้านบาท
2.สถานีลพบุรี มีแนวคิดตรงกับ สนข.เลือกบริเวณสถานีบ้านป่าหวาย ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรีลงมาทางด้านใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากในเมือง 7 กิโลเมตร เป็นพื้นที่เกษตรกรรมชลประทานและโล่งว่าง ทำให้สะดวกต่อการพัฒนา ที่สำคัญ การเข้าถึงสะดวก ใกล้ทางหลวงหมายเลข 311 และ 3016 มีพื้นที่ 5,600 ไร่ เงินลงทุน 25,480 ล้านบาท
3.สถานีนครสวรรค์ ขนาดพื้นที่ 5,600 ไร่ แนวเส้นทางเบี่ยงไปทางใหม่ อยู่พื้นที่ราชพัสดุ มีพื้นที่ 3,358 ไร่ ห่างจากสถานีเดิมไปทางด้านซ้าย 2 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร เป็นพื้นที่โล่ง สามารถพัฒนาพื้นที่โดยไม่ต้องเสียค่าเวนคืนที่ดิน แต่ถ้าหากเลือกที่สถานีเดิมตามแนวคิด สนข.จะใช้เงินลงทุนกรณีเวนคืนที่ดิน 41,417 ล้านบาท จัดรูปที่ดิน 12,448 ล้านบาท
4.สถานีพิจิตร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟเดิมขึ้นไปทางด้านเหนือ 1 กิโลเมตร ตรงกับของ สนข.ขนาดพื้นที่ 5,600 ไร่ ชุมชนโดยรอบยังหนาแน่นน้อย ห่างจากใจกลางเมือง 2 กิโลเมตร การเข้าถึงสะดวก ใช้วงเงินลงทุนกรณีเวนคืนที่ดิน 35,319 ล้านบาท จัดรูปที่ดิน 3,274 ล้านบาท
5.สถานีพิษณุโลก ขนาดพื้นที่ 5,600 ไร่ ยังไม่สรุปว่าจะเป็นบริเวณใด ระหว่าง 5.1 สถานีรถไฟเดิม 5.2 บริเวณห่างจากสถานีรถไฟลงมาด้านใต้ 4 กิโลเมตร (ฝั่งตรงข้ามกับกองบิน 46) และ 5.3 ห่างจากสถานีเดิมขึ้นไปทางเหนือ 10 กิโลเมตร
แนวโน้มทางเลือกที่ 2 จะเหมาะสมที่สุด
เพราะทำเลอยู่ชานเมือง เป็นพื้นที่โล่งการเข้าถึงสะดวกทั้งถนนสายหลักและสนามบิน เงินลงทุนกรณีเวนคืนที่ดิน 48,272 ล้านบาท จัดรูปที่ดิน 5,112 ล้านบาท
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวเพิ่มเติมว่า...
กรมมีแนวคิดจะพัฒนาเมืองใหม่ที่สถานีพิษณุโลกเป็นโครงการนำร่องสำหรับรถไฟความเร็วสูงสายเหนือเฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ปัจจุบันอยู่ระหว่างเลือกสถานีกับ สนข. ซึ่งกรมอยากจะได้สถานีที่มีพื้นที่ว่าง เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เมืองสองแคว ขานรับเมกะโปรเจ็กต์ราง-ถนน
บุญญธรรม เลิศสุขีเกษม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก บอกว่า พื้นฐานพิษณุโลกตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางหลายด้านในระดับประเทศ เป็นศูนย์กลางของเขตภาคเหนือตอนล่าง มีอินฟราสตรักเจอร์พร้อมพรั่ง ทั้งสนามบิน ถนนหลัก ถนนรอง วัดระยะทางห่างเชียงใหม่ 344 กม. เชียงราย 477 กม. เชียงทอง (หลวงพระบาง) 806 กม. เชียงรุ้ง (สิบสองปันนา) 936 กม.
ในระดับอินโดจีน เป็นชุมทางของเส้นทางโลจิสติกส์เหนือ-ใต้กับตะวันออก-ตะวันตกของอาเซียนอยู่แล้ว อาทิ ห่างย่างกุ้ง 454 กม. ดานัง 1,109 กม. นราธิวาส 1,496 กม. ห่างสิงคโปร์ 2,296 กม. , ในอนาคตเมื่อจะมี " High Speed Train " มาเติมเต็มให้กับพื้นที่ ยิ่งเพิ่มความคึกคักมากขึ้นไปอีก ประเมินจากภาวะราคาที่ดินขยับตัวไปรอล่วงหน้า 2-3 ปีมานี้
จุดที่คนพิษณุโลกแทงหวยว่าน่าจะเป็นที่ตั้งโครงการเมืองใหม่ไฮสปีดเทรน มี 3 จุด คือ กองบิน 46, บริเวณสถานีรถไฟเก่า และโซนบึงพระ ทางไป จ.สุโขทัย ถ้าหากเลือกโซนนี้มีทุนเมืองกรุง คือ "เซ็นทรัล" ไปลงทุนสร้างห้างบิ๊กไซซ์ปักธงรออยู่แล้ว แน่นอนว่าราคาที่ดินปั่นกันสนุกสนาน ขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 2-3 เท่าตัว ประมาณว่าถ้าเคยมีราคาไร่ละ 1 ล้านบาท >> วินาทีนี้ ไปเดินถามซื้อ ราคาขายจะอยู่ที่ไร่ละ 4ล้านบ... ไม่มีต่ำกว่านี้ แน่นอน
*** เพื่อชาติไทย_รอไม่ได้ >> นับ1 ยื่นขอ EIA High Speed Train
สนข.ยื่น EIA แล้ว High Speed Train สายเหนือ Phase_แรก กรุงเทพฯ-พิษณุโลกระยะทาง 382 กิโลเมตร คาด 4 เดือนรู้ผล เผยจุดจอด7สถานี บางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก ด้านกรมโยธาฯชงโมเดลเมืองใหม่ 5 สถานี นำร่องพิษณุโลกแห่งแรกขนาด 5,000 ไร่
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า
ขณะนี้ สนข.ได้นำส่งรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอโครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือเฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 382 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 178,300 ล้านบาท ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นที่เรียบร้อย
" ส่วนการพิจารณาจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ยังประเมินไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม อาจจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน หากไม่มีอะไรที่ต้องแก้ไข ตามแผนนี้ ถ้าอีไอเออนุมัติ จะเริ่มประมูลคัดเลือกระบบได้ต้นปี 2557 นี้ เพื่อเปิดใช้บริการในปี '62 "
สำหรับจุดที่ตั้งสถานีมีทั้งหมด 7สถานี โดยจะยืนตามหลักของวิศวกรรมไปก่อน ส่วนที่จะมีการพัฒนาต่อยอดตามแนวคิดของกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อพัฒนาเป็นเมืองใหม่โดยรอบสถานีนั้น การดำเนินการสามารถแก้ไขเพิ่มภายหลังได้
แหล่งข่าวจาก สนข.กล่าวเพิ่มเติมว่า...
ส่วนใหญ่โครงการก่อสร้างจะอยู่ที่สถานีรถไฟสายเหนือเดิม ได้แก่ 1.สถานีบางซื่อ , 2.สถานีดอนเมือง อยู่ที่สถานีเดิม เพื่อรองรับคนที่มาใช้บริการสนามบินดอนเมือง , 3.สถานีพระนครศรีอยุธยา อยู่ที่สถานีรถไฟเดิม , 4.สถานีลพบุรี อยู่ที่สถานีบ้านป่าหวาย ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรีลงมาทางด้านใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร , 5.สถานีนครสวรรค์ อยู่ที่สถานีเดิม
ส่วนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ให้กรมธนารักษ์ดำเนินการเอง บนที่ราชพัสดุประมาณ 3,358 ไร่ ห่างจากสถานีรถไฟเดิมมาด้านใต้ประมาณ 2 กิโลเมตรเท่านั้น ปัจจุบันที่ดินแปลงนี้เป็นที่ตั้งของแผนกสัตวบาลที่ 2 กองการสัตว์เกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก มีกองทัพบกเป็นผู้ใช้ประโยชน์ และไม่ยินยอมให้ สนข.นำมาก่อสร้างสถานี
6.สถานีพิจิตร อยู่พื้นที่ใหม่ ห่างจากสถานีเดิมไปด้านขวามือ 1 กิโลเมตร & 7.สถานีพิษณุโลก ยังไม่สรุป เนื่องจากทางกรมโยธาธิการและผังเมืองอยากจะพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีเป็นเมืองใหม่ จึงอยากจะหาพื้นใหม่เป็นที่ว่างเปล่าอยู่เยื้องกับกองบิน 46 แต่ในเบื้องต้น สนข.จะกำหนดที่ตั้งสถานีไว้บริเวณสถานีรถไฟเดิมก่อน จนกว่าจะได้ข้อสรุปชัดเจน เนื่องจากต้องเร่งส่งรายงานอีไอเอ
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า...
ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเสนอพื้นที่เหมาะสมตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่โดยรอบ ได้แก่ 1.สถานีพระนครศรีอยุธยา เป็นเมืองขนาดกลาง พื้นที่ 5,600 ไร่ มี 3 ทางเลือก คือ 1.สถานีรถไฟเดิม 2.ห่างจากสถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยาไปทางด้านใต้ 2 กิโลเมตร ต.เกาะเรียน และ 3.สถานีชุมทางบ้านภาชี
สำหรับแนวโน้ม น่าจะเป็นทางเลือกที่ 2 มีความเหมาะสมที่สุด เพราะเป็นพื้นที่โล่งว่างและเกษตรกรรม เงินลงทุนกรณีเวนคืนที่ดิน 35,319 ล้านบาท จัดรูปที่ดิน 1,115 ล้านบาท
2.สถานีลพบุรี มีแนวคิดตรงกับ สนข.เลือกบริเวณสถานีบ้านป่าหวาย ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรีลงมาทางด้านใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากในเมือง 7 กิโลเมตร เป็นพื้นที่เกษตรกรรมชลประทานและโล่งว่าง ทำให้สะดวกต่อการพัฒนา ที่สำคัญ การเข้าถึงสะดวก ใกล้ทางหลวงหมายเลข 311 และ 3016 มีพื้นที่ 5,600 ไร่ เงินลงทุน 25,480 ล้านบาท
3.สถานีนครสวรรค์ ขนาดพื้นที่ 5,600 ไร่ แนวเส้นทางเบี่ยงไปทางใหม่ อยู่พื้นที่ราชพัสดุ มีพื้นที่ 3,358 ไร่ ห่างจากสถานีเดิมไปทางด้านซ้าย 2 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร เป็นพื้นที่โล่ง สามารถพัฒนาพื้นที่โดยไม่ต้องเสียค่าเวนคืนที่ดิน แต่ถ้าหากเลือกที่สถานีเดิมตามแนวคิด สนข.จะใช้เงินลงทุนกรณีเวนคืนที่ดิน 41,417 ล้านบาท จัดรูปที่ดิน 12,448 ล้านบาท
4.สถานีพิจิตร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟเดิมขึ้นไปทางด้านเหนือ 1 กิโลเมตร ตรงกับของ สนข.ขนาดพื้นที่ 5,600 ไร่ ชุมชนโดยรอบยังหนาแน่นน้อย ห่างจากใจกลางเมือง 2 กิโลเมตร การเข้าถึงสะดวก ใช้วงเงินลงทุนกรณีเวนคืนที่ดิน 35,319 ล้านบาท จัดรูปที่ดิน 3,274 ล้านบาท
5.สถานีพิษณุโลก ขนาดพื้นที่ 5,600 ไร่ ยังไม่สรุปว่าจะเป็นบริเวณใด ระหว่าง 5.1 สถานีรถไฟเดิม 5.2 บริเวณห่างจากสถานีรถไฟลงมาด้านใต้ 4 กิโลเมตร (ฝั่งตรงข้ามกับกองบิน 46) และ 5.3 ห่างจากสถานีเดิมขึ้นไปทางเหนือ 10 กิโลเมตร
แนวโน้มทางเลือกที่ 2 จะเหมาะสมที่สุด
เพราะทำเลอยู่ชานเมือง เป็นพื้นที่โล่งการเข้าถึงสะดวกทั้งถนนสายหลักและสนามบิน เงินลงทุนกรณีเวนคืนที่ดิน 48,272 ล้านบาท จัดรูปที่ดิน 5,112 ล้านบาท
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวเพิ่มเติมว่า...
กรมมีแนวคิดจะพัฒนาเมืองใหม่ที่สถานีพิษณุโลกเป็นโครงการนำร่องสำหรับรถไฟความเร็วสูงสายเหนือเฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ปัจจุบันอยู่ระหว่างเลือกสถานีกับ สนข. ซึ่งกรมอยากจะได้สถานีที่มีพื้นที่ว่าง เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เมืองสองแคว ขานรับเมกะโปรเจ็กต์ราง-ถนน
บุญญธรรม เลิศสุขีเกษม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก บอกว่า พื้นฐานพิษณุโลกตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางหลายด้านในระดับประเทศ เป็นศูนย์กลางของเขตภาคเหนือตอนล่าง มีอินฟราสตรักเจอร์พร้อมพรั่ง ทั้งสนามบิน ถนนหลัก ถนนรอง วัดระยะทางห่างเชียงใหม่ 344 กม. เชียงราย 477 กม. เชียงทอง (หลวงพระบาง) 806 กม. เชียงรุ้ง (สิบสองปันนา) 936 กม.
ในระดับอินโดจีน เป็นชุมทางของเส้นทางโลจิสติกส์เหนือ-ใต้กับตะวันออก-ตะวันตกของอาเซียนอยู่แล้ว อาทิ ห่างย่างกุ้ง 454 กม. ดานัง 1,109 กม. นราธิวาส 1,496 กม. ห่างสิงคโปร์ 2,296 กม. , ในอนาคตเมื่อจะมี " High Speed Train " มาเติมเต็มให้กับพื้นที่ ยิ่งเพิ่มความคึกคักมากขึ้นไปอีก ประเมินจากภาวะราคาที่ดินขยับตัวไปรอล่วงหน้า 2-3 ปีมานี้
จุดที่คนพิษณุโลกแทงหวยว่าน่าจะเป็นที่ตั้งโครงการเมืองใหม่ไฮสปีดเทรน มี 3 จุด คือ กองบิน 46, บริเวณสถานีรถไฟเก่า และโซนบึงพระ ทางไป จ.สุโขทัย ถ้าหากเลือกโซนนี้มีทุนเมืองกรุง คือ "เซ็นทรัล" ไปลงทุนสร้างห้างบิ๊กไซซ์ปักธงรออยู่แล้ว แน่นอนว่าราคาที่ดินปั่นกันสนุกสนาน ขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 2-3 เท่าตัว ประมาณว่าถ้าเคยมีราคาไร่ละ 1 ล้านบาท >> วินาทีนี้ ไปเดินถามซื้อ ราคาขายจะอยู่ที่ไร่ละ 4ล้านบ... ไม่มีต่ำกว่านี้ แน่นอน