ถูกพูดถึงอีกครั้งสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" โปรเจ็กต์ไฮไลต์ของรัฐบาลเพื่อไทย ล่าสุด "รัฐบาลประยุทธ์" หยิบขึ้นมาปัดฝุ่นอีกรอบ หลัง "รัฐบาลญี่ปุ่น" สนใจอย่างจริงจัง จะช่วยจุดประกายรถไฟสายนี้ให้เป็นจริงภายใต้รูปแบบรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน
พ.ค.ไทย-ญี่ปุ่นลงนาม MOU
ในเดือนพฤษภาคมนี้ ทาง "รัฐบาลไทยและญี่ปุ่น" มีกำหนดจะลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อร่วมกันศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการ คาดว่าจะเริ่มคิกออฟได้ปลายปี 2558 ในการสำรวจเส้นทาง เริ่มก่อสร้างปลายปี 2559 หรืออย่างช้าต้นปี 2560 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3-4 ปี จะแล้วเสร็จปี 2563
สถานะล่าสุดของโครงการ "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ได้ศึกษาเสร็จแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างขออนุมัติ "รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) มีระยะทางรวม 672 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนรวม 426,898 ล้านบาท มี 12 สถานี แต่ละสถานีจะมีการออกแบบเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดนั้น ๆ
เวนคืนหมื่นล้าน 7 พันไร่
ด้านการเวนคืนที่ดิน เบื้องต้นได้ประมาณการพื้นที่เวนคืน 7,724 ไร่ และจำนวนแปลงที่ดิน 2,700 แปลง คิดเป็นค่าเวนคืน 10,814 ล้านบาท ขณะที่แนวเส้นทางที่จะใช้ก่อสร้าง ส่วนใหญ่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือเดิม แยกการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ในระยะแรกช่วง "กรุงเทพฯ-พิษณุโลก" ระยะทาง 384 กิโลเมตร เงินลงทุน 212,893 ล้านบาท พาดผ่านพื้นที่ 8 จังหวัด
มี 7 สถานี ได้แก่ สถานีบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี (ป่าหวาย) นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก มี 2 สถานีที่สร้างอยู่บนที่ใหม่ ได้แก่ สถานีลพบุรีจะสร้างอยู่ป่าหวาย ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร และสถานีพิจิตร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร อีก 5 สถานีที่เหลือจะสร้างอยู่ที่เดิมเป็นสถานีรถไฟในเมือง มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่สถานีเชียงราก
ซึ่งรูปแบบการก่อสร้างในช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยา เนื่องจากมีจุดตัดถนนเป็นจำนวนมาก จะออกแบบโครงสร้างเป็นทางยกระดับยาว 67 กิโลเมตร ส่วนช่วงผ่านเมืองลพบุรีจะขุดอุโมงค์ยาว 4 กิโลเมตร ลึกลงไปในชั้นใต้ดินผิวทางรถไฟเดิมประมาณ 20-30 เมตร และช่วงผ่านบึงบอระเพ็ดเป็นทางยกระดับยาว 8.5 กิโลเมตร ที่เหลือเป็นคานดิน
เบี่ยงแนวช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่
ส่วนระยะที่ 2 ช่วง "พิษณุโลก-เชียงใหม่" เงินลงทุน 214,005 ล้านบาท ระยะทาง 285 กิโลเมตร เป็นเส้นทางตัดใหม่ช่วงจังหวัดสุโขทัย-ลำปาง จะเริ่มต้นจากจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวเส้นทางระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก)
แนวเส้นทางแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วง "พิษณุโลก-ลำปาง" เมื่อออกจากพิษณุโลก แนวเส้นทางยังคงใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 เลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันตกผ่านพื้นที่อำเภอพรหมพิราม อำเภอกงไกรลาศ ก่อนถึงสุโขทัยเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านอำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีสัชนาลัย
จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงขวาไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอวังชิ้นเข้าสู่อำเภอลอง ยกระดับรถไฟข้ามทางหลวงหมายเลข 1023 แล้วเป็นอุโมงค์ลอดใต้ทางหลวงหมายเลข 11 (เด่นชัย-แขวงลำปาง) ขนานไปตามทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านอำเภอแม่ทะ เข้าสู่สถานีรถไฟลำปาง
เชียงใหม่ศูนย์ซ่อมบำรุง
และช่วง "ลำปาง-เชียงใหม่" จะมีแนวเส้นทางตัดใหม่และใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิม โดยผ่านช่วงหนองวัวเฒ่า-สถานีห้างฉัตร เส้นทางรถไฟอยู่ในเขตทางรถไฟเดิม จากสถานีห้างฉัตร-ลำพูน เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ เริ่มต้นจากสถานีห้างฉัตร จะเบี่ยงแนวไปทางซ้ายของทางรถไฟเดิมไปอำเภอแม่ทา ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 11 และทางรถไฟเดิมบริเวณสถานีศาลาแม่ทา ไปบรรจบกับทางรถไฟเดิมก่อนถึงสถานีรถไฟลำพูนประมาณ 10 กิโลเมตร วิ่งไปตามเขตทางรถไฟเดิมจนถึงสถานีรถไฟลำพูนและปลายทางที่สถานีเชียงใหม่
มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เป็นสถานีใหม่ 2 แห่ง คือสุโขทัย ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร และศรีสัชนาลัย ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร ส่วนอีก 3 สถานี จะใช้พื้นที่ของสถานีรถไฟเดิมอยู่ในตัวเมืองและมีศูนย์ซ่อมบำรุงที่จังหวัดเชียงใหม่
ขนได้ทั้งคน-สินค้า
ด้านการใช้ประโยชน์จะขนส่งได้ทั้งคนและสินค้า จะมีผู้โดยสารใช้บริการปีแรก 24,800 เที่ยวคนต่อวัน และขนส่งสินค้าที่มีศักยภาพในการขนส่งด้วยระบบรถไฟความเร็วสูง ได้แก่ สินค้าไปรษณียภัณฑ์เร่งด่วน และสินค้าที่ขนส่งทางอากาศ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง ราคาสูงและเน่าเสียง่าย
สำหรับอัตราค่าโดยสารจะคิดตามระยะทาง แยกเป็น 3 ชั้น มี "ชั้นวีไอพี" มี 3 ที่นั่งต่อแถว ค่าแรกเข้า 200 บาท ค่าโดยสาร 4 บาทต่อกิโลเมตร "ชั้นธุรกิจ" มี 4 ที่นั่งต่อแถว ค่าแรกเข้า 100 บาท ค่าโดยสาร 2.50 บาทต่อกิโลเมตรและ "ชั้นมาตรฐาน" มี 5 ที่นั่งต่อแถว ค่าแรกเข้า 70 บาท ค่าโดยสาร 1.50 บาทต่อกิโลเมตร เบ็ดเสร็จ นั่งจากกรุงเทพยาวถึงเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 16 นาที เสียค่าโดยสารประมาณ 1,100-2,900 บาทต่อเที่ยว
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
คืบหน้าไฮสปีด "กทม.-เชียงใหม่" ลงทุน 4แสนล.เวนคืน 7.7พัน ไร่ คิกออฟปลายปีนี้
พ.ค.ไทย-ญี่ปุ่นลงนาม MOU
ในเดือนพฤษภาคมนี้ ทาง "รัฐบาลไทยและญี่ปุ่น" มีกำหนดจะลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อร่วมกันศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการ คาดว่าจะเริ่มคิกออฟได้ปลายปี 2558 ในการสำรวจเส้นทาง เริ่มก่อสร้างปลายปี 2559 หรืออย่างช้าต้นปี 2560 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3-4 ปี จะแล้วเสร็จปี 2563
สถานะล่าสุดของโครงการ "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ได้ศึกษาเสร็จแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างขออนุมัติ "รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) มีระยะทางรวม 672 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนรวม 426,898 ล้านบาท มี 12 สถานี แต่ละสถานีจะมีการออกแบบเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดนั้น ๆ
เวนคืนหมื่นล้าน 7 พันไร่
ด้านการเวนคืนที่ดิน เบื้องต้นได้ประมาณการพื้นที่เวนคืน 7,724 ไร่ และจำนวนแปลงที่ดิน 2,700 แปลง คิดเป็นค่าเวนคืน 10,814 ล้านบาท ขณะที่แนวเส้นทางที่จะใช้ก่อสร้าง ส่วนใหญ่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือเดิม แยกการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ในระยะแรกช่วง "กรุงเทพฯ-พิษณุโลก" ระยะทาง 384 กิโลเมตร เงินลงทุน 212,893 ล้านบาท พาดผ่านพื้นที่ 8 จังหวัด
มี 7 สถานี ได้แก่ สถานีบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี (ป่าหวาย) นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก มี 2 สถานีที่สร้างอยู่บนที่ใหม่ ได้แก่ สถานีลพบุรีจะสร้างอยู่ป่าหวาย ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร และสถานีพิจิตร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร อีก 5 สถานีที่เหลือจะสร้างอยู่ที่เดิมเป็นสถานีรถไฟในเมือง มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่สถานีเชียงราก
ซึ่งรูปแบบการก่อสร้างในช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยา เนื่องจากมีจุดตัดถนนเป็นจำนวนมาก จะออกแบบโครงสร้างเป็นทางยกระดับยาว 67 กิโลเมตร ส่วนช่วงผ่านเมืองลพบุรีจะขุดอุโมงค์ยาว 4 กิโลเมตร ลึกลงไปในชั้นใต้ดินผิวทางรถไฟเดิมประมาณ 20-30 เมตร และช่วงผ่านบึงบอระเพ็ดเป็นทางยกระดับยาว 8.5 กิโลเมตร ที่เหลือเป็นคานดิน
เบี่ยงแนวช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่
ส่วนระยะที่ 2 ช่วง "พิษณุโลก-เชียงใหม่" เงินลงทุน 214,005 ล้านบาท ระยะทาง 285 กิโลเมตร เป็นเส้นทางตัดใหม่ช่วงจังหวัดสุโขทัย-ลำปาง จะเริ่มต้นจากจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวเส้นทางระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก)
แนวเส้นทางแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วง "พิษณุโลก-ลำปาง" เมื่อออกจากพิษณุโลก แนวเส้นทางยังคงใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 เลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันตกผ่านพื้นที่อำเภอพรหมพิราม อำเภอกงไกรลาศ ก่อนถึงสุโขทัยเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านอำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีสัชนาลัย
จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงขวาไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอวังชิ้นเข้าสู่อำเภอลอง ยกระดับรถไฟข้ามทางหลวงหมายเลข 1023 แล้วเป็นอุโมงค์ลอดใต้ทางหลวงหมายเลข 11 (เด่นชัย-แขวงลำปาง) ขนานไปตามทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านอำเภอแม่ทะ เข้าสู่สถานีรถไฟลำปาง
เชียงใหม่ศูนย์ซ่อมบำรุง
และช่วง "ลำปาง-เชียงใหม่" จะมีแนวเส้นทางตัดใหม่และใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิม โดยผ่านช่วงหนองวัวเฒ่า-สถานีห้างฉัตร เส้นทางรถไฟอยู่ในเขตทางรถไฟเดิม จากสถานีห้างฉัตร-ลำพูน เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ เริ่มต้นจากสถานีห้างฉัตร จะเบี่ยงแนวไปทางซ้ายของทางรถไฟเดิมไปอำเภอแม่ทา ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 11 และทางรถไฟเดิมบริเวณสถานีศาลาแม่ทา ไปบรรจบกับทางรถไฟเดิมก่อนถึงสถานีรถไฟลำพูนประมาณ 10 กิโลเมตร วิ่งไปตามเขตทางรถไฟเดิมจนถึงสถานีรถไฟลำพูนและปลายทางที่สถานีเชียงใหม่
มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เป็นสถานีใหม่ 2 แห่ง คือสุโขทัย ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร และศรีสัชนาลัย ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร ส่วนอีก 3 สถานี จะใช้พื้นที่ของสถานีรถไฟเดิมอยู่ในตัวเมืองและมีศูนย์ซ่อมบำรุงที่จังหวัดเชียงใหม่
ขนได้ทั้งคน-สินค้า
ด้านการใช้ประโยชน์จะขนส่งได้ทั้งคนและสินค้า จะมีผู้โดยสารใช้บริการปีแรก 24,800 เที่ยวคนต่อวัน และขนส่งสินค้าที่มีศักยภาพในการขนส่งด้วยระบบรถไฟความเร็วสูง ได้แก่ สินค้าไปรษณียภัณฑ์เร่งด่วน และสินค้าที่ขนส่งทางอากาศ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง ราคาสูงและเน่าเสียง่าย
สำหรับอัตราค่าโดยสารจะคิดตามระยะทาง แยกเป็น 3 ชั้น มี "ชั้นวีไอพี" มี 3 ที่นั่งต่อแถว ค่าแรกเข้า 200 บาท ค่าโดยสาร 4 บาทต่อกิโลเมตร "ชั้นธุรกิจ" มี 4 ที่นั่งต่อแถว ค่าแรกเข้า 100 บาท ค่าโดยสาร 2.50 บาทต่อกิโลเมตรและ "ชั้นมาตรฐาน" มี 5 ที่นั่งต่อแถว ค่าแรกเข้า 70 บาท ค่าโดยสาร 1.50 บาทต่อกิโลเมตร เบ็ดเสร็จ นั่งจากกรุงเทพยาวถึงเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 16 นาที เสียค่าโดยสารประมาณ 1,100-2,900 บาทต่อเที่ยว
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์