สาเหตุที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เนื่องจากคลิปของภาพยนตร์ที่จะเข้าฉายในบ้านเราเรื่องนี้ครับ
จึงอยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องขยะอวกาศของตัวต้นเหตุในคลิป
ขยะอวกาศ (Space debris/Orbit) คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและถูกทิ้งไว้ในวงโคจรรอบโลกโดยไม่ได้ใช้งานแล้ว
เช่นซากจรวดและดาวเทียม ดาวเทียมที่ถูกปลดระวาง ไม่ได้ใช้งาน แต่ยังอยู่ในวงโคจร ไม่ตกลงสู่พื้นโลก
รวมไปถึงชิ้นส่วนที่เกิดขึ้นหลังจากการชนกันหรือถูกทำลาย
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางอวกาศที่อยู่นอกโลก ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และล่องลอยไปในอวกาศ
แล้วมันสำคัญยังไง??
เมื่อเร็วๆนี้ ดาวเทียม “เพกาซุส” ดาวเทียมดวงแรกและดวงเดียวของประเทศเอกวาดอร์ ที่ส่งขึ้นสู่วงโคจรโลกจากฐานปล่อยจรวดที่จีนเมื่อเดือนที่แล้ว ประสบอุบัติเหตุชนเข้ากับชิ้นส่วนของจรวด “เอส 14” ของอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งล่องลอยอยู่ในวงโคจรมาตั้งแต่ปี 2528 ที่ระดับความสูงเหนือพื้นโลกราว 1,500 กิโลเมตร บริเวณชายฝั่งตะวันออกของมาดากัสการ์
หรือในกรณีประเทศไทย ดาวเทียมไทยโชต หรือดาวเทียมทีออส ซึ่งถูกส่งขึ้นวงโคจรเมื่อปี 2551 ที่ระดับความสูง 830 กิโลเมตร
นั้นต้องปรับวงโคจร เนื่องจากจะชนกับขยะอวกาศมาแล้ว 3 ครั้ง
แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าแถบนั้นมีขยะอวกาศหรือไม่??
หน่วยงานของสหรัฐฯ ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจตราการโคจรของดาวเทียมและขยะอวกาศจะเป็นผู้แจ้งเตือนประเทศต่างๆ ที่เป็นเจ้าของดาวเทียมว่ามีโอกาสที่จะถูกขยะอวกาศพุ่งชนและให้ปรับวงโคจรเพื่อหลบหลีก โดยหน่วยงานดังกล่าวมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ วงโคจร ขนาด ของดาวเทียมและขยะอวกาศทุกชิ้น และมีโปรแกรมคำนวณว่าวัตถุชิ้นใดมีโอกาสชนกัน ซึ่งสามารถคำนวณได้ล่วงหน้า รวมทั้งมีการส่งสัญญาณเรดาห์เพื่อตรวจสอบเป็นระยะๆ
“ปัจจุบันมีดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ 500 ดวง และที่ยุติการใช้งานแล้วประมาณ 1,000 ดวง รวมถึงชิ้นส่วนขนาดกำปั้นอีกกว่า 300,000 ชิ้น ซึ่งทุกชิ้นมีชื่อทั้งหมด และเมื่อมีขยะอวกาศขนาดตั้งแต่กำปั้นขึ้นไปเข้าใกล้ดาวเทียมในระยะ 15-20 เมตร เขาก็จะแจ้งเตือนมา เมื่อเรารู้ก็ต้องใช้เวลาในการวางแผนปรับวงโคจร” ดร.อานนท์ กล่าว และบอกว่า ดาวเทียมโคจรรอบโลกได้โดยอาศัยแรงเหวี่ยงในตอนส่ง ส่วนเชื้อเพลิงที่มีอยู่มีไว้สำหรับปรับวงโคจร ซึ่งปัจจุบันไทยโชตเหลือเชื้อเพลิงอยู่ 50 กิโลกรัม ส่วนพลังงานสำหรับถ่ายภาพนั้นใช้พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์
ปัจจุบันนี้ ปริมาณขยะอวกาศ ซึ่งรวมถึงเศษซากชิ้นส่วนดาวเทียมมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2521 โดยตอนนี้ มีขยะอวกาศขนาด 10 เซนติเมตรขึ้นไปราว ๆ 29,000 ชิ้น ลอยอยู่ในวงโคจรเหนือพื้นโลกในระดับใกล้เคียงกับวงโคจรของดาวเทียมต่าง ๆ และขยะเหล่านี้ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วราว 25,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (เร็วกว่าเครื่องบิน 40 เท่า) ซึ่งด้วยความเร็วสูงเช่นนี้ จะทำให้เศษขยะเหล่านี้พุ่งชนกับดาวเทียม หรือยานอวกาศได้อย่างไม่ยากเลย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาลตามมาได้
ปัจจุบัน นานาชาติเริ่มตะหนักถึงปัญหานี้ มีโครงการที่จะลดขยะอวกาศเช่นโครงการดาวเทียม Cleanspace ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจกำจัดขยะในอวกาศ
หรือในอนาคต ธุรกิจแบบนี้อาจเป็นจริงก้ได้ ปิดท้ายด้วยการ์ตูนเรื่องโปรด นักเก็บขยะอวกาศมืออาชีพ
เครดิต
http://en.wikipedia.org/wiki/Space_debris
http://en.wikipedia.org/wiki/Planetes
http://www.clean-space.eu/
http://www.esa.int/Our_Activities/Space_Engineering/Clean_Space
http://hilight.kapook.com/view/85251
http://www.neutron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=2328
http://www.manager.co.th/science/viewnews.aspx?NewsID=9560000017338
http://www.kruthai.info/view.php?article_id=4798
Space debris ขยะอวกาศ ปัญหาที่รอเวลาสะสาง
จึงอยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องขยะอวกาศของตัวต้นเหตุในคลิป
ขยะอวกาศ (Space debris/Orbit) คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและถูกทิ้งไว้ในวงโคจรรอบโลกโดยไม่ได้ใช้งานแล้ว
เช่นซากจรวดและดาวเทียม ดาวเทียมที่ถูกปลดระวาง ไม่ได้ใช้งาน แต่ยังอยู่ในวงโคจร ไม่ตกลงสู่พื้นโลก
รวมไปถึงชิ้นส่วนที่เกิดขึ้นหลังจากการชนกันหรือถูกทำลาย
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางอวกาศที่อยู่นอกโลก ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และล่องลอยไปในอวกาศ
แล้วมันสำคัญยังไง??
เมื่อเร็วๆนี้ ดาวเทียม “เพกาซุส” ดาวเทียมดวงแรกและดวงเดียวของประเทศเอกวาดอร์ ที่ส่งขึ้นสู่วงโคจรโลกจากฐานปล่อยจรวดที่จีนเมื่อเดือนที่แล้ว ประสบอุบัติเหตุชนเข้ากับชิ้นส่วนของจรวด “เอส 14” ของอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งล่องลอยอยู่ในวงโคจรมาตั้งแต่ปี 2528 ที่ระดับความสูงเหนือพื้นโลกราว 1,500 กิโลเมตร บริเวณชายฝั่งตะวันออกของมาดากัสการ์
หรือในกรณีประเทศไทย ดาวเทียมไทยโชต หรือดาวเทียมทีออส ซึ่งถูกส่งขึ้นวงโคจรเมื่อปี 2551 ที่ระดับความสูง 830 กิโลเมตร
นั้นต้องปรับวงโคจร เนื่องจากจะชนกับขยะอวกาศมาแล้ว 3 ครั้ง
แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าแถบนั้นมีขยะอวกาศหรือไม่??
หน่วยงานของสหรัฐฯ ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจตราการโคจรของดาวเทียมและขยะอวกาศจะเป็นผู้แจ้งเตือนประเทศต่างๆ ที่เป็นเจ้าของดาวเทียมว่ามีโอกาสที่จะถูกขยะอวกาศพุ่งชนและให้ปรับวงโคจรเพื่อหลบหลีก โดยหน่วยงานดังกล่าวมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ วงโคจร ขนาด ของดาวเทียมและขยะอวกาศทุกชิ้น และมีโปรแกรมคำนวณว่าวัตถุชิ้นใดมีโอกาสชนกัน ซึ่งสามารถคำนวณได้ล่วงหน้า รวมทั้งมีการส่งสัญญาณเรดาห์เพื่อตรวจสอบเป็นระยะๆ
“ปัจจุบันมีดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ 500 ดวง และที่ยุติการใช้งานแล้วประมาณ 1,000 ดวง รวมถึงชิ้นส่วนขนาดกำปั้นอีกกว่า 300,000 ชิ้น ซึ่งทุกชิ้นมีชื่อทั้งหมด และเมื่อมีขยะอวกาศขนาดตั้งแต่กำปั้นขึ้นไปเข้าใกล้ดาวเทียมในระยะ 15-20 เมตร เขาก็จะแจ้งเตือนมา เมื่อเรารู้ก็ต้องใช้เวลาในการวางแผนปรับวงโคจร” ดร.อานนท์ กล่าว และบอกว่า ดาวเทียมโคจรรอบโลกได้โดยอาศัยแรงเหวี่ยงในตอนส่ง ส่วนเชื้อเพลิงที่มีอยู่มีไว้สำหรับปรับวงโคจร ซึ่งปัจจุบันไทยโชตเหลือเชื้อเพลิงอยู่ 50 กิโลกรัม ส่วนพลังงานสำหรับถ่ายภาพนั้นใช้พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์
ปัจจุบันนี้ ปริมาณขยะอวกาศ ซึ่งรวมถึงเศษซากชิ้นส่วนดาวเทียมมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2521 โดยตอนนี้ มีขยะอวกาศขนาด 10 เซนติเมตรขึ้นไปราว ๆ 29,000 ชิ้น ลอยอยู่ในวงโคจรเหนือพื้นโลกในระดับใกล้เคียงกับวงโคจรของดาวเทียมต่าง ๆ และขยะเหล่านี้ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วราว 25,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (เร็วกว่าเครื่องบิน 40 เท่า) ซึ่งด้วยความเร็วสูงเช่นนี้ จะทำให้เศษขยะเหล่านี้พุ่งชนกับดาวเทียม หรือยานอวกาศได้อย่างไม่ยากเลย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาลตามมาได้
ปัจจุบัน นานาชาติเริ่มตะหนักถึงปัญหานี้ มีโครงการที่จะลดขยะอวกาศเช่นโครงการดาวเทียม Cleanspace ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจกำจัดขยะในอวกาศ
หรือในอนาคต ธุรกิจแบบนี้อาจเป็นจริงก้ได้ ปิดท้ายด้วยการ์ตูนเรื่องโปรด นักเก็บขยะอวกาศมืออาชีพ
เครดิต
http://en.wikipedia.org/wiki/Space_debris
http://en.wikipedia.org/wiki/Planetes
http://www.clean-space.eu/
http://www.esa.int/Our_Activities/Space_Engineering/Clean_Space
http://hilight.kapook.com/view/85251
http://www.neutron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=2328
http://www.manager.co.th/science/viewnews.aspx?NewsID=9560000017338
http://www.kruthai.info/view.php?article_id=4798