.
.
Oceanic Pole Of Inaccessibility
เขตชายฝั่งทะเล New Zealand กับ Antarctica
หนึ่งในเขตที่โดดเดี่ยวและห่างไกลที่สุดในโลก คือ สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
Credit : Wikimedia Commons
.
.
.
Europe - The Final Countdown
.
.
คำจำกัดความ
เศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
รวมถึงเศษชิ้นส่วนต่าง ๆ ของ ดาวเทียม
สถานีอวกาศ จรวดลำเลียงขึ้นสู่อวกาศ
จรวดบรรทุกสินค้า ตู้สินค้าสัมภาระ
ที่ไม่สามารถเผาไหม้หลอมละลาย
จนหมดสิ้นในชั้นบรรยากาศ
ก่อนที่จะตกลงมาสู่พื้นผิวโลก/มหาสมุทร
.
.
สถานที่โดดเดี่ยวห่างไกลมากที่สุดของโลก คือ
สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศในมหาสมุทร
น้ำทะเลที่แสนจะเยือกเย็นใต้พื้นผิวมหาสมุทร
คือสถานที่สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์
ได้อยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิดจำนวนมาก
หลังจากแหวกว่ายบนชั้นบรรยากาศโลก
มาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว
แทบจะไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ในบริเวณนั้น
และแทบจะยังไม่มีใครเคยไปเยี่ยมเยือน
มันแสนจะเยือกเย็น มืดมิด และอ้างว้าง
แม้ว่าจะอยู่ไม่ห่างไกลจากชายฝั่งนิวซีแลนด์
มหาสมุทรแปซิฟิค คือ
สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
เป็นสถานที่พักผ่อนสุดท้าย/ที่จบสิ้นลง
ของสิ่งประดิษฐ์พิเศษมากที่สุด
ทางวิทยาศาสตร์/วิศวกรรมศาสตร์
ที่กลายเป็นเศษวัตถุ/โลหะนับได้หลาย 100 ชิ้น
เหนือพื้นโลกยังดาวเทียม
และเศษชิ้นส่วนต่าง ๆ ของยานอวกาศ
นับได้หลาย 1,000 ชิ้นที่ยังโคจรรอบโลกอยู่
แต่อะไรจะเกิดขึ้น
ถ้าพวกมันหลุดวงโคจรหล่นลงมาสู่พื้นโลก
เพราะพลังงานที่ใช้ทำงานหมดสิ้นลงแล้ว
หรือเสร็จสิ้นภารกิจที่วางเป้าหมายไว้แล้ว
เรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ตามมาก็คือ
พวกมันจำเป็นต้องนำออกจากท้องฟ้า
และนำออกให้พ้นจากเส้นทางโคจร
ของยานอวกาศ ดาวเทียมลำอื่น ๆ
ความเสี่ยงของการนำวัตถุโลหะ
ที่มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับรถยนต์คันหนึ่ง
ให้ออกจากวงโคจรรอบโลกเหนือพื้นโลก
ต้องใช้หลักการคำนวณที่แม่นยำ
เพราะมวลของโลกยังสร้างแรงโน้มถ่วง
กับบรรดาสิ่งประดิษฐ์ที่อยู่ในวงโคจรรอบโลก
แล้วจะค่อย ๆ ลากพวกมันลงมาอย่างใกล้ชิด
ใกล้ชิด ใกล้ชิด กับโลกในที่สุด
ถ้ามนุษย์ไม่สามารถหามาตรการ
ที่กำจัดพวกมันอย่างเหมาะสมแล้ว
ยานอวกาศทั้งหมดที่โคจรรอบโลก
รวมทั้งยักษ์ใหญ่สถานีอวกาศนานาชาติ
จะมีโอกาสที่พุ่งชนลงบนบ้านเรือนของคนได้
สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
จึงได้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนสุดท้าย
สำหรับเศษวัตถุต่าง ๆ ในอวกาศ
ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานับได้หลาย 100 ชิ้น
เรื่องนี้ถือได้ว่าเป็นความโชคดีอย่างหนึ่ง
ที่มีนักวิทยาศาสตร์รู้จักหาวิธีการ
ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายขึ้นมา
แบบภาพยนตร์ Armageddon สงครามสิ้นโลก
หน่วยงานยานอวกาศทั่วโลก
ต่างได้วางแผนอย่างรอบคอบ
เกี่ยวกับเศษชิ้นส่วนอวกาศ
เมื่อต้องตกลงมาสู่พื้นโลก
โดยเลือกสถานที่
ที่เศษชิ้นส่วนยานอวกาศเหล่านี้
เมื่อสิ้นสุดการทำงานแล้ว
ต้องตกลงมาสู่พื้นโลก
ตกลงในสถานที่ห่างไกล
จากชีวิตทรัพย์สินของคน
ระยะทางประมาณ 3,000 ไมล์จากชายฝั่งตะวันออกของนิวซีแลนด์
ระยะทางประมาณ 2,000 ไมล์ทางตอนเหนือของทวีปแอนตาร์กติกา
มีความลึกประมาณ 2.5 ไมล์
กลายเป็นสุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศของทุกประเทศ
อยู่ในที่โดดเดี่ยวห่างไกลที่สุดแห่งนี้ในมหาสมุทรมีชื่อเรียกกันว่า
ปลายสุดมหาสมุทรที่ยังไปสำรวจได้ไม่ทั่วถึง Oceanic Pole of Inaccessibility
สถานที่บนโลกแห่งนี้เป็นจุดที่อยู่ห่างไกลที่สุดจากผืนแผ่นดิน
ทำให้จุดนี้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดเพราะเหตุผลในเรื่องสถานที่
ที่จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องการบาดเจ็บล้มตายของมนุษย์
จากเศษชิ้นส่วนยานอวกาศที่ร้อนอย่างมากในช่วงตกลงสู่พื้นโลก
ตามรายงานของ NASA’s Orbital Debris Office
เศษวัตถุชนิดใด ๆ ที่ตกลงมาสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
จะต้องมีโอกาสความน่าจะเป็นไม่เกิน 0.0001 ที่ส่งผลกระทบกับมนุษย์
นั่นหมายความว่า ถ้ามีรายการแบบนี้เกิดขึ้น 10,000 ครั้ง
มีโอกาสเพียง 1 ครั้งที่คาดว่าจะมีมนุษย์เสียชีวิต
.
.
.
Credit : Katie Peek
.
.
เศษชิ้นส่วนยานอวกาศไปจบสิ้นลงที่ไหน
แผนที่แสดงถึงเขตสุสานชิ้นส่วนยานอวกาศ
จะเต็มไปด้วยซากปรักหักพัง
ของเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ที่กระจัดกระจายตัวนับได้หลาย 100 ชิ้น
นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณได้
อย่างค่อนข้างแม่นยำ ว่าตรงจุดไหน
ที่จะให้เศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
จมลงไปใต้ผิวน้ำที่จุดใดบ้าง
ทำให้มีเศษชิ้นส่วนยานอวกาศจำนวนมาก
จมลงแบบทับซ้อนกันในจุดเดียวกัน/ใกล้เคียงกัน
.
.
สถานที่สุขสงบของเศษชิ้นส่วนอวกาศ
นับจนถึงทุกวันนี้
มีเศษชิ้นส่วนยานอวกาศมากกว่า 263 ลำ
ที่จมลงในสุสานแห่งนี้ตั้งแต่ปี 1971
และมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ Mir
สถานีอวกาศรัสเซียที่มีขนาดราว 142 ตัน
Mir ถูกปลดประจำการภารกิจในปี 2001
แล้วส่งเข้าสู่วงโคจรช่วงที่ค่อย ๆ ลดระดับลงมา
จนมาอยู่ในวงโคจรสถานที่มตะ
ของเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ก่อนที่จะค่อย ๆ ตกลงมาสู่พื้นโลกในที่สุด
ในสุสานเศษชิ้นส่วนอวกาศแห่งนี้
เศษชิ้นส่วนยานอวกาศประเภทอื่น ๆ
มีตั้งแต่จรวดลำเลียงยานอวกาศ ดาวเทียม
ดาวเทียมสอดแนม สถานีอวกาศรัสเซีย
ถังเชื้อเพลิงจรวด จรวดบรรทุกสินค้าต่าง ๆ
ตู้บรรทุกเสบียงอาหาร/อุปกรณ์ต่าง ๆ
ของนักบินอวกาศในวงโคจร
ที่ไม่สามารถเผาไหม้จนหมดสิ้นในชั้นบรรยากาศ
เศษชิ้นส่วนยานอวกาศของรัสเซีย
มีมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในบริเวณนี้
เมื่อมันร่วงหล่นลงมาในมหาสมุทรแปซิฟิก
เฉพาะของรัสเซียมีมากกว่า 190 ชิ้น
สหรัฐอเมริกาตามมาด้วย 52 ชิ้น
สหภาพยุโรป 8 ชิ้น ญี่ปุ่น 6 ชิ้น
และในที่สุด SpaceX ก็จะมาจบลง
ณ ที่แห่งนี้ด้วยในที่สุด
มีบัญชีรายชื่อเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
เรียงรายไปทั่วในบริเวณนี้
คาดว่าอีก 12 ปีจากนี้ในราว ๆ ปี 2028
สถานีอวกาศนานาชาติ
International Space Station
ก็จะปลดประจำการภารกิจ
แล้วบังคับให้ร่วงหล่นลงมาในสุสานนี้
หลังจากมีการรื้อถอนอุปกรณ์บางอย่าง
จำนวนมากออกไปแล้ว
ให้เผาไหม้บนชั้นบรรยากาศโลก
เส้นแต่ละเส้นที่มีสีแตกต่างกันแสดงถึงเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ที่ร่วงหล่นลงสู่พื้นโลก รัสเซีย (สีฟ้า) ร่วงหล่นลงมากที่สุดใน Spacecraft Graveyard
แต่ในปีที่ผ่านมาไม่นานมานี้ สหรัฐอเมริกา (สีแดง) เริ่มไล่ตามติดรัสเซีย Credit : Katie Peek
Mir เคยเป็นวัตถุขนาดใหญ่หนัก 142 ตัน
ที่ต้องค่อย ๆ ลดระดับวงโคจรก่อนตกลงมาสู่พื้นโลก
จึงต้องมีการคำนวณกันอย่างมากและหลายขั้นตอนมาก
เพื่อให้มันร่วงหล่นลงมาสู่พื้นโลกได้อย่างปลอดภัย
.
.
.
.
แต่ถ้าเปรียบเทียบ Mir กับ
สถานีอวกาศนานาชาติ ISS
International Space Station
ที่มีขนาดใหญ่กว่า Mir ถึง 4 เท่า
มีน้ำหนักราว 500 ตัน
และมีขนาดเทียบเท่ากับสนามฟุตบอล
ที่คาดว่าจะต้องปลดประจำการในปี 2028
นักวิทยาศาสตร์จะต้องมีการวางแผนกัน
อย่างรอบคอบ เรื่องการร่วงหล่นของ
เศษชิ้นส่วนสถานีอวกาศนานาชาติลำนี้
มีการจำลองแบบความน่าจะเป็น
และการซ้อมรับมือในเรื่องนี้
ให้มีความเป็นไปได้ที่ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
ทั้งต้องพยายามให้เศษชิ้นส่วนทั้งหมด
สิ้นสุดจบลงในมหาสมุทรแปซิฟิก
.
.
.
.
มันคงจะเป็นวันที่น่าเศร้าน่าดู
ในอีก 12 ปีข้างหน้า (ปี 2028)
เมื่อสถานีอวกาศนานาชาติ
ต้องพบจุดจบในน้ำเย็นมหาสมุทรแปซิฟิก
แต่มันเป็นงานที่สลับซับซ้อน
ต้องร่วมมือกันอย่างมากมาย
เพราะต้องทำให้มั่นใจว่า
เหตุการณ์เรื่องนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ในการกลับคืนมาของเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ลำนี้ผ่านชั้นบรรยากาศโลก
ให้คงเหลือเพียงเศษชิ้นส่วนเดียว
ที่มีขนาดใหญ่จมอยู่ที่ด้านล่างมหาสมุทร
มันคงเป็นฉากที่มีความรุนแรง งดงาม ร้อนแรง
ภาพของแรงเสียดทานของวัตถุขนาดใหญ่
ที่ผ่านขั้นบรรยากาศโลก
ที่ถูกเผาไหม้ด้วยความร้อน
หลาย 1,000 องศาเซนเซียส
ร้อนมากขนาดที่โลหะหลายชนิด
ต้องหลอมละลายกับลุกไหม้เป็นจุล
กับต้องใช้ความพยายามบังคับ
ให้งานฝีมือของมนุษย์ หลังจากที่ได้ออกแบบ
สร้างสถานีแห่งนี้มาอย่างพิถีพิถัน
ทำให้มันเกิดการระเบิดขึ้นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ก่อนเหลือชิ้นหลักขนาดใหญ่เพียงชิ้นเดียว
แล้วจมลงในบริเวณสุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
.
.
หมายเหตุ
การตกลงมาของสถานีอวกาศ Mir
ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิค
สำเร็จตามเป้าหมายแผนงานที่วางไว้ทุกประการ
เช่นเดียวกับเศษชิ้นส่วนยานอวกาศหลายอย่าง
แต่มีเพียงครั้งเดียวที่ Skylab ขนาด 77 ตัน
ที่ตอนที่ตกลงมาผ่านชั้นบรรยากาศโลก
มันมาพร้อมกับเศษซากปรักหักพังเหมือนสายฝน
เหนือมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกเฉียงใต้
และบางส่วนของออสเตรเลียตะวันตก
ทำให้นักวางแผนของ
International Space Station
ต้องมั่นใจว่าเหตุการณ์แบบนี้
จะต้องไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต
.
.
.
.
ในขณะที่หน่วยงานด้านยานอวกาศ
ของภาครัฐและเอกชน
มีการพัฒนายานอวกาศ/เครื่องบินสู่อวกาศ
ที่ยังคงเติบโตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
แต่ในที่สุดสิ่งเหล่านั้นยังต้องกลับมาลงสู่พื้นโลก
และสุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ยังคงต้อนรับพวกมันที่กลับลงมาสู่โลก
ก้วยสภาพที่รัอนแรงก่อนจะจบลง
ในน้ำเย็นจัดของท้องมหาสมุทร
สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศแห่งนี้
เต็มไปด้วยตำนานเรื่องราว
ของเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ของ NASA รัสเซีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น
เรื่องน่าเศร้าก็คือ
ไม่มีใครเคยไปเยี่ยมเยือนพวกมัน
เพราะเป็นสถานที่โดดเดี่ยวห่างไกล
และเป็นเขตความมั่นคงพิเศษ
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/7T2Kpv
https://goo.gl/saOonD
.
.
.
งานก่อสร้าง ISS STS-116 ดาวเทียมถูกติดตั้งในส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลักในปี 2006. Credit : NASA
.
.
.
International Space Station กุมภาพันธ์ 2010 Credit : NASA
.
.
.
International Space Station
มีเป้าหมายการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในอวกาศ
NASA เริ่มขัดแย้งกับผู้นำ/ยักษ์ใหญ่เอกชน
ที่ไม่อยากให้มีลงทุนเพิ่มอีก
ถ้าไม่ได้มีการพัฒนาหรือสร้างโอกาส
ทางเลือกด้านธุรกิจในระยะยาว
ที่มีผลตอบแทนที่งดงามคืนกลับมา
Credit: NASA
.
.
.
Upper Atmosphere Research Satellite
เกาะเกี่ยวกับการควบคุมของ
Remote Manipulator System
ระหว่างการใช้งานจาก
Space Shuttle Discovery
ในเดือนกันยายน 1991
Credit: NASA Marshall Space Flight Center .
สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
.
Oceanic Pole Of Inaccessibility
เขตชายฝั่งทะเล New Zealand กับ Antarctica
หนึ่งในเขตที่โดดเดี่ยวและห่างไกลที่สุดในโลก คือ สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
Credit : Wikimedia Commons
.
.
.
Europe - The Final Countdown
.
.
คำจำกัดความ
เศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
รวมถึงเศษชิ้นส่วนต่าง ๆ ของ ดาวเทียม
สถานีอวกาศ จรวดลำเลียงขึ้นสู่อวกาศ
จรวดบรรทุกสินค้า ตู้สินค้าสัมภาระ
ที่ไม่สามารถเผาไหม้หลอมละลาย
จนหมดสิ้นในชั้นบรรยากาศ
ก่อนที่จะตกลงมาสู่พื้นผิวโลก/มหาสมุทร
.
.
สถานที่โดดเดี่ยวห่างไกลมากที่สุดของโลก คือ
สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศในมหาสมุทร
น้ำทะเลที่แสนจะเยือกเย็นใต้พื้นผิวมหาสมุทร
คือสถานที่สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์
ได้อยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิดจำนวนมาก
หลังจากแหวกว่ายบนชั้นบรรยากาศโลก
มาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว
แทบจะไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ในบริเวณนั้น
และแทบจะยังไม่มีใครเคยไปเยี่ยมเยือน
มันแสนจะเยือกเย็น มืดมิด และอ้างว้าง
แม้ว่าจะอยู่ไม่ห่างไกลจากชายฝั่งนิวซีแลนด์
มหาสมุทรแปซิฟิค คือ
สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
เป็นสถานที่พักผ่อนสุดท้าย/ที่จบสิ้นลง
ของสิ่งประดิษฐ์พิเศษมากที่สุด
ทางวิทยาศาสตร์/วิศวกรรมศาสตร์
ที่กลายเป็นเศษวัตถุ/โลหะนับได้หลาย 100 ชิ้น
เหนือพื้นโลกยังดาวเทียม
และเศษชิ้นส่วนต่าง ๆ ของยานอวกาศ
นับได้หลาย 1,000 ชิ้นที่ยังโคจรรอบโลกอยู่
แต่อะไรจะเกิดขึ้น
ถ้าพวกมันหลุดวงโคจรหล่นลงมาสู่พื้นโลก
เพราะพลังงานที่ใช้ทำงานหมดสิ้นลงแล้ว
หรือเสร็จสิ้นภารกิจที่วางเป้าหมายไว้แล้ว
เรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ตามมาก็คือ
พวกมันจำเป็นต้องนำออกจากท้องฟ้า
และนำออกให้พ้นจากเส้นทางโคจร
ของยานอวกาศ ดาวเทียมลำอื่น ๆ
ความเสี่ยงของการนำวัตถุโลหะ
ที่มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับรถยนต์คันหนึ่ง
ให้ออกจากวงโคจรรอบโลกเหนือพื้นโลก
ต้องใช้หลักการคำนวณที่แม่นยำ
เพราะมวลของโลกยังสร้างแรงโน้มถ่วง
กับบรรดาสิ่งประดิษฐ์ที่อยู่ในวงโคจรรอบโลก
แล้วจะค่อย ๆ ลากพวกมันลงมาอย่างใกล้ชิด
ใกล้ชิด ใกล้ชิด กับโลกในที่สุด
ถ้ามนุษย์ไม่สามารถหามาตรการ
ที่กำจัดพวกมันอย่างเหมาะสมแล้ว
ยานอวกาศทั้งหมดที่โคจรรอบโลก
รวมทั้งยักษ์ใหญ่สถานีอวกาศนานาชาติ
จะมีโอกาสที่พุ่งชนลงบนบ้านเรือนของคนได้
สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
จึงได้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนสุดท้าย
สำหรับเศษวัตถุต่าง ๆ ในอวกาศ
ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานับได้หลาย 100 ชิ้น
เรื่องนี้ถือได้ว่าเป็นความโชคดีอย่างหนึ่ง
ที่มีนักวิทยาศาสตร์รู้จักหาวิธีการ
ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายขึ้นมา
แบบภาพยนตร์ Armageddon สงครามสิ้นโลก
หน่วยงานยานอวกาศทั่วโลก
ต่างได้วางแผนอย่างรอบคอบ
เกี่ยวกับเศษชิ้นส่วนอวกาศ
เมื่อต้องตกลงมาสู่พื้นโลก
โดยเลือกสถานที่
ที่เศษชิ้นส่วนยานอวกาศเหล่านี้
เมื่อสิ้นสุดการทำงานแล้ว
ต้องตกลงมาสู่พื้นโลก
ตกลงในสถานที่ห่างไกล
จากชีวิตทรัพย์สินของคน
ระยะทางประมาณ 3,000 ไมล์จากชายฝั่งตะวันออกของนิวซีแลนด์
ระยะทางประมาณ 2,000 ไมล์ทางตอนเหนือของทวีปแอนตาร์กติกา
มีความลึกประมาณ 2.5 ไมล์
กลายเป็นสุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศของทุกประเทศ
อยู่ในที่โดดเดี่ยวห่างไกลที่สุดแห่งนี้ในมหาสมุทรมีชื่อเรียกกันว่า
ปลายสุดมหาสมุทรที่ยังไปสำรวจได้ไม่ทั่วถึง Oceanic Pole of Inaccessibility
สถานที่บนโลกแห่งนี้เป็นจุดที่อยู่ห่างไกลที่สุดจากผืนแผ่นดิน
ทำให้จุดนี้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดเพราะเหตุผลในเรื่องสถานที่
ที่จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องการบาดเจ็บล้มตายของมนุษย์
จากเศษชิ้นส่วนยานอวกาศที่ร้อนอย่างมากในช่วงตกลงสู่พื้นโลก
ตามรายงานของ NASA’s Orbital Debris Office
เศษวัตถุชนิดใด ๆ ที่ตกลงมาสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
จะต้องมีโอกาสความน่าจะเป็นไม่เกิน 0.0001 ที่ส่งผลกระทบกับมนุษย์
นั่นหมายความว่า ถ้ามีรายการแบบนี้เกิดขึ้น 10,000 ครั้ง
มีโอกาสเพียง 1 ครั้งที่คาดว่าจะมีมนุษย์เสียชีวิต
.
.
Credit : Katie Peek
.
.
เศษชิ้นส่วนยานอวกาศไปจบสิ้นลงที่ไหน
แผนที่แสดงถึงเขตสุสานชิ้นส่วนยานอวกาศ
จะเต็มไปด้วยซากปรักหักพัง
ของเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ที่กระจัดกระจายตัวนับได้หลาย 100 ชิ้น
นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณได้
อย่างค่อนข้างแม่นยำ ว่าตรงจุดไหน
ที่จะให้เศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
จมลงไปใต้ผิวน้ำที่จุดใดบ้าง
ทำให้มีเศษชิ้นส่วนยานอวกาศจำนวนมาก
จมลงแบบทับซ้อนกันในจุดเดียวกัน/ใกล้เคียงกัน
.
.
สถานที่สุขสงบของเศษชิ้นส่วนอวกาศ
นับจนถึงทุกวันนี้
มีเศษชิ้นส่วนยานอวกาศมากกว่า 263 ลำ
ที่จมลงในสุสานแห่งนี้ตั้งแต่ปี 1971
และมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ Mir
สถานีอวกาศรัสเซียที่มีขนาดราว 142 ตัน
Mir ถูกปลดประจำการภารกิจในปี 2001
แล้วส่งเข้าสู่วงโคจรช่วงที่ค่อย ๆ ลดระดับลงมา
จนมาอยู่ในวงโคจรสถานที่มตะ
ของเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ก่อนที่จะค่อย ๆ ตกลงมาสู่พื้นโลกในที่สุด
ในสุสานเศษชิ้นส่วนอวกาศแห่งนี้
เศษชิ้นส่วนยานอวกาศประเภทอื่น ๆ
มีตั้งแต่จรวดลำเลียงยานอวกาศ ดาวเทียม
ดาวเทียมสอดแนม สถานีอวกาศรัสเซีย
ถังเชื้อเพลิงจรวด จรวดบรรทุกสินค้าต่าง ๆ
ตู้บรรทุกเสบียงอาหาร/อุปกรณ์ต่าง ๆ
ของนักบินอวกาศในวงโคจร
ที่ไม่สามารถเผาไหม้จนหมดสิ้นในชั้นบรรยากาศ
เศษชิ้นส่วนยานอวกาศของรัสเซีย
มีมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในบริเวณนี้
เมื่อมันร่วงหล่นลงมาในมหาสมุทรแปซิฟิก
เฉพาะของรัสเซียมีมากกว่า 190 ชิ้น
สหรัฐอเมริกาตามมาด้วย 52 ชิ้น
สหภาพยุโรป 8 ชิ้น ญี่ปุ่น 6 ชิ้น
และในที่สุด SpaceX ก็จะมาจบลง
ณ ที่แห่งนี้ด้วยในที่สุด
มีบัญชีรายชื่อเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
เรียงรายไปทั่วในบริเวณนี้
คาดว่าอีก 12 ปีจากนี้ในราว ๆ ปี 2028
สถานีอวกาศนานาชาติ
International Space Station
ก็จะปลดประจำการภารกิจ
แล้วบังคับให้ร่วงหล่นลงมาในสุสานนี้
หลังจากมีการรื้อถอนอุปกรณ์บางอย่าง
จำนวนมากออกไปแล้ว
ให้เผาไหม้บนชั้นบรรยากาศโลก
Mir เคยเป็นวัตถุขนาดใหญ่หนัก 142 ตัน
ที่ต้องค่อย ๆ ลดระดับวงโคจรก่อนตกลงมาสู่พื้นโลก
จึงต้องมีการคำนวณกันอย่างมากและหลายขั้นตอนมาก
เพื่อให้มันร่วงหล่นลงมาสู่พื้นโลกได้อย่างปลอดภัย
.
.
.
แต่ถ้าเปรียบเทียบ Mir กับ
สถานีอวกาศนานาชาติ ISS
International Space Station
ที่มีขนาดใหญ่กว่า Mir ถึง 4 เท่า
มีน้ำหนักราว 500 ตัน
และมีขนาดเทียบเท่ากับสนามฟุตบอล
ที่คาดว่าจะต้องปลดประจำการในปี 2028
นักวิทยาศาสตร์จะต้องมีการวางแผนกัน
อย่างรอบคอบ เรื่องการร่วงหล่นของ
เศษชิ้นส่วนสถานีอวกาศนานาชาติลำนี้
มีการจำลองแบบความน่าจะเป็น
และการซ้อมรับมือในเรื่องนี้
ให้มีความเป็นไปได้ที่ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
ทั้งต้องพยายามให้เศษชิ้นส่วนทั้งหมด
สิ้นสุดจบลงในมหาสมุทรแปซิฟิก
.
.
.
มันคงจะเป็นวันที่น่าเศร้าน่าดู
ในอีก 12 ปีข้างหน้า (ปี 2028)
เมื่อสถานีอวกาศนานาชาติ
ต้องพบจุดจบในน้ำเย็นมหาสมุทรแปซิฟิก
แต่มันเป็นงานที่สลับซับซ้อน
ต้องร่วมมือกันอย่างมากมาย
เพราะต้องทำให้มั่นใจว่า
เหตุการณ์เรื่องนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ในการกลับคืนมาของเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ลำนี้ผ่านชั้นบรรยากาศโลก
ให้คงเหลือเพียงเศษชิ้นส่วนเดียว
ที่มีขนาดใหญ่จมอยู่ที่ด้านล่างมหาสมุทร
มันคงเป็นฉากที่มีความรุนแรง งดงาม ร้อนแรง
ภาพของแรงเสียดทานของวัตถุขนาดใหญ่
ที่ผ่านขั้นบรรยากาศโลก
ที่ถูกเผาไหม้ด้วยความร้อน
หลาย 1,000 องศาเซนเซียส
ร้อนมากขนาดที่โลหะหลายชนิด
ต้องหลอมละลายกับลุกไหม้เป็นจุล
กับต้องใช้ความพยายามบังคับ
ให้งานฝีมือของมนุษย์ หลังจากที่ได้ออกแบบ
สร้างสถานีแห่งนี้มาอย่างพิถีพิถัน
ทำให้มันเกิดการระเบิดขึ้นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ก่อนเหลือชิ้นหลักขนาดใหญ่เพียงชิ้นเดียว
แล้วจมลงในบริเวณสุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
.
.
หมายเหตุ
การตกลงมาของสถานีอวกาศ Mir
ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิค
สำเร็จตามเป้าหมายแผนงานที่วางไว้ทุกประการ
เช่นเดียวกับเศษชิ้นส่วนยานอวกาศหลายอย่าง
แต่มีเพียงครั้งเดียวที่ Skylab ขนาด 77 ตัน
ที่ตอนที่ตกลงมาผ่านชั้นบรรยากาศโลก
มันมาพร้อมกับเศษซากปรักหักพังเหมือนสายฝน
เหนือมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกเฉียงใต้
และบางส่วนของออสเตรเลียตะวันตก
ทำให้นักวางแผนของ
International Space Station
ต้องมั่นใจว่าเหตุการณ์แบบนี้
จะต้องไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต
.
.
.
ในขณะที่หน่วยงานด้านยานอวกาศ
ของภาครัฐและเอกชน
มีการพัฒนายานอวกาศ/เครื่องบินสู่อวกาศ
ที่ยังคงเติบโตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
แต่ในที่สุดสิ่งเหล่านั้นยังต้องกลับมาลงสู่พื้นโลก
และสุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ยังคงต้อนรับพวกมันที่กลับลงมาสู่โลก
ก้วยสภาพที่รัอนแรงก่อนจะจบลง
ในน้ำเย็นจัดของท้องมหาสมุทร
สุสานเศษชิ้นส่วนยานอวกาศแห่งนี้
เต็มไปด้วยตำนานเรื่องราว
ของเศษชิ้นส่วนยานอวกาศ
ของ NASA รัสเซีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น
เรื่องน่าเศร้าก็คือ
ไม่มีใครเคยไปเยี่ยมเยือนพวกมัน
เพราะเป็นสถานที่โดดเดี่ยวห่างไกล
และเป็นเขตความมั่นคงพิเศษ
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/7T2Kpv
https://goo.gl/saOonD
.
.
งานก่อสร้าง ISS STS-116 ดาวเทียมถูกติดตั้งในส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลักในปี 2006. Credit : NASA
.
.
.
International Space Station กุมภาพันธ์ 2010 Credit : NASA
.
.
.
International Space Station
มีเป้าหมายการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในอวกาศ
NASA เริ่มขัดแย้งกับผู้นำ/ยักษ์ใหญ่เอกชน
ที่ไม่อยากให้มีลงทุนเพิ่มอีก
ถ้าไม่ได้มีการพัฒนาหรือสร้างโอกาส
ทางเลือกด้านธุรกิจในระยะยาว
ที่มีผลตอบแทนที่งดงามคืนกลับมา
Credit: NASA
.
.
.
Upper Atmosphere Research Satellite
เกาะเกี่ยวกับการควบคุมของ
Remote Manipulator System
ระหว่างการใช้งานจาก
Space Shuttle Discovery
ในเดือนกันยายน 1991
Credit: NASA Marshall Space Flight Center .