ขอตั้งเป็นกระทู้คำถาม
เพื่อจะ comment ได้ทุกคนครับ
นี่เป็นข่าวเก่าเมื่อ 2 วันที่แล้วนะครับ
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
หรือ GISTDA ได้ใช้ระบบการจัดการจราจรอวกาศ หรือ ZIRCON
ในการติดตามวัตถุอวกาศ พบว่า จะมีวัตถุอวกาศ
คือ (อดีต) ดาวเทียม IRIDIUM 33 DEB (35921)
เข้าใกล้ดาวเทียมไทยโชตในวันอังคารที่ 12 กันยายน 2566
เวลา 13:06 น. (ตามเวลาประเทศไทย)
และมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะเกิดการชนกัน
ระหว่างดาวเทียมไทยโชตกับวัตถุอวกาศชิ้นนี้
โดยมีระยะใกล้สุด 91 เมตร (ตามคลิป)
ทาง GISTDA ได้เตรียมปรับวงโคจรดาวเทียมไทยโชต
ให้สูงขึ้น 55 เมตรเพื่อเลี่ยงการชนวัตถุอวกาศ
และภายหลังการปรับวงโคจรแล้ว
ดาวเทียมจะสามารถทำงานได้ตามปกติ
อย่างไรก็ตาม จะต้องตรวจสอบข้อมูล
ความเสี่ยงต่างๆ ด้วยระบบ ZIRCON อีกครั้ง
เพื่อให้แน่ใจว่าดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย
และไม่เสี่ยงต่อการชนกับวัตถุอวกาศครับ
วัตถุอวกาศ IRIDIUM 33 DEB (NORAD ID : 35921)
เป็นดาวเทียมสื่อสารของบริษัท Iridium Communications
ทำหน้าที่บริการโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม
ส่งขึ้นอวกาศเมื่อกันยายน 1997 แต่เกิดอุบัติเหตุ
คือ ชนกับดาวเทียม Kosmos 2251 ของรัสเซีย
เมื่อกุมภาพันธ์ 2009 การชนกันทำให้เกิด
space debris มากถึงเกือบ 2,000 ชิ้น
ที่ผ่านมาตั้งแต่ยุค 60
มีดาวเทียมชนกันเองจำนวน 190 ครั้ง
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_space_debris_producing_events
ทำให้เกิด space debris มากถึง 5 แสนชิ้น
และ 2 แสนชิ้นจาก 5 แสน นี้
อยู่ในวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit : LEO)
(ต่ำกว่า 2,000 กิโลเมตรจากพื้นโลก)
ภาพล่างนี้คือข้อมูลของดาวเทียมทั้ง 2 เทียบกัน
ท่านสามารถดูข้อมูลดาวเทียมได้จาก
https://www.n2yo.com/
โดยใส่ชื่อดาวเทียม หรือใส่เลข NORAD ID
https://th.wikipedia.org/wiki/หมายเลขสารบัญแฟ้มดาวเทียม
THEOS
https://www.n2yo.com/?s=33396
IRIDIUM 33 DEB
https://www.n2yo.com/?s=35921
(DEB ย่อมาจาก Debris คือเศษขยะอวกาศ
อาจเกิดจากการชน หรือ หลุดออกอุปกรณ์ใด ๆ)
เนื้อหาจาก
https://www.facebook.com/gistda
และผมหาเพิ่มเติมมาประกอบกระทู้ครับ
มีวัตถุอวกาศเฉียดดาวเทียมไทยโชต (THEOS) 91 เมตร
เพื่อจะ comment ได้ทุกคนครับ
นี่เป็นข่าวเก่าเมื่อ 2 วันที่แล้วนะครับ
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
หรือ GISTDA ได้ใช้ระบบการจัดการจราจรอวกาศ หรือ ZIRCON
ในการติดตามวัตถุอวกาศ พบว่า จะมีวัตถุอวกาศ
คือ (อดีต) ดาวเทียม IRIDIUM 33 DEB (35921)
เข้าใกล้ดาวเทียมไทยโชตในวันอังคารที่ 12 กันยายน 2566
เวลา 13:06 น. (ตามเวลาประเทศไทย)
และมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะเกิดการชนกัน
ระหว่างดาวเทียมไทยโชตกับวัตถุอวกาศชิ้นนี้
โดยมีระยะใกล้สุด 91 เมตร (ตามคลิป)
ทาง GISTDA ได้เตรียมปรับวงโคจรดาวเทียมไทยโชต
ให้สูงขึ้น 55 เมตรเพื่อเลี่ยงการชนวัตถุอวกาศ
และภายหลังการปรับวงโคจรแล้ว
ดาวเทียมจะสามารถทำงานได้ตามปกติ
อย่างไรก็ตาม จะต้องตรวจสอบข้อมูล
ความเสี่ยงต่างๆ ด้วยระบบ ZIRCON อีกครั้ง
เพื่อให้แน่ใจว่าดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย
และไม่เสี่ยงต่อการชนกับวัตถุอวกาศครับ
วัตถุอวกาศ IRIDIUM 33 DEB (NORAD ID : 35921)
เป็นดาวเทียมสื่อสารของบริษัท Iridium Communications
ทำหน้าที่บริการโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม
ส่งขึ้นอวกาศเมื่อกันยายน 1997 แต่เกิดอุบัติเหตุ
คือ ชนกับดาวเทียม Kosmos 2251 ของรัสเซีย
เมื่อกุมภาพันธ์ 2009 การชนกันทำให้เกิด
space debris มากถึงเกือบ 2,000 ชิ้น
ที่ผ่านมาตั้งแต่ยุค 60
มีดาวเทียมชนกันเองจำนวน 190 ครั้ง
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_space_debris_producing_events
ทำให้เกิด space debris มากถึง 5 แสนชิ้น
และ 2 แสนชิ้นจาก 5 แสน นี้
อยู่ในวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit : LEO)
(ต่ำกว่า 2,000 กิโลเมตรจากพื้นโลก)
ภาพล่างนี้คือข้อมูลของดาวเทียมทั้ง 2 เทียบกัน
ท่านสามารถดูข้อมูลดาวเทียมได้จาก
https://www.n2yo.com/
โดยใส่ชื่อดาวเทียม หรือใส่เลข NORAD ID
https://th.wikipedia.org/wiki/หมายเลขสารบัญแฟ้มดาวเทียม
THEOS https://www.n2yo.com/?s=33396
IRIDIUM 33 DEB https://www.n2yo.com/?s=35921
(DEB ย่อมาจาก Debris คือเศษขยะอวกาศ
อาจเกิดจากการชน หรือ หลุดออกอุปกรณ์ใด ๆ)
เนื้อหาจาก https://www.facebook.com/gistda
และผมหาเพิ่มเติมมาประกอบกระทู้ครับ