รวมเรื่องลวงโลกตอนที่ 3: ดาวเทียมก็ปลอม? เฮ้ย!?

รวมเรื่องลวงโลกตอนที่ 3: ดาวเทียมก็ปลอม? เฮ้ย!?

ดาวเทียมจะปลอมได้ยังไง แล้วจีพีเอส (GPS) จานดาวเทียม กูเกิ้ลแมพ ล่ะ บลาๆๆ

หลังจากผมรู้ว่าสถานีอวกาศปลอมชัวร์ๆ จิตใจผมก็เปิดกว้าง วินาทีนี้ถ้าโลกมันจะแบนผมก็คงไม่แปลกใจมากแล้ว
แล้วก็เป็นครั้งแรกที่ผมเปิดใจให้โอกาสพวกโลกแบน ลองไปอ่านเหตุผลสิพวกเขามีเหตุผลยังไง ผิดตรงไหน หรืออาจจะถูก

ผลก็คือว่า  โลกแบนครับ

เอ้ยล้อเล่น ....
แต่เหตุผลพวกโลกแบนนั้นก็ดีกว่าที่เคยคิดไว้ แต่ผมก็หาจุดผิดได้เกือบทั้งหมด เถียงกับมันอยู่สักพัก
เอาเป็นว่าขี้เกียจเขียนรายละเอียด
พวกโลกแบน ถึงแม้พวกเขาจะเข้าใจผิด แต่พวกเขาก็มารยาทดีกว่าพวกเชื่อเหยียบดวงจันทร์เยอะ
ไม่มีสักครั้งที่พวกเขาไล่ผมให้ไปเรียนหนังสือใหม่ (เฮ้ยผมอาจจะจบดีกว่าคุณก็ได้นะ) หรือแดกดันหยาบคายเหมือนพวกเหยียบดวงจันทร์
ถึงแม้ทั้งสองกลุ่มนี้จะถูกหลอกมาเหมือนๆกันก็ตาม แต่ mindset กลุ่มหลังนี้คือข้าคือการศึกษา ข้าคือวิทยาศาสตร์ หึๆ จริงๆแล้ว กาก

เอาหล่ะเข้าเรื่องดีกว่า
ภาพรวม ดาวเทียมดวงแรกที่อ้างว่าถูกส่งนั้นถูกส่งในปี 1957 ซึ่งเป็นยุคก่อนยุคส่งจรวดไปดวงจันทร์เล็กน้อย จากนั้นแต่ละประเทศก็อ้างว่าส่งกันเรื่อยมา
หลอกแล้วได้อะไรขึ้นมา? 1. ได้หน้า 2. รับตังค่าส่งดาวเทียม ระดับบริษัทรับตังจากลูกค้าที่โดนหลอก ระดับรัฐบาลสหรัฐก็ได้โกงภาษีประชาชน แอบเอาเข้ากระเป๋า
3. ปกปิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์และสถานีอวกาศ เพราะความแตกแน่ถ้าดาวเทียมไม่จริง คนก็จะรู้ว่าสถานีอวกาศไม่จริง แล้วก็จะหมดโอกาสหากินกับงบนาซ่า ก็เลยต้องหลอกมันแบบนี้ไปเรื่อยๆ

ความแปลกของเรื่องนี้
1. ถ้าดาวเทียมมีจริง ทำไมไม่มีภาพโลกที่ถูกถ่ายจากดาวเทียมเลยสักภาพ ดาวเทียมถูกอ้างว่าส่งไปได้ไกลเป็นหมื่นๆกิโลเมตร++ ไกลกว่าขนาดโลกสองเท่า++ ก็ต้องถ่ายภาพโลกได้อยู่แล้ว
ถ้าคุณเถียงว่ามีจริงสิภาพนี้ไง ภาพโน้นไง
มาวิเคราะห์กันดูว่าทำไมผมจึงคิดว่าภาพโลกเหล่านี้ ไม่ใช่ภาพถ่ายจริงเลยสักภาพเดียว

ก่อนอื่นคุณต้องรู้ก่อน ว่าภาพของโลกจริงๆนั้น มันควรจะเป็นอย่างไร
โลกนี้มีสิ่งที่ชื่อว่า high altitude balloon (คนละอย่างกับ satloon (แต่คล้ายๆ) ที่จะกล่าวถึงต่อไป) เอาไว้ส่งขึ้นไปสูงๆแล้วถ่ายคลิประหว่างลอยขึ้นไป รอสักพักให้ตกหรือแตกเอง แล้วก็ไปเก็บดูภาพวิดีโอที่ถ่ายไว้
ราคาไม่แพง มือสมัครเล่น (ที่ค่อนข้างเก่ง) ก็ทำถ่ายรูปอวกาศเล่นเองได้ 
ตอนกลางวัน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ตอนกลางคืน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

เซิร์จยูทูป high altitude balloon ได้เลยมีเยอะแยะ ดูไปหลายๆคลิปจะได้มีภาพคร่าวๆในหัว

ภาพจากบอลลูนพวกนี้ จริง 100% คนทำเล่นที่บ้านเยอะแยะ แล้วหลายคลิปก็ต่อเนื่องตั้งแต่พื้นดินไปจนถึงท้องฟ้า จนตกลงมาเก็บกู้
ไม่ตัดต่อเหมือนคลิปส่งจรวดของนาซ่าหรอก หึๆ
ถึงความสูงจะแค่ราว 30 กิโลเมตร ไม่เหมือนดาวเทียม ที่อ้างว่าอยู่ราวๆ หลักร้อย หลักพันกิโล หรือมากกว่านั้น 

แต่สังเกตเห็นอะไรบ้าง 
1. ขอบฟ้าสีฟ้าเข้ม
2. ถึงจะไม่มีเมฆ จุดนั้นก็จะมัวๆ เพราะบรรยากาศบดบัง มองลงมาจะเห็นพื้นดินไม่ชัดเจน

เทียบภาพจริงจากบอลลูน กับภาพโลกหรือภาพที่นาซ่าอ้างว่าถ่ายจากสถานีอวกาศดูสิ ดูๆไปหลายๆคลิป

ภาพโลกของนาซ่า
https://www.tiktok.com/@brodyjironews/video/7301835809131351302?is_from_webapp=1&sender_device=pc
จะเห็นว่าแค่สียังไม่คงที่เลยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ   แล้วขอบฟ้าสีเข้มหายไปไหน เมฆก็ก้อนใหญ่ๆเหมือนขี้เกียจทำรายละเอียด (เทียบภาพ high alt balloon)

Robert simmon พนักงานนาซ่า คนสร้างภาพลูกโลกปลอมๆ เฮ้ยทำไมไม่ใช้ดาวเทียมถ่าย เอ่อ ก็มันไม่มีจริงไง??
https://www.tiktok.com/@brodyjironews/video/7301835809131351302?is_from_webapp=1&sender_device=pc

ลองอ่านๆดูเองไม่ได้อ่านละเอียด
https://www.nasa.gov/people-of-nasa/robert-simmon-aka-mr-blue-marble/

นาซ่าอ้างว่าคลิปถ่ายจากดาวเทียม??? เมฆทั้งโลกหายไปไหน!!!!??? โลกร้อนเป็นเรื่องจริงสินะเมฆระเหิดหมดแล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=Q3YYwIsMHzw

2. พยากรณ์อากาศ ทำไมเป็นภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก ไม่ใช่ภาพถ่าย/คลิปวิดีโอจริงจากดาวเทียม เกิดมายังไม่เคยเห็นของจริง
จำลอง
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
จำลอง (เทียบกับภาพจาก high altitude balloon)
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

มองๆดูมันน่าจะง่ายเหมือนปลอกกล้วยนะ ส่งดาวเทียม อันเล็กนิดเดียว จรวดก็ลำตั้งใหญ่ มันน่าจะส่งไปได้สิน่า
มาดูกันว่าจะโคจรรอบโลกได้นั้น ต้องใช้ความเร็วเท่าไหร่
ที่วงโคจรระดับต่ำ (Low Earth orbit): ความสูงราว 200–2,000 กม. ดาวเเทียมต้องมีความเร็วราว 28,800 กม.ต่อชั่วโมง (ราวๆมัค 23) เร็วกว่าไฮเปอร์โซนิคที่อ้างว่าเร็วที่สุดในโลกเสียอีก(มัค 20) แล้วอีกอย่าง จรวดมันเคลื่อนที่แนวราบ ไม่ได้เคลื่อนที่ต้านแรงโน้มถ่วงของโลก จะให้ดาวเทียมเร็วมัค 23 ได้ จรวดตัวส่งก็ต้องเร็วมัค 23 ด้วย
ที่ความสูง 22,223 ไมล์ ดาวเทียมต้องเร็วราว 11,000 กมต่อชั่วโมง ความเร็วต่ำกว่า ไม่ได้แปลว่าส่งง่ายกว่า เพราะจรวดตัวส่งก็ต้องต้านแรงโน้มถ่วงนานกว่า และถูกลดความเร็วจากแรงโน้มถ่วงเยอะกว่า

อีกหนึ่งปัญหา ก็คือการรับส่งสัญญาณ เสาโทรคมนาคมสูงใหญ่ มีระยะส่งแค่ 40 กิโลเมตร แล้วดาวเทียมดวงนิดเดียวจะส่งได้สักกี่กิโลกัน ดาวเทียมโคจรต่ำสุดได้แค่ 167 กิโลเมตร (ตามที่อ้าง) ต่ำกว่านี้จะ (ถ้ามีจริง) ความเร็วจะตกเพราะปะทะกับอากาศ
ถ้าจะให้พนัน ผมว่าไม่มีใครส่งอะไรได้ทั้งนั้น นี่คืออีกหนึ่งเรื่องลวงโลก

เหตุผลฝ่ายเชื่อ
1. แล้วจีพีเอส ที่ใช้บอกทิศทางในรถล่ะ  
ระบบเสาสัญญาณมือถือ (เสาโทรคมนาคม) สามารถบอกตำแหน่งเจ้าของมือถือได้ โดยการใช้หลายๆเสาส่งสัญญาณไปยังมือถือ แล้ววัดค่าเวลาการตอบรับ จากนั้นก็คำนวณ (Triangulation) 
ไม่จำเป็นต้องพึ่งดาวเทียมเลยแม้แต่ดวงเดียว

แล้วอีกอย่าง เขาบอกว่าเข้าป่า หรือไปที่ห่างไกลเสา จีพิเอสจะไม่ทำงาน อิหยังวะ 
อันนี้ยังไม่ได้ทดลองจริงเหมือนกัน ไม่รู้จริงเท็จเพียงใด

2. จานดาวเทียมล่ะ
ใช้ satellite balloon (satloon) แทนได้ ทิศทางที่จานดาวเทียมหันไป น่าจะหันไปติดต่อกับเจ้าบอลลูนพวกนี้แหละ ดาวเทียมไม่มีจริง?
บอลลูนพวกนี้จะลอยไม่สูงมาก 20 กิโลจากพื้น (สูงได้แค่นั้น มันติดอวกาศ ลอยไม่ขึ้นแล้วไม่มีความแตกต่างของความหนาแน่นก๊าซ) นี่แหละคือสิ่งที่อเมริกาบอกว่าจีนส่งมาสอดแนม  ไม่มีใครมีดาวเทียมทั้งนั้น ใช้บอลลูนพวกนี้แหละลอยเข้าไปถ่ายภาพ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
นาซ่าคือผู้ใช้ก๊าซฮีเลียมรายใหญ่ที่สุดของโลก อันดับหนึ่งก็คืออันดับหนึ่งจริงๆ  75 ล้านลูกบาศก์ฟุต เอ แล้วก๊าซฮีเลียมมันใช้ทำอะไรได้บ้างน้า 
คิด
คิด
คิด
ก็ใส่บอลลูนไง!
ถ้ากูเกิ้ลก็จะขึ้นมาหลายอย่างว่านาซ่าเอาไปใช้นู่นใช้นี่
มันก็ยากจะพิสูจน์ว่าจริงๆแล้วเขาเอาไปทำอะไร  เก็บไว้ในใจก็แล้วกัน ไม่มีหลักฐาน
(พนันว่าใส่บอลลูน ดาวเทียมไม่มีจริง ใช้บอลลูนพวกนี้เป็นพันๆดวง พอสักพักร่วงมาก็ต้องเปลี่ยนก๊าซตลอด)

3. กูเกิ้ลแมพล่ะ
กูเกิ้ลแมพไม่ได้ถ่ายจากดาวเทียม
ถ้าคุณเปิดกูเกิ้ลแมพ จะมีภาพอยู่สองชุด ชุดแรกคือภาพซูมระยะใกล้ อันนั้นถ่ายจากเครื่องบิน (คล้ายๆภาพถ่ายทางทหารของไทย) 
ส่วนภาพระยะไกล อันนั้นใช้คอมพิวเตอร์สร้างขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้ดาวเทียมเลยสักดวงเดียว
อ้อยังมีอีกชุดคือภาพสตรีทวิว อันนั้นใช้รถที่ออกแบบมาโดยเฉพาะถ่าย
ภาพ 4 ภาพรถ

ภาพ 5 ภาพซูมระยะไกล จะสังเกตว่าไม่มีเมฆสักก้อน คือใช้คอมสร้างขึ้น ไม่ใช่ดาวเทียม ถ้าดาวเทียมต้องถ่ายติดเมฆบ้าง


ภาพ 6 ถ้าซูมออกไปไกลๆ จะเจอเมฆปลอมๆ ที่ใช้คอมสร้างขึ้น รู้ได้ไงว่าปลอมน่ะเหรอ  ก็ประเทศไทยทั้งประเทศไม่มีเมฆเลยสักก้อนเดียวไงล่ะ  ดูในทะเลก็ปลอม เห็นร่องน้ำลึกใต้ทะเลได้ไง



4. อินเทอร์เน็ตล่ะ 
ใช้สายเคเบิ้ลใต้น้ำเว้ยเฮ้ย + กับสายดำๆที่พาดตามสายไฟเมืองไทยนั่นแหละ
ภาพ 1
ภาพ 2

5. แล้วภาพนี้ล่ะ สตาร์ลิงก์เทรน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
   ใครไม่รู้จักก็ข้ามไปแล้วกันขี้เกียจพิมพ์แล้ว

ตอบ high altitude drone โว้ย ก็คือ drone หลายๆตัวนั่นแหละ ดาวเทียมอะไรมันจะลงมาอยู่ที่ระยะ 10 กิโลเมตรไม่โดน atmospheric drag เรอะ
อีลอนทุ่มทุนสร้างละครฉากใหญ่มาหลอกพวกแมงเม่าทั้งหลายไง
 

เรื่องนี้ไม่เหมือนสองเรื่องแรกที่มั่นใจ 100% ว่าปลอมแน่นอน
เรื่องนี้มั่นใจแค่ราว 70 - 80% แต่คิดว่าอย่างน้อยก็น่าจะมีองค์ประกอบอะไรสักอย่างที่ไม่ตรงกับความจริง เพราะหลายอย่างดูไร้เหตุผล
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่