จิต(วิญญาณขันธ์) จุติ อุบัติ โดยอาศัยรูปอย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องมีเจตสิกได้หรือครับ?

ภิกษุ ท.! วิญญาณฐิติ สี่อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) พึงเห็น
ว่า เห มือ น กับ ดิน. ภิก ษุ ท .! นัน ทิร า ค ะ พึงเห็น ว่า เห มือ น กับ น้ำ .
ภิกษุ ท.! วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย (คือกรรม) พึงเห็นว่าเหมือนกับ
พืชสด ทั้งห้านั้น.

    ภิกษุ ท.! วิญ ญ าณ ซึ่งเข้าถือเอา รูป ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้, เป็น
วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้;

    ภิกษุ ท.! วิญ ญ าณ ซึ่งเข้าถือเอา เวท น า ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไป
ส้องเสพ ก็ถือความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้;

    ภิกษุ ท.! วิญ ญ าณ ซึ่งเข้าถือเอา สัญ ญ า ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้า
ไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้;

    ภิกษุ ท.! วิญ ญ าณ ซึ่งเข้าถือเอา สังข าร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไป
ส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.

    ภิกษุ ท.! ผู้ใด จะพึงกล่าวอย่างนี้ ว่า "เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา
การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ ของ
วิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร"
ดังนี้นั้น, นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.


- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗/๑๐๖-๑๐๗.


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ตามอภิธรรม
เจตสิกมีลักษณะพิเศษ ๔ ประการ คือ
๑. เกิดพร้อมกับจิต
๒. ดับพร้อมกับจิต
๓. มีอารมณ์เดียวกันกับจิต
๔. อาศัยวัตถุอันเดียวกันกับจิต

จากข้อความนี้
    ภิกษุ ท.! ผู้ใด จะพึงกล่าวอย่างนี้ ว่า "เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา
การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ ของ
วิญญาณ โดยเว้นจากรูป ..................ดังนี้นั้น, นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

หมายถึงจิต(วิญญาณขันธ์) จุติ โดยอาศัยรูปอย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องมีเจตสิกได้หรือครับ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่