เมนูแกงโฮ๊ะ ถ้าเป็นละครคู่กรรม น่าจะเป็นเวอร์ชั่น 3 เข้าไปแล้วที่สล่าปู่นำมาสร้าง
เคยเสนอไปบ้างแล้วครั้งก่อน ๆ แต่วันนี้ก็ยังอยากเสนออีกเพราะของเก่าอาจตามหาไม่เจอ
วันนี้เสนอแต่วิธีทำ ส่วนความหมายคำว่าโฮ๊ะ เคยบอกไปแล้ว ที่ว่ามันแปลว่ารวม เอาหลาย ๆ
อย่างมาแกงรวมกันกลายเป็นแกงใหม่ขึ้นมา
ทุกครั้งหลังเทศกาลงานบุญ กับข้าวมักจะเหลือจากที่ทำไปทำบุญ และมีคนเอามาทำบุญให้เรา
เก็บรวบรวมไว้
หลังเข้าพรรษา เช็คแกงฮังเลแล้ว มีอยู่สามกล่อง ตั้งใจจะทำแกงโฮ๊ะ ให้เข้ากับบรรยากาศ
เป็นแกงใหม่ทั้งหมด ถูกเก็บไว้ในช่องฟรีซ จัดการเอามาละลายน้ำแข็ง
ของคู่กัน ถ้าฮังเลเป็นอังศุมาลิน หน่อไม้ดองก็ต้องเป็นโกโบริ
แกงรวมกันจนหน่อไม้ดองหายขมหายขื่น เข้าน้ำเข้าเนื้ออย่างดี
ขั้นตอนนี้ ผมชอบเรียกว่า เตรียมหัวเชื้อแกงโฮ๊ะ ทำไว้ก่อนแล้วตั้งแต่เมื่อคืน
เช้ามาไปตลาดหาซื้อผักต่าง ๆ
ทุบตะไคร้ ใบมะกรูด ใส่ลงไปก่อน (จริง ๆ แล้ว ขั้นตอนนี้น่าจะใส่ตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว)
แกงต่อจนตะไคร้ออกกลิ่นแล้ว ใส่ถั่วฝักยาวลงไปก่อน (เปื่อยช้า)
ตามด้วยลูกโดด สร้างสีสันและเพิ่มรสชาติ สำหรับคนชอบเผ็ด
ถั่วเริ่มเปื่อย ใส่มะเขือลงไป วันนี้หามะเขือพวงไม่ได้ เลยขอผ่านมะเขือพวง
โปรดสังเกต แกงจะแห้ง ๆ จริง ๆแล้วถ้าเป็นแกงแห้ง ๆ แบบนี้ ทางเหนือจะเรียก "คั่วโฮ๊ะ"
ทุกอย่างค่อนข้างพร้อม เตรียมใส่ผักอย่างเดียว
ยอดโกสน ตำราโบราณ สมัยอยู่วัด เห็นหลวงพี่เขาเด็ดมาใส่ เราเอาบ้าง
ตามด้วยใบอ่อนและยอดตำลึง
ผักชีฝรั่ง วันนี้ทั้งตลาดหาซื้อยอดชะอมไม่มีเลย ขอบายชะอมเหมือนกัน
วุ้นเส้นสั่งตรงจากคลองขลุง ใส่เข้าไป ยังมีเหลืออีกเยอะ
แกงโฮ๊ะหม้อนี้ถือว่าอลังการงานสร้างทีเดียว เพราะว่าหัวเชื้อค่อนข้างเยอะ คนเมืองเรียก
"หนัว" มาก ๆ
ตักใส่จาน โชว์ความน่ากินเสียหน่อย
โฮ๊ะวันนี้ ถ้าเก็บไว้กินกันเองในบ้านน่าจะ 3 วันหมด คงเบื่อเสียก่อนอีกอย่างไม่ควรกินเยอะ
เพราะมีส่วนผสมของหน่อไม้ดอง จัดการใส่ถุง มัดปาก ตระเวนแจกตามบ้านเพื่อนฝูง ได้กิน
กันถ้วนหน้า ได้บุญซ้อนบุญวันเข้าพรรษาอีกต่างหาก
ครับก็แนะนำ กับข้าวคนเหนืออีก 1 อย่างให้ท่านได้รู้จัก ถ้ามาเหนือสามารถหากินได้ตามร้าน
ขายกับข้าวพื้นเมือง หรือตามตลาดเช้า กินกับข้าวนึ่งอุ่น ๆ อร่อยนักแล
ขอบคุณครับ.......สวัสดีครับ
แกงโฮ๊ะ อีกที คราวนี้มาแบบจัดหนัก
เคยเสนอไปบ้างแล้วครั้งก่อน ๆ แต่วันนี้ก็ยังอยากเสนออีกเพราะของเก่าอาจตามหาไม่เจอ
วันนี้เสนอแต่วิธีทำ ส่วนความหมายคำว่าโฮ๊ะ เคยบอกไปแล้ว ที่ว่ามันแปลว่ารวม เอาหลาย ๆ
อย่างมาแกงรวมกันกลายเป็นแกงใหม่ขึ้นมา
ทุกครั้งหลังเทศกาลงานบุญ กับข้าวมักจะเหลือจากที่ทำไปทำบุญ และมีคนเอามาทำบุญให้เรา
เก็บรวบรวมไว้
หลังเข้าพรรษา เช็คแกงฮังเลแล้ว มีอยู่สามกล่อง ตั้งใจจะทำแกงโฮ๊ะ ให้เข้ากับบรรยากาศ
เป็นแกงใหม่ทั้งหมด ถูกเก็บไว้ในช่องฟรีซ จัดการเอามาละลายน้ำแข็ง
ของคู่กัน ถ้าฮังเลเป็นอังศุมาลิน หน่อไม้ดองก็ต้องเป็นโกโบริ
แกงรวมกันจนหน่อไม้ดองหายขมหายขื่น เข้าน้ำเข้าเนื้ออย่างดี
ขั้นตอนนี้ ผมชอบเรียกว่า เตรียมหัวเชื้อแกงโฮ๊ะ ทำไว้ก่อนแล้วตั้งแต่เมื่อคืน
เช้ามาไปตลาดหาซื้อผักต่าง ๆ
ทุบตะไคร้ ใบมะกรูด ใส่ลงไปก่อน (จริง ๆ แล้ว ขั้นตอนนี้น่าจะใส่ตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว)
แกงต่อจนตะไคร้ออกกลิ่นแล้ว ใส่ถั่วฝักยาวลงไปก่อน (เปื่อยช้า)
ตามด้วยลูกโดด สร้างสีสันและเพิ่มรสชาติ สำหรับคนชอบเผ็ด
ถั่วเริ่มเปื่อย ใส่มะเขือลงไป วันนี้หามะเขือพวงไม่ได้ เลยขอผ่านมะเขือพวง
โปรดสังเกต แกงจะแห้ง ๆ จริง ๆแล้วถ้าเป็นแกงแห้ง ๆ แบบนี้ ทางเหนือจะเรียก "คั่วโฮ๊ะ"
ทุกอย่างค่อนข้างพร้อม เตรียมใส่ผักอย่างเดียว
ยอดโกสน ตำราโบราณ สมัยอยู่วัด เห็นหลวงพี่เขาเด็ดมาใส่ เราเอาบ้าง
ตามด้วยใบอ่อนและยอดตำลึง
ผักชีฝรั่ง วันนี้ทั้งตลาดหาซื้อยอดชะอมไม่มีเลย ขอบายชะอมเหมือนกัน
วุ้นเส้นสั่งตรงจากคลองขลุง ใส่เข้าไป ยังมีเหลืออีกเยอะ
แกงโฮ๊ะหม้อนี้ถือว่าอลังการงานสร้างทีเดียว เพราะว่าหัวเชื้อค่อนข้างเยอะ คนเมืองเรียก
"หนัว" มาก ๆ
ตักใส่จาน โชว์ความน่ากินเสียหน่อย
โฮ๊ะวันนี้ ถ้าเก็บไว้กินกันเองในบ้านน่าจะ 3 วันหมด คงเบื่อเสียก่อนอีกอย่างไม่ควรกินเยอะ
เพราะมีส่วนผสมของหน่อไม้ดอง จัดการใส่ถุง มัดปาก ตระเวนแจกตามบ้านเพื่อนฝูง ได้กิน
กันถ้วนหน้า ได้บุญซ้อนบุญวันเข้าพรรษาอีกต่างหาก
ครับก็แนะนำ กับข้าวคนเหนืออีก 1 อย่างให้ท่านได้รู้จัก ถ้ามาเหนือสามารถหากินได้ตามร้าน
ขายกับข้าวพื้นเมือง หรือตามตลาดเช้า กินกับข้าวนึ่งอุ่น ๆ อร่อยนักแล
ขอบคุณครับ.......สวัสดีครับ