พระพุทธเจ้า ไม่ทรงบัญญัติว่า สัตว์ตายแล้วไปเกิด

ความนำ

ด้วยความบังเอิญอย่างยิ่ง ที่ผมมีเวลา(ว่าง)มากพอ สำหรับการอ่านกระทู้ต่างๆ ของโต๊ะศาสนา(ในช่วงวันพระ)
จึงทำให้ได้พบ "กระทู้" ที่เกี่ยวกับประเด็นซึ่งผมได้เข้าร่วมอภิปรายมาสักพักใหญ่ โดยบังเอิญ(จริงๆ)

ทั้งนี้ ต้องบอกให้ทราบตามความจริงว่า หากไม่มีผู้ใดส่งลิงค์ของกระทู้ต่างๆ เหล่านั้น มาให้
ผมก็ไม่ค่อยได้เข้าไปอ่านมากนัก เพราะไม่มีเวลาว่างมากพอ ที่มานั่งไล่อ่าน(เพื่อเขียนตอบ) ทีละกระทู้ๆ

อีกทั้ง ในช่วงก่อนหน้านี้ ก็เป็นนายคันโตนาซี นั่นเอง ที่มักส่งลิงค์กระทู้ต่างๆ มาให้
พร้อมคำเยาะเย้ยถากถางต่างๆ นาๆ ในทำนองว่า เงิบ ไม่มีปัญญาตอบข้อโต้แย้ง(ของเขา)
ทั้งๆ ที่มันไม่มีความจำเป็นต้องกล่าวถากถางอย่างนั้น เนื่องจากวัตรปฏิบัติของผมก็คือ
จะตั้งกระทู้ และตอบกระทู้ของสัปดาห์ก่อน ในทุกๆ วันจันทร์ (หรืออาจล่าช้าไปกว่านั้นสักวันสองวัน)
มัน "ร้อนรน" จะเป็นจะตาย จนถึงขั้น รอคำตอบภายในเวลาเพียงแค่ ๗ วัน ไม่ได้ เชียวละหรือ ?

แต่พักหลังมานี่ กลับกลายเป็นว่า เดี๋ยวนี้ คันโตนาซี (แอบ)ไปตั้งกระทู้ในลักษณะโต้แย้ง(ผม)
โดยไม่แจ้งลิงค์(พร้อมคำเยาะเย้ย) เหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติมา คลับคล้ายกับว่า คันโตนาซี จะไม่ต้องการ
ให้ผมเข้าไป "เงิบ" ในกระทู้ของเขา อีกต่อไปแล้ว ท่าทีของคันโตนาซี เปลี่ยนไปมากเลยนะครับ (คริคริ) !



********************************************************************************

ก็เอาเป็นว่า ผมได้พบกระทู้ "เลอะเทอะ" ของคันโตนาซี แล้วนะครับ จึงขอโอกาสในการอธิบายขยายความ
เกี่ยวกับเรื่อง "พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติว่า สัตว์ตายแล้วไปเกิด" ว่ามีความหมายที่แท้จริงว่าอย่างไร ?
ทั้งนี้ เพื่อความถูกต้องและสะอาดหมดจด ของพระธรรมวินัย ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ตามลำดับ ดังต่อไปนี้



เริ่มต้นขึ้นมา คันโตนาซี ก็ใส่ความผู้อื่นด้วยคำว่า "อุจเฉททิฐิ" อย่างไม่ตรงกับความหมายเสียแล้ว
ตรงจุดนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า คำอธิบายของท่านปยุตโต มันไม่ซึมซาบเข้าไปใน "กะโหลก" ของคนพวกนี้เลย

ดังนั้น จึงขออนุญาต อธิบายซ้ำ(ซาก)อีกครั้งหนึ่งว่า ผู้ที่จะได้ชื่อว่าเป็นพวกมิจฉาทิฐิ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในพวกสุดโต่งทั้ง ๒ ฝ่าย คือ สัสสตทิฐิ และ อุจเฉททิฐิ นั้นต้องมี "จุดร่วม" ทางความคิดเห็น ที่ตรงกันอยู่อย่างหนึ่ง
กล่าวคือ พวกมิจฉาทิฐิเหล่านั้น เขาเชื่อ และเข้าใจว่า มี สัตว์ บุคคล ฯลฯ ในฐานะที่เป็นตัวจริงตัวแท้อยู่ก่อนแล้ว

(๑) หากถือว่า สัตว์ บุคคล ฯลฯ เที่ยงแท้ ยั่งยืนตลอดไป ก็เป็น สัสสตทิฐิ
(๒) ถือว่า สัตว์ บุคคล ฯลฯ มีอยู่และเที่ยงในบางช่วงเวลา เมื่อตายกายแตก ก็ขาดสูญไป ก็เป็น อุจเฉททิฐิ



ประเด็น ก็คือ คันโตนาซี สรุปความว่า ผู้อื่นเป็นพวกอุจเฉททิฐิ ด้วยข้อเท็จจริงทางปรัชญาแบบใด ?
และ คันโตนาซี กล่าวหา ผู้อื่นว่า เป็นพวกอุจเฉททิฐิ ด้วยหลักฐานชิ้นใด ?

ผมขอรับทราบ ข้อเท็จจริงทางปรัชญา และหลักฐานที่ใช้ในการกล่าวหาผู้อื่น ด้วยครับ คันโตนาซี มีหรือไม่ ?
อย่าบอกนะครับว่า คันโตนาซี จะกล่าวหาผู้อื่นลอยๆ โดยไร้หลักฐานข้อเท็จจริงรองรับ !

ขออนุญาตเปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นแนวทางในการแสดงหลักฐาน นะครับ
ตัวอย่างเช่น ผมกล่าวหา นายชาวมหาวิหารว่า เป็นพวกสัสสตทิฐิ ก็โดยอาศัยหลักฐานคือ
นายชาวมหาวิหาร กล่าวยืนยันเป็นมั่นเหมาะ "ซ้ำแล้วซ้ำเล่า" ว่ามีผู้กระทำกรรม และผู้รับผลแห่งการกระทำนั้น



ในขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อใดก็ตามที่มีความเข้าใจว่า มีผู้กระทำ(กรรม)
และมีผู้เสพผลแห่งการกระทำนั้น โดยเป็นคนๆ เดียวกัน จัดว่าเป็น สัสสตทิฐิ



พร้อมๆ กับที่อรรถกถาจารย์ ก็ได้กล่าวย้ำ ความข้อนี้ อย่างชัดเจนว่า ผู้ทำกรรมก็ไม่มี ผู้เสวยผลก็ไม่มี
มีแต่ธรรมทั้งหลายล้วนๆ เป็นไป และด้วยความเข้าใจอย่างนี้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็น สัมมาทิฐิ !



หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คันโตนาซี จะได้เห็น "ตัวอย่าง" ของการกล่าวหา อย่างถึงพร้อมด้วยเหตุผลและหลักฐาน แล้วนะครับ
ดังนั้น เมื่อกล่าวหาผู้อื่นว่าเป็นพวก อุจเฉททิฐิ ก็จงแสดงเหตุผลและหลักฐาน อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งด้วย
อย่าได้ทำตนเป็น "คนถ่อย" เที่ยวกล่าวหาใส่ร้ายผู้อื่น "ลอยๆ" อย่างปราศจากหลักฐานที่ถูกต้องชัดเจน นะครับ

อีกประเด็นที่ควรพูดอธิบายสักหน่อย คือเรื่อง การเวียนว่ายตายเกิด เพราะสิ่งที่ผมสงสัยเป็นอย่างมาก ก็คือ
ถ้าหากชาวพุทธทั้งหลายจะไม่เชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด แล้วพระพุทธศาสนา มันจะล่มสลายลงไป อย่างนั้นหรือครับ ?

ทั้งนี้ สิ่งที่ท่านทั้งหลายพึงทราบ ก็คือ เรื่องเวียนว่ายตายเกิดนี้ พวกสัสสตทิฐิ เขาก็เชื่อ เหมือนที่แกและพวกเชื่อกันนั่นแหละ
และที่(ไม่)น่าแปลกไปกว่านั้นก็คือ แม้แต่ อุจเฉททิฐิ ก็ยังมีความเชื่อในเรื่อง การเวียนว่ายตายเกิด นั้นด้วยเช่นกัน !



นั่นจึงหมายความว่า ความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคมโลกมานาน ก่อนสมัยพุทธกาล
อีกทั้งพวกที่มีความคิดแบบสุดโต่งทั้ง ๒ ฝ่ายคือ สัสสตทิฐิ และ อุจเฉททิฐิ เขาก็เชื่อเรื่องแบบนี้ด้วยกันทั้งคู่
ดังนั้น ความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด จึงมิได้มีความสำคัญในฐานะเป็นตัวบ่งชี้ความเป็น สัมมาทิฐิ
ในพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด ทั้งสิ้น !

ในทางกลับกัน ท่านปยุตโต ได้อธิบายว่า ชาวพุทธผู้มีปัญญา สามารถประพฤติธรรม
ได้โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อเรื่องนรกสวรรค์  ไม่ต้องเชื่อถือ ยึดมั่นในความหวังผลที่จะมีในโลกหน้า
ปัญหา ก็คือ เหตุใด คันโตนาซี จึงมีความเมาหมก "อาลัยอาวรณ์" ในเรื่องเวียนว่ายตายเกิด
จนออกนอกหน้าถึงเพียงนี้ ทั้งๆ ที่มันไม่ใช่เรื่องที่มีความสำคัญอะไรเลย สำหรับการปฏิธรรมเพื่อความดับทุกข์



หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านทั้งหลาย จะสามารถทำความเข้าใจ ได้ไม่ยาก นะครับ

จบ ความนำ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่