เมื่อพระพุทธเจ้าบอกว่า ตายแล้วเกิด ต่างจาก สัสสตทิฐิ อย่างไร ?

ได้เห็นอาการ "คลั่ง" ของพวกชาวพุทธชายขอบ (ซึ่งโดยเนื้อแท้ ก็เป็น สัสสตทิฐิ นั่นและ) แล้วน่าสมเพช เต็มที
กล่าวคือ คนพวกนี้ มีความเมาหมกอยู่กับ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา อยู่ว่าเป็นของจริงของแท้
เมื่อเห็นข้อความที่ พระพุทธเจ้า หรือ พระอรหันต์ กล่าวถึง ก็ไปยึดถือด้วย ตัณหา อุปาทานว่าเป็นตน ของตน อยู่ร่ำไป

คราวนี้ มันก็พยายามจะเถียงว่า การเวียนว่ายตายเกิด ไม่เป็น สัสสตทิฐิ ซึ่งที่จริงเรื่องนี้ อธิบายได้ไม่ยาก
แต่มันอาจฟังยาก สักหน่อยสำหรับผู้ที่เป็นพวกสัสสตทิฐิแบบเหนียวแน่น ซึ่งย่อมตามเห็นอยู่ตลอดเวลา
ด้วยตัณหาอุปาทาน ว่าต้องมีอะไรสักอย่างในฐานะ ผู้เกิด ผู้ตาย ผู้เวียนว่าย ผู้เสพ ผู้เสวย ฯลฯ



หลักฐานที่คันโตนาซี นำมาอ้าง ก็คือ การที่พระพุทธเจ้าตรัสถึง การเกิด การตาย ของ อริยบุคคล
ถือว่าเป็น สัสสตทิฐิ หรือไม่ ถ้าหาก จะกล่าวว่า การเวียนว่ายตายเกิด เป็นสัสสตทิฐิ ?

ขออนุญาตตอบสั้นๆ เสียก่อนตรงนี้ว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น ไม่เป็นสัสสตทิฐิ ครับ

ประเด็นที่ ๒ ที่คันโตนาซี พยายามตั้งเป็นคำถามขึ้นมาเพื่อ "แก้เก้อ" ก็คือ
คำๆ เดียวกัน ชาวบ้านพูด กับ พระอรหันต์พูด มันมีความแตกต่างกันอย่างไร ?

ขออนุญาต ตอบสั้นๆ ว่า ต่างกันตรง ตัณหา อุปาทาน ในขณะที่กล่าวถึงนั้นแหละ

ผมตอบคำถามแบบสั้นๆ อย่างนี้ จะสามารถเข้าใจได้หรือไม่ครับ ?

************************************************************************************

ที่จริง ต่อคำถามที่ว่า การที่พระพุทธเจ้า ตรัสถึงการเกิดการตาย หรือ ตรัสถึงเรื่อง เวียนว่ายตายเกิดนั้น เป็นสัสสตทิฐิ หรือไม่
จะไม่จำเป็นต้องถามเลย หากทราบตามความเป็นจริงว่า ท่านเหล่านั้นเพียงแต่กล่าวไปตาม ภาษาชาวโลก เพื่อสื่อสารกับชาวโลก
ตัวอย่างเช่น คำว่า "อัตตา" นี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายกับ นายจิตตะว่า พระองค์ก็กล่าวอยู่ ด้วยความที่เป็นภาษาของโลก
เป็นบัญญัติของโลก เป็นโวหารโลก แต่ก็ตรัสโดยที่มิได้ทรง "ยึดถือ" ว่าเป็นจริงเป็นจัง ด้วยอำนาจแห่งตัณหาอุปาทาน



ทีนี้ หากถามว่า การที่พระพุทธเจ้าตรัสถึง สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ว่าเกิดตาย อะไรทำนองนี้
จะแตกต่างไปจากที่พวกสัสสตทิฐิ อย่างสาวกเม็ดมะขาม พูด หรือ เข้าใจ อย่างไร ?

เรื่องนี้ ก็ได้มีคำอธิบายความไว้เช่นกัน ทั้งในชั้นพระไตรปิฎก และอรรถกถา ดังนี้ว่า
สมัยหนึ่ง เทวดาเกิดความสงสัยว่า ภิกษุที่เขาเข้าใจว่าเป็นพระอรหันต์ เหตุใดจึงพูดจา ด้วยคำว่า เราๆ ท่านๆ
อันส่อให้เห็นถึง สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา อย่างปุถุชนชาวโลก ซึ่งเป็นพวกมิจฉาทิฐิอยู่อีก

ซึ่งมีคำอธิบายว่า แม้พระอรหันต์ทั้งหลาย จะเป็นผู้หมดสิ้นแล้วซึ่งตัณหาอุปาทาน ก็จริง
แต่ท่านเหล่านั้น "เป็นผู้ฉลาด" ทราบคำพูดในโลก จึงย่อมกล่าวตามถ้อยคำของชาวโลก
เพราะถ้าหากกล่าวโดยสภาวะ ชาวบ้านที่ไหนจะสามารถฟังเข้าใจได้

และแม้ ภาษาของชาวโลก จะเป็น สัสสตทิฐิ ก็จริง แต่ท่านก็กล่าวโดยมิได้ยึดติดถือมั่นว่าเป็นตน หรือ ของๆ ตน
ซึ่งนี่ ก็คือ ความแตกต่างระหว่าง พระอรหันต์ และ ชาวบ้าน
ที่แม้จะพูดด้วยคำๆ เดียวกัน ก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะมีความหมายอย่างเดียวกันเสมอไป



คำถาม ก็คือ ในขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุชื่อนี้ๆ มรณภาพแล้ว ในที่นี้ๆ
พระพุทธเจ้าตรัสโดยมิได้ยึดติดถือมั่นใน สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ว่าเป็นของจริงของแท้ นี่ครับ

แต่เมื่อ ชาวพุทธชายขอบอย่าง คันโตนาซี อ่านข้อความดังกล่าว แก สามารถกล่าวได้หรือไม่ว่า
โดยความเข้าใจของแกแล้ว แกมิได้มีความสำคัญมั่นหมายใน ภิกษุรูปนั้น
โดยความเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ด้วยอำนาจแห่ง ตัณหา อุปาทาน เลย

เพราะถ้าหาก แก อ้างว่า มิได้มีความสำคัญมั่นหมายใน ภิกษุรูปนั้น
โดยความเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ด้วยอำนาจแห่ง ตัณหา อุปาทาน จริง
มันก็เท่ากับ แก กำลังกล่าวว่า แกคือ พระอรหันต์  !

ช่างน่าสมเพช ที่เป็นเพียงแค่ ปุถุชนผู้บริโภคกาม
แต่กลับพยายามจะปฏิเสธว่า ตนมิได้เป็นพวก สัสสตทิฐิ

คริคริ

************************************************************************************

เมื่อพิจารณาคำอธิบายในชั้นอรรถกถา ย่อมเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ถ้อยคำในภาษาของชาวโลก
ที่อ้างอิงอยู่กับ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ล้วนแล้วแต่เป็น ภาษาสัสสตทิฐิ ทั้งสิ้น

เมื่อกล่าวถึงเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของ สัตว์ บุคคล ฯลฯ
มันก็เป็นการเวียนว่ายตายเกิดที่เป็น สัสสตทิฐิ จะมาบอกว่า มันมิใช่ สัสสทิฐิ ไปได้อย่างไร ?

ในภาษาโลก โวหารโลก ที่กล่าวด้วยคำว่า เราๆ ท่านๆ ฉันๆ เธอๆ ก็ล้วนแต่เป็น ภาษาสัสสตทิฐิ ทั้งนั้น
หรือมีใครเข้าใจว่า นี่เป็นภาษา สัมมาทิฐิ ?

ประเด็นปัญหา มันก็อยู่ตรงที่ พวกเม็ดมะขาม เห็นว่า พระอรหันต์ทั้งหลายก็พูดด้วยถ้อยคำแบบนี้
มันก็เลยจับแพะชนแกะว่า การเวียนว่ายตายเกิด ในภาษาชาวโลก เหล่านั้น เป็นสัมมาทิฐิ เพราะเป็นคำพูดของพระอรหันต์
ตรงนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเลยนะครับว่า ระหว่างเทวดาที่สงสัยในเรื่องนี้ กับ พวกเม็ดมะขาม มีความแตกต่างอย่างชัดเจน

เพราะในขณะที่ เทวดา มีความเข้าใจในหลักการอย่างถูกต้องว่า ถ้อยคำจำพวก เราๆ ท่านๆ เป็นภาษาแบบสัสสตทิฐิ
จึงเกิดความสงสัยว่า ภิกษุเหล่านั้น เป็นอรหันต์จริงหรือไม่ ? เพราะถ้าเป็นอรหันต์จริง แต่ทำไมจึงยังพูดด้วยภาษาสัสสตทิฐิ อยู่อีก

แต่พวกเม็ดมะขาม อยู่ในฝั่งตรงข้าม คือไม่เข้าใจเลยว่า ภาษาโลก เป็นภาษาสัสสตทิฐิ จึงมิได้มีความสงสัยอย่างเทวดาตนนั้น
แต่กลับคิดอย่างเลยเถิดว่า นี่เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า การเวียนว่ายตายเกิดของ สัตว์ บุคคล ฯลฯ เป็น สัมมาทิฐิ ไปเสียได้

สรุปง่ายๆ ก็คือ เทวดาตนนั้น ฉลาด ช่างสังเกต จึงรู้จักตั้งคำถามอย่าง ฉลาดๆ
แต่พวกเม็ดมะขาม มันโง่เง่า จึงมีแต่จะคิดเลยเถิด ไปในทาง สนับสนุน ความเป็นมิจฉาทิฐิ ของมัน อยู่ตลอดเวลา นั่นเอง

หรือมิใช่ ?

จบ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่