ข่าวล่าสุดวันนี้เลยครับ ก่อนหน้านี้ก็มีมาเรื่อยๆข่าวเกี่ยวกับโรคกุ้ง EMS ทำให้หุ้นเกี่ยวกับส่งออกกุ้งลงไปรับข่าวอื่นๆที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ไปแล้ว .....แต่อาจจะมีผลหนักมากขึ้นเรื่อยๆหลังจากข่าวนี้ครับ
http://www.chairmantoday.com/index.php?option=com_multicontent_client
http://www.chairmantoday.com/index.php?option=com_multicontent_client&c=multicontents_client&task=showcontent&id=76852
ทูตพาณิชย์ในสหรัฐฯ เผย ส.ว.หลุยส์เซียนา ดันร่างกฎหมายห้ามนำเข้ากุ้งจากประเทศที่มีโรค EMS ระบาด หวังปกป้องอุตสาหกรรมกุ้งในประเทศ
จี้ไทยรับมือมะกันจ่อเข็น กม.ห้ามนำเข้ากุ้งตายด่วน
ทูตพาณิชย์ในสหรัฐฯ เผย ส.ว.หลุยส์เซียนา ดันร่างกฎหมายห้ามนำเข้ากุ้งจากประเทศที่มีโรค EMS ระบาด หวังปกป้องอุตสาหกรรมกุ้งในประเทศ คาดถ้าไฟเขียว ผู้ผลิต-ส่งออกกุ้งไทย อ่วมหนักแน่ เหตุสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหลัก...
นางพิไล ศิริพานิช ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา สมาชิกวุฒิสภา รัฐหลุยส์เซียนา พยายามผลักดันร่างกฎหมายห้ามนำเข้ากุ้งจากประเทศที่มีการปนเปื้อนของโรคตายด่วน หรือ EMS (Early Mortality Syndrome) ซึ่งระบาดในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งไทย แต่ที่ประชุมสมาชิกวุฒิสภา มีมติให้นำร่างกฎหมายดังกล่าวกลับไปศึกษาเพิ่มเติม และทำประชาพิจารณ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อน จากนั้นจึงเสนอให้ที่ประชุมสมาชิกวุฒิสภาพิจารณาต่อไป
สำหรับความพยายามยกร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นเพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐหลุยส์เซียนา วิตกกังวลต่อกุ้งนำเข้าเป็นอย่างมาก เพราะส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศที่เกิดการระบาดของโรค EMS นอกจากนี้ ยังต้องการปกป้องไม่ให้อุตสาหกรรมกุ้งในรัฐหลุยส์เซียนาได้รับผลกระทบจากการนำเข้ากุ้งที่เพิ่มขึ้นในทุกปี หากกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบ และมีผลบังคับใช้ อุตสาหกรรมกุ้งและผู้ผลิตกุ้งในรัฐหลุยส์เซียนา จะได้รับประโยชน์ในทันที และจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยทันทีเช่นกัน เพราะในหลายพื้นที่เลี้ยงกุ้งของไทยยังไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคนี้ได้ และไทยยังเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่อันดับ 1 ในตลาดสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารในรัฐหลุยส์เซียนา มีความเห็นแย้งว่า กฎหมายฉบับนี้รุนแรงเกินไป เพราะในปี 2555 สหรัฐฯ มียอดนำเข้ากุ้งประเภทต่างๆ รวมเป็นมูลค่าถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่นำเข้าจากผู้ผลิตรายใหญ่ ทั้งไทย จีน มาเลเซีย เวียดนาม อินเดีย เอกวาดอร์ ซึ่งการห้ามนำเข้าจากประเทศที่มีการระบาดของโรค EMS ทั้งไทย จีน มาเลเซีย และเวียดนาม อาจทำให้มีปริมาณกุ้งไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค และจะทำให้ราคากุ้ง รวมถึงอาหารอื่นๆ ที่มีกุ้งเป็นส่วนประกอบเพิ่มสูงขึ้นมาก
ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ สหรัฐฯ นำเข้ากุ้งจากไทยลดลงมาก ทั้งกุ้งแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้เสียอันดับการส่งออกกุ้งแช่แข็งให้กับอินเดีย คู่แข่งสำคัญ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ควรเร่งหาทางแก้ปัญหาโรคระบาดนี้โดยเร็ว เพื่อให้ไทยกลับมาส่งออกได้เหมือนเดิม ไม่เช่นนั้นอาจเสียตลาดให้กับคู่แข่งไปอย่างน่าเสียดาย
http://www.thairath.co.th/content/eco/358514
การลงทุนควรติดตามแวดวงข่าวสารที่เกี่ยวกับหุ้นที่จะลงทุนบ้างนะครับ อย่าประมาท แล้วจะเอาชนะตลาดทุนได้ครับ ขอพลังจงอยู่กับท่านครับ
ข่าวล่าสุดวันนี้ เกี่ยวกับโรคกุ้ง หลุยส์เซียนา ดันร่างกฎหมายห้ามนำเข้ากุ้งจากประเทศที่มีโรคEMS ส่งออกกุ้งมีหนาวต่อเนื่อง
http://www.chairmantoday.com/index.php?option=com_multicontent_client
http://www.chairmantoday.com/index.php?option=com_multicontent_client&c=multicontents_client&task=showcontent&id=76852
ทูตพาณิชย์ในสหรัฐฯ เผย ส.ว.หลุยส์เซียนา ดันร่างกฎหมายห้ามนำเข้ากุ้งจากประเทศที่มีโรค EMS ระบาด หวังปกป้องอุตสาหกรรมกุ้งในประเทศ
จี้ไทยรับมือมะกันจ่อเข็น กม.ห้ามนำเข้ากุ้งตายด่วน
ทูตพาณิชย์ในสหรัฐฯ เผย ส.ว.หลุยส์เซียนา ดันร่างกฎหมายห้ามนำเข้ากุ้งจากประเทศที่มีโรค EMS ระบาด หวังปกป้องอุตสาหกรรมกุ้งในประเทศ คาดถ้าไฟเขียว ผู้ผลิต-ส่งออกกุ้งไทย อ่วมหนักแน่ เหตุสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหลัก...
นางพิไล ศิริพานิช ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา สมาชิกวุฒิสภา รัฐหลุยส์เซียนา พยายามผลักดันร่างกฎหมายห้ามนำเข้ากุ้งจากประเทศที่มีการปนเปื้อนของโรคตายด่วน หรือ EMS (Early Mortality Syndrome) ซึ่งระบาดในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งไทย แต่ที่ประชุมสมาชิกวุฒิสภา มีมติให้นำร่างกฎหมายดังกล่าวกลับไปศึกษาเพิ่มเติม และทำประชาพิจารณ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อน จากนั้นจึงเสนอให้ที่ประชุมสมาชิกวุฒิสภาพิจารณาต่อไป
สำหรับความพยายามยกร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นเพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐหลุยส์เซียนา วิตกกังวลต่อกุ้งนำเข้าเป็นอย่างมาก เพราะส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศที่เกิดการระบาดของโรค EMS นอกจากนี้ ยังต้องการปกป้องไม่ให้อุตสาหกรรมกุ้งในรัฐหลุยส์เซียนาได้รับผลกระทบจากการนำเข้ากุ้งที่เพิ่มขึ้นในทุกปี หากกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบ และมีผลบังคับใช้ อุตสาหกรรมกุ้งและผู้ผลิตกุ้งในรัฐหลุยส์เซียนา จะได้รับประโยชน์ในทันที และจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยทันทีเช่นกัน เพราะในหลายพื้นที่เลี้ยงกุ้งของไทยยังไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคนี้ได้ และไทยยังเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่อันดับ 1 ในตลาดสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารในรัฐหลุยส์เซียนา มีความเห็นแย้งว่า กฎหมายฉบับนี้รุนแรงเกินไป เพราะในปี 2555 สหรัฐฯ มียอดนำเข้ากุ้งประเภทต่างๆ รวมเป็นมูลค่าถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่นำเข้าจากผู้ผลิตรายใหญ่ ทั้งไทย จีน มาเลเซีย เวียดนาม อินเดีย เอกวาดอร์ ซึ่งการห้ามนำเข้าจากประเทศที่มีการระบาดของโรค EMS ทั้งไทย จีน มาเลเซีย และเวียดนาม อาจทำให้มีปริมาณกุ้งไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค และจะทำให้ราคากุ้ง รวมถึงอาหารอื่นๆ ที่มีกุ้งเป็นส่วนประกอบเพิ่มสูงขึ้นมาก
ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ สหรัฐฯ นำเข้ากุ้งจากไทยลดลงมาก ทั้งกุ้งแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้เสียอันดับการส่งออกกุ้งแช่แข็งให้กับอินเดีย คู่แข่งสำคัญ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ควรเร่งหาทางแก้ปัญหาโรคระบาดนี้โดยเร็ว เพื่อให้ไทยกลับมาส่งออกได้เหมือนเดิม ไม่เช่นนั้นอาจเสียตลาดให้กับคู่แข่งไปอย่างน่าเสียดาย
http://www.thairath.co.th/content/eco/358514
การลงทุนควรติดตามแวดวงข่าวสารที่เกี่ยวกับหุ้นที่จะลงทุนบ้างนะครับ อย่าประมาท แล้วจะเอาชนะตลาดทุนได้ครับ ขอพลังจงอยู่กับท่านครับ