ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ

ผมมีเรื่องขอความเห็นท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถึงจริยธรรมข้าราชการตุลาการ เนื่องจากไปดูประมาลจริยธรรมของข้าราชการตุลาการแล้ว ไม่ค่อยเข้าใจ ว่าหากผู้พิพากษา "วิกลจริต" แล้ว ยังสามารถ "ดำรงตำแหน่ง" ข้าราชการตุลาการ "หรือไม่" และ "อย่างไร" ขอความกรุณาผู้รู้ช่วยไขข้อข้องใจด้วย
อีกประการที่หนึ่ง
ใน "ขณะใดๆ" ช้าราชการตุลาการหากมีความประพฤติ "ไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ"  จะทำอย่างไร หรือว่า "ต้องเห็นใจ" อย่างเดียว เพราะตาม จริยธรรมข้าราชการตุลาการบัญญัติไว้ว่า
หมวด ๑ อุดมการณ์ของผู้พิพากษา
ข้อ ๑ หน้าที่สำคัญของผู้พิพากษา คือ การประสาทความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดี ซึ่งจักต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย และนิติประเพณี ทั้งจักต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าตนปฏิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน เพื่อการนี้ผู้พิพากษาจักต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระของตนเองและเทิดทูนไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งสถาบันตุลาการ
ฯลฯ
หมวด ๔ จริยธรรมเกี่ยวกับกิจการอื่น
ฯลฯ
ข้อ ๓๓ ผู้พิพากษาจักต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขแห่งรัฐ
ข้อ ๓๔ ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง และจักต้องไม่เข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ สนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใดๆ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาหรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใด ทั้งไม่พึงกระทำการใดๆ อันเป็นการฝักฝ่ายพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมืองใดนอกจากการใช้สิทธิเลือกตั้ง
หมวด ๕ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว
ฯลฯ
ข้อ ๓๕ ผู้พิพากษาจักต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด อยู่ในกรอบของศีลธรรม และพึงมีความสันโดษครองตนอย่างเรียบง่าย สุภาพ สำรวมกิริยามารยาท มีอัธยาศัยยึดถือจริยธรรมและประเพณีอันดีงามของตุลาการ ทั้งพึงวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไป
ข้อ ๓๖ ผู้พิพากษาพึงปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นเป็นลำดับและพึงขวนขวายศึกษาเพื่มเติมทั้งในวิชาชีพตุลาการและความรู่รอบตัว
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
วงการยุติธรรมบ้านเราท่าจะมีปัญหาเอาคนบ้ามาตัดสินคดี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่