ใครที่ชอบฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ไม่ว่าที่ไหน เพราะดอกเบี้ยสูง ระวังไว้หน่อยก็ดี เพราะการตรวจสอบเป็นไปได้ยาก
คำสั่ง "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" ไล่ออกแล้ว 7 ตำรวจทุจริตสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพัทลุง เสียหายกว่า 1 พันล้านบาท
วันที่ 8 ตุลาคม 2567 มีรายงานว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรง ปฏิบัติราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 478/2567 เรื่องลงโทษไล่ออกจากราชการใจความว่า ด้วยข้าราชการดังต่อไปนี้
1. พ.ต.อ.ชำนาญ คงชู (เกษียณอายุราชการเมื่อ 1 ต.ค. 2564) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานตรวจสอบสำนวนคดี กองบังคับการกฎหมายและคดี ภ.9
2. พ.ต.ท.กฤติภัทร สังกัดกองบัญชาการตำรวจสันติบาล
3. ร.ต.อ.ธนเวทย์ สังกัด บช.ภ.9
4. ว่าที่ ร.ต.อ.หญิง อรุชา สังกัด สภ.โคกชะงาย จ.พัทลุง
5. ร.ต.ท.พันธ์ชัย สังกัด สภ.เมืองพัทลุง
6. ร.ต.ต.ชุณฐกฤตม์ สังกัด สภ.เมืองพัทลุง
7. ดาบตำรวจสุทัศน์ สังกัด บช.ภ.9
สำหรับกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรง ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 47/2566 ลงวันที่ 20 ม.ค. 2566 และคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 132/2566 ลงวันที่ 17 ก.พ. 2566 ผลการสอบสวนรับฟังได้ว่า ข้าราชการตำรวจทั้ง 7 นาย กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ ตามมาตรา 79 (1) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยมีพฤติการณ์กระทำผิด สรุปโดยย่อ ดังนี้
ตำรวจทั้ง 7 นาย ซึ่งทำหน้าที่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพัทลุง จำกัด ในห้วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึงวันที่ 28 ก.พ. 2564 ได้ร่วมกับ นางสาวสุภา ผู้จัดการสหกรณ์ ลงนามสั่งจ่ายเช็คจากบัญชีกระแสรายวันของธนาคารกรุงไทย สาขาพัทลุง โดยไม่ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพัทลุง จำกัด ว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน พ.ศ. 2544 หมวด 3 ที่กำหนดว่า ก่อนจ่ายเงินทุกครั้งคณะกรรมการผู้มีหน้าที่จ่ายต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ใบสำคัญประกอบการจ่ายเงินให้ถูกต้องเรียบร้อยและต้องมีผู้อนุมัติให้จ่ายเงิน จึงจ่ายเงินของสหกรณ์ได้ทุกครั้ง และการจ่ายเงินของสหกรณ์เป็นจำนวนมากให้สั่งเช็คจ่ายในนามบุคคลหรือหน่วยงานของผู้รับเงิน โดยขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่สหกรณ์ และ/หรือ บุคคลภายนอกนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารจนเป็นเหตุให้สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพัทลุง จำกัด ได้รับความเสียหาย
ขณะที่ พ.ต.อ.ชำนาญ คงชู ซึ่งเป็นคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพัทลุง จำกัด ในตำแหน่งประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ เมื่อระหว่างปี พ.ศ.2548-2550 และปี พ.ศ.2560-2562 มีอำนาจหน้าที่รับจ่าย และเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ และมีหน้าที่ลงนามร่วมกับผู้จัดการสหกรณ์และเหรัญญิกในการสั่งจ่ายเช็คเพื่อกิจการภายในชอบวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ และเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์ ได้ร่วมกับ นางสาวสุภา สั่งจ่ายเช็คจำนวน 103 ฉบับ รวมเป็นจำนวนเงิน 81,825,527.61 บาท ไม่เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่สหกรณ์ และหรือบุคคลภายนอก นำไปเรียกเก็บเงินจนเป็นเหตุให้สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพัทลุง จำกัด ได้รับความเสียหาย.
Cr.
https://www.thairath.co.th/news/crime/2818902
ไล่ออก 7 ตำรวจทุจริตสหกรณ์ออมทรัพย์ เสียหายกว่า 1 พันล้านบาท
คำสั่ง "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" ไล่ออกแล้ว 7 ตำรวจทุจริตสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพัทลุง เสียหายกว่า 1 พันล้านบาท
วันที่ 8 ตุลาคม 2567 มีรายงานว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรง ปฏิบัติราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 478/2567 เรื่องลงโทษไล่ออกจากราชการใจความว่า ด้วยข้าราชการดังต่อไปนี้
1. พ.ต.อ.ชำนาญ คงชู (เกษียณอายุราชการเมื่อ 1 ต.ค. 2564) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานตรวจสอบสำนวนคดี กองบังคับการกฎหมายและคดี ภ.9
2. พ.ต.ท.กฤติภัทร สังกัดกองบัญชาการตำรวจสันติบาล
3. ร.ต.อ.ธนเวทย์ สังกัด บช.ภ.9
4. ว่าที่ ร.ต.อ.หญิง อรุชา สังกัด สภ.โคกชะงาย จ.พัทลุง
5. ร.ต.ท.พันธ์ชัย สังกัด สภ.เมืองพัทลุง
6. ร.ต.ต.ชุณฐกฤตม์ สังกัด สภ.เมืองพัทลุง
7. ดาบตำรวจสุทัศน์ สังกัด บช.ภ.9
สำหรับกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรง ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 47/2566 ลงวันที่ 20 ม.ค. 2566 และคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 132/2566 ลงวันที่ 17 ก.พ. 2566 ผลการสอบสวนรับฟังได้ว่า ข้าราชการตำรวจทั้ง 7 นาย กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ ตามมาตรา 79 (1) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยมีพฤติการณ์กระทำผิด สรุปโดยย่อ ดังนี้
ตำรวจทั้ง 7 นาย ซึ่งทำหน้าที่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพัทลุง จำกัด ในห้วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึงวันที่ 28 ก.พ. 2564 ได้ร่วมกับ นางสาวสุภา ผู้จัดการสหกรณ์ ลงนามสั่งจ่ายเช็คจากบัญชีกระแสรายวันของธนาคารกรุงไทย สาขาพัทลุง โดยไม่ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพัทลุง จำกัด ว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน พ.ศ. 2544 หมวด 3 ที่กำหนดว่า ก่อนจ่ายเงินทุกครั้งคณะกรรมการผู้มีหน้าที่จ่ายต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ใบสำคัญประกอบการจ่ายเงินให้ถูกต้องเรียบร้อยและต้องมีผู้อนุมัติให้จ่ายเงิน จึงจ่ายเงินของสหกรณ์ได้ทุกครั้ง และการจ่ายเงินของสหกรณ์เป็นจำนวนมากให้สั่งเช็คจ่ายในนามบุคคลหรือหน่วยงานของผู้รับเงิน โดยขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่สหกรณ์ และ/หรือ บุคคลภายนอกนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารจนเป็นเหตุให้สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพัทลุง จำกัด ได้รับความเสียหาย
ขณะที่ พ.ต.อ.ชำนาญ คงชู ซึ่งเป็นคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพัทลุง จำกัด ในตำแหน่งประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ เมื่อระหว่างปี พ.ศ.2548-2550 และปี พ.ศ.2560-2562 มีอำนาจหน้าที่รับจ่าย และเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ และมีหน้าที่ลงนามร่วมกับผู้จัดการสหกรณ์และเหรัญญิกในการสั่งจ่ายเช็คเพื่อกิจการภายในชอบวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ และเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์ ได้ร่วมกับ นางสาวสุภา สั่งจ่ายเช็คจำนวน 103 ฉบับ รวมเป็นจำนวนเงิน 81,825,527.61 บาท ไม่เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่สหกรณ์ และหรือบุคคลภายนอก นำไปเรียกเก็บเงินจนเป็นเหตุให้สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพัทลุง จำกัด ได้รับความเสียหาย.
Cr. https://www.thairath.co.th/news/crime/2818902