โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้สร้างโลก...

กระทู้คำถาม
http://ppantip.com/topic/30699423/comment50
ู^
^
^
จริงๆที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเป็นเพราะเราไปตอบกระทู้นี้ในห้องหว้ากอมา

ก็เลยอยากลองเอามาแชร์ๆดู


*************************เป็นแนวศาสนาพุทธนะบอกไว้ก่อน*********************************












เรานับถือพุทธ
กำลังเรียนรู้อยู่  ปัญญายังอ่อนยังด้อยมาก

ขออนุญาต พอตอบตามที่ปัญญาอันน้อยนิดจะพึงมี
ถ้ามีข้อผิดพลาดอันใด  กราบขอขมา ในพระุรัตนไตย อันด้วยตัวผมยังด้อยซึ่งปัญญาในธรรม  ณ ที่นี้ด้วยครับ
(ใครจะแนะนำอะไร  ผมก็ขอน้อมรับนะครับ)
(บอกไว้ก่อนนะเราเพิ่งเรียนรู้ เพิ่งได้ฟังหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช  ปลายเดือน ม.ค.56นี้เอง แต่ไม่ได้หมายถึงว่าท่านบอกมาอย่างนี้นะ
เราลองประมวลมาจากที่เราได้ฟังได้อ่านมา อีกส่วนหนึ่งเอามาจากอินเตอร์เนตนิดหน่อย)


เราขอตอบว่า    โลกเกิดจากตัวเราเอง  เรานั้นแหล่ะเป็นผู้สร้างโลกนี้ขึ้นมาเอง
และแต่ละคนก็มองโลกใบนี้ได้ไม่เหมือนกันด้วย




.........................................................................................................................................................................

พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า

โลกมี  เพราะเรามี   ตา   หู  จมูก   ลิ้น   กาย(ประสาทสัมผัสทั้ง5)  และ  ใจ
ไปรับรู้การมีอยู่ของ รูป   เสียง  กลิ่น   รส   สัมผัส  อารมณ์
(อารมณ์คือสิ่งที่รับรู้ทางใจ  ซึ่งก็รวมทั้งการรับรู้ในประสาทสัมผัสทั้ง5 ในขั้นต้นด้วย แปลให้อีกที  ถ้าพูดง่ายๆ ใจคือ ผู้รับรู้  ถ้าไม่มีใจผู้รับรู้ ก็จะไม่รับรู้ในสัมผัสทั้ง 5 และอารมณ์ทางใจ กลายเป็นเหมือน พืช ไป)
ตัวอย่างอารมณ์ทางใจ เ่ช่น ความนึกคิด ความโกรธ ความสงสัย เป็นต้น


ดังนั้นสรุปว่า  

ที่สิ่งต่างๆมี เพราะเรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ถ้าเรา  ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  ทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งโลกก็ไม่มี ครับ

หรือพูดได้อีกอย่างหนึ่ง   สิ่งต่างๆจะมีหรือไม่มี  มันขึ้นอยู่กับว่า  มีเราอยู่หรือไม่


..................................................................................................................................................................................



ด้านล่างนี้  ขอขยายนะครับ

ยกตัวอย่างเช่น

ในการเห็นรูปสักอย่าง
1  ต้องมีแสงสี(อายตนะภายนอก)  

2  มากระทบตา(อายตนะภายใน)

3  และมีการรับรู้(วิญญาณ)มารู้ถึงแสงสีนั้น   (ถ้ามีตา มีรูป  แต่เราไม่ใส่ใจ  ไม่รับรู้ เราก็จะไม่เห็นภาพนั้น เช่น เราไปนึกคิดทางใจเวลาเราขับรถ
เราอาจจะขับรถชนก็ได้ เพราะเราไม่สนใจภาพในชั่ววินาทีนั้น หรือที่เรียกว่าใจลอย)

4  แล้วก็มีความทรงจำหรือหน่วยความจำ(สัญญา)มาทำงานให้รู้ว่าแสงสีนั้นคืออะไร(ในกรณีที่เราเคยรู้จักสิ่งนั้นแล้ว)
    ถ้าเราเพิ่งเคยเห็นแสงสีนั้นครั้งแรก  เราจะไม่รู้จักว่าแสงสีนั้นคืออะไร เพราะมันไม่มีในสัญญา(ความทรงจำ)

5  เมื่อรู้ว่าแสงนั้นเป็นอะไรแล้ว  (ต่อไปจะไม่เรียกว่าแสงสีแล้ว  เพราะเมมโมรี่เข้ามาทำงานจนเกิดสิ่งสมมุตบัญญัติขึ้นมา)
    จะเกิดการประมวลผลหรือความนึกคิดปรุงแต่ง(สังขาร)ในสิ่งที่เห็นโดยอาศัยความทรงจำหรือสัญญา(เมมโมรี่)ในข้อที่ 4
    มาทำงานร่วมกันด้วย

  
   เช่น  ถ้าเราเห็นคนที่เคยด่าเคยทำร้ายเรา  เราจะประมวลผลปรุงแต่งนึกคิด(สังขาร)ไปทางหนึ่ง
          แต่ ถ้าเราเห็นคนที่เคยพูดดีเคยทำดีกับเรา  เราก็จะปรุงแต่งไปอีกทางหนึ่ง



++++++++++++++++++++++อันนี้ขอขยายแทรก ตามความรู้ความเข้าใจส่วนตัวของผมนะครับ ++++++++++++++++++++++++++++++++
        
ในขั้นปรุงแต่งนี้ละ จิตที่เคยอบรมศีลเคยฝึกสติและความตั้งมั่นมาดีเพียงพอจนเกิดปัญญาเห็นสัจจะความจริง(ไตรลักษณ์)ในกายในใจจะแตกต่าง
กับจิตที่ยังไม่เคยฟังเคยเรียนรู้เรื่องศีลเรื่องสติความตั้งมั่นและปัญญา  ซึ่งจะเป็นจิตที่มีลักษณะที่หนัก  แข็ง  มืดบอด  ขาดแสงสว่าง จนขาดความสามารถในการเห็นไตรลักษณ์ในกายในใจได้

สิ่งที่แตกต่างกัน  ก็คือ
ถ้าจิตนั้นเป็นจิตที่อบรมมาดีพอประมาณ  ด้วยเหตุแห่งระดับการฝึกมาพอประมาณ(มีหลายระดับ)  จิตจะปรุงแต่งดีหรือเรียกว่าคิดดี ถึงแม้จะเจอ
สภาวะสถานกาณ์ที่ไม่ดีก็ตาม  โดยเป็นไปอย่างอัตโนมัติ  อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด (ไม่ได้ฝืน หรือแกล้งทำเป็นดีแต่อย่างใด)
โดยถ้าอบรมมามาก ระดับการปรุงแต่งก็จะดี ระดับความทุกข์ที่ประสบ จะมีเข้มข้นที่น้อยกว่า คนที่อบรมจิตมาน้อยกว่าเป็นลำดับๆไป

ถ้าจิตนั้นเป็นจิตที่อบรมมาจนถึงที่สุด นั้นคือเห็นไตรลักษณ์ในกายในใจอย่างแจ่มชัดอยู่ทุกขณะจิต  โดยปราศจากความจงใจความนึกคิด  
นั่นคือมีปัญญาสว่างชัดโดยอัตโนมัติ ตลอดเวลา
จิตนั้นจะไม่เข้าไปยึดถือในสิ่งใด  ไม่ว่าดีหรือชั่ว  หรืออะไรก็ตาม  เมื่อจิตไม่ยึดมั่้่นถือมั่นในสิ่งใด จิตก็จะเป็นอิสระจากทุกสิ่งทุกอย่าง  หลุดจากขอบเขต  หลุดจากเครื่องพันธนาการ  จิตจะคล่องแคล่วเบาสบาย จิตจะวางเฉย(เป็นกลาง)และเป็นสุขตลอดเวลา  
ไม่ว่าจะพบจะเจอสิ่งใดก็ตาม  เพราะจิตนั้นได้รับการอบรมจนมีปัญญาอันแก่รอบแล้ว      (การไม่ติดยึดในที่นี้ ปราศจากเจตนา
หรือการแกล้งทำโดยสิ้นเชิง)

แต่ถ้าจิตขาดการได้ยินได้ฟังหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟังแต่ขาดศรัทราที่จะเรียนรู้ฝึกอบรมจิตให้มีสติตื่นขึ้นมาอย่างตั้งมั่นด้วยความเป็นกลาง จนขาดปัญญาในที่สุด
จิตจะปรุงแต่งนำพาชีวิต การกระทำ คำพูด และความคิด ไปในทางใดทางหนึ่งใน 2 ทางนี้   นั่นก็คือ

1 จิตจะเข้าไปติดยึดในศีล ในพรต ในคำสอน ในความเชื่ออย่างงมงาย  ปราศจากซึ่งเหตุผล ขาดการพิจารณาวิเคราะห์อย่างแยบคาย
   จิตประเภทนี้ จะเต็มไปด้วยตัวตน อัตตา ติดยึด แน่น แข็ง ไม่คล่องแคล่วว่องไว  ถือดี ถือตัว ยกตน ข่มผู้อื่น อคติ ปราศจากอิสระภาพ
2 จิตจะหลงอยู่ในโลก  ปล่อยกายปล่อยใจไปตามโลก  ไม่เชื่อผลที่เกิดมาจากเหตุ  เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นมาเองโดยไม่ต้อง
   อาศัยเหตุอาศัยปัจจัยอะไรเลย

โดยจิตทั้งสองประเภทนี้  จะไม่สามารถพัฒนา จนค่อยๆปล่อย และละความทุกข์ได้เลย


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


ข้างล่างนี้ต่อจากข้อ 5  ข้างบนนะ



6 เมื่อเราประมวลผล(สังขาร)แล้วจะเกิดสิ่งๆหนึ่งที่สำคัญมาก  เรียกว่าความรู้สึกทางใจ(เวทนา)  และเกิด อารมณ์ทางใจ(ธรรมารมณ์)ขึ้นมา
   เช่น  ถ้าเจอคนที่เคยด่าเรา  เราจะผ่านกระบวรการทั้ง 5 ในขั้นต้น  และด้วยจิตที่ขาดวิชชา  จิตจะปรุงแต่ง  เกิดความทุกข์  เกิดอารมณ์ที่ไม่พอใจ(โทสะ)  
          ถ้าเจอคนที่เคยทำดีกับเรา  เราจะผ่านกระบวรการทั้ง 5 ในขั้นต้น  และด้วยจิตที่ขาดวิชชา จิตจะปรุงแต่ง  เกิดความสุข  เกิดอารมณ์ที่พอใจ(โลภะ)  
          หรือ ถ้าเราเจอสิ่งบางอย่างที่เราไม่ใส่ใจ  เช่น  เราไปเจอก้อนหินธรรมดาๆก้อนหนึ่ง  เราก็จะเกิดความรู้สึกเฉยๆ


พอมาถึงขั้นนี้แหล่ะ  จะเกิดความติดยึด(อุปทาน)  เกิดความอยาก(ตัญหา)ในสิ่งต่างๆ  ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตาม


ด้วยเหตุที่เราไปติดยึด(ุอุปทาน) ในอารมณ์ที่ดีและไม่ดีทั้งหลาย  จนเกิดซึ่งตัณหาคือความอยาก ดังเช่น  
เมื่อเราไปเจออะไรที่ชอบใจก็อยากให้สิ่งนั้นมีอยู่ตลอดไป  อยากได้เยอะๆ
หรือเมื่อเราไปเจอสิ่งที่ไม่ชอบใจก็อยากให้ิสิ่งนั้น สูญหายไป


กระบวนการตั้งแต่การสัมผัส มาเรื่อยๆจนเกิดการติดยึด(อุปทาน) จนเกิดตัณหา(ความอยาก)  และมีกระบวนการอื่นๆเกิดตามมา
อีกเยอะ  จนวนเป็น ลูป  เกี่ยวพัน เกี่ยวเนื่องกัน  จนมนุษย์ไม่อาจหลุดพ้นจากทุกข์ไปได้


ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ คนเราเป็นทุกข์  เป็นเพราะ  ความไม่รู้ (อวิชชา)  
สาเหตุที่เราไม่รู้  เป็นเพราะ เราขาดซึ่งปัญญาในการเห็นความเป็นจริงของสรรพสิ่งทั้งหลาย

ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับทุกสภาวะธรรมนั้น(ไตรลักษณ์)  ก็คือ
1  ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ทุกๆขณะทุกๆเสี้ยววินาที  (อนิจจัง)
2  ทุกสิ่งทุกอย่างไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้  ไม่อาจคงตัวอยู่กับที่ได้  (ทุกขัง)
3  ทุกสิ่งทุกอย่างไม่อยู่ในอำนาจบังคับของใคร  ไม่ได้เป็นของๆใครจริงๆ  แต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยต่างๆ  (อนัตตา)


การเห็นทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้สภาวะ ทั้ง 3  อย่างแจ่มชัดนี่แหล่ะ  ที่เป็นหนทางสู่้ความพ้นทุกข์

(ถ้าเห็นด้วยจิตที่ตั้งมั่้นและเป็นกลางจริงๆ  เห็นบ่อยๆ  จิตจะค่อยๆปล่อยความยึดมั่น(อุปทาน)ไปเองโดยอัตโนมัติ...  เราไม่สามารถสั่งจิตให้ปล่อยได้
เพราะจิตมันไม่ใช่เราจริงๆ  เป็นแค่การทำงานของร่างกายและจิตใจ  แค่เราเห็นความเป็นจริง(ไตรลักษณ์)บ่อยๆ  มันก็จะปล่อยของมันเอง)

แต่การจะเห็นสภาวะทั้ง 3 อย่างนี้  เราไม่สามารถเห็นได้รู้้ได้จากการคิด  แต่เราต้องเข้าไปเห็นอย่างเป็นธรรมชาติอย่างเป็นกลางที่สุด

ในพระพุทธศาสนากล่าวถึงที่มาของปัญญา ว่า มี 3 แบบ
1 ปัญญาที่เกิดจากการการฟังการอ่าน
2 ปัญญาที่เกิดจากการคิด
3 ปัญญาที่เกิดจากการภาวณา

การที่จะเข้าไปเห็นสภาวะทั้ง 3 นี้ได้ต้องอาศัย  ปัญญาที่เกิดจากภาวณาเ่ท่านั้น...


............................

ต่อไปจะขอลัดไปที่  วิธีการเจริญปัญญาเลยนะครับ  มินั้นจะอีกยาว

เกริ่นไว้ก่อนว่า  เพราะการไม่เห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง  คือไม่เห็นซึ่งไตรลักษณ์เป็นที่มาของอุปทานความยึดมั่น อันเป็นสาเหตุของความทุกข์ทั้งหลายนั่นเอง

ถ้าจะละอุปทานทั้งหลาย  ก็แค่การภาวณาให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์อย่างแจ้มแจ้งนั้นเอง  
เปรียบเหมือนการกำจัดความมืด  ก็แค่สร้างแสงสว่างขึ้นมา  ความมืดก็หายไปเอง
จะกำจัดความทุกข์  ก็แค่เจริญปัญญาให้มีขึ้นนั้นเอง

ในขั้นตอนของการเจริญซึ่งปัญญา
มีสิ่งที่ต้องทำอยู่ 3 สิ่ง

1 การเรียนรู้เรื่องศีล  (ศีล5 )
   การเรียนรู้ในเรื่องนี้  เป็นการเรียนรู้ความงดงามในเบื้องต้นที่จะออกจากความพยาบาท ความอาฆาต ความเบียดเบียน
   เว้นการทำร้ายผู้อื่นด้วยคำพูดด้วยร่างกาย ไม่คดโกงและหลอกลวงไม่จริงใจ แต่ตั้งใจหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต โดยอาศัย  
   ความสำรวมระมัดระวังเป็นเครื่องมือในเบื้องต้น  
   แต่ในระดับเบื้องกลางและเบี้องปลาย หากเรามีสติ มีความตั้งมั่น มีปัญญาเพียงพอ ศีลจะกลายเป็นสิ่งอัตโนมัติไปโดยปริยาย
   ไม่มีความลำบากในการยึดถือเลย  
  
   แต่ถ้าเราผิดศีล  เราจะเจอเรื่องยุ่งยากในชีวิตมากมายจนจิตใจไม่อาจสงบสุขพอที่จะมีสติมีความตั้งมั่นไปเจริญปัญญาได้
  
2 การเรียนรู้เรื่องจิต  
   เป็นการเรียนรู้ในเบื้องกลางในการเจริญซึ่งสติและความตั้งมั่น  เพื่อให้จิตใจสงบ มีความนิ่ง มีความเป็นกลาง  หลุดออกมาจากโลกแห่งความคิดได้
ไม่ว่าจะย้อนไปคิดอยู่ในอดีต  หรือมัวแต่กังวลกับอนาคต จนขาดความมีสติรู้กายรู้ใจในปัจจุบัน เพื่อให้ได้จิตที่เหมาะสมเป็นกลาง
ในการเจริญปัญญาในขั้นต่อไป


3 การเรียนรู้เรื่องปัญญา  โดยอาศัยจิตที่มีสติ มีสมาธิ ควรแก่การงาน  มีความเป็นกลาง  เข้าไปรู้ซึ่งไตรลักษณ์ของกายของใจ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือไม่ดี ก็ตาม  ดูว่ามันเป็นของเที่ยงแท้หรือไม่  บังคับได้ไหม

ยาวแล่ะ  ไม่ไหว
เราก็เพิ่งเรียนรู้ได้ไม่นาน
ยังตอบอะไรลึกๆในแนวทางปฏิบัติไม่ได้

ลองไปฟังคำสอนของ  หลวงพ่อปราโมทย์  ปาโมชโช  ดู  ก็จะรู้ธีเจริญปัญญานะ





................................................................................................................................................................................

อ้อ  ลืมอีกสิ่งหนึ่งทีสำคัญมากที่สุด

คือ  ถ้าเราเจริญสติสมาธิปัญญาภาวนามามากพอ...

เราจะเห็นว่า

จริงๆแล้ว    ตัวเราไม่มีจริง (อนัตตา)

และสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของชั่วคราว  รวมทั้งโลกก็เป็นแค่ของชั่วคราว





แต่เพราะเรามีอวิชชาคือมีความไม่รู้ขาดซึ่งปัญญา  สร้างตัวสร้างตนขึ้นมา  จนในที่สุดเรานั้นเองที่เป็นผู้สร้างโลกใบนี้ขึ้นมา
( และเชื่อหรือไม่ว่าแต่ละคนเห็นโลกใบนี้ใบเดียวกันได้ไม่เหมือนกัน  )............


.......................................................................................................................................................................

กระทู้ที่ตั้งนี้เป็นแค่ความคิดเห็นของคนธรรมดาๆคนหนึ่งเท่านั้นเอง  
ปัญญายังด้อยอยู่มาก  ถ้าผิดผลาดประการใด  
กราบขออภับอีกครั้งหนึ่งครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
บ้านที่ผมอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ผมยังไม่รู้เลยว่าใช้ช่างกี่คนสร้าง ชื่ออะไร
ผมไม่เคยนึกสนใจมันเลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่