http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/356486
“หากินกับความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยว กับสเต็มเซลล์”
ถือเป็นหนึ่งในประเด็นร้อนยามนี้
ผศ.นพ.ดร. นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา หัวหน้าหน่วยสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด และ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อยากฝากข้อมูลเอาไว้ เพื่อปลูกปัญญา... ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
แม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์การแพทย์มีความก้าวหน้าเกี่ยวกับการวิจัยสเต็มเซลล์เกิดขึ้น อย่างรวดเร็วจริง จนทำให้เป็นข่าวไปทั่วโลกและนำสู่ความหวังในการจะหาทางรักษาโรคที่ยังไม่มี ทางรักษาหลายๆโรค แต่ความก้าวหน้านั้นยังไม่พร้อมที่จะนำไปใช้ในผู้ป่วย
เพราะ...ยังไม่มีประสิทธิภาพพอและอาจเกิดผลร้ายได้ถ้าไม่ควบคุมให้ดี
ขณะ เดียวกันในหลายๆประเทศรวมทั้งประเทศไทยเริ่มเกิดธุรกิจที่หาประโยชน์จาก สเต็มเซลล์โดยอาศัยความดังของสเต็มเซลล์เป็นจุดขาย ทั้งที่ขาดหลักฐานสนับสนุน
อาศัยความเข้าใจที่ผิดของประชาชน ทำให้องค์กรแพทย์และนักวิจัยที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ เช่น สมาคมการวิจัยสเต็มเซลล์นานาชาติ (International Society for Stem Cell Research หรือ ISSCR) ต้องออกมาเตือนให้ระวังการหลอกลวงและฉกฉวยโอกาส ประเทศไทยก็มีแพทยสภาที่ตั้งกฎควบคุมและออกมาเตือนเป็นระยะๆ
สเต็มเซลล์สำคัญอย่างไร? ใช้รักษาอย่างไร?
คำ ตอบมีว่า... “โรคหลายโรคที่รักษาไม่หาย เป็นเพราะเมื่อเซลล์ร่างกายตายไปแล้ว ไม่สามารถสร้างใหม่ได้ ถ้าเราสร้างเซลล์ชนิดที่ตายไปแล้วนำมาปลูกถ่ายได้ก็อาจรักษาโรคได้ บางอวัยวะสเต็มเซลล์ของอวัยวะนั้นไม่ทำงาน การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ของอวัยวะนั้นๆ ก็อาจรักษาโรคได้”
อย่างไรก็ดี การปลูกถ่ายไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แม้มีเซลล์ชนิดที่ต้องการ ก็ไม่แน่ว่าจะปลูกเข้าไปแล้วจะรวมตัวกับอวัยวะของเราอย่างดี ในปัจจุบันมีเฉพาะสเต็มเซลล์เลือด
สเต็มเซลล์มีหลายชนิด...แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน
ความ จริงเกี่ยวกับข้อมูลข้างต้นมีว่า...จริงๆแล้วในร่างกาย แต่ละอวัยวะมีสเต็มเซลล์ของตัวเอง ใช้สร้างเซลล์ของระบบนั้นๆ เช่น สเต็มเซลล์เลือดจากไขกระดูก ใช้สร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ สเต็มเซลล์สมองใช้สร้างเซลล์ประสาทและเซลล์เยื่อหุ้มประสาท เป็นต้น
สเต็มเซลล์เลือดสร้างเซลล์ประสาทหรือกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้
“สเต็มเซลล์ ที่สร้างเซลล์ได้ทุกชนิดคือเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน แต่เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนยังมีการทดสอบในผู้ป่วยน้อยกว่า 10 รายทั่วโลก ยังไม่พร้อมใช้ในทางคลินิกเพื่อการรักษาหรือการบริการ”
คนมักเข้าใจผิดว่า “สเต็มเซลล์จากสายสะดือทารก” เป็น “เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน”
จริงๆแล้วไม่ใช่ ถึงแม้ว่าสเต็มเซลล์จากสายสะดือทารกจะเป็นแหล่งของสเต็มเซลล์เลือด แต่ก็ใช้รักษาได้เฉพาะโรคเลือดเท่านั้น
น่า สนใจว่า...แต่ในใบโฆษณาธุรกิจของธนาคารสายสะดือทารกหลายแห่งที่ใส่ว่า ใช้รักษาได้มากกว่า 100 โรคนั้น ซึ่งรวมถึงโรคพันธุกรรมหรือโรคมะเร็ง และโรคสมอง เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ไปจนถึง ไตวาย เบาหวาน นั้นไม่เป็นความจริง
ต้องย้ำว่า...“สเต็มเซลล์จากสายสะดือทารก” รักษาโรคที่ว่าไม่ได้ สเต็มเซลล์ชนิดที่มีงานวิจัยในโรคกลุ่มที่กล่าวมานั้นไม่ใช่สเต็มเซลล์จาก สายสะดือทารก
นอกจากนี้การรักษาโดยใช้สเต็มเซลล์จากสายสะดือทารกโดยโฆษณาว่าเป็นการเก็บไว้ให้ตัวเองก็ไม่เป็นความจริง
“สเต็มเซลล์ จากสายสะดือทารกเป็นการเอาเซลล์ของเราไปรักษาผู้อื่น หรือเอาของผู้อื่นมารักษาเรา ไม่ใช่ใช้ของตัวเอง เพราะสเต็มเซลล์จากสายสะดือทารกของตัวเองก็จะมีความผิดปกติอยู่ แพทย์ไม่ใช้มารักษาตัวผู้ป่วยเอง”
ถึงตรงนี้ คงต้องยอมรับความจริงที่ว่า...ธุรกิจการค้าอาศัยจุดที่ประชาชนไม่เข้าใจว่า สเต็มเซลล์แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน และเข้าใจว่าสเต็มเซลล์รักษาได้ทุกโรค มักสกัดเซลล์ที่พอจะมีชื่อว่า “สเต็ม-เซลล์”...แล้วนำมาฉีดให้คนไข้ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไร
ทั้งๆที่ ไม่มีคุณสมบัติ ที่จะสร้างเซลล์ชนิดที่ต้องการได้หลังปลูกถ่าย ไม่มีหลักฐานสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ สเต็มเซลล์ชนิดที่แยกมาได้ง่าย...สำหรับธุรกิจเหล่านี้ก็คือ “สเต็มเซลล์เลือด” จากไขกระดูกหรือรก
สเต็มเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่เรียกกันว่า mesenchymal stem cells (MSC) ซึ่งได้จากไขมัน ไขกระดูก ซึ่งสเต็มเซลล์อย่างหลังนี้เพาะเลี้ยงง่าย ไม่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการเพาะ แต่พอมีชื่อว่าสเต็มเซลล์ก็สามารถโฆษณาให้ประชาชนหลงเชื่อ ขายบริการได้ราคาดีเป็นล้าน ทั้งที่ต้นทุนไม่มาก
บางแห่งต้องการลดต้นทุนลงไปอีกก็ใช้คำว่า “สารสกัดจาก สเต็มเซลล์”...ทั้งที่ไม่มีใครรู้ว่าคืออะไร ใส่อะไรลงไปบ้าง
อีก ธุรกิจที่เกาะกระแส “สเต็มเซลล์” ก็คือ “เซลล์ซ่อมเซลล์” หรือกระทั่งไปจนถึงการใช้เซลล์จากสัตว์มาฉีดในผู้ป่วย ซึ่งมีมานานแล้วในบางประเทศแต่ไม่เป็นที่ยอมรับในแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะขาดเหตุผลหลักฐานข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ และมีผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายถึงชีวิต
เนื่อง จากแพทยสภาห้ามการฉีดสเต็มเซลล์เข้าในผู้ป่วยนอกจากสเต็มเซลล์เลือดที่ใช้ ได้ในโรคเลือด และที่ทำเป็นโครงการวิจัยที่มีการควบคุมดูแลสถานบริการทางธุรกิจเพื่อการค้า ก็อ้างว่า กฎของ แพทยสภาไม่ครอบคลุมถึงเซลล์อื่นๆ จริงๆการฉีดเซลล์เข้าร่างกายผู้ป่วย ถ้าเกิดอันตรายหรือแม้แต่ไม่ได้ผลจริงตามที่โฆษณา ผู้ป่วยสามารถฟ้องร้องได้แม้จะเซ็นยินยอมแล้วเพราะผิดหลักการทางการแพทย์
ข้อมูล ทั้งหมดเหล่านี้เกี่ยวกับ “สเต็มเซลล์” นอกจากใช้หลอกผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังไม่มีทางรักษาแล้ว ลูกค้ากลุ่มใหญ่อีกกลุ่มของธุรกิจนี้คือเรื่องเสริมความงาม ต้านวัยชรา แม้ไม่มีเหตุผลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับก็ขายได้ดี โดยอาศัยการโฆษณา การกล่าวอ้างความน่าเชื่อถือจากผู้ใช้ โดยเฉพาะที่เชื่อว่าดาราใช้แล้วได้ผล
...เป็นที่ทราบกันในทางการแพทย์ว่า มีสารอันตรายหลายชนิดที่ใช้แล้วให้ผลดีในช่วงแรกแต่ให้ผลเสียอย่างมากในระยะ ยาว สิ่งที่ใช้ในธุรกิจเชิงการแพทย์พาณิชย์นี้มีหลากหลายมากโดยไม่มีการตรวจสอบ ว่าใส่สารอันตรายอะไรลงไปบ้าง ทำให้ อย.มีประกาศห้ามเครื่องสำอางที่ใช้คำว่าสเต็มเซลล์
จบเรื่องราวเกี่ยวกับสเต็มเซลล์เอาไว้ปลูกปัญญากันเพียง เท่านี้...โอกาสหน้าค่อยคุยกันว่า “สเต็มเซลล์”...ฉีดแล้วเสี่ยงเป็นอะไรบ้าง.
บ่องตง ! สเต็มเซลล์หากินกับความไม่เข้าใจ .. จากไทยรัฐออนไลน์
“หากินกับความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยว กับสเต็มเซลล์”
ถือเป็นหนึ่งในประเด็นร้อนยามนี้
ผศ.นพ.ดร. นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา หัวหน้าหน่วยสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด และ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อยากฝากข้อมูลเอาไว้ เพื่อปลูกปัญญา... ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
แม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์การแพทย์มีความก้าวหน้าเกี่ยวกับการวิจัยสเต็มเซลล์เกิดขึ้น อย่างรวดเร็วจริง จนทำให้เป็นข่าวไปทั่วโลกและนำสู่ความหวังในการจะหาทางรักษาโรคที่ยังไม่มี ทางรักษาหลายๆโรค แต่ความก้าวหน้านั้นยังไม่พร้อมที่จะนำไปใช้ในผู้ป่วย
เพราะ...ยังไม่มีประสิทธิภาพพอและอาจเกิดผลร้ายได้ถ้าไม่ควบคุมให้ดี
ขณะ เดียวกันในหลายๆประเทศรวมทั้งประเทศไทยเริ่มเกิดธุรกิจที่หาประโยชน์จาก สเต็มเซลล์โดยอาศัยความดังของสเต็มเซลล์เป็นจุดขาย ทั้งที่ขาดหลักฐานสนับสนุน
อาศัยความเข้าใจที่ผิดของประชาชน ทำให้องค์กรแพทย์และนักวิจัยที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ เช่น สมาคมการวิจัยสเต็มเซลล์นานาชาติ (International Society for Stem Cell Research หรือ ISSCR) ต้องออกมาเตือนให้ระวังการหลอกลวงและฉกฉวยโอกาส ประเทศไทยก็มีแพทยสภาที่ตั้งกฎควบคุมและออกมาเตือนเป็นระยะๆ
สเต็มเซลล์สำคัญอย่างไร? ใช้รักษาอย่างไร?
คำ ตอบมีว่า... “โรคหลายโรคที่รักษาไม่หาย เป็นเพราะเมื่อเซลล์ร่างกายตายไปแล้ว ไม่สามารถสร้างใหม่ได้ ถ้าเราสร้างเซลล์ชนิดที่ตายไปแล้วนำมาปลูกถ่ายได้ก็อาจรักษาโรคได้ บางอวัยวะสเต็มเซลล์ของอวัยวะนั้นไม่ทำงาน การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ของอวัยวะนั้นๆ ก็อาจรักษาโรคได้”
อย่างไรก็ดี การปลูกถ่ายไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แม้มีเซลล์ชนิดที่ต้องการ ก็ไม่แน่ว่าจะปลูกเข้าไปแล้วจะรวมตัวกับอวัยวะของเราอย่างดี ในปัจจุบันมีเฉพาะสเต็มเซลล์เลือด
สเต็มเซลล์มีหลายชนิด...แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน
ความ จริงเกี่ยวกับข้อมูลข้างต้นมีว่า...จริงๆแล้วในร่างกาย แต่ละอวัยวะมีสเต็มเซลล์ของตัวเอง ใช้สร้างเซลล์ของระบบนั้นๆ เช่น สเต็มเซลล์เลือดจากไขกระดูก ใช้สร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ สเต็มเซลล์สมองใช้สร้างเซลล์ประสาทและเซลล์เยื่อหุ้มประสาท เป็นต้น
สเต็มเซลล์เลือดสร้างเซลล์ประสาทหรือกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้
“สเต็มเซลล์ ที่สร้างเซลล์ได้ทุกชนิดคือเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน แต่เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนยังมีการทดสอบในผู้ป่วยน้อยกว่า 10 รายทั่วโลก ยังไม่พร้อมใช้ในทางคลินิกเพื่อการรักษาหรือการบริการ”
คนมักเข้าใจผิดว่า “สเต็มเซลล์จากสายสะดือทารก” เป็น “เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน”
จริงๆแล้วไม่ใช่ ถึงแม้ว่าสเต็มเซลล์จากสายสะดือทารกจะเป็นแหล่งของสเต็มเซลล์เลือด แต่ก็ใช้รักษาได้เฉพาะโรคเลือดเท่านั้น
น่า สนใจว่า...แต่ในใบโฆษณาธุรกิจของธนาคารสายสะดือทารกหลายแห่งที่ใส่ว่า ใช้รักษาได้มากกว่า 100 โรคนั้น ซึ่งรวมถึงโรคพันธุกรรมหรือโรคมะเร็ง และโรคสมอง เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ไปจนถึง ไตวาย เบาหวาน นั้นไม่เป็นความจริง
ต้องย้ำว่า...“สเต็มเซลล์จากสายสะดือทารก” รักษาโรคที่ว่าไม่ได้ สเต็มเซลล์ชนิดที่มีงานวิจัยในโรคกลุ่มที่กล่าวมานั้นไม่ใช่สเต็มเซลล์จาก สายสะดือทารก
นอกจากนี้การรักษาโดยใช้สเต็มเซลล์จากสายสะดือทารกโดยโฆษณาว่าเป็นการเก็บไว้ให้ตัวเองก็ไม่เป็นความจริง
“สเต็มเซลล์ จากสายสะดือทารกเป็นการเอาเซลล์ของเราไปรักษาผู้อื่น หรือเอาของผู้อื่นมารักษาเรา ไม่ใช่ใช้ของตัวเอง เพราะสเต็มเซลล์จากสายสะดือทารกของตัวเองก็จะมีความผิดปกติอยู่ แพทย์ไม่ใช้มารักษาตัวผู้ป่วยเอง”
ถึงตรงนี้ คงต้องยอมรับความจริงที่ว่า...ธุรกิจการค้าอาศัยจุดที่ประชาชนไม่เข้าใจว่า สเต็มเซลล์แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน และเข้าใจว่าสเต็มเซลล์รักษาได้ทุกโรค มักสกัดเซลล์ที่พอจะมีชื่อว่า “สเต็ม-เซลล์”...แล้วนำมาฉีดให้คนไข้ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไร
ทั้งๆที่ ไม่มีคุณสมบัติ ที่จะสร้างเซลล์ชนิดที่ต้องการได้หลังปลูกถ่าย ไม่มีหลักฐานสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ สเต็มเซลล์ชนิดที่แยกมาได้ง่าย...สำหรับธุรกิจเหล่านี้ก็คือ “สเต็มเซลล์เลือด” จากไขกระดูกหรือรก
สเต็มเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่เรียกกันว่า mesenchymal stem cells (MSC) ซึ่งได้จากไขมัน ไขกระดูก ซึ่งสเต็มเซลล์อย่างหลังนี้เพาะเลี้ยงง่าย ไม่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการเพาะ แต่พอมีชื่อว่าสเต็มเซลล์ก็สามารถโฆษณาให้ประชาชนหลงเชื่อ ขายบริการได้ราคาดีเป็นล้าน ทั้งที่ต้นทุนไม่มาก
บางแห่งต้องการลดต้นทุนลงไปอีกก็ใช้คำว่า “สารสกัดจาก สเต็มเซลล์”...ทั้งที่ไม่มีใครรู้ว่าคืออะไร ใส่อะไรลงไปบ้าง
อีก ธุรกิจที่เกาะกระแส “สเต็มเซลล์” ก็คือ “เซลล์ซ่อมเซลล์” หรือกระทั่งไปจนถึงการใช้เซลล์จากสัตว์มาฉีดในผู้ป่วย ซึ่งมีมานานแล้วในบางประเทศแต่ไม่เป็นที่ยอมรับในแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะขาดเหตุผลหลักฐานข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ และมีผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายถึงชีวิต
เนื่อง จากแพทยสภาห้ามการฉีดสเต็มเซลล์เข้าในผู้ป่วยนอกจากสเต็มเซลล์เลือดที่ใช้ ได้ในโรคเลือด และที่ทำเป็นโครงการวิจัยที่มีการควบคุมดูแลสถานบริการทางธุรกิจเพื่อการค้า ก็อ้างว่า กฎของ แพทยสภาไม่ครอบคลุมถึงเซลล์อื่นๆ จริงๆการฉีดเซลล์เข้าร่างกายผู้ป่วย ถ้าเกิดอันตรายหรือแม้แต่ไม่ได้ผลจริงตามที่โฆษณา ผู้ป่วยสามารถฟ้องร้องได้แม้จะเซ็นยินยอมแล้วเพราะผิดหลักการทางการแพทย์
ข้อมูล ทั้งหมดเหล่านี้เกี่ยวกับ “สเต็มเซลล์” นอกจากใช้หลอกผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังไม่มีทางรักษาแล้ว ลูกค้ากลุ่มใหญ่อีกกลุ่มของธุรกิจนี้คือเรื่องเสริมความงาม ต้านวัยชรา แม้ไม่มีเหตุผลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับก็ขายได้ดี โดยอาศัยการโฆษณา การกล่าวอ้างความน่าเชื่อถือจากผู้ใช้ โดยเฉพาะที่เชื่อว่าดาราใช้แล้วได้ผล
...เป็นที่ทราบกันในทางการแพทย์ว่า มีสารอันตรายหลายชนิดที่ใช้แล้วให้ผลดีในช่วงแรกแต่ให้ผลเสียอย่างมากในระยะ ยาว สิ่งที่ใช้ในธุรกิจเชิงการแพทย์พาณิชย์นี้มีหลากหลายมากโดยไม่มีการตรวจสอบ ว่าใส่สารอันตรายอะไรลงไปบ้าง ทำให้ อย.มีประกาศห้ามเครื่องสำอางที่ใช้คำว่าสเต็มเซลล์
จบเรื่องราวเกี่ยวกับสเต็มเซลล์เอาไว้ปลูกปัญญากันเพียง เท่านี้...โอกาสหน้าค่อยคุยกันว่า “สเต็มเซลล์”...ฉีดแล้วเสี่ยงเป็นอะไรบ้าง.