อาการ "ซิมดับ" กำลังระบาดในสังคมไทย

อยู่ดีดีเลยเกิดอยากค้นหา บทความดู ไปเจอข่าวนี้เข้า ช่วงนี้กำลังฮิตนะคืนคลื่น1800 เลยเอามาแปะซะหน่อยครับ

อาการ "ซิมดับ" กำลังระบาดในสังคมไทย

"ซิมดับซินโดรม" นี้มีที่มา ผู้จุดชนวนคือ หมอลี่-ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

หมอที่หันมาเอาดีทางนี้บอกว่า สัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอล โฟน 17 ล้านเลขหมาย จะสิ้นสุด 15 กันยายน 2556 นี้

วันนั้นยังไง "ซิมดับ" 2 ค่ายนี้ให้บริการไม่ได้แน่ หมอมีคำแนะนำลูกค้า 2 ค่ายง่ายๆ ให้หาบริการทดแทน หรือโอนย้ายค่าย ดูเจตนาดี ไม่มีเรื่องคล้ายนายหน้าอะไรแอบแฝง แต่คนก็ยังเคลือบแคลงว่า "พูดไปได้"

ความจริงน่าจะหามาตรการคุ้มครองผู้บริโภคเชิงสร้างสรรค์ให้ดีกว่านี้ มาแก้ไขให้การเปลี่ยนผ่านราบรื่น โดยเฉพาะการดูแลผู้ใช้บริการ อันเป็นหัวใจของการคุ้มครองผู้บริโภค นี่กลับแปลกชอบกล เรื่องใหญ่แบบนี้อย่าล้อเล่นเชียวนา เดี๋ยวนี้รวมตัวกันได้ 20-30 คนก็เสียงดังแล้ว จะทวงคืนโน่นนั่นนี่ ทุกอย่าง

นี่ตั้ง 17 ล้านเลขหมาย ลุกขึ้นมาทวงคืนซิมไม่ดับเมื่อไหร่ กสทช.อาจวุ่นเอาได้

ทางที่ดีน่าจะหาวิธีนุ่มๆ จะทำอย่างไรถึงจะได้ไม่เกิดปัญหาขึ้นกับผู้ใช้บริการ อย่าลืมว่า 2 ค่ายนี้หมดสัมปทานรายแรก อีก 2 ปี, 5 ปี ค่ายอื่นก็ทยอยหมดสัญญา แล้วตอนนั้นจะให้ทำยังไง แนะนำ ย้ายไปย้ายมาอีกหรือ

หรือว่าใช้เคสนี้คิดหาทางออกไว้เป็นแบบอย่าง!

โรค "ซิมดับ" กำลังระบาดหนัก หลายฝ่ายปวดหัวกับทีมงานแบงก์ชาติ ซิมดับไม่รับรู้โลกภายนอกอะไรทั้งสิ้น ค่าบาทแข็งเขย่าขวัญ เป็นปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจประเทศ พี่ท่านกลับยืนกระต่ายขาเดียว จะไม่ทำอะไร นอกจากเข้าแทรกแซง ทั้งที่ใครก็รู้ว่าสู้ไปก็ตายเปล่า ไซซ์มันต่างกัน

หัวแข็งไม่เข้าเรื่องยิ่งกว่าค่าบาท แถมซ้ำยังซิมดับไม่รับ-ไม่รู้อีกต่างหาก อิสระแบบนี้ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีในยุคนี้ด้วย

หน้า 12

วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 36 ฉบับที่ 12795 มติชนรายวัน


ซิมดับ-บาท"แข็ง"

คอลัมน์ ต้มยำทำข่าว

โดย ผู้สื่อข่าวยียวน

http://www.matichon.co.th/daily/view_news.php?newsid=01p0110220356&sectionid=0101&selday=2013-03-22

-------------------------------------------
อย่าหวั่นซิมดับ 1800 : การให้บริการโทรคมนาคมเป็นบริการสาธารณะจะต้อง “มีความต่อเนื่องของการให้บริการ”

กสทช. เผยความต่อเนื่องถึงหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องดำเนินการโดยใช้มาตรการต่างๆเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่เหลืออยู่หลังสัมปทานคลื่น 1800 MHz สิ้นสุด โดยอาศัยฐานอำนาจในการออกประกาศตามรัฐธรรมนูญที่จะต้องกำกับดูแลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและตามพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. ๒๕๕๓ อีกทั้งยังเป็นไปตามหลักกฎหมายปกครองที่ต้องทำให้การบริการสาธารณะมีความต่อเนื่องของการให้บริการ โดยการประกอบกิจการโทรคมนาคมถือเป็นการจัดทำบริการสาธารณะอย่างหนึ่ง ซึ่ง กสทช. ในฐานะองค์กรที่ได้รับมอบหมายภารกิจจากรัฐในการกำกับดูแลให้การประกอบกิจการให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม โดยแนวคิดที่สำคัญในการจัดทำบริการสาธารณะประการหนึ่ง คือ การจัดทำบริการสาธารณะต้องมีความต่อเนื่อง ไม่สะดุดหยุดลง ทั้งนี้ เนื่องจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นบริการสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก หากจะต้องสะดุดหยุดลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ประชาชนผู้ใช้บริการจำนวนมากย่อมจะต้องได้รับความเดือดร้อนหรือผลกระทบตามมา ดังนั้น ในระหว่างที่การจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าวแก่ผู้รับใบอนุญาตรายใหม่ยังไม่แล้วเสร็จและเพื่อให้ผู้ใช้บริการยังคงสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุดหยุดลง กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับดูแลการจัดทำบริการสาธารณะดังกล่าว จึงต้องมีหน้าที่กำหนดมาตรการคุ้มครอง ผู้ใช้บริการให้สามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ...

อ.แก้วสรร พูดต่อใน >> http://jardeerana.wordpress.com/2013/07/04/อย่าหวั่นซิมดับ-1800-การให้/


via Pantip Talk
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่