นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
=========================
สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกห้องศาสนา
วันนี้ผมก็จะขอนำเสนอ พระอภิธรรม3นาที ต่อในเรื่องของ
มหาวิบากจิต ๘ [1]
ก่อนอื่นก็ขอแสดงแผนภาพ ให้เห็นถึงตำแหน่งของตอนปัจจุบัน (จากผัง จิต ๘๙) ดังนี้นะครับ
มหาวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของมหากุศล ทำบุญทำกุศลด้วยมหากุศลจิตอย่างใด
ก็ได้มหาวิบากจิตอย่างนั้น มหากุศลจิตเป็นเหตุ ย่อมให้ผลเป็นมหาวิบากจิตที่ตรงกันเสมอ
[2] กล่าวคือ
มหากุศลจิตเป็น โสมนัส ให้ผลเป็น มหาวิบาก โสมนัส
" อุเบกขา " อุเบกขา
" ญาณสัมปยุตต " ญาณสัมปยุตต
" ญาณวิปยุตต " ญาณวิปยุตต
" อสังขาริก " อสังขาริก
" สสังขาริก " สสังขาริก
แผนผังข้างล่างนี้ ก็จะเห็นถึงความสัมพันธ์ของ เหตุคือ มหากุศลจิต ๘ และ
ผลคือ มหาวิบากจิต ๘ หรือ อเหตุกวิบากจิต ๘
ซึ่ง ในส่วนของ อเหตุกวิบากจิต ๘ อันเป็นจิตที่เกิดขึ้นให้ได้ประสบกับ
อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และทางกายที่ดีๆ ด้วยอำนาจของกุศลกรรมที่ได้ทำไว้
ได้อธิบายไว้ในตอนก่อนแล้ว คือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อภิธรรม3นาที - ตอนที่ 22 - อเหตุก กุศลวิบากจิต ๘ - ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรสที่ดี ได้ถูกต้องสัมผัสสิ่งที่ดี ....
http://topicstock-origin.ppantip.com/religious/topicstock/2012/03/Y11869693/Y11869693.html
สำหรับ มหาวิบากจิต ๘ ที่จะกล่าวถึงในตอนที่ 31 นี้
เป็นจิตที่เป็นผลของมหากุศล ทำบุญทำกุศลด้วยมหากุศลจิตอย่างใดก็ได้มหาวิบากจิตอย่างนั้น
มหากุศลจิตเป็นเหตุ ย่อมให้ผลเป็นมหาวิบากจิตที่ตรงกันเสมอ
ดังนั้นมหาวิบากจิต จึงมีจำนวนเท่ากันกับมหากุศลจิต คือ ๘ ดวง ได้แก่
ดวงที่ ๑
โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๒
โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๓
โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๔
โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๕
อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๖
อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๗
อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๘
อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
มหาวิบากจิตนี้ สามารถเกิดขึ้นทำกิจ
[3]
- ปฏิสนธิ
- ภวังค์
- จุติ
- และตทาลัมพณกิจ
(ปฏิสนธิ นี้คือ จิตที่เกิดขึ้นดวงแรกในแต่ละภพชาติ ส่วนจุติจิต คือจิตดวงสุดท้าย
ภวังคจิต คือ จิตที่เกิดดับสืบต่อกันไปในขณะที่จิตไม่ได้ยกขึ้นสู่วิถีรับอารมณ์ใหม่ เช่นอย่างในขณะเวลาหลับสนิทเป็นต้น
ส่วน ตทาลัมพณ นั้นจะได้อธิบายอีกทีเมื่อถึง ปริเฉทที่ ๔ เรื่องวิถีจิต)
มาถึงจุดนี้ ท่านผู้อ่านก็จะเข้าใจได้ว่า จิตที่เกิดขึ้นปฎิสนธินั้น ในกรณีของบุคคลใน สุคติกามภูมินั้น
โดยส่วนมากก็จะปฏิสนธิเกิดด้วย มหาวิบากจิต ๘ ดวงใดดวงหนึ่งนี้เอง
มหาวิบากจิต ๘ นี้
[4]
ไม่สามารถเป็นไปในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (เพราะเป็นวิบาก)
ไม่มีอธิบดี ๔ ไม่ทำให้เกิดวิญญัติรูป
ไม่มีกรุณาและมุทิตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ทั้งวิรตี ๓ ก็ไม่เกิดกับมหาวิบาก
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มหาวิบากจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ จะนำบุคคลให้ไปเกิด (ปฏิสนธิ) เป็นมนุษย์หรือเทวดาภูมิใดภูมิหนึ่ง ส่วนจะเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูงหรือ หรือชั้นกลาง ย่อมขึ้นอยู่กับกุศลที่ทำไว้ ว่าเป็นติเหตุกกุศล หรือทวิเหตุกกุศล และขึ้นกับเจตนาทั้ง ๓ กาล อันเป็นเครื่องชี้ว่า กุศลกรรมที่ทำไปนั้น เป็นอุกกัฏฐกุศล หรือ โอมกกุศล
[5] (เรื่องนี้จะอธิบายโดยละเอียดอีกครั้งเมื่อถึงปริเฉทที่ ๕)
มหาวิบากจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ นอกจากจะทำหน้าที่นำเกิด (ปฏิสนธิ) เป็นมนุษย์หรือเทวดาดังกล่าวแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นภวังคจิต เพื่อรักษาภพชาติที่เป็นมนุษย์หรือเทวดา ให้ดำรงอยู่ต่อไป จนกว่าจะตายอีกด้วย ดังนั้นบุคคลใด ที่ได้กระทำมหากุศลกรรมไว้ ถ้ายังไม่สำเร็จ เป็นพระอรหันต์ได้สิ้นชีวิตไปเสียก่อน ย่อมจะต้องได้รับผลเป็น มหาวิบากจิต ดวงใดดวงหนึ่ง ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเป็นเทวดา ดังที่กล่าวมาแล้ว ตามเหตุที่ได้สร้างมาอย่างแน่นอน
[5]
----------------------------------------------------------------------------------------------
วิบากจิตนั้น จัดเป็น หนึ่งในสมังคิตา ๕ ของการกระทำกุศลหรืออกุศล ดังนี้คือ
สมังคิตา ๕
[2]
การบำเพ็ญกุศลก็ดี การกระทำอกุศลก็ดี ย่อมมีสมังคิตา ( ย่อมต้องประกอบพร้อมหรือพร้อมมูลด้วยธรรม ) ๕ ประการ คือ
๑.
อายุหนสมงฺคิตา
ได้แก่ความเพียรในการกระทำกุศลหรืออกุศลนั้น
๒.
เจตนาสมงฺคิตา
ได้แก่เจตนา ๓ ประการในการทำกุศลหรืออกุศล คือ เจตนาก่อนทำ เจตนาขณะที่กำลังทำและเจตนาเมื่อทำเสร็จแล้ว
๓.
กมฺมสมงฺคิตา
ได้แก่กุศลกรรม หรืออกุศลกรรม หมายว่า สิ่งที่ทำนั้นเป็นกุศล หรืออกุศลที่สำเร็จมาจากความเพียร
๔.
อุปฏฺฐานสมงฺคิตา
ได้แก่กรรมอารมณ์กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ซึ่งจะปรากฎขึ้นเวลาใกล้จะตาย
๕.
วิปากสมงฺคิตา
ได้แก่ผลที่ต้องได้รับจากการกระทำกุศลหรืออกุศลนั้นๆ แล้วคือ ผลของสมังคิตาทั้ง ๔ ข้างต้นนั้น
----------------------------------------------------------------------------------------------
Ref
[1] มหาวิบากจิต ๘ ในธัมมสังคณีปกรณ์ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/read/?34/415-416
[2] คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๑
http://www.thepathofpurity.com/พระอภ-ธรรม/พระอภ-ธ-มม-ตถส-งคหะ/ปร-จเฉทท-๑/
[3] อัฏฐสาลินีอรรถกถา
http://www.thepalicanon.com/91book/book76/051_100.htm (ดูตั้งแต่หน้า 71)
http://www.thepalicanon.com/91book/book76/101_150.htm
[4] มหาวิบากจิต ๘ - จากเว๊บบ้านธัมมะ
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=8888
[5] หลักสูตร เรียนพระอภิธรรมทางอินเตอร์เนต ตอนที่ ๓ (ชุดที่ ๑)
http://www.thepathofpurity.com/พระอภ-ธรรม/หล-กส-ตรอ-นเตอร-เนต/ตอนท-๓-๑/
วันนี้ ก็จะขอนำเสนอไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
พระอภิธรรม3นาที - ตอนที่ 31 - มหาวิบากจิต ๘
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
=========================
สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกห้องศาสนา
วันนี้ผมก็จะขอนำเสนอ พระอภิธรรม3นาที ต่อในเรื่องของ มหาวิบากจิต ๘ [1]
ก่อนอื่นก็ขอแสดงแผนภาพ ให้เห็นถึงตำแหน่งของตอนปัจจุบัน (จากผัง จิต ๘๙) ดังนี้นะครับ
มหาวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของมหากุศล ทำบุญทำกุศลด้วยมหากุศลจิตอย่างใด
ก็ได้มหาวิบากจิตอย่างนั้น มหากุศลจิตเป็นเหตุ ย่อมให้ผลเป็นมหาวิบากจิตที่ตรงกันเสมอ [2] กล่าวคือ
มหากุศลจิตเป็น โสมนัส ให้ผลเป็น มหาวิบาก โสมนัส
" อุเบกขา " อุเบกขา
" ญาณสัมปยุตต " ญาณสัมปยุตต
" ญาณวิปยุตต " ญาณวิปยุตต
" อสังขาริก " อสังขาริก
" สสังขาริก " สสังขาริก
แผนผังข้างล่างนี้ ก็จะเห็นถึงความสัมพันธ์ของ เหตุคือ มหากุศลจิต ๘ และ
ผลคือ มหาวิบากจิต ๘ หรือ อเหตุกวิบากจิต ๘
ซึ่ง ในส่วนของ อเหตุกวิบากจิต ๘ อันเป็นจิตที่เกิดขึ้นให้ได้ประสบกับ
อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และทางกายที่ดีๆ ด้วยอำนาจของกุศลกรรมที่ได้ทำไว้
ได้อธิบายไว้ในตอนก่อนแล้ว คือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับ มหาวิบากจิต ๘ ที่จะกล่าวถึงในตอนที่ 31 นี้
เป็นจิตที่เป็นผลของมหากุศล ทำบุญทำกุศลด้วยมหากุศลจิตอย่างใดก็ได้มหาวิบากจิตอย่างนั้น
มหากุศลจิตเป็นเหตุ ย่อมให้ผลเป็นมหาวิบากจิตที่ตรงกันเสมอ
ดังนั้นมหาวิบากจิต จึงมีจำนวนเท่ากันกับมหากุศลจิต คือ ๘ ดวง ได้แก่
ดวงที่ ๑ โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๒ โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๓ โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๔ โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๕ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๖ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๗ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
ดวงที่ ๘ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
มหาวิบากดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
มหาวิบากจิตนี้ สามารถเกิดขึ้นทำกิจ [3]
- ปฏิสนธิ
- ภวังค์
- จุติ
- และตทาลัมพณกิจ
(ปฏิสนธิ นี้คือ จิตที่เกิดขึ้นดวงแรกในแต่ละภพชาติ ส่วนจุติจิต คือจิตดวงสุดท้าย
ภวังคจิต คือ จิตที่เกิดดับสืบต่อกันไปในขณะที่จิตไม่ได้ยกขึ้นสู่วิถีรับอารมณ์ใหม่ เช่นอย่างในขณะเวลาหลับสนิทเป็นต้น
ส่วน ตทาลัมพณ นั้นจะได้อธิบายอีกทีเมื่อถึง ปริเฉทที่ ๔ เรื่องวิถีจิต)
มาถึงจุดนี้ ท่านผู้อ่านก็จะเข้าใจได้ว่า จิตที่เกิดขึ้นปฎิสนธินั้น ในกรณีของบุคคลใน สุคติกามภูมินั้น
โดยส่วนมากก็จะปฏิสนธิเกิดด้วย มหาวิบากจิต ๘ ดวงใดดวงหนึ่งนี้เอง
มหาวิบากจิต ๘ นี้ [4]
ไม่สามารถเป็นไปในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (เพราะเป็นวิบาก)
ไม่มีอธิบดี ๔ ไม่ทำให้เกิดวิญญัติรูป
ไม่มีกรุณาและมุทิตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ทั้งวิรตี ๓ ก็ไม่เกิดกับมหาวิบาก
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มหาวิบากจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ จะนำบุคคลให้ไปเกิด (ปฏิสนธิ) เป็นมนุษย์หรือเทวดาภูมิใดภูมิหนึ่ง ส่วนจะเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูงหรือ หรือชั้นกลาง ย่อมขึ้นอยู่กับกุศลที่ทำไว้ ว่าเป็นติเหตุกกุศล หรือทวิเหตุกกุศล และขึ้นกับเจตนาทั้ง ๓ กาล อันเป็นเครื่องชี้ว่า กุศลกรรมที่ทำไปนั้น เป็นอุกกัฏฐกุศล หรือ โอมกกุศล [5] (เรื่องนี้จะอธิบายโดยละเอียดอีกครั้งเมื่อถึงปริเฉทที่ ๕)
มหาวิบากจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ นอกจากจะทำหน้าที่นำเกิด (ปฏิสนธิ) เป็นมนุษย์หรือเทวดาดังกล่าวแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นภวังคจิต เพื่อรักษาภพชาติที่เป็นมนุษย์หรือเทวดา ให้ดำรงอยู่ต่อไป จนกว่าจะตายอีกด้วย ดังนั้นบุคคลใด ที่ได้กระทำมหากุศลกรรมไว้ ถ้ายังไม่สำเร็จ เป็นพระอรหันต์ได้สิ้นชีวิตไปเสียก่อน ย่อมจะต้องได้รับผลเป็น มหาวิบากจิต ดวงใดดวงหนึ่ง ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเป็นเทวดา ดังที่กล่าวมาแล้ว ตามเหตุที่ได้สร้างมาอย่างแน่นอน [5]
----------------------------------------------------------------------------------------------
วิบากจิตนั้น จัดเป็น หนึ่งในสมังคิตา ๕ ของการกระทำกุศลหรืออกุศล ดังนี้คือ
สมังคิตา ๕ [2]
การบำเพ็ญกุศลก็ดี การกระทำอกุศลก็ดี ย่อมมีสมังคิตา ( ย่อมต้องประกอบพร้อมหรือพร้อมมูลด้วยธรรม ) ๕ ประการ คือ
๑. อายุหนสมงฺคิตา
ได้แก่ความเพียรในการกระทำกุศลหรืออกุศลนั้น
๒. เจตนาสมงฺคิตา
ได้แก่เจตนา ๓ ประการในการทำกุศลหรืออกุศล คือ เจตนาก่อนทำ เจตนาขณะที่กำลังทำและเจตนาเมื่อทำเสร็จแล้ว
๓. กมฺมสมงฺคิตา
ได้แก่กุศลกรรม หรืออกุศลกรรม หมายว่า สิ่งที่ทำนั้นเป็นกุศล หรืออกุศลที่สำเร็จมาจากความเพียร
๔. อุปฏฺฐานสมงฺคิตา
ได้แก่กรรมอารมณ์กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ซึ่งจะปรากฎขึ้นเวลาใกล้จะตาย
๕. วิปากสมงฺคิตา
ได้แก่ผลที่ต้องได้รับจากการกระทำกุศลหรืออกุศลนั้นๆ แล้วคือ ผลของสมังคิตาทั้ง ๔ ข้างต้นนั้น
----------------------------------------------------------------------------------------------
Ref
[1] มหาวิบากจิต ๘ ในธัมมสังคณีปกรณ์ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/read/?34/415-416
[2] คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๑
http://www.thepathofpurity.com/พระอภ-ธรรม/พระอภ-ธ-มม-ตถส-งคหะ/ปร-จเฉทท-๑/
[3] อัฏฐสาลินีอรรถกถา
http://www.thepalicanon.com/91book/book76/051_100.htm (ดูตั้งแต่หน้า 71)
http://www.thepalicanon.com/91book/book76/101_150.htm
[4] มหาวิบากจิต ๘ - จากเว๊บบ้านธัมมะ
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=8888
[5] หลักสูตร เรียนพระอภิธรรมทางอินเตอร์เนต ตอนที่ ๓ (ชุดที่ ๑)
http://www.thepathofpurity.com/พระอภ-ธรรม/หล-กส-ตรอ-นเตอร-เนต/ตอนท-๓-๑/
วันนี้ ก็จะขอนำเสนอไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ