สังขารขันธ์ ๑
อภิสังขาร ๑
อสังขาริก และสสังขาริก ๑
สังขารธรรม คือ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
สังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะ ที่เล็กน้อยที่สุด ก็ดับไปหมดสิ้น
สังขารธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก และรูป
ปรมัตถธรรม มี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ปรมัตถธรรม ๓ คือ
จิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น และตั้งอยู่ชั่วขณะ ที่สั้นมาก แล้วก็ดับไป
นิพพาน ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานจึงเป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดดับ นิพพานเป็นวิสังขารธรรม
สังขารธรรม ๓ คือ จิต เจตสิก รูป จำแนกเป็น ขันธ์ ๕ คือ
รูปทุกรูป เป็น รูปขันธ์
เวทนาเจตสิก ๑ ดวง เป็น เวทนาขันธ์
สัญญาเจตสิก ๑ ดวง เป็น สัญญาขันธ์
เจตสิกที่เหลือ ๕๐ ดวง เป็น สังขารขันธ์
จิตทุกดวง เป็น วิญญาณขันธ์
ฉะนั้น สังขารขันธ์จึงได้แก่ เจตสิก ๔๐ ดวง เว้น เวทนาเจตสิก และสัญญาเจตสิก
ส่วนสังขารธรรมได้แก่
จิตทั้งหมด ๘๙ ดวง
เจตสิกทั้งหมด ๕๒ ดวง
รูปทั้งหมด ๒๘ รูป
ความหมายของสังขารธรรมกว้างกว่าสังขารขันธ์
เพราะจิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม
แต่เฉพาะเจตสิก ๕๐ เท่านั้นที่เป็นสังขารขันธ์
และในเจตสิก ๕๐ ดวงซึ่งเป็นสังขารขันธ์นั้น
เฉพาะเจตนาเจตสิกดวงเดียวเท่านั้น
ที่เป็นอภิสังขาร
ในปฎิจจสมุปปาท อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ฯลฯ
สังขารในปฎิจจสมุปปาท
หมายถึงเจตนาเจตสิก
ซึ่งเป็นอภิสังขาร
เป็นสภาพที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง
คือ เป็นกุศลกรรม หรืออกุศลกรรม
ซึ่งจะทำให้เกิดผล คือวิบากจิตและเจตสิก
แม้ว่าเจตสิกอื่นๆ ก็ปรุงแต่งให้จิตเกิดขึ้น
เช่น ผัสสเจตสิก
ถ้าไม่มีผัสสเจตสิก
ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่กระทบอารมณ์
จิตเห็นก็มีไม่ได้ จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส
จิตรู้สิ่งกระทบสัมผัส จิตคิดนึกต่างๆ ก็มีไม่ได้
แต่ผัสสเจตสิก ก็ไม่ใช่อภิสังขาร
เพราะเพียงกระทบอารมณ์แล้วก็ดับหมดสิ้นไป
ฉะนั้น ในสังขารขันธ์ ๕๐ ดวงนั้น
เฉพาะเจตนาเจตสิกดวงเดียวเท่านั้น
ที่เป็นอภิสังขาร คือ เป็นสภาพที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง โดยเป็นกุศลกรรม หรืออกุศลกรรม
เป็นกัมมปัจจัยที่ทำให้ผล คือ วิบากจิตเกิด
อภิสังขาร
อภิสังขาร ๑
อสังขาริก และสสังขาริก ๑
สังขารธรรม คือ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
สังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะ ที่เล็กน้อยที่สุด ก็ดับไปหมดสิ้น
สังขารธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก และรูป
ปรมัตถธรรม มี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ปรมัตถธรรม ๓ คือ
จิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น และตั้งอยู่ชั่วขณะ ที่สั้นมาก แล้วก็ดับไป
นิพพาน ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานจึงเป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดดับ นิพพานเป็นวิสังขารธรรม
สังขารธรรม ๓ คือ จิต เจตสิก รูป จำแนกเป็น ขันธ์ ๕ คือ
รูปทุกรูป เป็น รูปขันธ์
เวทนาเจตสิก ๑ ดวง เป็น เวทนาขันธ์
สัญญาเจตสิก ๑ ดวง เป็น สัญญาขันธ์
เจตสิกที่เหลือ ๕๐ ดวง เป็น สังขารขันธ์
จิตทุกดวง เป็น วิญญาณขันธ์
ฉะนั้น สังขารขันธ์จึงได้แก่ เจตสิก ๔๐ ดวง เว้น เวทนาเจตสิก และสัญญาเจตสิก
ส่วนสังขารธรรมได้แก่
จิตทั้งหมด ๘๙ ดวง
เจตสิกทั้งหมด ๕๒ ดวง
รูปทั้งหมด ๒๘ รูป
ความหมายของสังขารธรรมกว้างกว่าสังขารขันธ์
เพราะจิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม
แต่เฉพาะเจตสิก ๕๐ เท่านั้นที่เป็นสังขารขันธ์
และในเจตสิก ๕๐ ดวงซึ่งเป็นสังขารขันธ์นั้น
เฉพาะเจตนาเจตสิกดวงเดียวเท่านั้น
ที่เป็นอภิสังขาร
ในปฎิจจสมุปปาท อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ฯลฯ
สังขารในปฎิจจสมุปปาท หมายถึงเจตนาเจตสิก
ซึ่งเป็นอภิสังขาร
เป็นสภาพที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง
คือ เป็นกุศลกรรม หรืออกุศลกรรม
ซึ่งจะทำให้เกิดผล คือวิบากจิตและเจตสิก
แม้ว่าเจตสิกอื่นๆ ก็ปรุงแต่งให้จิตเกิดขึ้น
เช่น ผัสสเจตสิก
ถ้าไม่มีผัสสเจตสิก
ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่กระทบอารมณ์
จิตเห็นก็มีไม่ได้ จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส
จิตรู้สิ่งกระทบสัมผัส จิตคิดนึกต่างๆ ก็มีไม่ได้
แต่ผัสสเจตสิก ก็ไม่ใช่อภิสังขาร
เพราะเพียงกระทบอารมณ์แล้วก็ดับหมดสิ้นไป
ฉะนั้น ในสังขารขันธ์ ๕๐ ดวงนั้น
เฉพาะเจตนาเจตสิกดวงเดียวเท่านั้น
ที่เป็นอภิสังขาร คือ เป็นสภาพที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง โดยเป็นกุศลกรรม หรืออกุศลกรรม
เป็นกัมมปัจจัยที่ทำให้ผล คือ วิบากจิตเกิด