แหวนรุ่นกับโลหะตั้งต้น รบกวนผู้รู้หน่อยครับ

กระทู้คำถาม
ก่อนอื่นก็บอกก่อนที่ขออนุญาตแท็กห้องสยามสแควร์เพราะกะทู้นี้อาจจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนักเรียนด้วยกันครับ

พอดีผมเป็นแกนนำรุ่นม.6 ปีนี้ คราวนี้มีบริษัทมาเสนองาน 2-3 เจ้า
บริษัท ก. บอกว่าใช้วัสดุเป็น สแตนเลส 316L ในการทำแหวน
บริษัท ข. บอกว่าใช้ Silver Steel ในการทำแหวน
คราวนี้ผมรับหน้าเป็นระดับตัวแทนรุ่นแล้ว เลยไม่อยากให้งานออกมาไม่ดี เพราะเกรงว่าฟีดแบ็คจะตกลงมาที่ผมเต็มๆ
กลัวว่าแหวนออกมาคุณภาพจะไม่ดีแล้วจะมีปัญหาตามหลัง ต้องการควา่มรอบคอบครับเพราะตัวเงินตรงนี้รวมแล้วมูลค่าสูงมาก

แต่เรื่องเงินช่างมันเถอะ ตอนนี้อยากรู้คุณสมบัติโลหะ อิๆ

ปัญหาผมมีดังนี้ครับ
1 ) โลหะ 2 ประเภทนี้ มีสารประกอบตั้งต้นและคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
  1.1 ) นิยมใช้กันในวงการระดับไหน (ของตามตลาด/ของขึ้นห้าง ประมาณนั้น)
2 ) โลหะ 2 ประเภทนี้ ชนิดไหนที่ในทางวิทยาศาสตร์ มีคุณสมบัติเด่นกว่าในด้าน
  2.1 ) ความคงทนต่อปฏิกริยา เช่น โอกาสการเกิดสนิม การหม่นหมองของสีผิวโลหะจากเหงื่อไคล
  2.2 ) ความเงางาม
  2.3 ) ความแข็งแรงต่อแรงกระทำ เช่น การบุบหรือเสียรูป การเกิดรอยขีดข่วน
3 ) สรุปแล้วโลหะประเภทไหนดีกว่ากันครับในแง่ของคุณภาพงาน

ยังไงก็ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1) 316L
<0.03% C, 16-18.5% Cr, 10-14% Ni, 2-3% Mo, <2% Mn, <1% Si, <0.045% P, <0.03% S
    เป็นสเตนเลสสตีลคาร์บอนเจือต่ำ (<0.03%) ป้องกันการกัดกร่อนแบบ pitting และ crevice ในสภาพแวดล้อมที่มีคลอไรด์ได้ดี มีค่าความแข็งสูงสุดที่ 217HB
  1.1) นิยมนำไปใช้ทำ..
       - อุปกรณ์ทางทะเล อุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์ทำอาหารโดยเฉพาะที่สัมผัสกับคลอไรด์ เป็นต้น
   silver steel
Carbon 1.00% /Silicon 0.30% /Chromium 0.40% /Manganese 0.35%
  ไม่มีส่้วนผสมของเงินเจืออยู่ แต่ที่เรียกเพราะเจ้า silver steel นี่มีผิวมันวาวคล้ายเงินเฉยๆ มีคาร์บอนเจอสูงค่าความแข็งค่อนข้างสูงคือเริ่มที่ประมาณ 270 HB และยังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกเมื่อผ่านกระบวนการชุบแข็ง
  1.1)นิยมนำไปใช้ทำ..
       - ไขควง ดอกสว่าน เพลา พิน ก๊อก ใบมีดคัทเตอร์ดีๆ เป็นต้น
2)......
  2.1) 316L ทนการกัดกร่อนได้ดีกว่าแน่นอนฮะ
  2.2) สำหรับสนิม 316L ก็มีเช่นกันแต่ออกไซด์จะมีลักษณะเหมือนฟิล์มบางตลอดผิวชิ้นงาน ซึ่งจะช่วยลดอัีตราการกัดกร่อนลง แต่ความหมองจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามปริมาณออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น แต่สามารถกำจัดออกได้ไม่ลำบากนัก(เมื่อกำจัดออกก็จะเงาเหมือนเดิม และจะเริ่มกระบวนการเกิดฟิล์มออกไซด์ขึ้นใหม่ทันทีเช่นกัน)
2.3) silver steel จะมีค่าความแข็งมากกว่า (แต่ถ้าถามผมนะ แหวนมันใส่บนนิ้วไม่จำเป็นต้องเลือกที่แข็งมากหรอกฮะ ยิ่งแข็งจะยิ่งเปราะแตกหักง่าย ผมว่าค่าความแข็งนี่มองแค่ให้มันแข็งพอที่จะไม่เสียรูปจากการบีบด้วยมือก็พอ ซึ่งก็แข็งพออยู่แล้วทั้งคู่ดังนั้นเลือกตัวแข็งน้อยกว่าจะป้องกันการแตกได้ดีกว่า)
3)ถ้าวัดกันในลักษณะชิ้นงานแหวน ไม่ขอออกความเห็นฮะ
   แต่ถ้ามองจากคุณสมบัติของวัสดุ 316L โดดเด่นในเรื่องการป้องกันการกัดกร่อน ส่วน silver steel เด่นในเรื่องความแข็ง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่