จากที่กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 30 ระบุไว้ว่า
(วรรค 1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
(วรรค 2) ในปีต่อมา นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้
(วรรค 3) นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆ ไปได้
(วรรค 4) สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง โดยคำนวณให้ตามสัดส่วนก็ได้
เนื่องจากเท่าที่เห็นมา แต่ละบริษัทจะมีเกณฑ์นับวันลาพักร้อน(ขอเรียกว่าลาพักร้อนนะครับ) ไม่เหมือนกัน บ้างก็นับแบบเข้าข้างนายจ้าง บ้างก็นับแบบเป็นกลาง บ้างก็นับแบบลูกจ้างได้ประโยชน์ ที่ผมเจอมาเป็นแบบนี้ครับ
บริษัทที่ 1 :ลูกจ้างเริ่มงาน วันที่ 1 เมษายน 2555 ทำงานครบ 1 ปีวันที่ 31 มีนาคม 2556 นายจ้างให้ลูกจ้างมีสิทธิลาพักร้อน 6 วันทำงาน และระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2556 – 31 ธันวาคม 2556 นายจ้างให้สิทธิลูกจ้างลาพักร้อนตามสัดส่วนได้อีก ((6 / 12) * 9 เดือน) = 4.5 วัน ดังนั้น ลูกจ้างจะมีสิทธิลาพักร้อนนับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 จำนวน 10.5 วัน และปีปฏิทินต่อๆ ไปก็จัดให้อย่างน้อย 6 วันทำงานต่อปี
บริษัทที่ 2 :ลูกจ้างเริ่มงาน วันที่ 1 เมษายน 2555 ทำงานครบ 1 ปีวันที่ 31 มีนาคม 2556 นายจ้างให้ลูกจ้างมีสิทธิลาพักร้อน 6 วันทำงาน แต่ไม่ได้ให้สิทธิลาพักร้อน 4.5 วันเหมือนบริษัทที่ 1 และจะเริ่มให้อีกครั้งในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 57 – 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 6 วัน
บริษัทที่ 3 : ลูกจ้างเริ่มงาน วันที่ 1 เมษายน 2555 ทำงานครบ 1 ปีวันที่ 31 มีนาคม 2556 นายจ้างให้ลูกจ้างมีสิทธิลาพักร้อน 4.5 วันทำงาน (เพราะนับตามสัดส่วนเวลาทำงานที่เหลือคือ 1 เมษายน 2556 – 31 ธันวาคม 2556 รวม 9 เดือน) และจะเริ่มให้อีกครั้งในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 57 – 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 6 วัน
บริษัทที่ 4 :ลูกจ้างเริ่มงาน วันที่ 1 เมษายน 2555 เมื่อทำงานถึง 31 ธันวาคม 2555(อายุงาน 9 เดือน) นายจ้างให้ลูกจ้างมีสิทธิลาพักร้อน 4.5 วันในปีแรกทันที(เหมือนวรรค 4) แต่ให้ใช้สิทธิหลังผ่านโปร และจะเริ่มให้อีกครั้งในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 56 – 31 ธันวาคม 2556 จำนวน 6 วัน
สรุปแล้ว ระหว่างที่ลูกจ้างเริ่มงาน 1 เมษายน 2555 – 31 ธันวาคม 2556 รวมระยะเวลาทำงาน 1 ปี 9 เดือน ลูกจ้างจะได้วันลาพักร้อนดังนี้
บริษัทที่ 1 =10.5 วัน
บริษัทที่ 2=6 วัน
บริษัทที่ 3 =4.5 วัน
บริษัทที่ 4=10.5 วัน
ผมอ่านฏีกาของศาลแรงงาน ฎีกาที่ 3629/2529 มีเนื้อหาที่ตรงกับแนวปฏิบัติของบริษัทที่ 1
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ ๑๐ วรรคแรก กำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปี เมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้ว ถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมา และในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก
ใครมีความรู้ด้านนี้หรือทำงานนี้โดยตรง ผมขอคำชี้แนะหน่อยครับ ว่าแบบไหนกันแน่ที่ตรงกับเจตนารมย์ของกฎหมายมาตรา 30
ขอผู้รู้ช่วยฟันธงกฎหมายคุ้มครองแรงงานข้อนี้ทีครับ
(วรรค 1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
(วรรค 2) ในปีต่อมา นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้
(วรรค 3) นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆ ไปได้
(วรรค 4) สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง โดยคำนวณให้ตามสัดส่วนก็ได้
เนื่องจากเท่าที่เห็นมา แต่ละบริษัทจะมีเกณฑ์นับวันลาพักร้อน(ขอเรียกว่าลาพักร้อนนะครับ) ไม่เหมือนกัน บ้างก็นับแบบเข้าข้างนายจ้าง บ้างก็นับแบบเป็นกลาง บ้างก็นับแบบลูกจ้างได้ประโยชน์ ที่ผมเจอมาเป็นแบบนี้ครับ
บริษัทที่ 1 :ลูกจ้างเริ่มงาน วันที่ 1 เมษายน 2555 ทำงานครบ 1 ปีวันที่ 31 มีนาคม 2556 นายจ้างให้ลูกจ้างมีสิทธิลาพักร้อน 6 วันทำงาน และระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2556 – 31 ธันวาคม 2556 นายจ้างให้สิทธิลูกจ้างลาพักร้อนตามสัดส่วนได้อีก ((6 / 12) * 9 เดือน) = 4.5 วัน ดังนั้น ลูกจ้างจะมีสิทธิลาพักร้อนนับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 จำนวน 10.5 วัน และปีปฏิทินต่อๆ ไปก็จัดให้อย่างน้อย 6 วันทำงานต่อปี
บริษัทที่ 2 :ลูกจ้างเริ่มงาน วันที่ 1 เมษายน 2555 ทำงานครบ 1 ปีวันที่ 31 มีนาคม 2556 นายจ้างให้ลูกจ้างมีสิทธิลาพักร้อน 6 วันทำงาน แต่ไม่ได้ให้สิทธิลาพักร้อน 4.5 วันเหมือนบริษัทที่ 1 และจะเริ่มให้อีกครั้งในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 57 – 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 6 วัน
บริษัทที่ 3 : ลูกจ้างเริ่มงาน วันที่ 1 เมษายน 2555 ทำงานครบ 1 ปีวันที่ 31 มีนาคม 2556 นายจ้างให้ลูกจ้างมีสิทธิลาพักร้อน 4.5 วันทำงาน (เพราะนับตามสัดส่วนเวลาทำงานที่เหลือคือ 1 เมษายน 2556 – 31 ธันวาคม 2556 รวม 9 เดือน) และจะเริ่มให้อีกครั้งในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 57 – 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 6 วัน
บริษัทที่ 4 :ลูกจ้างเริ่มงาน วันที่ 1 เมษายน 2555 เมื่อทำงานถึง 31 ธันวาคม 2555(อายุงาน 9 เดือน) นายจ้างให้ลูกจ้างมีสิทธิลาพักร้อน 4.5 วันในปีแรกทันที(เหมือนวรรค 4) แต่ให้ใช้สิทธิหลังผ่านโปร และจะเริ่มให้อีกครั้งในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 56 – 31 ธันวาคม 2556 จำนวน 6 วัน
สรุปแล้ว ระหว่างที่ลูกจ้างเริ่มงาน 1 เมษายน 2555 – 31 ธันวาคม 2556 รวมระยะเวลาทำงาน 1 ปี 9 เดือน ลูกจ้างจะได้วันลาพักร้อนดังนี้
บริษัทที่ 1 =10.5 วัน
บริษัทที่ 2=6 วัน
บริษัทที่ 3 =4.5 วัน
บริษัทที่ 4=10.5 วัน
ผมอ่านฏีกาของศาลแรงงาน ฎีกาที่ 3629/2529 มีเนื้อหาที่ตรงกับแนวปฏิบัติของบริษัทที่ 1
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ ๑๐ วรรคแรก กำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปี เมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้ว ถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมา และในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก
ใครมีความรู้ด้านนี้หรือทำงานนี้โดยตรง ผมขอคำชี้แนะหน่อยครับ ว่าแบบไหนกันแน่ที่ตรงกับเจตนารมย์ของกฎหมายมาตรา 30