สิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ซึ่งลูกจ้างได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยการทำงานตามสัญญาจ้างลูกจ้างมีสิทธิได้รับบำเหน็จพิเศษจากนายจ้างนอกเหนือจากค่าจ้างตามปกติได้
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. สิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุว่า
มาตรา ๑๑ สิทธิขอรับสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ซึ่งลูกจ้างได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยการทำงานตามสัญญาจ้างหรือโดยสัญญาจ้างที่มีวัตถุประสงค์ให้ทำการประดิษฐ์ ย่อมตกได้แก่นายจ้างเว้นแต่สัญญาจ้างจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ลูกจ้างที่ทำการประดิษฐ์สิ่ง หนึ่งสิ่งใดด้วยการใช้วิธีการ สถิติหรือรายงานซึ่งลูกจ้างสามารถใช้หรือล่วงรู้ได้เพราะการเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างนั้นแม้ว่าสัญญาจ้างจะมิได้เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์
มาตรา ๑๒ เพื่อส่งเสริมให้มีการประดิษฐ์และเพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างในกรณีที่การประดิษฐ์ของลูกจ้างตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างได้รับประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือนำสิ่งประดิษฐ์นั้นไปใช้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับบำเหน็จพิเศษจากนายจ้างนอกเหนือจากค่าจ้างตามปกติได้
ให้ลูกจ้างที่ทำการประดิษฐ์ตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง มีสิทธิได้รับ บำเหน็จพิเศษจากนายจ้างสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จพิเศษจะถูกตัดโดยสัญญาจ้างหาได้ไม่
การขอรับสิทธิตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ยื่นต่ออธิบดีตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดบำเหน็จพิเศษ ให้แก่ลูกจ้างตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงค่าจ้าง ความสำคัญในการประดิษฐ์ ประโยชน์ ที่นายจ้างได้รับหรือจะได้รับจากการประดิษฐ์ดังกล่าว และเงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
กล่าวโดยสรุป ดังนี้
1.ลูกจ้างได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยการทำงานตามสัญญาจ้าง ต่อมา ลูกจ้างโอนสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรให้แก่นายจ้าง แม้ ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเงินเดือนตามปกติแล้วก็สามารถมีสิทธิได้รับบำเหน็จพิเศษจากนายจ้างด้วย ซึ่งกรณีลูกจ้างต่างชาติซึ่งมาปฏิบัติงานในประเทศไทยหากสัญญาจ้างเกิดในเมืองไทยและมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมาย โดยความเห็นของผู้เขียน ก็ถือเป็นลูกจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ฯ นี้เช่นกัน
2.การขอรับสิทธิ ให้ยื่นต่ออธิบดีตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดบำเหน็จพิเศษ ให้แก่ลูกจ้างตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงค่าจ้าง ความสำคัญในการประดิษฐ์ ประโยชน์ ที่นายจ้างได้รับหรือจะได้รับจากการประดิษฐ์ดังกล่าว และเงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
ปัจจุบัน มีกรณีเกิดขึ้นเพียงกรณีเดียวเท่านั้นที่ลูกจ้างยื่นขอใช้สิทธิซึ่ง ณ 5/6/2557 ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา และ เป็นการขอรับสิทธิจาก “อนุสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับกรรมวิธี”
ปัญหาคือ
2.1 การพิสูจน์สืบทราบได้อย่างไรว่าสิ่งที่นายจ้างผลิตและจำหน่ายไปแล้วนั้นผลิตจากกรรมวิธีที่ขอรับอนุสิทธิบัตรที่ลูกจ้างคิดค้น ซึ่งการเข้าไปตรวจสอบก็ต้องดำเนินการที่สถานที่ผลิตของนายจ้างซึ่งก็มีข้อโต้แย้งว่าจะเข้าไปได้อย่างไร ต้องดำเนินการขออำนาจศาลหรือไม่ และ วิธีการพิสูจน์ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั้น ทั้งลูกจ้างที่ปฏิบัติอยู่อาจจะไม่ให้ความร่วมมือ
2.2 การกำหนดบำเหน็จพิเศษจะกำหนดจากมาตรฐานอย่างไร ซึ่งต้องรอผลการพิจารณาของกรณีนี้เพื่อทำการศึกษาต่อไป
www.tgcthailand.com
สิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ซึ่งลูกจ้างได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยการทำงานตามสัญญาจ้างลูกจ้างมีสิทธิได้รับบำเหน็จพิเศษจากนายจ้าง
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. สิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุว่า
มาตรา ๑๑ สิทธิขอรับสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ซึ่งลูกจ้างได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยการทำงานตามสัญญาจ้างหรือโดยสัญญาจ้างที่มีวัตถุประสงค์ให้ทำการประดิษฐ์ ย่อมตกได้แก่นายจ้างเว้นแต่สัญญาจ้างจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ลูกจ้างที่ทำการประดิษฐ์สิ่ง หนึ่งสิ่งใดด้วยการใช้วิธีการ สถิติหรือรายงานซึ่งลูกจ้างสามารถใช้หรือล่วงรู้ได้เพราะการเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างนั้นแม้ว่าสัญญาจ้างจะมิได้เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์
มาตรา ๑๒ เพื่อส่งเสริมให้มีการประดิษฐ์และเพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างในกรณีที่การประดิษฐ์ของลูกจ้างตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างได้รับประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือนำสิ่งประดิษฐ์นั้นไปใช้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับบำเหน็จพิเศษจากนายจ้างนอกเหนือจากค่าจ้างตามปกติได้
ให้ลูกจ้างที่ทำการประดิษฐ์ตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง มีสิทธิได้รับ บำเหน็จพิเศษจากนายจ้างสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จพิเศษจะถูกตัดโดยสัญญาจ้างหาได้ไม่
การขอรับสิทธิตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ยื่นต่ออธิบดีตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดบำเหน็จพิเศษ ให้แก่ลูกจ้างตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงค่าจ้าง ความสำคัญในการประดิษฐ์ ประโยชน์ ที่นายจ้างได้รับหรือจะได้รับจากการประดิษฐ์ดังกล่าว และเงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
กล่าวโดยสรุป ดังนี้
1.ลูกจ้างได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยการทำงานตามสัญญาจ้าง ต่อมา ลูกจ้างโอนสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรให้แก่นายจ้าง แม้ ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเงินเดือนตามปกติแล้วก็สามารถมีสิทธิได้รับบำเหน็จพิเศษจากนายจ้างด้วย ซึ่งกรณีลูกจ้างต่างชาติซึ่งมาปฏิบัติงานในประเทศไทยหากสัญญาจ้างเกิดในเมืองไทยและมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมาย โดยความเห็นของผู้เขียน ก็ถือเป็นลูกจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ฯ นี้เช่นกัน
2.การขอรับสิทธิ ให้ยื่นต่ออธิบดีตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดบำเหน็จพิเศษ ให้แก่ลูกจ้างตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงค่าจ้าง ความสำคัญในการประดิษฐ์ ประโยชน์ ที่นายจ้างได้รับหรือจะได้รับจากการประดิษฐ์ดังกล่าว และเงื่อนไขอื่นตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
ปัจจุบัน มีกรณีเกิดขึ้นเพียงกรณีเดียวเท่านั้นที่ลูกจ้างยื่นขอใช้สิทธิซึ่ง ณ 5/6/2557 ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา และ เป็นการขอรับสิทธิจาก “อนุสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับกรรมวิธี”
ปัญหาคือ
2.1 การพิสูจน์สืบทราบได้อย่างไรว่าสิ่งที่นายจ้างผลิตและจำหน่ายไปแล้วนั้นผลิตจากกรรมวิธีที่ขอรับอนุสิทธิบัตรที่ลูกจ้างคิดค้น ซึ่งการเข้าไปตรวจสอบก็ต้องดำเนินการที่สถานที่ผลิตของนายจ้างซึ่งก็มีข้อโต้แย้งว่าจะเข้าไปได้อย่างไร ต้องดำเนินการขออำนาจศาลหรือไม่ และ วิธีการพิสูจน์ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั้น ทั้งลูกจ้างที่ปฏิบัติอยู่อาจจะไม่ให้ความร่วมมือ
2.2 การกำหนดบำเหน็จพิเศษจะกำหนดจากมาตรฐานอย่างไร ซึ่งต้องรอผลการพิจารณาของกรณีนี้เพื่อทำการศึกษาต่อไป
www.tgcthailand.com