พูดถึงคำว่า "พรีเมี่ยมข้าว" คิดว่าหลายๆคนอาจไม่เคยรู้จักคำนี้มาก่อน บางคนอาจเคยได้ยิน แต่ไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร...
พรีเมี่ยมข้าวนั้นไม่ใช่ การขายข้าวในราคาแพงเป็นพิเศษ ( พรีเมี่ยม ) แต่อย่างใดเลยครับ... แต่นี่คือการดำเนินนโยบายของรัฐบาลไทยในอดีตช่วงหนึ่ง นโยบายที่วางอยู่บนฐานแห่งหยาดเหงื่อและน้ำตา...
ในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 เหล่าผู้ก่อการนั้นไม่สามารถรักษาระบอบใหม่ของตัวเองให้ธำรงอยู่ได้ ต้องเสียอำนาจให้กับกลุ่มอำนาจเก่า และบรรดาขุนทหารที่ขึ้นมามีอำนาจแทน ในเวลาไม่นาน...
กลุ่มขุนทหารเมื่อขึ้นมามีอำนาจ ได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบ "เสรีนิยม" หากแต่เสรีนิยมของรัฐบาลในขณะนั้น มิใช่ในความหมายของตลาดเสรีที่แท้จริง แต่เป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลภายในประเทศ ร่วมกับการถ่ายโอนส่วนเกินจากภาคการเกษตรมาสู่เมือง ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศในเวลานั้นมากที่สุดก็คือ "ข้าว"
ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญมาช้านาน ประกอบกับสถานการณ์ในเวลานั้น ประเทศต่างๆในเอเชียไม่สามารถผลิตข้าวให้เพียงพอกับตลาดได้ รัฐบาลเวลานั้นจึงได้ออกมาตรการขึ้นมาเพื่อแทรกแซงราคาข้าวหลายมาตรการ เช่น
การตั้งราคาผูกขาดรวมถึงกำหนดโควต้าสำหรับการส่งออก
การแทรกแซงราคาภายในประเทศ
การเก็บค่าธรรมเนียมในการส่งออกหรือที่เรียกว่า "พรีเมี่ยมข้าว"
การบังคับให้มีการสำรองข้าวสำหรับผู้ส่งออกกับรัฐบาลในราคาถูก
ผลของนโยบายเหล่านี้ก็เป็นไปตามที่รัฐบาลในเวลานั้นตั้งใจไว้ นั่นคือการดึงราคาข้าวให้ต่ำเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้บริโภคในเมือง นอกจากนี้ ยังมีการประมาณว่ารายได้จากการเก็บพรีเมี่ยมข้าวนั้นในบางปีสูงถึง 32% ของรายได้รวมของรัฐบาล ( เรียกได้ว่าหากไม่มีรายได้จากค่าธรรมเนียมข้าวแล้ว รัฐบาลเวลานั้นจะต้องล่มจมอย่างแน่นอน )
ถึงแม้ค่าพรีเมี่ยมข้าวนั้นจะทำการเรียกเก็บจากผู้ส่งออก แต่ด้วยสถานภาพที่ได้เปรียบและมีช่องทางมากมายของเหล่าบรรดาผู้ส่งออก จึงทำให้สามารถผลักภาระที่เป็นต้นทุนค่าธรรมเนียมอันมหาศาลนี้ไปให้ผู้ค้ารายย่อยอื่นๆ ซึ่งประกอบกับรัฐไม่ได้ให้ความสนใจกับสภาพความเสรีของตลาด สุดท้ายภาระนี้ก็ถูกต่อไปเป็นทอดๆผ่านการกดราคากลับไปยังผู้ผลิตดั้งเดิมที่ไม่สามารถผลักภาระต่อไปที่ไหนได้อีกแล้ว นั่นคือ "ชาวนา"
แม้ต่อมาจะมีการยกเลิกการเก็บพรีเมี่ยมข้าว รวมทั้งนโยบายต่างๆในที่สุด แต่ก็เป็นจากเหตุปัจจัยที่มีการพัฒนาพันธุ์ข้าว จนทำให้ประเทศต่างๆสามารถผลิตได้เกินพอเลี้ยงตัวเองจนสามารถหันมาส่งออกกันมากขึ้น ซึ่งการเลิกพรีเมี่ยมข้าวก็พึ่งมาทำในปี 2528 นี้เอง...
ส่วนผลลัพธ์ที่เกิดกับชาวนา... นั่นคือสิ่งที่เราคงจะรู้กันดี ทั้งความขมขื่นจากการที่ต้องทำงานเลี้ยงคนทั้งประเทศ ( สภาพในเวลานั้นเป็นเช่นนี้จริงๆ ) การเสียโอกาสจากยุคทองที่ไทยเป็นมหาอำนาจข้าวเพียงรายเดียวที่ควรจะขายข้าวได้ในราคาดี กลับกลายเป็นว่าต้องผจญกับปัญหานานานับประการ ทำให้จาก "ยุคทอง" กลายเป็น "ยุคมืด" ซึ่งช่วงเวลาเหล่านี้คงไม่มีวันจะย้อนกลับมาได้อีกแล้ว...
ไม่มีสิ่งตอบแทนจากรัฐไทย หรือใครที่ให้พวกเขาได้มากกว่า การเป็น "กระดูกสันหลังของชาติ" ( ซึ่งเอาไปรับประทานอะไรไม่ได้ )
ก็อยากจะฝากถามไปยังบรรดาคนเมือง คนกรุง ท่านผู้เจริญแล้ว อุดมโดยโภคทรัพย์นานานับประการทั้งหลาย ว่าท่านหลงลืมอดีตไปแล้วหรือไม่...
มันคงไม่สายไป ที่จะหันมามองผู้ที่ถูกลืมเหล่านี้บ้าง...
savor
บทความนี้เป็นของคุณ savor เห็นว่าเป็นบทความที่ดีเหมาะสมสำหรับสถาการณ์ในปัจจุบัน จะเห็นได้่ว่าอดีตชาวนาต้องขายข้าวราคาต่ำเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมส่งออก(พรีเมี่ยมข้าว)เหล่านี้ครับ
พรีเมี่ยมข้าว : ความหลังอันขมขื่นของชาวนาไทย
พรีเมี่ยมข้าวนั้นไม่ใช่ การขายข้าวในราคาแพงเป็นพิเศษ ( พรีเมี่ยม ) แต่อย่างใดเลยครับ... แต่นี่คือการดำเนินนโยบายของรัฐบาลไทยในอดีตช่วงหนึ่ง นโยบายที่วางอยู่บนฐานแห่งหยาดเหงื่อและน้ำตา...
ในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 เหล่าผู้ก่อการนั้นไม่สามารถรักษาระบอบใหม่ของตัวเองให้ธำรงอยู่ได้ ต้องเสียอำนาจให้กับกลุ่มอำนาจเก่า และบรรดาขุนทหารที่ขึ้นมามีอำนาจแทน ในเวลาไม่นาน...
กลุ่มขุนทหารเมื่อขึ้นมามีอำนาจ ได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบ "เสรีนิยม" หากแต่เสรีนิยมของรัฐบาลในขณะนั้น มิใช่ในความหมายของตลาดเสรีที่แท้จริง แต่เป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลภายในประเทศ ร่วมกับการถ่ายโอนส่วนเกินจากภาคการเกษตรมาสู่เมือง ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศในเวลานั้นมากที่สุดก็คือ "ข้าว"
ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญมาช้านาน ประกอบกับสถานการณ์ในเวลานั้น ประเทศต่างๆในเอเชียไม่สามารถผลิตข้าวให้เพียงพอกับตลาดได้ รัฐบาลเวลานั้นจึงได้ออกมาตรการขึ้นมาเพื่อแทรกแซงราคาข้าวหลายมาตรการ เช่น
การตั้งราคาผูกขาดรวมถึงกำหนดโควต้าสำหรับการส่งออก
การแทรกแซงราคาภายในประเทศ
การเก็บค่าธรรมเนียมในการส่งออกหรือที่เรียกว่า "พรีเมี่ยมข้าว"
การบังคับให้มีการสำรองข้าวสำหรับผู้ส่งออกกับรัฐบาลในราคาถูก
ผลของนโยบายเหล่านี้ก็เป็นไปตามที่รัฐบาลในเวลานั้นตั้งใจไว้ นั่นคือการดึงราคาข้าวให้ต่ำเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้บริโภคในเมือง นอกจากนี้ ยังมีการประมาณว่ารายได้จากการเก็บพรีเมี่ยมข้าวนั้นในบางปีสูงถึง 32% ของรายได้รวมของรัฐบาล ( เรียกได้ว่าหากไม่มีรายได้จากค่าธรรมเนียมข้าวแล้ว รัฐบาลเวลานั้นจะต้องล่มจมอย่างแน่นอน )
ถึงแม้ค่าพรีเมี่ยมข้าวนั้นจะทำการเรียกเก็บจากผู้ส่งออก แต่ด้วยสถานภาพที่ได้เปรียบและมีช่องทางมากมายของเหล่าบรรดาผู้ส่งออก จึงทำให้สามารถผลักภาระที่เป็นต้นทุนค่าธรรมเนียมอันมหาศาลนี้ไปให้ผู้ค้ารายย่อยอื่นๆ ซึ่งประกอบกับรัฐไม่ได้ให้ความสนใจกับสภาพความเสรีของตลาด สุดท้ายภาระนี้ก็ถูกต่อไปเป็นทอดๆผ่านการกดราคากลับไปยังผู้ผลิตดั้งเดิมที่ไม่สามารถผลักภาระต่อไปที่ไหนได้อีกแล้ว นั่นคือ "ชาวนา"
แม้ต่อมาจะมีการยกเลิกการเก็บพรีเมี่ยมข้าว รวมทั้งนโยบายต่างๆในที่สุด แต่ก็เป็นจากเหตุปัจจัยที่มีการพัฒนาพันธุ์ข้าว จนทำให้ประเทศต่างๆสามารถผลิตได้เกินพอเลี้ยงตัวเองจนสามารถหันมาส่งออกกันมากขึ้น ซึ่งการเลิกพรีเมี่ยมข้าวก็พึ่งมาทำในปี 2528 นี้เอง...
ส่วนผลลัพธ์ที่เกิดกับชาวนา... นั่นคือสิ่งที่เราคงจะรู้กันดี ทั้งความขมขื่นจากการที่ต้องทำงานเลี้ยงคนทั้งประเทศ ( สภาพในเวลานั้นเป็นเช่นนี้จริงๆ ) การเสียโอกาสจากยุคทองที่ไทยเป็นมหาอำนาจข้าวเพียงรายเดียวที่ควรจะขายข้าวได้ในราคาดี กลับกลายเป็นว่าต้องผจญกับปัญหานานานับประการ ทำให้จาก "ยุคทอง" กลายเป็น "ยุคมืด" ซึ่งช่วงเวลาเหล่านี้คงไม่มีวันจะย้อนกลับมาได้อีกแล้ว...
ไม่มีสิ่งตอบแทนจากรัฐไทย หรือใครที่ให้พวกเขาได้มากกว่า การเป็น "กระดูกสันหลังของชาติ" ( ซึ่งเอาไปรับประทานอะไรไม่ได้ )
ก็อยากจะฝากถามไปยังบรรดาคนเมือง คนกรุง ท่านผู้เจริญแล้ว อุดมโดยโภคทรัพย์นานานับประการทั้งหลาย ว่าท่านหลงลืมอดีตไปแล้วหรือไม่...
มันคงไม่สายไป ที่จะหันมามองผู้ที่ถูกลืมเหล่านี้บ้าง...
savor
บทความนี้เป็นของคุณ savor เห็นว่าเป็นบทความที่ดีเหมาะสมสำหรับสถาการณ์ในปัจจุบัน จะเห็นได้่ว่าอดีตชาวนาต้องขายข้าวราคาต่ำเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมส่งออก(พรีเมี่ยมข้าว)เหล่านี้ครับ