อัปยศ 18 ปียุครัฐบาลปชป. 2535-2553 จาก ชวน ถึง มาร์ค ราคาข้าวเท่ากัน ตันละ 4,000…เด๊ะ!!!
ภายหลัง ได้มีความชัดเจนเรื่องราคาข้าว จากคำให้สัมภาษณ์ของนายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย ถึงราคาข้าวจริงๆ ของตลาดข้าวภายในประเทศ ที่ “พ่อค้า-นายทุน” ซื้อจากเกษตรกร ในราคาต่ำแสนต่ำ ตันละเพียง 4,000 บาท ในช่วงที่ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ดำเนินนโยบายประกันรายได้เกษตรกร อย่างเมามันส์
ซึ่งเว็บไซด์ผู้จัดการออนไลน์ ได้รายงานข่าวเอาไว้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2553 ระบุว่า “ข้าวเหลือตันละ 4 พัน พณ.เล็งปรับสูตรคำนวณราคาอ้างอิงใหม่” ซึ่งมีเนื้อหาว่า “นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย กล่าวว่า ชาวนายังไม่พอใจกับเกณฑ์กำหนดราคาดังกล่าว เพื่อนำออกมาแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เนื่องจากมองว่าแนวทางที่รักษาประโยชน์ทางการค้า มากกว่าแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวนา และหวังว่า กขช.จะใช้เกรณฑ์ตามอ้างอิงตามราคาตลาดตามที่สมาคมชาวนาไทยเสนอ
ขณะนี้ราคาข้าวตกต่ำอย่างรวดเร็ว พร้อมระบุว่า บางพื้นที่เหลือประมาณตันละ 4,000-5,000 บาทเท่านั้น ในขณะนี้ราคาอ้างอิงที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์เป็นราคาที่สูงเกินจริง ทำให้ชาวนาที่ไปขึ้นทะเบียนการประกันราคาข้าวได้ส่วนต่างราคาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น จึงควรจะประกาศราคาให้ใกล้เคียงกับตลาดประมาณกว่า 7,000 บาท ชาวนาก็จะได้เงินประกันที่สูงขึ้น โดยรวมกับเงินประกันแล้วชาวนาไม่ควรได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ในขณะเดียวกันราคาตั้งโต๊ะรับซื้อก็ควรสูงกว่าราคาอ้างอิง เพื่อดึงราคาตลาดให้เพิ่มขึ้น โดยควรจะสูงกว่า 9,000 บาท
ราคาข้าวที่ชาวนาอยู่ได้ โดยรวมไม่ควรจะต่ำกว่า 10,000 บาท ดังนั้น ไม่ว่ารัฐจะเข้ามาช่วยเหลือแนวทางใด ก็ควรจะรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท หากไม่เข้ามาช่วยเหลือ ชาวนาอาจจะไม่สามารถอดทนได้ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้พูดคุยกันว่า ภาวะบ้านเมืองเป็นเช่นนี้ ก็ไม่อยากชุมนุมกันอีก ดังนั้น รัฐควรจะหาทางแก้ปัญหาโดยเร็ว”
ซึ่งน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อย้อนกลับไปหาข้อมูลในหนังสือ “เศรษฐกิจการเมืองยุครัฐบาลชวน หลีกภัย” ของ “รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์” นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคอลัมนิสต์ของเว็บไซด์ผู้จัดการออนไลน์มายาวนาน บันทึกเอาไว้ช่วงรัฐบาลชวน 1
ระบุว่า “รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2535 ให้ ธกส.รับจำนำ ข้าวเปลือกจากชาวนา โดยใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท เงินจำนวนดังกล่าวนี้เป็น สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยตํ่า (packing credit) ที่ ธกส. ได้รับจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเสียดอกเบี้ย 1% ต่อปี เมื่อ ธกส. รับจำนำข้าวจากชาวนา ธกส.จะต้องจ่ายสินเชื่อให้แก่ชาวนา มูลค่าร้อยละ 90 ของราคาเป้าหมาย
ทั้งนี้ราคาเป้าหมายที่กำหนดก็คือ ข้าวเปลือกชนิด 5% ความชื้นไม่เกิน 15% ราคา 4,100 บาทต่อตัน ส่วนข้าวเกรดอื่น ๆ จะมีราคาเป้าหมายแตกต่างกันประมาณเกรดละ 100 บาทต่อตัน การรับจำนำ ข้าวเปลือกของ ธกส. เริ่มต้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2535 มีกำหนดเวลาการชำ ระหนี้ 3 เดือน เมื่อชาวนาไถ่ถอนข้าวที่จำนำ ไว้กับ ธกส. ชาวนา ไม่เพียงแต่จะต้องชำ ระเงินต้นที่ได้รับเท่านั้น หากยังต้องชำ ระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปีอีกด้วย”
ซึ่งกรณีนี้นอกจากจะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า “รัฐบาลชวน หลีกภัย” มี “เงื่อนไขประหลาด” กับแนวนโยบายการการรับจำนำข้าว ในปี 2535 ซึ่งแตกต่างกับการรับจำนำข้าวในปัจจุบัน โดยสิ้นเชิง คือ
1.กำหนดให้ “เกษตรกร” คือ “ลูกหนี้” ที่นำข้าวมา “จำนำ” กับ “โรงรับจำนำ” ที่เป็น “ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)”
2.กำหนดให้ “ธกส.” เป็นเสมือน “โรงรับจำนำ” ที่จ่ายเงินกู้ให้กับเกษตรกร เพียง 90 เปอร์เซ็นต์ของราคาประเมิน
3. กำหนดให้ “เกษตรกร” ซึ่งเป็นลูกหนี้ “โรงรับจำนำ (ธกส.)” จะต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ย 3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อมาไถ่ถอนข้าวคืนเมื่อครบระยะเวลาโครงการ 3 เดือน แล้ว….…
ยังทำให้เห็น “วิสัยทัศน์” ของ “ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ 2 ยุค” คือ ยุค 2535-2538 ที่นำโดย “นายชวน หลีกภัย” และ ยุค 2552-2554 ที่นำโดย “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ว่าแม้ทั้ง 2 คนจะอยู่ในยุคที่ห่างกันกว่า 18-19 ปี แต่ “การบริหารราคาข้าวภายในประเทศ” และ การมุ่งช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นนั้นใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่อง “ราคาข้าว”…
โดยในปี พ.ศ. 2535 ที่มี “นายชวน หลีกภัย” เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศ “ราคาข้าวเป้าหมาย” เอาไว้ที่ “4,100 บาทต่อตัน”
หลังจากนั้นอีก 18-19 ปีต่อมา ในปี พ.ศ.2553 ที่มี “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็น นายกรัฐมนตรี “นายกสมาคมชาวไทย” เป็นผู้ยืนยันเองว่า “ราคาข้าวในตลาดภายในประเทศ” ขายได้ “จริง” เพียงตันละ 4,000 บาท
18 ปีที่ผ่านมา…ไม่คิดว่าจะให้ “ชาวนา” ลืมตา อ้าปาก บ้างหรือ !!!
http://www.phranakornsarn.com/democrat/1547.html
===================================
หัวเป็นอย่างไร หางก็เป็นเช่นนั้น เมื่ออย่างนั้นชวนจะสนับสนุน
ดันทุกทาง ดิ้นทุกช๊อต เพื่อให้มาร์คเป็นหัวหน้าพรรคทำไมกัน
เรื่องเก่า ๆๆ นำมาเปรียบเทียบให้อ่านกัน
ภายหลัง ได้มีความชัดเจนเรื่องราคาข้าว จากคำให้สัมภาษณ์ของนายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย ถึงราคาข้าวจริงๆ ของตลาดข้าวภายในประเทศ ที่ “พ่อค้า-นายทุน” ซื้อจากเกษตรกร ในราคาต่ำแสนต่ำ ตันละเพียง 4,000 บาท ในช่วงที่ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ดำเนินนโยบายประกันรายได้เกษตรกร อย่างเมามันส์
ซึ่งเว็บไซด์ผู้จัดการออนไลน์ ได้รายงานข่าวเอาไว้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2553 ระบุว่า “ข้าวเหลือตันละ 4 พัน พณ.เล็งปรับสูตรคำนวณราคาอ้างอิงใหม่” ซึ่งมีเนื้อหาว่า “นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย กล่าวว่า ชาวนายังไม่พอใจกับเกณฑ์กำหนดราคาดังกล่าว เพื่อนำออกมาแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เนื่องจากมองว่าแนวทางที่รักษาประโยชน์ทางการค้า มากกว่าแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวนา และหวังว่า กขช.จะใช้เกรณฑ์ตามอ้างอิงตามราคาตลาดตามที่สมาคมชาวนาไทยเสนอ
ขณะนี้ราคาข้าวตกต่ำอย่างรวดเร็ว พร้อมระบุว่า บางพื้นที่เหลือประมาณตันละ 4,000-5,000 บาทเท่านั้น ในขณะนี้ราคาอ้างอิงที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์เป็นราคาที่สูงเกินจริง ทำให้ชาวนาที่ไปขึ้นทะเบียนการประกันราคาข้าวได้ส่วนต่างราคาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น จึงควรจะประกาศราคาให้ใกล้เคียงกับตลาดประมาณกว่า 7,000 บาท ชาวนาก็จะได้เงินประกันที่สูงขึ้น โดยรวมกับเงินประกันแล้วชาวนาไม่ควรได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ในขณะเดียวกันราคาตั้งโต๊ะรับซื้อก็ควรสูงกว่าราคาอ้างอิง เพื่อดึงราคาตลาดให้เพิ่มขึ้น โดยควรจะสูงกว่า 9,000 บาท
ราคาข้าวที่ชาวนาอยู่ได้ โดยรวมไม่ควรจะต่ำกว่า 10,000 บาท ดังนั้น ไม่ว่ารัฐจะเข้ามาช่วยเหลือแนวทางใด ก็ควรจะรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท หากไม่เข้ามาช่วยเหลือ ชาวนาอาจจะไม่สามารถอดทนได้ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้พูดคุยกันว่า ภาวะบ้านเมืองเป็นเช่นนี้ ก็ไม่อยากชุมนุมกันอีก ดังนั้น รัฐควรจะหาทางแก้ปัญหาโดยเร็ว”
ซึ่งน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อย้อนกลับไปหาข้อมูลในหนังสือ “เศรษฐกิจการเมืองยุครัฐบาลชวน หลีกภัย” ของ “รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์” นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคอลัมนิสต์ของเว็บไซด์ผู้จัดการออนไลน์มายาวนาน บันทึกเอาไว้ช่วงรัฐบาลชวน 1
ระบุว่า “รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2535 ให้ ธกส.รับจำนำ ข้าวเปลือกจากชาวนา โดยใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท เงินจำนวนดังกล่าวนี้เป็น สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยตํ่า (packing credit) ที่ ธกส. ได้รับจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเสียดอกเบี้ย 1% ต่อปี เมื่อ ธกส. รับจำนำข้าวจากชาวนา ธกส.จะต้องจ่ายสินเชื่อให้แก่ชาวนา มูลค่าร้อยละ 90 ของราคาเป้าหมาย
ทั้งนี้ราคาเป้าหมายที่กำหนดก็คือ ข้าวเปลือกชนิด 5% ความชื้นไม่เกิน 15% ราคา 4,100 บาทต่อตัน ส่วนข้าวเกรดอื่น ๆ จะมีราคาเป้าหมายแตกต่างกันประมาณเกรดละ 100 บาทต่อตัน การรับจำนำ ข้าวเปลือกของ ธกส. เริ่มต้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2535 มีกำหนดเวลาการชำ ระหนี้ 3 เดือน เมื่อชาวนาไถ่ถอนข้าวที่จำนำ ไว้กับ ธกส. ชาวนา ไม่เพียงแต่จะต้องชำ ระเงินต้นที่ได้รับเท่านั้น หากยังต้องชำ ระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปีอีกด้วย”
ซึ่งกรณีนี้นอกจากจะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า “รัฐบาลชวน หลีกภัย” มี “เงื่อนไขประหลาด” กับแนวนโยบายการการรับจำนำข้าว ในปี 2535 ซึ่งแตกต่างกับการรับจำนำข้าวในปัจจุบัน โดยสิ้นเชิง คือ
1.กำหนดให้ “เกษตรกร” คือ “ลูกหนี้” ที่นำข้าวมา “จำนำ” กับ “โรงรับจำนำ” ที่เป็น “ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)”
2.กำหนดให้ “ธกส.” เป็นเสมือน “โรงรับจำนำ” ที่จ่ายเงินกู้ให้กับเกษตรกร เพียง 90 เปอร์เซ็นต์ของราคาประเมิน
3. กำหนดให้ “เกษตรกร” ซึ่งเป็นลูกหนี้ “โรงรับจำนำ (ธกส.)” จะต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ย 3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อมาไถ่ถอนข้าวคืนเมื่อครบระยะเวลาโครงการ 3 เดือน แล้ว….…
ยังทำให้เห็น “วิสัยทัศน์” ของ “ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ 2 ยุค” คือ ยุค 2535-2538 ที่นำโดย “นายชวน หลีกภัย” และ ยุค 2552-2554 ที่นำโดย “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ว่าแม้ทั้ง 2 คนจะอยู่ในยุคที่ห่างกันกว่า 18-19 ปี แต่ “การบริหารราคาข้าวภายในประเทศ” และ การมุ่งช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นนั้นใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่อง “ราคาข้าว”…
โดยในปี พ.ศ. 2535 ที่มี “นายชวน หลีกภัย” เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศ “ราคาข้าวเป้าหมาย” เอาไว้ที่ “4,100 บาทต่อตัน”
หลังจากนั้นอีก 18-19 ปีต่อมา ในปี พ.ศ.2553 ที่มี “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็น นายกรัฐมนตรี “นายกสมาคมชาวไทย” เป็นผู้ยืนยันเองว่า “ราคาข้าวในตลาดภายในประเทศ” ขายได้ “จริง” เพียงตันละ 4,000 บาท
18 ปีที่ผ่านมา…ไม่คิดว่าจะให้ “ชาวนา” ลืมตา อ้าปาก บ้างหรือ !!!
http://www.phranakornsarn.com/democrat/1547.html
===================================
หัวเป็นอย่างไร หางก็เป็นเช่นนั้น เมื่ออย่างนั้นชวนจะสนับสนุน
ดันทุกทาง ดิ้นทุกช๊อต เพื่อให้มาร์คเป็นหัวหน้าพรรคทำไมกัน