“กมธ.มั่นคง” ถกปมพม่ายิงเรือประมงไทย “โรม” หวัง 4 คนไทยได้กลับประเทศเร็วที่สุด
https://siamrath.co.th/n/587211
วันที่ 13 ธ.ค.2567 เวลา 09.30 น.ที่รัฐสภา นาย
รังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ กล่าวถึงการประชุมกรรมการวันนี้(13 ธ.ค.)ว่าจะมีการ พิจารณา กรณีเรือประมงไทยถูกทหารเมียนมายิง โดยเชิญตัวแทน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงอาทิ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตัวแทนจากทหารเรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้องและเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อหารือแนวทางในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะกรณีเรือประมง ที่จะต้องมีการเยียวยา ผู้ที่ถูกควบคุมตัวทั้ง 4 คน ว่าจะได้อิสรภาพเมื่อใด โดยคาดหวังว่าตัวประกันทั้ง 4 คน จะได้กลับประเทศ เพราะมีข่าวลือเป็นระยะตั้งแต่ช่วงใหม่ๆ ว่าจะได้กลับบ้าน ซึ่งมีเสียงสะท้อนมาจากผู้ที่ถูกควบคุมตัว เบื้องต้นอยากให้เขาได้กลับประเทศไทยโดยเร็วที่สุด
นาย
รังสิมันต์ กล่าวอีกว่า จริงๆแล้วไม่ได้มีแค่มิติเรื่องของ 4 คน แต่มีเรื่องความเสียหายเพราะต้องยอมรับว่า เครื่องมือที่ใช้ในการประมงมีราคาสูง เมื่อมีเหตุเช่นนี้ ก็ต้องมาคุยกันว่าจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะให้ชาวประมงได้รับการเยียวยา ถ้าเขาไม่ได้ทำอะไรผิดเลย อยู่ๆถูกยิงขึ้นมา ก็ต้องมีอะไรบางอย่าง ที่ต้องมาคุยกันว่า ทำไมเขาถึงถูกกระทำแบบนี้ และถ้าถูกกระทำไปแล้ว จะมีอะไรที่เยียวยาเขาบ้าง ซึ่งทางกรรมาธิการ อยากได้ความชัดเจนในหลายส่วน ว่าตกลงแล้ว เราจะทำอย่างไร เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ประมง และคนไทยทั้ง 4 คนที่ถูกจับไป แต่รวมไปถึงบทบาทของประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศไทยต้องแสดงออก ว่าเราเป็นประเทศ ที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง เราเป็นประเทศที่มีอำนาจขนาดกลาง อยู่ๆจะมายิงกัน โดยมีการกระทำที่เกินกว่าเหตุซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถยอมรับได้ จึงต้องพูดคุยกันว่าสุดท้ายแล้ว ประเทศไทยจะมีท่าทีต่อสิ่งเหล่านี้อย่างไร
นาย
รังสิมันต์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมจะมีการพิจารณากรณีกลุ่มว้าแดงที่ตั้งฐานทัพล้ำ เข้ามาในประเทศไทย โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นหน่วยงานลักษณะเดียวกับประเด็นเรือประมงถูกยิงแต่จะมีกองทัพภาคที่ 3 มาร่วมชี้แจงด้วย ซึ่งมีข่าวลือว่าวันที่ 18 ธันวาคมนี้ว่าเป็นเส้นตาย วันนี้คงจะได้ฟังแนวทางที่ชัดเจนว่าหน่วยงานของรัฐ และกองทัพ จะมีแนวทางดำเนินการอย่างไร เพราะตนคิดว่าเป็นเรื่องที่คาราคาซังมานานแล้ว เพราะมีการล้ำเข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานาน เป็นเรื่องที่เราไม่น่าจะยอมรับได้ จริงๆแล้วไม่ใช่แค่การล้ำดินแดน แต่เป็นเรื่องผลประโยชน์ของชาติ ในการปกป้องประเทศไทย และประชาชนชาวไทย ในการที่ถูกภัยคุกคามจากยาเสพติดด้วย
‘เลขากกต.’ มองเหตุยิง ‘สจ.โต้ง’ เป็นเรื่องส่วนตัว เชื่อไม่กระทบเลือกตั้ง อบจ.
https://www.dailynews.co.th/news/4182492/
‘เลขากกต.’ มองเหตุยิง ‘สจ.โต้ง’ เป็นเรื่องส่วนตัว เชื่อไม่กระทบเลือกตั้ง อบจ.
เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นาย
แสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงเหตุยิงนายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ หรืออดีตสจ.โต้ง ที่จ.ปราจีนบุรี เสียชีวิตว่า น่าจะเป็นเรื่องการเมืองในพื้นที่ เป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งสำนักงานฯ กกต.ไม่กังวลในเรื่องนี้ ความผิดที่เกิดขึ้นเป็นไปตามกฎหมายอื่น แต่เมื่อไหร่เข้ามาสู่ระบบการเมือง เราก็ต้องดูตามกฎหมายเลือกตั้งได้ ส่วนความขัดแย้งอย่างอื่นที่จะส่งผลต่อการเลือกตั้งเราก็ดูยู่ คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ไม่น่าจะกระทบอะไร.
เมื่อถามว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นหรือไม่ นาย
แสวง กล่าวว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น เพราะเหตุที่เกิดน่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งผอ.กกต.จังหวัดได้รายงานมาว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ในข่าวระบุว่าเกี่ยวกับการที่จะเลือกนายกอบจ. ดังนั้นเราก็จะติดตามดูว่าจะมีผลอะไร แต่ข้อมูลวันนี้ยังคิดว่าไม่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการเลือกตั้ง และการควบคุมให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม ส่วนเรื่องการออกไปใช้สิทธิของประชาชนเป็นโจทย์ของสำนักงานฯ เพราะเราต้องการให้ประชาชนมาใช้สิทธิในวันที่ 1 ก.พ. 2568 ให้มากที่สุด รวมถึงจังหวัดอื่นๆ
นาย
แสวง กล่าวว่า สำหรับพื้นที่อื่นๆ ตอนนี้ยังมีนายกอบจ.และสมาชิกอบจ. ทยอยลาออก คาดว่า น่าจะเป็นผลมาจากกฎหมาย ที่กำหนดห้ามไม่ให้นายกเป็นสมาชิกอบจ.ไปทำการใดๆ ที่จะเป็นการเอื้อให้ได้รับเลือกตั้ง ซึ่งเขาก็เกรงว่าอาจจะไปทำอะไรที่สุ่มเสี่ยง ทั้งที่บางเรื่องเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ก็เกรงว่าอาจจะมีคนนำมาร้อง จึงตัดปัญหาด้วยการลาออก ซึ่งแม้กฎหมายจะกำหนดให้ให้ต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 60 วันกรณีตำแหน่งว่างลง แต่เมื่อเป็นการลาออกในช่วงเวลาที่ใกล้จากครบวาระของสภาอบจ. กกต. ก็จะจัดให้มีการเลือกตั้งในวันเดียวกับที่สภาอบจ.ครบวาระ คือเลือกตั้งในวันที่ 1 ก.พ.2568 เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ไม่ต้องออกมาเลือกตั้งหลายรอบ
เมื่อถามถึงกรณีสภาผู้แทนราษฎรมีความพยายามเสนอแก้กฎหมาย ให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นทางไปรษณีย์ เพื่อให้มีผู้ใช้สิทธิมากเท่ากับการเลือกตั้งระดับชาติ นาย
แสวง กล่าวว่า เรื่องการให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเป็นหน้าที่ของสำนักงานกกต.จะต้องทำงานหนัก ร่วมกับเครือข่าย และผู้สมัครเองก็ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ ซึ่งเราไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ ถ้ามีการใช้สิทธิน้อย แสดงว่ากกต.ทำงานไม่เข้าเป้าหรือบกพร่อง ส่วนที่จะให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้ายังเป็นแนวคิด ซึ่งปรัชญาในการเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นแตกต่างกัน จึงมีการออกแบบกฎหมาย ให้การเลือกตั้งท้องถิ่นไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้าเหมือนกับการเลือกตั้งสส..
เสรีโคนม “ไทย-ออสซี่-กีวี” ปี 68 ป่วน 90 ราย ขอนำเข้านมผง-เกษตรกรผวาเลิกอาชีพ
https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/614295
เปิดเสรีโคนม FTA ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ปี 68 ป่วนไม่เลิก 90 บริษัท-สหกรณ์ แห่ขอนำเข้านมผงทะลัก 9.1 หมื่นตัน เกษตรกรนับถอยหลัง ชผวาเลิกอาชีพ “ชุมนุมสหกรณ์ฯ-สภาเกษตรกร” ก้นร้อน ส่งหนังสือ “นฤมล” รัฐมนตรีเกษตรฯ วอนเบรกด่วน พร้อมขอเจรจาทบทวน ชี้ไม่ขัดหลักการ WTO
ภายหลังความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย–ออสเตรเลีย และไทย–นิวซีแลนด์ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้ทยอยลดภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมดจาก 2 ประเทศเป็น 0% โดยยกเลิกมาตรการปกป้องพิเศษ รวมถึงยกเลิกโควตาภาษี และลดภาษีเป็น 0% ภายใน 20 ปี หรือในปี 2568 ในสินค้านมและผลิตภัณฑ์เป็นหนึ่งในสินค้าที่ไทยยังไม่พร้อมแข่งขันกับสินค้าจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ที่ถือเป็นมหาอำนาจในสินค้านมและผลิตภัณฑ์ของโลก ทำให้ต้องขอเวลาปรับตัวมานานถึง 20 ปี แต่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ไทยต้องลดภาษีเป็น 0% สำหรับการนำเข้านมดิบ นมผงขาดมันเนย และเครื่องดื่มประเภทนม/นม UHT จากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ล่าสุด (6 ธ.ค.67) กรมปศุสัตว์ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาจัดสรรโควตาและอัตราภาษีนำเข้านมผงขาดมันเนย นมดิบ และนมพร้อมดื่มครั้งที่ 3/2567 โดยมีนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธาน โดยได้มีการพิจารณาเรื่องการนำเข้าสินค้านมในปี 2568 ตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และการเปิดเสรีสินค้านมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง และนมผงขาดมันเนยตามความตกลงการค้าเสรีไทย- ออสเตรเลีย (TAFTA) และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP) ในปีแรกที่จะมีการเปิดเสรี
นาย
สมพงษ์ ภูพานเพชร ประธานชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) TAFTA และ TNZCEP จำเป็นต้องเปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตร ซึ่งสินค้าเกษตรที่มีผลกระทบกับไทย สามารถกำหนดโควตาและอัตราภาษีในโควตาและนอกโควตาได้ สำหรับนมผงขาดมันเนยเป็นสินค้าหนึ่งที่อยู่ในข้อผูกพันต้องเปิดตลาดนำเข้าต่อปี ตามข้อตกลง WTO ไม่น้อยกว่า 55,000 ตัน และใน TAFTA ไม่น้อยกว่า 2,574 ตัน รวมทั้งสิ้น 57,574 ตัน โดยคิดอัตราภาษี ในโควตาร้อยละ 20 (เก็บจริง ร้อยละ 5) และอัตราภาษีนอกโควตา WTO ร้อยละ 216 และ ใน TAFTA ร้อยละ 194.4 ส่วนนมและครีม ต้องเปิดตลาดตามข้อตกลง WTO ไม่น้อยกว่า ปริมาณ 2,372.74 ตัน โดยคิดอัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 20 และภาษีนอกโควตา ร้อยละ 41 และตามความตกลง TAFTA/ TNZCEP ในทั้ง 2 กรอบจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568
“
เมื่อพิจารณาคำขอนำเข้านมผงของบริษัทและสหกรณ์ ในเวลานี้มีจำนวน 90 ราย พบว่า มี บมจ. ฟรีสแลนด์คัมพิน่าฯ นำเข้าสูงสุด 1.6 หมื่นตัน รองลงมา บจก. ซีพี-เมจิ 1.4 หมื่นตัน และ บจก. เอฟแอนด์เอ็น แดรีส์ฯ ขอนำเข้า 1.2 หมื่นตัน ตามลำดับ แบ่งเป็นตามข้อตกลง WTO ปริมาณ 41,104 ตัน, ตามข้อตกลง AFTA 17,859 ตัน และตามข้อตกลง TNZCEP 32,987 ตัน รวมทั้งหมด 91,951 ตัน”
ทั้งนี้ เมื่อคิดเป็นนมผงคืนรูปจะเทียบเท่านํ้านมดิบ คิดเป็น 2,015 ตัน/วัน (ราคาเฉลี่ย 14-18 บาท/กิโลกรัม) และที่สำคัญเกินความต้องการบริโภคนมในประเทศ ที่บริโภคทั้งนมพาณิชย์และนมโรงเรียน ประมาณวันละ 1,500-1,700 ตัน/วัน ปัญหาที่จะตามมาคือ นํ้านมดิบในประเทศจะไปขายที่ไหน หากเป็นเช่นนี้อาชีพโคนมในประเทศไทยคงล่มสลายในที่สุด
นาย
สมพงษ์ กล่าวอีกว่า เกษตรกรไทยรีดนม จากแม่โคนมได้ประมาณวันละ 2,500-2,800 ตัน/วัน โดยนํ้านมดิบมีอายุ 24 ชั่วโมง ดังนั้นโดยกลไกจะถูกกดดันด้านราคาจากคุณภาพได้ง่าย ทั้งนี้นมดิบที่สารอาหาร โปรตีนสูง ต้องเก็บในถังอุณหภูมิที่รักษาความเย็นไม่น้อยกว่า 4 องศา ต้นทุนเก็บรักษาสูง ต้องบริหารจัดการจำหน่ายล่วงหน้า และการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม ต้องทำตลาดล่วงหน้า โดยมีต้นทุนนํ้านมดิบ 21.25- 23 บาท/กิโลกรัม ยังไม่รวมต้นทุนค่าใช้จ่ายของศูนย์รวบรวมนํ้านมดิบของเกษตรกรและค่าขนส่ง เมื่อไปเปรียบเทียบกับนมผง ผู้ประกอบการจะประหยัดต้นทุนมากกว่า 30% สามารถเก็บสต๊อกได้ในอากาศธรรมดา นานกว่า 3-6 เดือน โดยจะใช้เมื่อไรค่อยนำมาผสม
“
จากผลกระทบดังกล่าวทางชุมนุมฯ ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด เพื่อขอหารือกับนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอให้ทบทวนความตกลง หรือช่วยหาทางออกให้เกษตรกร ขณะนี้กำลังรออยู่ว่าจะรับนัดวันไหน”
สอดคล้องกับนาย
นัยฤทธิ์ จำเล ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ทางสภาเกษตรกรไม่ได้นิ่งนอนใจ จะช่วยประสานกับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ทบทวน โดยไม่ขัดกับหลักการของ WTO ซึ่งจะเร่งหารือต่อไป
JJNY : “กมธ.มั่นคง”ถกปมพม่ายิงเรือ│เลขากกต.มองเหตุยิง‘สจ.โต้ง’│เสรีโคนม“ไทย-ออสซี่-กีวี”ปี68 ป่วน│สหรัฐช่วยยูเครนรอบใหม่
https://siamrath.co.th/n/587211
นายรังสิมันต์ กล่าวอีกว่า จริงๆแล้วไม่ได้มีแค่มิติเรื่องของ 4 คน แต่มีเรื่องความเสียหายเพราะต้องยอมรับว่า เครื่องมือที่ใช้ในการประมงมีราคาสูง เมื่อมีเหตุเช่นนี้ ก็ต้องมาคุยกันว่าจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะให้ชาวประมงได้รับการเยียวยา ถ้าเขาไม่ได้ทำอะไรผิดเลย อยู่ๆถูกยิงขึ้นมา ก็ต้องมีอะไรบางอย่าง ที่ต้องมาคุยกันว่า ทำไมเขาถึงถูกกระทำแบบนี้ และถ้าถูกกระทำไปแล้ว จะมีอะไรที่เยียวยาเขาบ้าง ซึ่งทางกรรมาธิการ อยากได้ความชัดเจนในหลายส่วน ว่าตกลงแล้ว เราจะทำอย่างไร เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ประมง และคนไทยทั้ง 4 คนที่ถูกจับไป แต่รวมไปถึงบทบาทของประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศไทยต้องแสดงออก ว่าเราเป็นประเทศ ที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง เราเป็นประเทศที่มีอำนาจขนาดกลาง อยู่ๆจะมายิงกัน โดยมีการกระทำที่เกินกว่าเหตุซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถยอมรับได้ จึงต้องพูดคุยกันว่าสุดท้ายแล้ว ประเทศไทยจะมีท่าทีต่อสิ่งเหล่านี้อย่างไร
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมจะมีการพิจารณากรณีกลุ่มว้าแดงที่ตั้งฐานทัพล้ำ เข้ามาในประเทศไทย โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นหน่วยงานลักษณะเดียวกับประเด็นเรือประมงถูกยิงแต่จะมีกองทัพภาคที่ 3 มาร่วมชี้แจงด้วย ซึ่งมีข่าวลือว่าวันที่ 18 ธันวาคมนี้ว่าเป็นเส้นตาย วันนี้คงจะได้ฟังแนวทางที่ชัดเจนว่าหน่วยงานของรัฐ และกองทัพ จะมีแนวทางดำเนินการอย่างไร เพราะตนคิดว่าเป็นเรื่องที่คาราคาซังมานานแล้ว เพราะมีการล้ำเข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานาน เป็นเรื่องที่เราไม่น่าจะยอมรับได้ จริงๆแล้วไม่ใช่แค่การล้ำดินแดน แต่เป็นเรื่องผลประโยชน์ของชาติ ในการปกป้องประเทศไทย และประชาชนชาวไทย ในการที่ถูกภัยคุกคามจากยาเสพติดด้วย
‘เลขากกต.’ มองเหตุยิง ‘สจ.โต้ง’ เป็นเรื่องส่วนตัว เชื่อไม่กระทบเลือกตั้ง อบจ.
https://www.dailynews.co.th/news/4182492/
‘เลขากกต.’ มองเหตุยิง ‘สจ.โต้ง’ เป็นเรื่องส่วนตัว เชื่อไม่กระทบเลือกตั้ง อบจ.
เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงเหตุยิงนายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ หรืออดีตสจ.โต้ง ที่จ.ปราจีนบุรี เสียชีวิตว่า น่าจะเป็นเรื่องการเมืองในพื้นที่ เป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งสำนักงานฯ กกต.ไม่กังวลในเรื่องนี้ ความผิดที่เกิดขึ้นเป็นไปตามกฎหมายอื่น แต่เมื่อไหร่เข้ามาสู่ระบบการเมือง เราก็ต้องดูตามกฎหมายเลือกตั้งได้ ส่วนความขัดแย้งอย่างอื่นที่จะส่งผลต่อการเลือกตั้งเราก็ดูยู่ คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ไม่น่าจะกระทบอะไร.
เมื่อถามว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น เพราะเหตุที่เกิดน่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งผอ.กกต.จังหวัดได้รายงานมาว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ในข่าวระบุว่าเกี่ยวกับการที่จะเลือกนายกอบจ. ดังนั้นเราก็จะติดตามดูว่าจะมีผลอะไร แต่ข้อมูลวันนี้ยังคิดว่าไม่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการเลือกตั้ง และการควบคุมให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม ส่วนเรื่องการออกไปใช้สิทธิของประชาชนเป็นโจทย์ของสำนักงานฯ เพราะเราต้องการให้ประชาชนมาใช้สิทธิในวันที่ 1 ก.พ. 2568 ให้มากที่สุด รวมถึงจังหวัดอื่นๆ
นายแสวง กล่าวว่า สำหรับพื้นที่อื่นๆ ตอนนี้ยังมีนายกอบจ.และสมาชิกอบจ. ทยอยลาออก คาดว่า น่าจะเป็นผลมาจากกฎหมาย ที่กำหนดห้ามไม่ให้นายกเป็นสมาชิกอบจ.ไปทำการใดๆ ที่จะเป็นการเอื้อให้ได้รับเลือกตั้ง ซึ่งเขาก็เกรงว่าอาจจะไปทำอะไรที่สุ่มเสี่ยง ทั้งที่บางเรื่องเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ก็เกรงว่าอาจจะมีคนนำมาร้อง จึงตัดปัญหาด้วยการลาออก ซึ่งแม้กฎหมายจะกำหนดให้ให้ต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 60 วันกรณีตำแหน่งว่างลง แต่เมื่อเป็นการลาออกในช่วงเวลาที่ใกล้จากครบวาระของสภาอบจ. กกต. ก็จะจัดให้มีการเลือกตั้งในวันเดียวกับที่สภาอบจ.ครบวาระ คือเลือกตั้งในวันที่ 1 ก.พ.2568 เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ไม่ต้องออกมาเลือกตั้งหลายรอบ
เมื่อถามถึงกรณีสภาผู้แทนราษฎรมีความพยายามเสนอแก้กฎหมาย ให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นทางไปรษณีย์ เพื่อให้มีผู้ใช้สิทธิมากเท่ากับการเลือกตั้งระดับชาติ นายแสวง กล่าวว่า เรื่องการให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเป็นหน้าที่ของสำนักงานกกต.จะต้องทำงานหนัก ร่วมกับเครือข่าย และผู้สมัครเองก็ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ ซึ่งเราไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ ถ้ามีการใช้สิทธิน้อย แสดงว่ากกต.ทำงานไม่เข้าเป้าหรือบกพร่อง ส่วนที่จะให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้ายังเป็นแนวคิด ซึ่งปรัชญาในการเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นแตกต่างกัน จึงมีการออกแบบกฎหมาย ให้การเลือกตั้งท้องถิ่นไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้าเหมือนกับการเลือกตั้งสส..
เสรีโคนม “ไทย-ออสซี่-กีวี” ปี 68 ป่วน 90 ราย ขอนำเข้านมผง-เกษตรกรผวาเลิกอาชีพ
https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/614295
เปิดเสรีโคนม FTA ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ปี 68 ป่วนไม่เลิก 90 บริษัท-สหกรณ์ แห่ขอนำเข้านมผงทะลัก 9.1 หมื่นตัน เกษตรกรนับถอยหลัง ชผวาเลิกอาชีพ “ชุมนุมสหกรณ์ฯ-สภาเกษตรกร” ก้นร้อน ส่งหนังสือ “นฤมล” รัฐมนตรีเกษตรฯ วอนเบรกด่วน พร้อมขอเจรจาทบทวน ชี้ไม่ขัดหลักการ WTO
ภายหลังความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย–ออสเตรเลีย และไทย–นิวซีแลนด์ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้ทยอยลดภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมดจาก 2 ประเทศเป็น 0% โดยยกเลิกมาตรการปกป้องพิเศษ รวมถึงยกเลิกโควตาภาษี และลดภาษีเป็น 0% ภายใน 20 ปี หรือในปี 2568 ในสินค้านมและผลิตภัณฑ์เป็นหนึ่งในสินค้าที่ไทยยังไม่พร้อมแข่งขันกับสินค้าจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ที่ถือเป็นมหาอำนาจในสินค้านมและผลิตภัณฑ์ของโลก ทำให้ต้องขอเวลาปรับตัวมานานถึง 20 ปี แต่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ไทยต้องลดภาษีเป็น 0% สำหรับการนำเข้านมดิบ นมผงขาดมันเนย และเครื่องดื่มประเภทนม/นม UHT จากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ล่าสุด (6 ธ.ค.67) กรมปศุสัตว์ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาจัดสรรโควตาและอัตราภาษีนำเข้านมผงขาดมันเนย นมดิบ และนมพร้อมดื่มครั้งที่ 3/2567 โดยมีนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธาน โดยได้มีการพิจารณาเรื่องการนำเข้าสินค้านมในปี 2568 ตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และการเปิดเสรีสินค้านมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง และนมผงขาดมันเนยตามความตกลงการค้าเสรีไทย- ออสเตรเลีย (TAFTA) และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP) ในปีแรกที่จะมีการเปิดเสรี
นายสมพงษ์ ภูพานเพชร ประธานชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) TAFTA และ TNZCEP จำเป็นต้องเปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตร ซึ่งสินค้าเกษตรที่มีผลกระทบกับไทย สามารถกำหนดโควตาและอัตราภาษีในโควตาและนอกโควตาได้ สำหรับนมผงขาดมันเนยเป็นสินค้าหนึ่งที่อยู่ในข้อผูกพันต้องเปิดตลาดนำเข้าต่อปี ตามข้อตกลง WTO ไม่น้อยกว่า 55,000 ตัน และใน TAFTA ไม่น้อยกว่า 2,574 ตัน รวมทั้งสิ้น 57,574 ตัน โดยคิดอัตราภาษี ในโควตาร้อยละ 20 (เก็บจริง ร้อยละ 5) และอัตราภาษีนอกโควตา WTO ร้อยละ 216 และ ใน TAFTA ร้อยละ 194.4 ส่วนนมและครีม ต้องเปิดตลาดตามข้อตกลง WTO ไม่น้อยกว่า ปริมาณ 2,372.74 ตัน โดยคิดอัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 20 และภาษีนอกโควตา ร้อยละ 41 และตามความตกลง TAFTA/ TNZCEP ในทั้ง 2 กรอบจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568
“เมื่อพิจารณาคำขอนำเข้านมผงของบริษัทและสหกรณ์ ในเวลานี้มีจำนวน 90 ราย พบว่า มี บมจ. ฟรีสแลนด์คัมพิน่าฯ นำเข้าสูงสุด 1.6 หมื่นตัน รองลงมา บจก. ซีพี-เมจิ 1.4 หมื่นตัน และ บจก. เอฟแอนด์เอ็น แดรีส์ฯ ขอนำเข้า 1.2 หมื่นตัน ตามลำดับ แบ่งเป็นตามข้อตกลง WTO ปริมาณ 41,104 ตัน, ตามข้อตกลง AFTA 17,859 ตัน และตามข้อตกลง TNZCEP 32,987 ตัน รวมทั้งหมด 91,951 ตัน”
ทั้งนี้ เมื่อคิดเป็นนมผงคืนรูปจะเทียบเท่านํ้านมดิบ คิดเป็น 2,015 ตัน/วัน (ราคาเฉลี่ย 14-18 บาท/กิโลกรัม) และที่สำคัญเกินความต้องการบริโภคนมในประเทศ ที่บริโภคทั้งนมพาณิชย์และนมโรงเรียน ประมาณวันละ 1,500-1,700 ตัน/วัน ปัญหาที่จะตามมาคือ นํ้านมดิบในประเทศจะไปขายที่ไหน หากเป็นเช่นนี้อาชีพโคนมในประเทศไทยคงล่มสลายในที่สุด
นายสมพงษ์ กล่าวอีกว่า เกษตรกรไทยรีดนม จากแม่โคนมได้ประมาณวันละ 2,500-2,800 ตัน/วัน โดยนํ้านมดิบมีอายุ 24 ชั่วโมง ดังนั้นโดยกลไกจะถูกกดดันด้านราคาจากคุณภาพได้ง่าย ทั้งนี้นมดิบที่สารอาหาร โปรตีนสูง ต้องเก็บในถังอุณหภูมิที่รักษาความเย็นไม่น้อยกว่า 4 องศา ต้นทุนเก็บรักษาสูง ต้องบริหารจัดการจำหน่ายล่วงหน้า และการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม ต้องทำตลาดล่วงหน้า โดยมีต้นทุนนํ้านมดิบ 21.25- 23 บาท/กิโลกรัม ยังไม่รวมต้นทุนค่าใช้จ่ายของศูนย์รวบรวมนํ้านมดิบของเกษตรกรและค่าขนส่ง เมื่อไปเปรียบเทียบกับนมผง ผู้ประกอบการจะประหยัดต้นทุนมากกว่า 30% สามารถเก็บสต๊อกได้ในอากาศธรรมดา นานกว่า 3-6 เดือน โดยจะใช้เมื่อไรค่อยนำมาผสม
“จากผลกระทบดังกล่าวทางชุมนุมฯ ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด เพื่อขอหารือกับนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอให้ทบทวนความตกลง หรือช่วยหาทางออกให้เกษตรกร ขณะนี้กำลังรออยู่ว่าจะรับนัดวันไหน”
สอดคล้องกับนายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ทางสภาเกษตรกรไม่ได้นิ่งนอนใจ จะช่วยประสานกับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ทบทวน โดยไม่ขัดกับหลักการของ WTO ซึ่งจะเร่งหารือต่อไป