.........บทที่ 1 สิ่งที่ชาวพุทธควรทราบและทำความเข้าใจ
มูลแห่งการแยกนิกายหลังพุทธปรินิพพาน เกิดจากไม่ลงรอยของความเห็นในเรื่องวินัยโดยในที่นี้ จะขอยกวินัยบางข้อมากล่าวให้พอจับประเด็นได้ ในขณะพระองค์ใกล้ปรินิพานนั้น ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "สิกขาบทข้อใดที่เห็นว่า เล็กน้อยให้หมู่สงฆ์ยกเว้นได้" ภายหลังพุทธปรินิพพานหมู่สงฆ์ประชุมกันโดยมีพระมหากัสสปะ อันเป็นอัครมหาสาวกที่พระองค์เคยแสดงให้เห็นว่ามีธรรมเสมอพระองค์เป็นประธาน
ในที่ประชุมนั้นมีภิกษุจากทั่วเขตมาร่วมประชุม เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัยคำสอนจนถึงหัวข้อดังกล่าวคือ “ข้อใดที่เห็นว่าเล็กน้อยให้หมู่สงฆ์ยกเว้นได้” หมู่สงฆ์เห็นควรปรับอาบัติทุกกฎแก่พระอรหันต์อานนท์ผู้ซึ่งสำเร็จอรหันต์ก่อนเข้าประชุมครั้งนั้น โดยปรับอาบัติทุกกฎไว้หลายข้อ หนึ่งในนั้นคือการไม่ทูลถามพระพุทธองค์ว่า อาบัติเล็กน้อยนั้นคือโทษขั้นใดบ้าง บ้างก็ว่าตั้งแต่โทษสังฆาทิเสสลงมาเป็นอาบัติเล็กน้อย บ้างก็ว่าปาจิตตีย์ลงมาจัดว่าเล็กน้อย บ้างก็ว่าทุกกฎเล็กน้อย ในที่ประชุมล้วนเป็นอรหันต์ทรงคุณปฏิสัมภิทา(คุณวิเศษครบถ้วน) หลายร้อยองค์นั้นลงความเห็นว่าจะไม่เปลี่ยน หรือยกเลิก หรือละเว้นสิกขาบทใดเลย เพราะอันสิกขาบทเหล่านั้นที่พระองค์ทรงประทานพระบัญญัติไว้แล้ว คารวาสก็ทราบว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควรแก่สมณศากบุตรหากว่าหมู่สงฆ์เรา กระทำการยกเลิกสิกขาบทใด จะเป็นการครหาแก่คฤหัสว่า สมณศากบุตรประพฤติสิกขาบทเฉพาะเวลาที่พระองค์ทรงมีพระชนมชีพเท่านั้นเป็นดั่ง "ชั่วกาลแห่งควันไฟ" คือประพฤติสิกขาบทเฉพาะสมัยพระองค์เท่านั้น สงฆ์จึงมีมติจะไม่ถอนสิกขาบทใดเลยตั้งแต่นั้นและเป็นต้นเค้าแห่งนิกายเถรวาทสืบมา ขยายความส่วนนี้ อันว่าศีลภิกษุแยกออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. ศีลที่เป็นพื้นฐานของพรหมจรรย์คือ ข้อการปฏิบัติ และไม่พึงปฏิบัติ เพื่อมรรคผลนิพพาน 150 ข้อ
2. ศีลที่เป็นมรรยาทอันดี อีกมากมายแต่ยกเอามาในปาติโมกข์ 77 ข้อ รวมเป็น 227 ข้อ ฉะนั้นในปัจจุบันจึงอาจมีผู้เข้าใจผิดได้ว่าศีลพระ ภิกษุสงฆ์มีเพียง 227 ข้อ หรืออาจเข้าใจผิดว่า ภิกษุศีลทั้ง 227 ข้อเป็นศีลหลัก
พระพุทธเจ้าตรัสว่า (คารวสูตรที่ ๑ เล่ม ๑๔ อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต)
ดูกรภิกษุทั้งหลายข้อที่ภิกษุผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ไม่มีความประพฤติเสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
อภิสมาจาร(หลายพันข้อ)ถ้าไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จะรักษาอธิพรหมจริยกาสิกขา (150 ข้อ)
อาทิพรหมจริยกาสิกขาถ้าไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จะบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้
ธรรมของพระเสขะไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้
รักษาศีลขันธ์ไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
สัมมาทิฏฐิไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีสัมมาสมาธิให้....ยังมีต่อ คารวสูตรที่ ๑ เล่ม ๑๔ อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
วิเคราะห์คำตอบผ่านพระสูตรดังกล่าว พระพุทธองค์ทรงกล่าวลำดับแห่งภูมิธรรมไว้ชัด และเน้นลำดับท้ายว่า เรื่องสัมมาปฏิบัติที่จะเข้าถึงได้ ต้องมีพื้นฐาน ที่แน่นหนาชัดเจน และสะท้อนให้เห็นอีกฝั่งคือมิจฉาปฏิบัติ ไม่ใช่จะอะไรก็ได้ เปลี่ยนแปลงกันตามความเห็นที่คิดว่าเหมาะสม เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัยหรืออื่นๆ จึงกลายเป็นเรื่องกร่อนพุทธพจน์ในที่สุด แต่ถึงกระนั้น การเป็นอยู่ของมหานิกายปัจจุบันทั่วโลกเข้าใจจุดนี้ว่า เขารับสัทธรรมแบบปฏิรูป และจิตสำนึกเขาเหล่านั้น ก็รับแบบตามกันมา พระมหายานส่วนมากไม่มีโอกาสที่จะพบกับ พระสัทธรรมแบบเถรวาท และคิดว่าแค่นั้นพวกท่านเหล่านั้นพอแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ในแง่ปัจจุบันคือปรับเข้าได้และเพิ่มจำนวนสมาชิกได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำลาย พระสัทธรรมไปในตัว
วิธีดู อลัชชี
มูลแห่งการแยกนิกายหลังพุทธปรินิพพาน เกิดจากไม่ลงรอยของความเห็นในเรื่องวินัยโดยในที่นี้ จะขอยกวินัยบางข้อมากล่าวให้พอจับประเด็นได้ ในขณะพระองค์ใกล้ปรินิพานนั้น ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "สิกขาบทข้อใดที่เห็นว่า เล็กน้อยให้หมู่สงฆ์ยกเว้นได้" ภายหลังพุทธปรินิพพานหมู่สงฆ์ประชุมกันโดยมีพระมหากัสสปะ อันเป็นอัครมหาสาวกที่พระองค์เคยแสดงให้เห็นว่ามีธรรมเสมอพระองค์เป็นประธาน
ในที่ประชุมนั้นมีภิกษุจากทั่วเขตมาร่วมประชุม เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัยคำสอนจนถึงหัวข้อดังกล่าวคือ “ข้อใดที่เห็นว่าเล็กน้อยให้หมู่สงฆ์ยกเว้นได้” หมู่สงฆ์เห็นควรปรับอาบัติทุกกฎแก่พระอรหันต์อานนท์ผู้ซึ่งสำเร็จอรหันต์ก่อนเข้าประชุมครั้งนั้น โดยปรับอาบัติทุกกฎไว้หลายข้อ หนึ่งในนั้นคือการไม่ทูลถามพระพุทธองค์ว่า อาบัติเล็กน้อยนั้นคือโทษขั้นใดบ้าง บ้างก็ว่าตั้งแต่โทษสังฆาทิเสสลงมาเป็นอาบัติเล็กน้อย บ้างก็ว่าปาจิตตีย์ลงมาจัดว่าเล็กน้อย บ้างก็ว่าทุกกฎเล็กน้อย ในที่ประชุมล้วนเป็นอรหันต์ทรงคุณปฏิสัมภิทา(คุณวิเศษครบถ้วน) หลายร้อยองค์นั้นลงความเห็นว่าจะไม่เปลี่ยน หรือยกเลิก หรือละเว้นสิกขาบทใดเลย เพราะอันสิกขาบทเหล่านั้นที่พระองค์ทรงประทานพระบัญญัติไว้แล้ว คารวาสก็ทราบว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควรแก่สมณศากบุตรหากว่าหมู่สงฆ์เรา กระทำการยกเลิกสิกขาบทใด จะเป็นการครหาแก่คฤหัสว่า สมณศากบุตรประพฤติสิกขาบทเฉพาะเวลาที่พระองค์ทรงมีพระชนมชีพเท่านั้นเป็นดั่ง "ชั่วกาลแห่งควันไฟ" คือประพฤติสิกขาบทเฉพาะสมัยพระองค์เท่านั้น สงฆ์จึงมีมติจะไม่ถอนสิกขาบทใดเลยตั้งแต่นั้นและเป็นต้นเค้าแห่งนิกายเถรวาทสืบมา ขยายความส่วนนี้ อันว่าศีลภิกษุแยกออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. ศีลที่เป็นพื้นฐานของพรหมจรรย์คือ ข้อการปฏิบัติ และไม่พึงปฏิบัติ เพื่อมรรคผลนิพพาน 150 ข้อ
2. ศีลที่เป็นมรรยาทอันดี อีกมากมายแต่ยกเอามาในปาติโมกข์ 77 ข้อ รวมเป็น 227 ข้อ ฉะนั้นในปัจจุบันจึงอาจมีผู้เข้าใจผิดได้ว่าศีลพระ ภิกษุสงฆ์มีเพียง 227 ข้อ หรืออาจเข้าใจผิดว่า ภิกษุศีลทั้ง 227 ข้อเป็นศีลหลัก
พระพุทธเจ้าตรัสว่า (คารวสูตรที่ ๑ เล่ม ๑๔ อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต)
ดูกรภิกษุทั้งหลายข้อที่ภิกษุผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ไม่มีความประพฤติเสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
อภิสมาจาร(หลายพันข้อ)ถ้าไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จะรักษาอธิพรหมจริยกาสิกขา (150 ข้อ)
อาทิพรหมจริยกาสิกขาถ้าไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จะบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้
ธรรมของพระเสขะไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้
รักษาศีลขันธ์ไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
สัมมาทิฏฐิไม่บริบูรณ์ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีสัมมาสมาธิให้....ยังมีต่อ คารวสูตรที่ ๑ เล่ม ๑๔ อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
วิเคราะห์คำตอบผ่านพระสูตรดังกล่าว พระพุทธองค์ทรงกล่าวลำดับแห่งภูมิธรรมไว้ชัด และเน้นลำดับท้ายว่า เรื่องสัมมาปฏิบัติที่จะเข้าถึงได้ ต้องมีพื้นฐาน ที่แน่นหนาชัดเจน และสะท้อนให้เห็นอีกฝั่งคือมิจฉาปฏิบัติ ไม่ใช่จะอะไรก็ได้ เปลี่ยนแปลงกันตามความเห็นที่คิดว่าเหมาะสม เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัยหรืออื่นๆ จึงกลายเป็นเรื่องกร่อนพุทธพจน์ในที่สุด แต่ถึงกระนั้น การเป็นอยู่ของมหานิกายปัจจุบันทั่วโลกเข้าใจจุดนี้ว่า เขารับสัทธรรมแบบปฏิรูป และจิตสำนึกเขาเหล่านั้น ก็รับแบบตามกันมา พระมหายานส่วนมากไม่มีโอกาสที่จะพบกับ พระสัทธรรมแบบเถรวาท และคิดว่าแค่นั้นพวกท่านเหล่านั้นพอแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ในแง่ปัจจุบันคือปรับเข้าได้และเพิ่มจำนวนสมาชิกได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำลาย พระสัทธรรมไปในตัว