คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
โสดาบัน ละสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๓ ประการได้คือ
1. สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน
2. วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยในพระรัตนตรัย และในกุศลธรรมทั้งหลาย
3. สีลัพพตปรามาส คือ ความยึดมั่นในข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
แบ่งประเภทของพระโสดาบันได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 เอกพีชีโสดาบัน จะเกิดเพียงชาติเดียว
ประเภทที่ 2 โกลังโกลโสดาบัน จะมาเกิดอีกเพียง 2-3 ชาติเท่านั้น
ประเภทที่ 3 สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคล ที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกไม่เกิน 7 ชาติ
สกทาคามี แปลว่า ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว
ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการ เป็นพระโสดาบันได้แล้ว และทำสังโยชน์เบื้องต่ำอีกสองประการ ให้เบาบางลงด้วย ได้แก่
กามราคะ หมายถึง ความพอใจในกาม (กามคือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์)
ปฏิฆะ หมายถึง ความกระทบกระทั่งในใจ (เป็นโทษะอย่างละเอียด)
คัมภีร์ปรมัตถโชติกา แบ่งไว้ 3 ประเภท คือ สกทาคามีในกามภพ 1 ในรูปภพ 1 และในอรูปภพ 1 (รูปภพ กับ อรูปภพ หมายถึงไปเกิดบนสวรรค์หรือเปล่าครับ)
อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่มาเกิดอีก หมายความว่าจะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภพอีก แต่จะเกิดใน พรหมโลก อีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะบรรลุอรหันต์แล้วนิพพานบนพรหมโลกนั้น (พรหมโลก จะแปลว่า สวรรค์ หรือ มนุษย์ค่างตาวครับ)
1. สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน
2. วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยในพระรัตนตรัย และในกุศลธรรมทั้งหลาย
3. สีลัพพตปรามาส คือ ความยึดมั่นในข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
แบ่งประเภทของพระโสดาบันได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 เอกพีชีโสดาบัน จะเกิดเพียงชาติเดียว
ประเภทที่ 2 โกลังโกลโสดาบัน จะมาเกิดอีกเพียง 2-3 ชาติเท่านั้น
ประเภทที่ 3 สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคล ที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกไม่เกิน 7 ชาติ
สกทาคามี แปลว่า ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว
ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการ เป็นพระโสดาบันได้แล้ว และทำสังโยชน์เบื้องต่ำอีกสองประการ ให้เบาบางลงด้วย ได้แก่
กามราคะ หมายถึง ความพอใจในกาม (กามคือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์)
ปฏิฆะ หมายถึง ความกระทบกระทั่งในใจ (เป็นโทษะอย่างละเอียด)
คัมภีร์ปรมัตถโชติกา แบ่งไว้ 3 ประเภท คือ สกทาคามีในกามภพ 1 ในรูปภพ 1 และในอรูปภพ 1 (รูปภพ กับ อรูปภพ หมายถึงไปเกิดบนสวรรค์หรือเปล่าครับ)
อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่มาเกิดอีก หมายความว่าจะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภพอีก แต่จะเกิดใน พรหมโลก อีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะบรรลุอรหันต์แล้วนิพพานบนพรหมโลกนั้น (พรหมโลก จะแปลว่า สวรรค์ หรือ มนุษย์ค่างตาวครับ)
แสดงความคิดเห็น
หากปฏิเสธชาติหน้าไม่มีนรกสวรรค์ไม่มี ย่อมปฏิเสธพระอริยะบุคคลด้วย
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ
เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา
เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืนและเป็นผู้มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป
เป็นผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ
เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคน
อาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอเป็นพระสกทาคามีเพราะสังโยชน์๓หมดสิ้นไป
และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง
จะมายังโลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้นแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา
เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้
แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน
และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอเป็นผู้ผุดขึ้นเกิด จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน
ย่อมให้สำเร็จบางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้
บริบูรณ์อย่างนี้แล
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6123&Z=6160&pagebreak=0