รศ.ดร.โอภา วัชระคุปต์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่าการดื่มน้ำผลไม้หรือนมหลังรับประทานยา หรือดื่มน้ำผลไม้แทนน้ำนั้นอาจมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาเช่นเดียวกับกรณีการรับประทานยาก่อน หรือหลังอาหาร เช่นถ้ารับประทานยาพร้อมนม ซั่งในนมมีแคลเซียม ตัวแคลเซียมจะไปจับตัวยาบางชนิด เช่น ซิพเปอร์เฟอซิน ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ถ้าหากรับประทานยาพร้อมนม น้ำนมหรือสารละลายที่มีแคลเซียมเหล็กก็จะไปจับเป็นคอมเพล็กซ์กับยา ทำให้ยาไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น
ยาปฏิชีวนะบางชนิดมี โมเลกุลขนาดใหญ่ เวลามาถูกแคลเซียมจับก็สามารถตกตะกอนหรือจับเป็นคอมเพล็กซ์ได้ ทำให้ยาไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ ส่วนน้ำส้มมีผลทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นกรดหรือเป็นด่าง ซึ่งจะทำให้ตัวยาถูกขับออกมากหรือน้อยจะทำให้ปริมาณยาในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจนอาจทำให้การใข้ยาดังกล่าวไม่ได้ผล ดังนั้นควรรับประทานยากับน้ำธรรมดาไม่ควรรับประทานยาพร้อมกับนม กาแฟ น้ำส้ม หรือน้ำผลไม้ ข้อแนะนำอีกข้อหนึ่งคือ ในช่วงรับประทานยาไม่ควรดื่มนมหรือน้ำผลไม้หลังรับประทานยาประมาณ 30 นาที ถึง 1ชั่วโมง
เพื่อนๆชาวพันทิพย์จะได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงกันตลอดไปนะครับ
จาก
www.healthyenrich.com/ทานยา-วิธีดูแลสุขภาพ/
มีใครชอบกินยาพร้อมกับนม หรือน้ำผลไม้หรือป่าวครับ
ยาปฏิชีวนะบางชนิดมี โมเลกุลขนาดใหญ่ เวลามาถูกแคลเซียมจับก็สามารถตกตะกอนหรือจับเป็นคอมเพล็กซ์ได้ ทำให้ยาไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ ส่วนน้ำส้มมีผลทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นกรดหรือเป็นด่าง ซึ่งจะทำให้ตัวยาถูกขับออกมากหรือน้อยจะทำให้ปริมาณยาในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจนอาจทำให้การใข้ยาดังกล่าวไม่ได้ผล ดังนั้นควรรับประทานยากับน้ำธรรมดาไม่ควรรับประทานยาพร้อมกับนม กาแฟ น้ำส้ม หรือน้ำผลไม้ ข้อแนะนำอีกข้อหนึ่งคือ ในช่วงรับประทานยาไม่ควรดื่มนมหรือน้ำผลไม้หลังรับประทานยาประมาณ 30 นาที ถึง 1ชั่วโมง
เพื่อนๆชาวพันทิพย์จะได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงกันตลอดไปนะครับ
จาก www.healthyenrich.com/ทานยา-วิธีดูแลสุขภาพ/