3.คดีอุ้มฆ่าทนาย สมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และอดีตรองประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และเป็นคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความ ซึ่งเป็นทนายความให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น คดีกูเฮงเผาโรงเรียนเมื่อปี 2537 คดีหมอแวพัวพันกลุ่มก่อการร้ายเจไอ (เจมาอิสลามียา) การทำงานของทนายสมชายหลายคดี เปิดโปงพฤติกรรมของตำรวจ หลายฝ่ายเชื่อกันว่า ผลงานในอดีตของเขาน่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาถูกทำให้หายไป โดยเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547 นายสมชายเดินทางออกจากบ้านในซอยอิสรภาพ 9 แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กทม.พื่อไปทำงานตามปกติ โดยขับรถยนต์ส่วนตัว ยี่ห้อฮอนด้าซีวิค สีเขียว ทะเบียน ภง 6786 กรุงเทพมหานคร โดยไม่ได้กลับบ้านเนื่องจากจะต้องไปนอนพักค้างคืนที่บ้านเพื่อนเพื่อเตรียมตัวไปว่าความในคดี เจ.ไอ. ที่ศาลจังหวัดนราธิวาส
12 มีนาคม 2547 เวลา 20.30 น. นายสมชาย เดินทางไปยังโรงแรมชาลีนาในซอยมหาดไทย ย่านลาดพร้าว เพื่อรอพบเพื่อนซึ่งได้นับพบกันไว้ หลังจากที่นั่งรอบริเวณล็อบบี้ของโรงแรมได้ระยะหนึ่ง เพื่อนยังไม่มาตามกำหนดนัด นายสมชายจึงเดินทางกลับเนื่องจากง่วงนอน เพราะเป็นคนที่นอนแต่หัวค่ำ ระหว่างเดินทางออกจากโรงแรมชาลีน่า นายสมชาย ขับรถยนต์ส่วนตัวโดยใช้เส้นทางถนนรามคำแหง เพื่อจะไปนอนพักค้างคืนที่บ้านเพื่อน ระหว่างที่เดินทางออกจากโรงแรมได้มีกลุ่มชายฉกรรจ์จำนวน 5-6 คน ขับรถยนต์สะกดรอยติดตามในระยะกระชั้นชิด จนถึงบริเวณหน้าร้านแม่ลาปลาเผา เยื้องกับสถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก จึงได้ขับชนท้าย เมื่อนายสมชาย หยุดรถเพื่อลงมาพูดคุย กลุ่มชายฉกรรจ์ได้ทำร้ายร่างกายโดยการชกท้องและผลักตัวของนายสมชาย ให้เข้าไปในรถยนต์ของกลุ่มชายฉกรรจ์ แล้วขับรถพาตัวของนายสมชาย หลบหนีไป
14 มีนาคม 2547 นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาได้เข้าแจ้งความ ร้องทุกข์บุคคล สูญหาย ต่อพนักงานสอบสวน ของสถานีตำรวจนครบาลบางยี่เรือว่า นายสมชาย ออกจากบ้านพัก มาตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2547 แล้วขาดการติดต่อกับทางบ้าน เกรงว่าจะเกิดเหตุร้ายขอให้ทางเจ้าหน้าที่ ตำรวจสอบสวนและติดตามตัวด้วย โดยข่าวการแจ้งความ นายสมชายหายตัวไปอย่างลึกลับ เป็นที่สนใจของ สื่อมวลชนทุกแขนง และประชาชนทั่วประเทศ เนื่องจากในขณะนั้นนายสมชาย กำลัง รวบรวมรายชื่อพี่น้องชาวมุสลิมจำนวน 50,000 รายชื่อเพื่อเสนอรัฐบาล(พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ให้ยกเลิกการ ประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ของจังหวัดชาย แดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดยะลา จังหวัด ปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสงขลา บางส่วน
นอกจากนั้นยังให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่กลุ่มผู้ต้องหา ที่ถูกจับกุมในคดีปล้นอาวุธปืน ของทหารกองพันพัฒนาที่ 4 จังหวัดนราธิวาส ซึ่งหลังจากที่นายสมชาย ได้ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงจากผู้ต้องหาแล้ว ปรากฏว่าในระหว่าง การถูกควบคุมตัวอยู่ที่ จังหวัดนราธิวาสก่อน ที่จะส่งตัวมาที่กรุงเทพมหานคร ผู้ต้องหาถูกทำร้าย ร่างกายและทรมาณ เพื่อให้การ รับสารภาพ ซึ่งนายสมชาย ได้ยื่นหนังสือ ร้องเรียนกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งยื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอให้ส่งผู้ต้องหาทั้งหมดไปควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมราชทัณฑ์
17 มีนาคม 2547 สภาทนาย ความได้มีหนังสือที่ สท.783/2547 ทูลเกล้าถวาย ฎีกาขอพระราชทาน ความเป็นธรรม กรณีนาย สมชาย ถูกลักพาตัว และ สภาทนาย ความได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน ติดตามกรณีนายสมชาย เพื่อดำเนินการตรวจสอบและรวบรวม ข้อเท็จจริงทั้งหมด กระทั่ง 7 เมษายน 2547 พนักงาน สอบสวนได้มีการขออนุมัติหมายจับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม จำนวน 5 นายต่อศาลอาญา เพื่อนำตัวมาสอบสวน โดยพนักงาน สอบสวนและพนักงานอัยการ มีความเห็นสั่งฟ้อง คดีผู้ต้องหาทั้ง 5 คน โดยอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1952/2547 ระหว่าง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงาน อัยการพิเศษคดีอาญา 6 สำนักงาน คดีอาญา) โจทก์ โดย พ.ต.ต.เงิน ทองสุข ที่ 1, พ.ต.ท.สินชัย นิ่งปุญญกำพงษ์ ที่ 2, จ.ส.ต.ชัยแวง พาด้วง ที่ 3, ส.ต.อ.รันดร สิทธิเขต ที่ 4 และ พ.ต.ท.ชัดชัย เลี่ยมสงวน ที่ 5 จำเลย ในข้อหาฐานความผิดร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ และข่มขืนใจผู้อื่น ซึ่งจำเลยทั้ง 5 คน ได้ให้การปฏิเสธต่อสู้คดี โดยศาลได้สั่งยกฟ้องจำเลยทั้งหมด
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2547 สภาทนายความจึงได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อขอให้พิจารณารับโอนสำนวนคดีที่ นายสมชาย ถูกประทุษร้าย และสูญหายเป็นคดีพิเศษ และมีหนังสือลงวันที่ 14 มีนาคม 2548 ถึง นายกรัฐมนตรี ขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริง กรณีการหายสาบสูญของนายสมชาย ซึ่ง พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิต รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้พิจารณาเห็นชอบให้ส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณา
อย่างไรก็ตาม การติดตามการสูญหายของนายสมชายนั้นยังคงเป็นปริศนามาจนบัดนี้...
4.คดีฆ่า "ชิปปิ้งหมู"นายกรเทพ วิริยะ เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ท่ามกลางกระแสต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่าอาจโดนขบวนการค้ายาเสพติดสังหารเนื่องจากอยู่ในช่วงประกาศสงครามกับยาเสพติดซึ่งมีเหตุการณ์ฆ่าตัดตอนเกิดขึ้นมากมาย
ทั้งนี้ อีกแง่มุมหนึ่ง คือ หลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อปี 2545 เสร็จสิ้นลง นายกรเทพซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญแก่ นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจดังกล่าวในคดีเลี่ยงภาษีการนำเข้าอุปกรณ์สื่อสารของบริษัทชินแซทเทิลไลท์ของตระกูลชินวัตร ได้หลบหนีไปกบดานที่ จ.เชียงราย แต่ในที่สุดถูกคนร้ายยิงตายเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546ที่บริเวณถนนเข้าดอยหมู่บ้านแสนใจ รอยต่อ ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน และต.แม่สลอง ในอ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
สภาพศพถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 9 ม.ม. เข้าท้ายทอย กกหูซ้ายและลำตัว รวม 3 นัด ซึ่งต่อมาทางตำรวจตั้งประเด็นการสอบสวนว่า เป็นเพราะ “ชิปปิ้งหมู” พัวพันกับเรื่องยาเสพติด ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ในขณะนั้นระบุถึงข่าวการเสียชีวิตของ “ชิปปิ้งหมู” ทันทีที่ทราบเรื่อง ว่า “หากถามว่า รู้จักประวัติของชิปปิ้งหมูมากน้อยแค่ไหน เข้าใจว่าจะรู้จักนายสุภาพ สีแดง ผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ที่ถูกจับไปเมื่อคืนนี้มากกว่า ผมทราบเรื่องเมื่อคืน ดูข่าวแล้วก็ตกใจว่า เกิดอะไรขึ้น เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับบริษัท ชินฯเลย บริษัท ชินฯ เขาเสียภาษีหรือเสียค่าตอบแทนให้กับรัฐปีหนึ่งสองหมื่นกว่าล้านบาท ไอ้ที่พูดกันนี่มันนิดเดียว ทุกฝ่ายก็ออกมาระบุแล้วว่า มันถูกต้อง มันไม่มีอะไร ทำไมต้องไปวิตก ไม่เห็นมีอะไรน่าวิตก คนที่วิตกไปเองคือ คนที่หาเรื่องมากกว่า” (นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 28 มี.ค.2546)
พ.ต.ท.ทักษิณยังระบุอีก ว่า นายกรเทพไปอยู่ที่เชียงราย ก่อนเสียชีวิตตั้งแต่ปี 2543 และไปมีภรรยาเป็นชาวอีก้อ นายกรเทพยังไปอยู่ในหมู่บ้านที่มีกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ผมก็จำไม่ได้ แต่ทราบว่า ถูกยึดทรัพย์ในคดียาเสพติด และบริเวณนั้นเป็นย่านที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดมากมาย
เรื่องนี้ นางภัทราภรณ์ วิริยะ ภรรยาของ “ชิปปิ้งหมู” ได้กล่าวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ พ.ต.ต.พิเชษฐ์ ฟองฟู สารวัตรเวรเจ้าของคดี สอ.อ.แม่จัน จ.เชียงราย ว่า “ชิปปิ้งหมูสามี ไม่เคยมีเรื่องบาดหมางกับใครในพื้นที่มาก่อน แต่ไม่ทราบเรื่องราวลึกๆ เกี่ยวกับสามีมาก่อน เพราะไม่ต้องการเข้าไปก้าวก่ายเรื่องใดๆ ทั้งนั้น” (นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 29 มี.ค. 2546)
5. คดีสังหารนายเจริญ วัดอักษร อดีตประธานกลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก ตำบลบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแกนนำต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอกในปี 2538 นายเจริญเป็นแกนนำคนสำคัญการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จนถูกขู่ฆ่าหลายครั้ง กระทั่งการคัดค้านของชาวบ้านประสบผลสำเร็จ รัฐบาลมีคำสั่งให้ย้ายโรงไฟฟ้าออกจากพื้นที่ การต่อสู้แบบไม่ยอมถอยของนายเจริญทำให้หลายฝ่ายยกย่องและให้การยอมรับเป็นอย่างมาก โดยถูกรับเชิญให้เป็น วิทยากรเพื่อให้ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์แก่ชาวบ้านทั่วประเทศ และได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ที่มีนิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นอธิการบดี กระทั่งมาถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 บริเวณทางเดินเข้าบ้าน หลังเดินทางไปยื่นข้อมูลความผิดปกติ ในการออกเอกสารสิทธิที่ดินสาธารณะให้กับ คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา
ทั้งนี้ จำเลย ได้แก่ นายเสน่ห์ เหล็กล้วน และ นายประจวบ หินแก้ว เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน แต่ทว่า มือปืนทั้งสองได้เสียชีวิตขณะถูกคุมขังในเรือนจำ จากอาการระบบหายใจไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ก่อนขึ้นให้การต่อศาล โดยนายประจวบ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2549 ส่วนนายเสน่ห์ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2549
ทั้งนี้ นายธนู หินแก้ว ทนายความ, นายมาโนช หินแก้ว สจ.ประจวบคีรีขันธ์ และนายเจือ หินแก้ว อดีตกำนัน ต.บ่อนอก บิดาจำเลยที่ 3 และ 4 ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 3-5 ในความผิดฐานร่วมกันใช้จ้างวานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน โดยศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเมื่อ วันที่ 30 ธ.ค. 2551 ว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตามฟ้องให้ประหารชีวิต ส่วนจำเลยที่ 4-5 ให้ยกฟ้อง ต่อมาจำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง โดยโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4-5
กระทั่งศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษา ลงวันที่ 15 มี.ค. 2556 เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 และในส่วนจำเลยที่ 4 และ 5 พิพากษายืนยกฟ้อง
ไม่ว่าใหญ่หรือเก๋าเกมแค่ไหน ลองเป็นเรื่องความแค้นและผลประโยชน์ เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นได้ ทำให้คิดย้อนไปสู่ยุคมืดของจริงสมัยรัฐบาลเผด็จการทหาร
อย่าง คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี มาแล้วเมื่อ พ.ศ. 2492 หลังเหตุการณ์กบฏวังหลวง นำโดย นายปรีดี พนมยงค์ ที่ก่อการไม่สำเร็จ ต้องแยกย้ายกันหลบหนี รัฐบาลในขณะนั้นได้ส่งตำรวจติดตามไล่ล่า และเกิดการสังหารกันต่อเนื่อง เช่น พ.ต.โผน อินทรทัต ถูกกระสุนปืนยิงเสียชีวิตบริเวณหน้าผาก ศพอยู่ที่พบที่อำเภอดุสิต ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 , พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ก็ถูกยิงเสียชีวิตหลังจากถูกจับกุม เป็นต้น
สำหรับบุคคล 4 คน ที่เสียชีวิตตามมา ประกอบไปด้วย นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ อดีต ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี พรรคสหชีพ และเป็นอดีตรัฐมนตรีถึง 6 สมัย , นายถวิล อุดล อดีต ส.ส.จังหวัดร้อยเอ็ด พรรคเดียวกัน เป็นอดีตรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ , นายจำลอง ดาวเรือง อดีต ส.ส.จังหวัดมหาสารคาม พรรคเดียวกัน และ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ อดีต ส.ส.จังหวัดนครนายก และเลขาธิการพรรคแนวรัฐธรรมนูญ โดยหลังจากที่ทั้งหมดถูกจับกุม โดยระหว่างที่ถูกควบคุมตัวอยู่นั้น บรรดาญาติของผู้ต้องหาไม่ได้มีความระแวงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น เนื่องจากก่อนหน้านั้นบุคคลทั้ง 4 ได้เข้า ๆ ออก ๆ เรือนจำเป็นประจำอยู่แล้วในข้อหาทางการเมืองต่าง ๆ
กระทั่งค่ำวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2492 ตำรวจได้เคลื่อนย้ายผู้ต้องหาทั้งหมดไปไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน โดยอ้างเหตุความปลอดภัย ด้วยรถของตำรวจหลายเลขทะเบียน กท. 10371 โดยมี พ.ต.อ.หลวงพิชิตธุรการ เป็นผู้ควบคุม โดยรับ ดร.ทองเปลว ที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน นายจำลองที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา นายถวิลที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง และนายทองอินทร์ที่สถานีตำรวจนครบาลสามเสน เมื่อวิ่งมาถึงหลักกิโลเมตรที่ 12 ถนนพหลโยธิน เวลาประมาณ 03.00 น. ของวันที่ 4 มีนาคม ใกล้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ผู้ต้องหาทั้งหมดถูกยิงเสียชีวิตด้วยกระสุนร่างละไม่ต่ำกว่า 10 นัด ในสภาพที่ทุกคนยังสวมกุญแจมืออยู่ โดยได้ส่งศพไปชันสูตรที่โรงพยาบาลกลาง ต่อมาตำรวจแถลงว่า ในที่เกิดเหตุกลุ่มโจรมลายูพร้อมอาวุธครบมือได้ดักซุ่มยิงเพื่อชิงตัวผู้ต้องหา และได้มีการปะทะกับตำรวจ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำรวจทั้งหมด 20 นายไม่มีใครบาดเจ็บเลย
ที่มา แนวหน้า
-----ย้อนรอย! 5 คดี อุ้มฆ่าพิศวง มี 3 คดีเกิดขึ้นในรัฐบาลตระกูลชินวัตร (ตอนที่2)-----
3.คดีอุ้มฆ่าทนาย สมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และอดีตรองประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และเป็นคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความ ซึ่งเป็นทนายความให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น คดีกูเฮงเผาโรงเรียนเมื่อปี 2537 คดีหมอแวพัวพันกลุ่มก่อการร้ายเจไอ (เจมาอิสลามียา) การทำงานของทนายสมชายหลายคดี เปิดโปงพฤติกรรมของตำรวจ หลายฝ่ายเชื่อกันว่า ผลงานในอดีตของเขาน่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาถูกทำให้หายไป โดยเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547 นายสมชายเดินทางออกจากบ้านในซอยอิสรภาพ 9 แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กทม.พื่อไปทำงานตามปกติ โดยขับรถยนต์ส่วนตัว ยี่ห้อฮอนด้าซีวิค สีเขียว ทะเบียน ภง 6786 กรุงเทพมหานคร โดยไม่ได้กลับบ้านเนื่องจากจะต้องไปนอนพักค้างคืนที่บ้านเพื่อนเพื่อเตรียมตัวไปว่าความในคดี เจ.ไอ. ที่ศาลจังหวัดนราธิวาส
12 มีนาคม 2547 เวลา 20.30 น. นายสมชาย เดินทางไปยังโรงแรมชาลีนาในซอยมหาดไทย ย่านลาดพร้าว เพื่อรอพบเพื่อนซึ่งได้นับพบกันไว้ หลังจากที่นั่งรอบริเวณล็อบบี้ของโรงแรมได้ระยะหนึ่ง เพื่อนยังไม่มาตามกำหนดนัด นายสมชายจึงเดินทางกลับเนื่องจากง่วงนอน เพราะเป็นคนที่นอนแต่หัวค่ำ ระหว่างเดินทางออกจากโรงแรมชาลีน่า นายสมชาย ขับรถยนต์ส่วนตัวโดยใช้เส้นทางถนนรามคำแหง เพื่อจะไปนอนพักค้างคืนที่บ้านเพื่อน ระหว่างที่เดินทางออกจากโรงแรมได้มีกลุ่มชายฉกรรจ์จำนวน 5-6 คน ขับรถยนต์สะกดรอยติดตามในระยะกระชั้นชิด จนถึงบริเวณหน้าร้านแม่ลาปลาเผา เยื้องกับสถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก จึงได้ขับชนท้าย เมื่อนายสมชาย หยุดรถเพื่อลงมาพูดคุย กลุ่มชายฉกรรจ์ได้ทำร้ายร่างกายโดยการชกท้องและผลักตัวของนายสมชาย ให้เข้าไปในรถยนต์ของกลุ่มชายฉกรรจ์ แล้วขับรถพาตัวของนายสมชาย หลบหนีไป
14 มีนาคม 2547 นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาได้เข้าแจ้งความ ร้องทุกข์บุคคล สูญหาย ต่อพนักงานสอบสวน ของสถานีตำรวจนครบาลบางยี่เรือว่า นายสมชาย ออกจากบ้านพัก มาตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2547 แล้วขาดการติดต่อกับทางบ้าน เกรงว่าจะเกิดเหตุร้ายขอให้ทางเจ้าหน้าที่ ตำรวจสอบสวนและติดตามตัวด้วย โดยข่าวการแจ้งความ นายสมชายหายตัวไปอย่างลึกลับ เป็นที่สนใจของ สื่อมวลชนทุกแขนง และประชาชนทั่วประเทศ เนื่องจากในขณะนั้นนายสมชาย กำลัง รวบรวมรายชื่อพี่น้องชาวมุสลิมจำนวน 50,000 รายชื่อเพื่อเสนอรัฐบาล(พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ให้ยกเลิกการ ประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ของจังหวัดชาย แดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดยะลา จังหวัด ปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสงขลา บางส่วน
นอกจากนั้นยังให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่กลุ่มผู้ต้องหา ที่ถูกจับกุมในคดีปล้นอาวุธปืน ของทหารกองพันพัฒนาที่ 4 จังหวัดนราธิวาส ซึ่งหลังจากที่นายสมชาย ได้ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงจากผู้ต้องหาแล้ว ปรากฏว่าในระหว่าง การถูกควบคุมตัวอยู่ที่ จังหวัดนราธิวาสก่อน ที่จะส่งตัวมาที่กรุงเทพมหานคร ผู้ต้องหาถูกทำร้าย ร่างกายและทรมาณ เพื่อให้การ รับสารภาพ ซึ่งนายสมชาย ได้ยื่นหนังสือ ร้องเรียนกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งยื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอให้ส่งผู้ต้องหาทั้งหมดไปควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมราชทัณฑ์
17 มีนาคม 2547 สภาทนาย ความได้มีหนังสือที่ สท.783/2547 ทูลเกล้าถวาย ฎีกาขอพระราชทาน ความเป็นธรรม กรณีนาย สมชาย ถูกลักพาตัว และ สภาทนาย ความได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน ติดตามกรณีนายสมชาย เพื่อดำเนินการตรวจสอบและรวบรวม ข้อเท็จจริงทั้งหมด กระทั่ง 7 เมษายน 2547 พนักงาน สอบสวนได้มีการขออนุมัติหมายจับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม จำนวน 5 นายต่อศาลอาญา เพื่อนำตัวมาสอบสวน โดยพนักงาน สอบสวนและพนักงานอัยการ มีความเห็นสั่งฟ้อง คดีผู้ต้องหาทั้ง 5 คน โดยอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1952/2547 ระหว่าง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงาน อัยการพิเศษคดีอาญา 6 สำนักงาน คดีอาญา) โจทก์ โดย พ.ต.ต.เงิน ทองสุข ที่ 1, พ.ต.ท.สินชัย นิ่งปุญญกำพงษ์ ที่ 2, จ.ส.ต.ชัยแวง พาด้วง ที่ 3, ส.ต.อ.รันดร สิทธิเขต ที่ 4 และ พ.ต.ท.ชัดชัย เลี่ยมสงวน ที่ 5 จำเลย ในข้อหาฐานความผิดร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ และข่มขืนใจผู้อื่น ซึ่งจำเลยทั้ง 5 คน ได้ให้การปฏิเสธต่อสู้คดี โดยศาลได้สั่งยกฟ้องจำเลยทั้งหมด
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2547 สภาทนายความจึงได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อขอให้พิจารณารับโอนสำนวนคดีที่ นายสมชาย ถูกประทุษร้าย และสูญหายเป็นคดีพิเศษ และมีหนังสือลงวันที่ 14 มีนาคม 2548 ถึง นายกรัฐมนตรี ขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริง กรณีการหายสาบสูญของนายสมชาย ซึ่ง พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิต รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้พิจารณาเห็นชอบให้ส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณา
อย่างไรก็ตาม การติดตามการสูญหายของนายสมชายนั้นยังคงเป็นปริศนามาจนบัดนี้...
4.คดีฆ่า "ชิปปิ้งหมู"นายกรเทพ วิริยะ เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ท่ามกลางกระแสต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่าอาจโดนขบวนการค้ายาเสพติดสังหารเนื่องจากอยู่ในช่วงประกาศสงครามกับยาเสพติดซึ่งมีเหตุการณ์ฆ่าตัดตอนเกิดขึ้นมากมาย
ทั้งนี้ อีกแง่มุมหนึ่ง คือ หลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อปี 2545 เสร็จสิ้นลง นายกรเทพซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญแก่ นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจดังกล่าวในคดีเลี่ยงภาษีการนำเข้าอุปกรณ์สื่อสารของบริษัทชินแซทเทิลไลท์ของตระกูลชินวัตร ได้หลบหนีไปกบดานที่ จ.เชียงราย แต่ในที่สุดถูกคนร้ายยิงตายเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546ที่บริเวณถนนเข้าดอยหมู่บ้านแสนใจ รอยต่อ ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน และต.แม่สลอง ในอ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
สภาพศพถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 9 ม.ม. เข้าท้ายทอย กกหูซ้ายและลำตัว รวม 3 นัด ซึ่งต่อมาทางตำรวจตั้งประเด็นการสอบสวนว่า เป็นเพราะ “ชิปปิ้งหมู” พัวพันกับเรื่องยาเสพติด ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ในขณะนั้นระบุถึงข่าวการเสียชีวิตของ “ชิปปิ้งหมู” ทันทีที่ทราบเรื่อง ว่า “หากถามว่า รู้จักประวัติของชิปปิ้งหมูมากน้อยแค่ไหน เข้าใจว่าจะรู้จักนายสุภาพ สีแดง ผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ที่ถูกจับไปเมื่อคืนนี้มากกว่า ผมทราบเรื่องเมื่อคืน ดูข่าวแล้วก็ตกใจว่า เกิดอะไรขึ้น เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับบริษัท ชินฯเลย บริษัท ชินฯ เขาเสียภาษีหรือเสียค่าตอบแทนให้กับรัฐปีหนึ่งสองหมื่นกว่าล้านบาท ไอ้ที่พูดกันนี่มันนิดเดียว ทุกฝ่ายก็ออกมาระบุแล้วว่า มันถูกต้อง มันไม่มีอะไร ทำไมต้องไปวิตก ไม่เห็นมีอะไรน่าวิตก คนที่วิตกไปเองคือ คนที่หาเรื่องมากกว่า” (นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 28 มี.ค.2546)
พ.ต.ท.ทักษิณยังระบุอีก ว่า นายกรเทพไปอยู่ที่เชียงราย ก่อนเสียชีวิตตั้งแต่ปี 2543 และไปมีภรรยาเป็นชาวอีก้อ นายกรเทพยังไปอยู่ในหมู่บ้านที่มีกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ผมก็จำไม่ได้ แต่ทราบว่า ถูกยึดทรัพย์ในคดียาเสพติด และบริเวณนั้นเป็นย่านที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดมากมาย
เรื่องนี้ นางภัทราภรณ์ วิริยะ ภรรยาของ “ชิปปิ้งหมู” ได้กล่าวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ พ.ต.ต.พิเชษฐ์ ฟองฟู สารวัตรเวรเจ้าของคดี สอ.อ.แม่จัน จ.เชียงราย ว่า “ชิปปิ้งหมูสามี ไม่เคยมีเรื่องบาดหมางกับใครในพื้นที่มาก่อน แต่ไม่ทราบเรื่องราวลึกๆ เกี่ยวกับสามีมาก่อน เพราะไม่ต้องการเข้าไปก้าวก่ายเรื่องใดๆ ทั้งนั้น” (นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 29 มี.ค. 2546)
5. คดีสังหารนายเจริญ วัดอักษร อดีตประธานกลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก ตำบลบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแกนนำต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอกในปี 2538 นายเจริญเป็นแกนนำคนสำคัญการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จนถูกขู่ฆ่าหลายครั้ง กระทั่งการคัดค้านของชาวบ้านประสบผลสำเร็จ รัฐบาลมีคำสั่งให้ย้ายโรงไฟฟ้าออกจากพื้นที่ การต่อสู้แบบไม่ยอมถอยของนายเจริญทำให้หลายฝ่ายยกย่องและให้การยอมรับเป็นอย่างมาก โดยถูกรับเชิญให้เป็น วิทยากรเพื่อให้ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์แก่ชาวบ้านทั่วประเทศ และได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ที่มีนิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นอธิการบดี กระทั่งมาถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 บริเวณทางเดินเข้าบ้าน หลังเดินทางไปยื่นข้อมูลความผิดปกติ ในการออกเอกสารสิทธิที่ดินสาธารณะให้กับ คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา
ทั้งนี้ จำเลย ได้แก่ นายเสน่ห์ เหล็กล้วน และ นายประจวบ หินแก้ว เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน แต่ทว่า มือปืนทั้งสองได้เสียชีวิตขณะถูกคุมขังในเรือนจำ จากอาการระบบหายใจไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ก่อนขึ้นให้การต่อศาล โดยนายประจวบ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2549 ส่วนนายเสน่ห์ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2549
ทั้งนี้ นายธนู หินแก้ว ทนายความ, นายมาโนช หินแก้ว สจ.ประจวบคีรีขันธ์ และนายเจือ หินแก้ว อดีตกำนัน ต.บ่อนอก บิดาจำเลยที่ 3 และ 4 ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 3-5 ในความผิดฐานร่วมกันใช้จ้างวานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน โดยศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเมื่อ วันที่ 30 ธ.ค. 2551 ว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตามฟ้องให้ประหารชีวิต ส่วนจำเลยที่ 4-5 ให้ยกฟ้อง ต่อมาจำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง โดยโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4-5
กระทั่งศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษา ลงวันที่ 15 มี.ค. 2556 เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 และในส่วนจำเลยที่ 4 และ 5 พิพากษายืนยกฟ้อง
ไม่ว่าใหญ่หรือเก๋าเกมแค่ไหน ลองเป็นเรื่องความแค้นและผลประโยชน์ เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นได้ ทำให้คิดย้อนไปสู่ยุคมืดของจริงสมัยรัฐบาลเผด็จการทหาร
อย่าง คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี มาแล้วเมื่อ พ.ศ. 2492 หลังเหตุการณ์กบฏวังหลวง นำโดย นายปรีดี พนมยงค์ ที่ก่อการไม่สำเร็จ ต้องแยกย้ายกันหลบหนี รัฐบาลในขณะนั้นได้ส่งตำรวจติดตามไล่ล่า และเกิดการสังหารกันต่อเนื่อง เช่น พ.ต.โผน อินทรทัต ถูกกระสุนปืนยิงเสียชีวิตบริเวณหน้าผาก ศพอยู่ที่พบที่อำเภอดุสิต ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 , พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ก็ถูกยิงเสียชีวิตหลังจากถูกจับกุม เป็นต้น
สำหรับบุคคล 4 คน ที่เสียชีวิตตามมา ประกอบไปด้วย นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ อดีต ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี พรรคสหชีพ และเป็นอดีตรัฐมนตรีถึง 6 สมัย , นายถวิล อุดล อดีต ส.ส.จังหวัดร้อยเอ็ด พรรคเดียวกัน เป็นอดีตรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ , นายจำลอง ดาวเรือง อดีต ส.ส.จังหวัดมหาสารคาม พรรคเดียวกัน และ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ อดีต ส.ส.จังหวัดนครนายก และเลขาธิการพรรคแนวรัฐธรรมนูญ โดยหลังจากที่ทั้งหมดถูกจับกุม โดยระหว่างที่ถูกควบคุมตัวอยู่นั้น บรรดาญาติของผู้ต้องหาไม่ได้มีความระแวงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น เนื่องจากก่อนหน้านั้นบุคคลทั้ง 4 ได้เข้า ๆ ออก ๆ เรือนจำเป็นประจำอยู่แล้วในข้อหาทางการเมืองต่าง ๆ
กระทั่งค่ำวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2492 ตำรวจได้เคลื่อนย้ายผู้ต้องหาทั้งหมดไปไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน โดยอ้างเหตุความปลอดภัย ด้วยรถของตำรวจหลายเลขทะเบียน กท. 10371 โดยมี พ.ต.อ.หลวงพิชิตธุรการ เป็นผู้ควบคุม โดยรับ ดร.ทองเปลว ที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน นายจำลองที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา นายถวิลที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง และนายทองอินทร์ที่สถานีตำรวจนครบาลสามเสน เมื่อวิ่งมาถึงหลักกิโลเมตรที่ 12 ถนนพหลโยธิน เวลาประมาณ 03.00 น. ของวันที่ 4 มีนาคม ใกล้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ผู้ต้องหาทั้งหมดถูกยิงเสียชีวิตด้วยกระสุนร่างละไม่ต่ำกว่า 10 นัด ในสภาพที่ทุกคนยังสวมกุญแจมืออยู่ โดยได้ส่งศพไปชันสูตรที่โรงพยาบาลกลาง ต่อมาตำรวจแถลงว่า ในที่เกิดเหตุกลุ่มโจรมลายูพร้อมอาวุธครบมือได้ดักซุ่มยิงเพื่อชิงตัวผู้ต้องหา และได้มีการปะทะกับตำรวจ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำรวจทั้งหมด 20 นายไม่มีใครบาดเจ็บเลย
ที่มา แนวหน้า