ความคืบหน้าต่อจากกระทู้
http://ppantip.com/topic/30553840
ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. อาจปิดตลาดนัดจตุจักร หากศาลไม่ให้อำนาจบริหาร............บริหารไม่ได้ แต่ปิดได้ ....... ได้เวลาทวงคืนตลาดนัดจตุจักรแล้วพวกเรา
คหสต. จัดเก็บค่าเช่าแผงใหม่ในราคาเดือนละ 3,157 บาทต่อแผง (พื้นที่ 5 ตร.ม.) ถือว่า
"ไม่แพงนะ"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คลี่ปมร้อน "สวนจตุจักร" "ประภัสร์" สางความขัดแย้งเดิมพันอนาคตองค์กร
ประภัสร์ จงสงวน
ในช่วง 1–2 สัปดาห์ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กลับมาเป็นข่าวครึกโครมอีกครั้งหลังเกิดกรณีพิพาทในเรื่องที่ดินของการรถไฟฯ ในหลายพื้นที่
เริ่มจากความขัดแย้งในการย้าย “ตลาดนัดสวนรถไฟ” ซึ่งเป็นตลาดยามเย็นไปจนถึงกลางคืน หรือ “ไนท์ มาร์เก็ต” ที่ถูกการรถไฟฯ ไล่รื้อเพื่อนำพื้นที่ไปใช้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ตามมาด้วยปมร้อนๆ กรณีตลาดนัดซันเดย์ มาร์เก็ต หรือ “ตลาดนัดสวนจตุจักร”
โดยเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2556 ที่ผ่านมา “ศาลปกครองกลาง” ได้มีคำพิพากษา กรณีมีผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรฟ้องร้องว่า การรถไฟฯ คิดอัตราค่าเช่าสูงเกินกว่าระเบียบที่วางไว้ จากที่ให้จัดเก็บค่าเช่าแผงใหม่ในราคาเดือนละ 3,157 บาทต่อแผง (พื้นที่ 5 ตร.ม.) ซึ่งเกินอัตราค่าเช่าที่ดินตามระเบียบ ร.ฟ.ท. ฉบับที่ 129 ว่า ด้วยการจัดประโยชน์ในทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท.ที่ให้เรียกเก็บค่าเช่าปีละ 2.75% ของราคาที่ดินต่อปี หรือ 890 บาทต่อเดือนต่อ 1 แผง
นอกจากนั้น ศาลยังตั้งข้อสังเกต ถึงอำนาจการบริหารตลาดนัดสวนจตุจักรของการรถไฟฯ ตามประกาศการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำนวน 5 ฉบับที่กำหนดให้ผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรไปลงนามสัญญาเช่าแผงค้ากับการรถไฟฯ โดยตรง ที่อาจ “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย”
เพราะแม้ที่ดินบริเวณตลาดพหลโยธินดังกล่าว จะเป็นทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท. แต่ตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ให้อำนาจ ร.ฟ.ท. ดำเนินการในกิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งรถไฟ และกิจการที่เป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟเท่านั้น ไม่มีอำนาจบริหารตลาดหรือกิจการอื่น ดังนั้น การที่ ร.ฟ.ท.จะเข้าบริหารตลาดนัดจตุจักรโดยตรงจึงอาจเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจตามกฎหมาย และอาจถูกเพิกถอนได้
ทำให้กรณีตลาดนัด “จตุจักร” เนื้อที่ 68 ไร่แห่งนี้ ซึ่งการรถไฟฯ เพิ่งยึดมาจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยไม่ต่ออายุสัญญาเช่าที่ดินให้แก่ กทม.ที่บริหารต่อเนื่องมาถึง 30 ปีหลังสัญญาเช่าที่ดินสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2555 กลายเป็นประเด็นระอุขึ้นมาอีกครั้ง
คำพิพากษาดังกล่าว ทำให้เกิดข้อถกเถียงเกิดขึ้น เพราะหากการรถไฟฯ ไม่มีอำนาจบริหารตลาดนัด “สวนจตุจักร” เองแล้ว การรถไฟฯ จะต้องยุบเลิกการจัดตลาดนัดจตุจักรไปเพื่อนำที่ดินไปดำเนินการจัดประโยชน์ด้านอื่นๆ แทนหรือไม่
นอกจากนั้น ประเด็นในเรื่องอำนาจบริหารตลาดนัดสวนจตุจักรดังกล่าว ยังกระทบกระเทือนไปถึงการบริหารจัดการที่ดินจำนวน 2,325 ไร่ ในย่านพหลโยธินของ ร.ฟ.ท.ที่จะทยอยขอคืนพื้นที่เพื่อสร้างรถไฟฟ้าสีแดง และสร้างศูนย์คมนาคมขนาดใหญ่ของประเทศ รวมถึงการบริหารจัดการที่ดินเชิงพาณิชย์ในระยะต่อไป
“ทีมเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อไขปมร้อน และอนาคตของตลาดนัดเลื่องชื่อติดทำเนียบโลกแห่งนี้ รวมทั้งสอบถามแนวทางการบริหารจัดการที่ดินของ ร.ฟ.ท.เพื่อสร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯในอนาคตไปพร้อมกันด้วย
แจงปมร้อน “ตลาดนัดสวนจตุจักร”
“คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง กรณีสวนจตุจักร ต้องแยกพิจารณาออกเป็น 2 ส่วนคือ คำพิพากษาในเรื่องค่าเช่า หรือค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นประเด็นที่มีผู้ฟ้องร้องต่อศาล และการตั้งข้อสังเกตของศาล ในเรื่องอำนาจการบริหารตลาด ซึ่งส่วนนี้ไม่ใช่คำพิพากษา เพราะตามปกติศาลจะไม่ก้าวล่วง หากไม่มีคำร้อง” นายประภัสร์ เริ่มบทสนทนาในการทำความเข้าใจต้นตอของประเด็นข้างต้น
นอกจากนั้น ยังต้องแยกต่อเนื่องไปอีกว่า
จากจำนวนผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรทั้งหมดประมาณ 7,000 รายนั้น มีผู้ค้าที่ฟ้องร้อง ร.ฟ.ท.ในเรื่องค่าเช่านี้ เพียง 700 กว่ารายเท่านั้น ผู้ค้าที่เหลือไม่ได้ติดใจในอัตราค่าเช่าใหม่ และพร้อมจ่ายค่าเช่าให้กับ ร.ฟ.ท.ในอัตรา 3,157 บาทต่อแผงต่อเดือน
“ผู้ค้าส่วนใหญ่มีมุมมอง และทัศนคติที่ดีกับ ร.ฟ.ท. เพราะในช่วงที่เราเข้ามาบริหาร ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเราทำตามที่พูดไว้จริง เช่น เริ่มจากปรับปรุงขจัดกลิ่นห้องน้ำ ฯลฯ ทำให้ทัศนียภาพและความเป็นอยู่ในตลาดดีขึ้น และเตรียมยกหลังคาอาคารให้สูงขึ้น ติดสปริงเกอร์ป้องกันไฟไหม้ และปรับปรุงทางเดินโดยรอบ
นอกจากนั้น ร.ฟ.ท.ยังให้ความช่วยเหลือผู้ค้าอย่างเป็นธรรม เช่น กรณีไฟไหม้แผงค้าเมื่อไม่นานมานี้ ถ้าเป็นสมัยก่อน ผู้ค้าจะต้องเสียค่าแผงปกติ ในระหว่างที่ดำเนินการซ่อมแซม แต่เวลานี้ ร.ฟ.ท.ซ่อมแผงให้ ไม่เก็บค่าเช่าช่วงที่ขายไม่ได้ และหาพื้นที่ใหม่ให้ขายของชั่วคราว”
และหากพูดความจริงกัน จะเห็นได้ชัดเจนว่า ราคาเช่าแผงใหม่ของ ร.ฟ.ท.ไม่ได้สูงแต่อย่างใดเมื่อเทียบกับราคาเช่าช่วงที่ผู้ค้าปล่อยเช่ากันในปัจจุบัน ซึ่งราคาที่รับทราบมาอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน นอกจากนั้นในช่วงที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้ศึกษาราคาเช่าแผงที่เหมาะสมซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 11,000 บาทต่อเดือนด้วยซ้ำ
“ดังนั้น กรณีที่เกิดปัญหาขึ้นคือ ผู้ค้า 700 กว่ารายเท่านั้นที่ไม่พอใจและยื่นฟ้องการรถไฟฯ ซึ่งที่ผ่านมาผู้ค้าส่วนนี้ไม่เคยจ่ายค่าเช่าให้ ร.ฟ.ท.เพราะมีคำสั่งศาลปกครองคุ้มครองอยู่ แต่การรถไฟฯจะอุทธรณ์คดีนี้และยืนยันที่จะต่อสู้คดีจนถึงที่สุด ซึ่งในระหว่างการอุทธรณ์ทางผู้ค้ายังไม่ต้องจ่ายค่าเช่าแผงจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาออกมา”
อย่างไรก็ตาม สัญญาที่ ร.ฟ.ท.ทำผู้ค้ารายเดิมทั้งหมด หลังจากที่ขอคืนพื้นที่จาก กทม.มาบริหารจัดการเองนั้น ต่อสัญญาไว้ 2 ปี และมีกำหนดที่จะครบสัญญาในต้นปีหน้าที่จะถึงนี้
ไม่เคยคิด “ยุบ–ปิด” ตลาดเจเจ
ส่วนที่หลายฝ่ายกังวล เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่า ให้การรถไฟฯเก็บค่าเช่าในอัตราไม่เกิน 890 บาทต่อเดือนต่อแผง ตามระเบียบการรถไฟฯ ที่ให้เรียกเก็บค่าเช่าปีละ 2.75% ของราคาที่ดินต่อปี ขณะที่ผู้ค้าส่วนใหญ่ยังคงสมัครใจที่จะจ่ายในอัตรา 3,157 บาทต่อเดือนต่อแผงนั้น จะทำได้หรือไม่
ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ชี้แจงว่า คำพิพากษาของศาลมีผลเฉพาะผู้ค้าที่ฟ้องร้อง 700 กว่ารายเท่านั้น และตามระเบียบดังกล่าว ระบุแค่ว่า 2.75% กำหนดเป็นอัตราขั้นต่ำที่เรียกเก็บได้ นอกจากนั้น หากมีความจำเป็น ร.ฟ.ท.ก็สามารถแก้ไขระเบียบดังกล่าวให้จัดเก็บในอัตราขั้นต่ำให้สอดคล้องกับค่าเช่าที่ ร.ฟ.ท.เรียกเก็บใหม่ได้ เพื่อให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาล เพราะระเบียบของ ร.ฟ.ท.ข้อนี้สามารถแก้ไขได้ โดยใช้อำนาจผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เท่านั้น
สำหรับกรณีที่ศาลตั้งข้อสังเกตในเรื่องอำนาจการบริหารตลาดของการรถไฟฯนั้น ร.ฟ.ท.จะยังไม่ดำเนินการอย่างไร เพราะเป็นเพียงข้อสังเกตของศาลไม่ได้เป็นคำพิพากษาจึงไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อการบริหารตลาดของ ร.ฟ.ท. แต่หากในอนาคตมีผู้ค้าร้องให้ศาลตัดสินเรื่องนี้ ร.ฟ.ท.ก็พร้อมจะต่อสู้คดีถึงที่สุด
ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ยืนยันว่า ตลอดการดำเนินกิจการรถไฟไทยกว่า 100 ปีที่ผ่านมา สถานีรถไฟ เป็นแหล่งสร้างความเจริญให้เข้าไปถึงต่างจังหวัด เพราะหากจังหวัดใด อำเภอใด มีรถไฟผ่าน มีสถานีรถไฟ ก็เกิดตลาดบนพื้นที่ของ ร.ฟ.ท.รอบๆสถานีตามมา และ ร.ฟ.ท.ก็ทำหน้าที่บริหารจัดการตลาดรอบสถานีรถไฟมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ในจังหวัดท่องเที่ยว การรถไฟฯ ยังมีการสร้างโรงแรมรถไฟ หรือร้านอาหาร เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวมาแล้วเช่นกัน
“ในที่สุด ถ้าแพ้คดีขึ้นมาจริงๆ ร.ฟ.ท.ไม่มีอำนาจบริหารตลาดนัด นโยบายของ ร.ฟ.ท.ก็คงไม่ให้คนอื่นเข้ามาทำ แต่คงพิจารณาแนวทางอื่นในการหาประโยชน์ต่อไป ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงการปิดตลาดนัดซันเดย์ มาร์เก็ต หรือตลาดนัดสวนจตุจักรอย่างถาวร ดังนั้น คนที่อยากจะฟ้องร้องเรื่องนี้อยากจะให้พิจารณาให้รอบคอบและถี่ถ้วนก่อน”
แต่อย่างไรก็ตาม นายประภัสร์ยืนยันว่า ไม่ได้อยากให้เรื่องลุกลามไปถึงขั้นนั้น เพราะตามนโยบายของรัฐบาลและการรถไฟฯ ต้องการที่จะรักษา และปรับปรุงภูมิทัศน์ บรรยากาศ และทัศนียภาพโดยรวม “ตลาดนัดสวนจตุจักร” แห่งนี้ให้เป็น “แลนด์มาร์ก” ของประเทศไทยต่อไป
(มีต่อ)
คลี่ปมร้อน "สวนจตุจักร" "ประภัสร์" สางความขัดแย้งเดิมพันอนาคตองค์กร (ความคืบหน้า เรื่องค่าเช่าแผงค้าในตลาดนัดจตุจักร)
ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. อาจปิดตลาดนัดจตุจักร หากศาลไม่ให้อำนาจบริหาร............บริหารไม่ได้ แต่ปิดได้ ....... ได้เวลาทวงคืนตลาดนัดจตุจักรแล้วพวกเรา
คหสต. จัดเก็บค่าเช่าแผงใหม่ในราคาเดือนละ 3,157 บาทต่อแผง (พื้นที่ 5 ตร.ม.) ถือว่า "ไม่แพงนะ"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คลี่ปมร้อน "สวนจตุจักร" "ประภัสร์" สางความขัดแย้งเดิมพันอนาคตองค์กร
ประภัสร์ จงสงวน
ในช่วง 1–2 สัปดาห์ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กลับมาเป็นข่าวครึกโครมอีกครั้งหลังเกิดกรณีพิพาทในเรื่องที่ดินของการรถไฟฯ ในหลายพื้นที่
เริ่มจากความขัดแย้งในการย้าย “ตลาดนัดสวนรถไฟ” ซึ่งเป็นตลาดยามเย็นไปจนถึงกลางคืน หรือ “ไนท์ มาร์เก็ต” ที่ถูกการรถไฟฯ ไล่รื้อเพื่อนำพื้นที่ไปใช้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ตามมาด้วยปมร้อนๆ กรณีตลาดนัดซันเดย์ มาร์เก็ต หรือ “ตลาดนัดสวนจตุจักร”
โดยเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2556 ที่ผ่านมา “ศาลปกครองกลาง” ได้มีคำพิพากษา กรณีมีผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรฟ้องร้องว่า การรถไฟฯ คิดอัตราค่าเช่าสูงเกินกว่าระเบียบที่วางไว้ จากที่ให้จัดเก็บค่าเช่าแผงใหม่ในราคาเดือนละ 3,157 บาทต่อแผง (พื้นที่ 5 ตร.ม.) ซึ่งเกินอัตราค่าเช่าที่ดินตามระเบียบ ร.ฟ.ท. ฉบับที่ 129 ว่า ด้วยการจัดประโยชน์ในทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท.ที่ให้เรียกเก็บค่าเช่าปีละ 2.75% ของราคาที่ดินต่อปี หรือ 890 บาทต่อเดือนต่อ 1 แผง
นอกจากนั้น ศาลยังตั้งข้อสังเกต ถึงอำนาจการบริหารตลาดนัดสวนจตุจักรของการรถไฟฯ ตามประกาศการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำนวน 5 ฉบับที่กำหนดให้ผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรไปลงนามสัญญาเช่าแผงค้ากับการรถไฟฯ โดยตรง ที่อาจ “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย”
เพราะแม้ที่ดินบริเวณตลาดพหลโยธินดังกล่าว จะเป็นทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท. แต่ตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ให้อำนาจ ร.ฟ.ท. ดำเนินการในกิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งรถไฟ และกิจการที่เป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟเท่านั้น ไม่มีอำนาจบริหารตลาดหรือกิจการอื่น ดังนั้น การที่ ร.ฟ.ท.จะเข้าบริหารตลาดนัดจตุจักรโดยตรงจึงอาจเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจตามกฎหมาย และอาจถูกเพิกถอนได้
ทำให้กรณีตลาดนัด “จตุจักร” เนื้อที่ 68 ไร่แห่งนี้ ซึ่งการรถไฟฯ เพิ่งยึดมาจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยไม่ต่ออายุสัญญาเช่าที่ดินให้แก่ กทม.ที่บริหารต่อเนื่องมาถึง 30 ปีหลังสัญญาเช่าที่ดินสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2555 กลายเป็นประเด็นระอุขึ้นมาอีกครั้ง
คำพิพากษาดังกล่าว ทำให้เกิดข้อถกเถียงเกิดขึ้น เพราะหากการรถไฟฯ ไม่มีอำนาจบริหารตลาดนัด “สวนจตุจักร” เองแล้ว การรถไฟฯ จะต้องยุบเลิกการจัดตลาดนัดจตุจักรไปเพื่อนำที่ดินไปดำเนินการจัดประโยชน์ด้านอื่นๆ แทนหรือไม่
นอกจากนั้น ประเด็นในเรื่องอำนาจบริหารตลาดนัดสวนจตุจักรดังกล่าว ยังกระทบกระเทือนไปถึงการบริหารจัดการที่ดินจำนวน 2,325 ไร่ ในย่านพหลโยธินของ ร.ฟ.ท.ที่จะทยอยขอคืนพื้นที่เพื่อสร้างรถไฟฟ้าสีแดง และสร้างศูนย์คมนาคมขนาดใหญ่ของประเทศ รวมถึงการบริหารจัดการที่ดินเชิงพาณิชย์ในระยะต่อไป
“ทีมเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อไขปมร้อน และอนาคตของตลาดนัดเลื่องชื่อติดทำเนียบโลกแห่งนี้ รวมทั้งสอบถามแนวทางการบริหารจัดการที่ดินของ ร.ฟ.ท.เพื่อสร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯในอนาคตไปพร้อมกันด้วย
แจงปมร้อน “ตลาดนัดสวนจตุจักร”
“คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง กรณีสวนจตุจักร ต้องแยกพิจารณาออกเป็น 2 ส่วนคือ คำพิพากษาในเรื่องค่าเช่า หรือค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นประเด็นที่มีผู้ฟ้องร้องต่อศาล และการตั้งข้อสังเกตของศาล ในเรื่องอำนาจการบริหารตลาด ซึ่งส่วนนี้ไม่ใช่คำพิพากษา เพราะตามปกติศาลจะไม่ก้าวล่วง หากไม่มีคำร้อง” นายประภัสร์ เริ่มบทสนทนาในการทำความเข้าใจต้นตอของประเด็นข้างต้น
นอกจากนั้น ยังต้องแยกต่อเนื่องไปอีกว่า จากจำนวนผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรทั้งหมดประมาณ 7,000 รายนั้น มีผู้ค้าที่ฟ้องร้อง ร.ฟ.ท.ในเรื่องค่าเช่านี้ เพียง 700 กว่ารายเท่านั้น ผู้ค้าที่เหลือไม่ได้ติดใจในอัตราค่าเช่าใหม่ และพร้อมจ่ายค่าเช่าให้กับ ร.ฟ.ท.ในอัตรา 3,157 บาทต่อแผงต่อเดือน
“ผู้ค้าส่วนใหญ่มีมุมมอง และทัศนคติที่ดีกับ ร.ฟ.ท. เพราะในช่วงที่เราเข้ามาบริหาร ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเราทำตามที่พูดไว้จริง เช่น เริ่มจากปรับปรุงขจัดกลิ่นห้องน้ำ ฯลฯ ทำให้ทัศนียภาพและความเป็นอยู่ในตลาดดีขึ้น และเตรียมยกหลังคาอาคารให้สูงขึ้น ติดสปริงเกอร์ป้องกันไฟไหม้ และปรับปรุงทางเดินโดยรอบ
นอกจากนั้น ร.ฟ.ท.ยังให้ความช่วยเหลือผู้ค้าอย่างเป็นธรรม เช่น กรณีไฟไหม้แผงค้าเมื่อไม่นานมานี้ ถ้าเป็นสมัยก่อน ผู้ค้าจะต้องเสียค่าแผงปกติ ในระหว่างที่ดำเนินการซ่อมแซม แต่เวลานี้ ร.ฟ.ท.ซ่อมแผงให้ ไม่เก็บค่าเช่าช่วงที่ขายไม่ได้ และหาพื้นที่ใหม่ให้ขายของชั่วคราว”
และหากพูดความจริงกัน จะเห็นได้ชัดเจนว่า ราคาเช่าแผงใหม่ของ ร.ฟ.ท.ไม่ได้สูงแต่อย่างใดเมื่อเทียบกับราคาเช่าช่วงที่ผู้ค้าปล่อยเช่ากันในปัจจุบัน ซึ่งราคาที่รับทราบมาอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน นอกจากนั้นในช่วงที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้ศึกษาราคาเช่าแผงที่เหมาะสมซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 11,000 บาทต่อเดือนด้วยซ้ำ
“ดังนั้น กรณีที่เกิดปัญหาขึ้นคือ ผู้ค้า 700 กว่ารายเท่านั้นที่ไม่พอใจและยื่นฟ้องการรถไฟฯ ซึ่งที่ผ่านมาผู้ค้าส่วนนี้ไม่เคยจ่ายค่าเช่าให้ ร.ฟ.ท.เพราะมีคำสั่งศาลปกครองคุ้มครองอยู่ แต่การรถไฟฯจะอุทธรณ์คดีนี้และยืนยันที่จะต่อสู้คดีจนถึงที่สุด ซึ่งในระหว่างการอุทธรณ์ทางผู้ค้ายังไม่ต้องจ่ายค่าเช่าแผงจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาออกมา”
อย่างไรก็ตาม สัญญาที่ ร.ฟ.ท.ทำผู้ค้ารายเดิมทั้งหมด หลังจากที่ขอคืนพื้นที่จาก กทม.มาบริหารจัดการเองนั้น ต่อสัญญาไว้ 2 ปี และมีกำหนดที่จะครบสัญญาในต้นปีหน้าที่จะถึงนี้
ไม่เคยคิด “ยุบ–ปิด” ตลาดเจเจ
ส่วนที่หลายฝ่ายกังวล เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่า ให้การรถไฟฯเก็บค่าเช่าในอัตราไม่เกิน 890 บาทต่อเดือนต่อแผง ตามระเบียบการรถไฟฯ ที่ให้เรียกเก็บค่าเช่าปีละ 2.75% ของราคาที่ดินต่อปี ขณะที่ผู้ค้าส่วนใหญ่ยังคงสมัครใจที่จะจ่ายในอัตรา 3,157 บาทต่อเดือนต่อแผงนั้น จะทำได้หรือไม่
ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ชี้แจงว่า คำพิพากษาของศาลมีผลเฉพาะผู้ค้าที่ฟ้องร้อง 700 กว่ารายเท่านั้น และตามระเบียบดังกล่าว ระบุแค่ว่า 2.75% กำหนดเป็นอัตราขั้นต่ำที่เรียกเก็บได้ นอกจากนั้น หากมีความจำเป็น ร.ฟ.ท.ก็สามารถแก้ไขระเบียบดังกล่าวให้จัดเก็บในอัตราขั้นต่ำให้สอดคล้องกับค่าเช่าที่ ร.ฟ.ท.เรียกเก็บใหม่ได้ เพื่อให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาล เพราะระเบียบของ ร.ฟ.ท.ข้อนี้สามารถแก้ไขได้ โดยใช้อำนาจผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เท่านั้น
สำหรับกรณีที่ศาลตั้งข้อสังเกตในเรื่องอำนาจการบริหารตลาดของการรถไฟฯนั้น ร.ฟ.ท.จะยังไม่ดำเนินการอย่างไร เพราะเป็นเพียงข้อสังเกตของศาลไม่ได้เป็นคำพิพากษาจึงไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อการบริหารตลาดของ ร.ฟ.ท. แต่หากในอนาคตมีผู้ค้าร้องให้ศาลตัดสินเรื่องนี้ ร.ฟ.ท.ก็พร้อมจะต่อสู้คดีถึงที่สุด
ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ยืนยันว่า ตลอดการดำเนินกิจการรถไฟไทยกว่า 100 ปีที่ผ่านมา สถานีรถไฟ เป็นแหล่งสร้างความเจริญให้เข้าไปถึงต่างจังหวัด เพราะหากจังหวัดใด อำเภอใด มีรถไฟผ่าน มีสถานีรถไฟ ก็เกิดตลาดบนพื้นที่ของ ร.ฟ.ท.รอบๆสถานีตามมา และ ร.ฟ.ท.ก็ทำหน้าที่บริหารจัดการตลาดรอบสถานีรถไฟมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ในจังหวัดท่องเที่ยว การรถไฟฯ ยังมีการสร้างโรงแรมรถไฟ หรือร้านอาหาร เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวมาแล้วเช่นกัน
“ในที่สุด ถ้าแพ้คดีขึ้นมาจริงๆ ร.ฟ.ท.ไม่มีอำนาจบริหารตลาดนัด นโยบายของ ร.ฟ.ท.ก็คงไม่ให้คนอื่นเข้ามาทำ แต่คงพิจารณาแนวทางอื่นในการหาประโยชน์ต่อไป ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงการปิดตลาดนัดซันเดย์ มาร์เก็ต หรือตลาดนัดสวนจตุจักรอย่างถาวร ดังนั้น คนที่อยากจะฟ้องร้องเรื่องนี้อยากจะให้พิจารณาให้รอบคอบและถี่ถ้วนก่อน”
แต่อย่างไรก็ตาม นายประภัสร์ยืนยันว่า ไม่ได้อยากให้เรื่องลุกลามไปถึงขั้นนั้น เพราะตามนโยบายของรัฐบาลและการรถไฟฯ ต้องการที่จะรักษา และปรับปรุงภูมิทัศน์ บรรยากาศ และทัศนียภาพโดยรวม “ตลาดนัดสวนจตุจักร” แห่งนี้ให้เป็น “แลนด์มาร์ก” ของประเทศไทยต่อไป
(มีต่อ)