*อตีเต กาเล ปรุโส...* กาลผ่านมาถ้วน ๑๐ ปี, พิจารณาซ้ำ ณ วันนี้ก็ยังเห็น-เป็นแนวทางเข้าหา *แหล่งอบาย* ชัด-ชัด !!!

ที่บอกว่า เห็น-เห็นนั้น เห็นอย่างไร???


ใจความเต็มของบริบทว่า  *เห็น*  นี้มาจากข้อความแนวขอรับทราบ คคห. เชิง ปุจฉา ว่า "ท่านเห็นอย่างไร"  
ซึ่งเป็นประสงค์เจตนาของท่านเจ้าของบทความ ที่ กรองคำ ยกขึ้นมาพิจารณา, และนำเข้าเป็นแกนเรื่องของกระทู้นี้นั่นเอง

         และด้วย คหสต. จากที่มีเวลาและโอกาสได้พิจารณาด้วยปัญญาเท่าที่มี-ในทุกครั้งที่อ่านเนื้อหาจาก บทความนี้ - หลายรอบมากแล้ว ก็ยังเห็นว่า ที่พบเจอและรับรู้จากการอ่านผ่านมานั้น เป็นหนทางสู่ ขุมอบาย เป็นแนวทางแห่ง อบายภูมิทั้ง ๘ ชัด-ชัด!!!!

จึง-ตาม คหสต. ของตน จึงให้ชื่อกระทู้ไปตามจริง-ตามที่ตั้งขึ้นมา ณ วันนี้


ซึ่งจะมีเหตุปัจจัยจากสิ่งอัน-เรื่องราวใด-หรือไม่มีอะไร ... เพียงแต่ต้องการ แชร์บทความ เท่านั้น -ขอยังไม่กล่าวถึง-นะ!!!



แต่ขออนุญาตนำ คคห. ของ จขกท. จากกระทู้ต้นฉบับ ขึ้นมาไว้ที่นี้ด้วย เพื่อให้ ความตรงตามจริง ตรงกับ ความจริงตามธรรม*
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เนื้อความ : จากต้นฉบับ ซึ่งยังมีปรากฏอยู่ใน *เว็บลานธรรม* ยกมาเป็นอุทาหรณ์-ธรรมบรรณาการ แก่ท่านสาธุชน ตามเหตุ-ตามผล ตามกาลเทศะ ซึ่งจาก คหสต. ของ กรองคำ เห็นว่าเป็นบทความอันมีเนื้อหาเหมาะสมแก่กาลปัจจุบัน-พอดีพอควร-สมตามสมัยกาลนิยม แห่ง พ.ศ. นี้แล้ว

หากเราทั้งหลายได้ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก  จะไม่สงสัย ถกเถียง และเห็นเหตุทั้งหลายตามความเป็นจริง


(เอกอิสโร วรุณศรี)


            **เพื่อสนับสนุนข้อความข้างต้น จึงใคร่จะขอจะยกเอาตัวอย่าง “ความเห็น” ของบางคณะ บางกลุ่ม ที่สอนสืบๆ กันมา ขอท่านทั้งหลายจงอย่าได้เข้าใจว่าเป็นการจับผิดเลย เป็นแต่เพียงยกมาเพื่อท่านทั้งหลายได้ใช้เป็นบททดสอบและพิจารณาโดยปัญญาของท่าน เพื่อพิจารณาว่าที่เราได้ตั้งเป็นกระทู้ว่า หากเราทั้งหลายได้ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก จะไม่สงสัย ถกเถียง และเห็นเหตุทั้งหลายตามความเป็นจริง นั้น มีความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด ดังนี้...
(คำ-ความในวงเล็บ[ _ ]คือส่วนของ คหสต.)

         ๐๑. ในสมัยของพระเจ้ากนิษกะมหาราช แห่งราชวงศ์กุศาณ แพร่หลายมาถึงชวา มลายู และ ไทย มีพระเถระที่มีชื่อเสียงหลายรูป เช่นพระอุปคุปตเถระ, พระปารศวเถระ, พระวสุมิตร [แต่พระเถระ] ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ *พระอัศวโฆษ* นักประพันธ์เอกของอินเดีย  [ท่าน] เคยเป็นพราหมณ์มาก่อน [ท่าน] เห็นพราหมณ์ทำลายพุทธจนเกือบหมดไปในขณะนั้น จึงเข้ามาแก้ไขสถานการณ์
         ด้วยการเอาคำสอนของพราหมณ์มาห่อหุ้มคำสอนพุทธเอาไว้  โดยแต่งพุทธประวัติเสียใหม่ชื่อว่า *พุทธจริต*
[อันมีแก่นใจความ] ว่า เดิมพระพุทธเจ้านั้นเป็นเทวดา ชื่อท้าวสันดุสิตเทวราช อยู่บนสวรรค์ของพราหมณ์  อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อช่วยเหลือมนุษย์
         [แต่] เมื่อตรัสรู้แล้วคิดจะไม่สอนมนุษย์ (มีใจโลเล) ก็มี ท้าวสหัมบดีพรหม* ของพวกพราหมณ์มาอาราธนาให้แสดงธรรม เป็นต้น

         นอกจากนี้ อัศวโฆษ ยังได้แต่งนิทานเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดของพระพุทธเจ้า ๕๔๗ เรื่อง เรียกว่า*พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ*
และเอาบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา มาแต่งนิทานประกอบ
         ให้เป็นบุคลาธิษฐานอีก ๑๐ เรียกว่า *ทศชาติ*   และชาติสุดท้ายแต่งเป็นนิทาน(ชาดก)

[อันมีแก่นใจความ] ว่า   พระพุทธเจ้าได้เกิดเป็นพระเวสสันดร เป็นเรื่องยาวที่สุด จึงเรียกว่า  *มหาชาติชาดก*

         เรื่องนิทานโกหกอย่างนี้มหาชนชอบ เพราะสนุกดีและพราหมณ์ก็พอใจ  ไม่เบียดเบียนทำร้ายเหมือนเมื่อก่อน  พุทธศาสนาจึงอยู่คู่กับพราหมณ์ได้ด้วยความสงบมาหลายร้อยปี

         นิกายนี้เรียกว่า นิกายสรวาสติวาทิน หรือ สรรวาสติวาทิน ต่อมาได้ไปเจริญรุ่งเรืองอยุ่ในลังกา ได้ผสมกลมกลืนกับนิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งเป็นมหายานฝ่ายใต้  ที่ได้มีการแต่งพระสูตรขึ้นใหม่หลายสูตรแล้วเอาใส่ในพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า  อ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้ที่นั่นที่นี่ในสมัยพุทธกาล  ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่มีการกล่าวไว้ในคัมภีร์ใด ฯ
note :" **[บทความต้นฉบับโดยสมบูรณ์มี ๑๐ ข้อ ๑๐ เนื้อความ]**

นำเรียนท่านผู้เจริญ-สมาชิกฯที่นับถือกันและกันทั้งหลาย,  
หากท่านฯมีประสงค์เจตนา-ใฝ่เจริญปัญญาในการ พิจารณา เหตุใดๆนั้นๆด้วย ข้อธรรมตามจริง ย่อมอ่านต่อทั้ง ๑๐ ข้อ ๑๐ เนื้อความ ได้ตาม link ที่แนบไว้นั้น
         และ-หากท่านฯมีความสนใจที่จะทราบว่า  "หนทางลงสู่ขุมอบาย - แหล่งอบาย - และประตูสู่สำนักฯในอบายภูมิ"  จาก คหสต. ของ กรองคำ นั้น เป็นไฉน ? - ท่านฯก็ควรจะกด link เบื้องล่างนี้ไปโดยพลันเถิด!!!

Credit[ที่มา] : http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/008856.htm

คือ ๑ ตัวอย่างของคลิปธรรมะบรรยาย โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ  ที่ชี้ถึง แหล่งอบาย ๔ ขุม..!!!

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่