การบรรลุธรรมในสมัยพุทธกาล

........การยึดมั่นในตนคือเหตุทำให้เกิดทุกข์  การยึดมั่นในตนทำให้เกิด "อัตตา"  เป็นเหตุให้เกิดการดิ้นรนทางความรู้สึก  ในสมัยพุทธกาล  ท่านจะเน้นการอธิบายเพื่อให้หยุดการยึดมั่นในตน   หรือในกาย   ถ้าอาการยึดมั่นหยุดหรือหลุดออกไปได้   จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึก   การไม่ยึดมั่นทำให้หมดภาระทางความรู้สึก   ดังนั้นการบรรลุธรรมทำให้ธรรมชาติทางกายเปลี่ยนไปเนื่องจากการเข้าใจความจริงของตนเอง  ถ้าวิเคราะห์ผลที่เกิดจะพบว่าการทำงานของร่างกายมีอาการยึดมั่นโดยความเป็นธรรมชาติ   การปฏิบัติจึงเป็นการแก้ไขความเป็นธรรมชาติของตนเองนั่นเอง   เนื่องจากอาการยึดมั่นเป็นธรรมชาติของกายการแก้ไขจึงจะเป็นการขัดเกลา   ให้อาการยึดมั่นอ่อนตัวลงจนเกิดอาการหลุดหรือหยุดจึงจะถือเป็นที่สุดของการปฏิบัติ   การเข้าใจเหตุอย่างนี้การปฏิบัติจึงต้องมุ่งไปที่เหตุ   แต่ปัจจุบันแนวทางนี้ได้เปลี่ยนไปกลายเป็นรูปแบบปฏิบัติทางสังคมที่กลายเป็นศาสนาพุทธ   แนวทางปฏิบัติไม่ได้มุ่งตรงไปที่การแก้ไขอาการทางธรรมชาตินี้   แต่กลายเป็นรูปแบบทางสังคมการบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายจึงห่างออกไปทุกที   จนอาจจะเกิดการเข้าใจไม่ได้ว่าแนวทางของพุทธแท้จริงคืออะไร.....

       ความจริงสิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบนั้นมีประโยชน์ต่อชาวโลก  คือการแก้ไขอาการทางธรรมชาติของตน  คืออาการยึดมั่นในตนการที่อาการนี้หยุดหรือหลุดออกไป  เราจึงจะควบคุมความเป้นธรรมชาติของตัวเราได้   คือไม่เกิดการแปรปรวนซึ่งมันสัมพันธ์กับการเกิดอุปทานทางความรู้สึก   จะเห็นว่าในสมัยพุทธกาลผู้ที่ฟังการอธิบายจะเกิดผลทางความรู้สึกคืออาการยึดมั่นที่เกิดอยู่หลุดออกไป   อาการทางธรรมชาติเปลี่ยนไปจึงมีความเห็นเปลี่ยนไปคืออาการยึดมั่นหยุดลงนั่นเอง    ดังเหตุที่เกิดกับปัญจวคีย์   คืออาการยึดมั่นในตนหรือในกายหยุดลง   ซึ่งมันเป็นอาการทางธรรมชาติของความเป็นสิ่งที่มีชีวิตนั่นเองหยุดลง   การที่เราไม่เข้าใจว่ามันเป้นการแก้ไขความเป็นธรรมชาติของตนเอง   ผลมันจึงไม่เกิดเพราะไม่เป้นการแก้ไขอย่างตรงไปตรงมานั่นเอง..............

ดังที่แสดงในอนัตตลักขณสูตร   จุดมุ่งหมายคือให้หยุดการยึดมั่นในกาย  หรือในตนนั่นเอง   การที่เราตีความไปไกลทำให้เลยจุดที่ต้องการให้เกิดผล   ดังนั้.-

............................................................................................................................................................................


ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร


             [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
             เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
             สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
             สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.
             วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
             [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ
             [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
             เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
             สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง
เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
ไม่ใช่ตนของเรา.
             สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย
พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
             วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย
พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
             [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า  ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
             [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์
พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
อนัตตลักขณสูตร จบ
             ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
ปฐมภาณวาร จบ
-----------------------------------------------------
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่